No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 174 (เล่ม 6)

มาณพคนหนึ่ง
[๘๘] ก็โดยสมัยนั้นแล มาณพคนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย แล้ว
ขอบรรพชา พวกภิกษุได้บอกนิสัยแก่เธอก่อนบวช เธอจึงพูดอย่างนี้ว่า ถ้า
เมื่อกระผมบวชแล้ว พระคุณเจ้าทั้งหลายพึงบอกนิสัยแก่กระผม กระผมก็จะยิน
ดียิ่งบัดนี้ กระผมจักไม่บวชละ เพราะนิสัยเป็นสิ่งที่น่าเกลียด เป็นปฏิกูลแก่
กระผม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบอกนิสัยก่อนบวช รูปใด
บอก ต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พออุปสมบทแล้ว เราอนุญาต
ให้บอกนิสัย.
อุปสมบทด้วยคณะ
[๘๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก
๒ บ้าง มีพวก ๓ มีพวก มีพวก ๔ บ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่
พึงให้อุปสมบทด้วยคณะ ซึ่งมีพวกหย่อน ๑๐ รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก ๑ . .
พระอุปเสนวังคันตบุตรอุปสมบทสัทธิวิหาริก
[๙๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายมีพรรษาหนึ่งบ้าง มีพรรษา
สองบ้าง อุปสมบทสัทธิวิหาริก แม้ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร มีพรรษาเดียว
อุปสมบทสัทธิวิหาริก ท่านออกพรรษาแล้ว มีพรรษาสอง ได้พาสัทธิวิหาริก

174
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 175 (เล่ม 6)

มีพรรษาหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคัน-
ตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่าน
พระอุปเสนวังคันตบุตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอทน
ได้ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเดินทางมามีความลำบากน้อยหรือ ?
ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า
ยังพอให้เป็นไปได้ พระพุทธเจ้า และพวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาก็มีความ
ลำบากน้อย พระพุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่
ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัด
เสียด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือจักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่ พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรว่า
เธอมีพรรษาได้เท่าไร ภิกษุ ?
อุป. ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาได้สอง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ภิกษุรูปนี้เล่ามีพรรษาได้เท่าไร ?

175
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 176 (เล่ม 6)

อุป. มีพรรษาเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ภิกษุรูปนี้เป็นอะไรกับเธอ ?
อุป. เป็นสัทธิวิหาริกของข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระ
ทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่
ควรทำ ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอยังเป็นผู้อันผู้อื่นพึงโอวาทอนุศาสน์อยู่ ไฉนจึง
สำคัญคนเพื่อโอวาทอนุศาสน์ผู้อื่นเล่า เธอเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ซึ่ง
มีความพัวพันด้วยหมู่เร็วเกินนัก การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ
เลื่อมใสของชุมชนที่ยิ่งไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส
แล้ว . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้อุปสมบท ต้อง
อาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ หรือมี
พรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.
พระอุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก
[๙๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว
เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมให้
อุปสมบท ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏ
ว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม, ปรากฏว่า
พระอุปัชฌายะ เป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก ปรากฏว่าพระ-

176
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 177 (เล่ม 6)

พระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีปัญญา. แม้ภิกษุรูปหนึ่ง
เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ เมื่อพระอุปัชฌายะว่ากล่าวอยู่โดยชอบธรรม ได้ยกวาทะ
ขึ้นโต้เถียงแก่พระอุปัชฌายะ แล้วหลีกไปสู่ลัทธิเดียรถีย์นั้นตามเดิม.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉน ภิกษุทั้งหลายจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐
แล้ว ดังนี้แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท ปรากฏว่าพระ-
อุปัชฌายะเป็นผู้แหลมสัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้
ไม่เฉียบแหลมสัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียดแหลม, ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มี
สุตะน้อย สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก, ปรากฏว่าพระอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญา
ทราม สัทธิวิหาริก เป็นผู้มีปัญญาเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายอ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้
๑๐ แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้อุปสมบท ปรากฏว่า
อุปัชฌายะเป็นผู้เขลา สัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด, ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่
เฉียบแหลมสัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม, ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย
สัทธิวิหาริกเป็นผู้มีสุตะมาก, ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิ-
วิหาริกเป็นผู้มีปัญญา จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

177
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 178 (เล่ม 6)

ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้อ้างว่า เรามีพรรษาได้ ๑๐ แล้ว เรามีพรรษาได้ ๑๐
แล้ว ดังนี้ แต่ยังเป็นผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ไห้อุปสมบท ปรากฏว่าอุปัชฌายะ
เป็นผู้เขลาสัทธิวิหาริกเป็นผู้ฉลาด ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้ไม่เฉียบแหลม
สัทธิวิหาริกเป็นผู้เฉียบแหลม ปรากฏว่าอุปัชฌายะเป็นผู้มีสุตะน้อย สัทธิวิหาริก
เป็นผู้มีสุตะมาก ปรากฏว่าอุปัชาฌายะเป็นผู้มีปัญญาทราม สัทธิวิหาริกเป็นผู้มี
ปัญญาเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั้น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เขลาไม่เฉียบแหลมไม่พึงให้อุปสมบท รูปใดให้
อุปสมบทต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้สามารถ
มีพรรษาได้ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ ให้อุปสมบท.
อาจารย์และอันเตวาสิก
[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อพระอุปัชาฌายะทั้งหลายหลีกไปเสียก็ดี
สึกเสียก็ดี ถึงมรณภาพก็ดี ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียก็ดี ภิกษุทั้งหลายไม่มีอาจารย์
ไม่มีใครตักเตือน ไม่มีใครพร่ำสอน ย่อมนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่
สมควรเที่ยวบิณฑบาต เมื่อประชาชนกำลังบริโภค ย่อมน้อมบาตรสำหรับเที่ยว
บิณฑบาต เข้าไปข้างบนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้าง
บนของควรลิ้มบ้าง ข้างบนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตน
เองมาฉัน แม้ในโรงอาหาร ก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่.

178
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 179 (เล่ม 6)

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตรจึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร เทียวบิณฑบาต
เล่าเมื่อประชาชนกำลังบริโภค ได้น้อมบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไป ข้าง
บนของควรบริโภคบ้าง ข้างบนของควรเคี้ยวบ้าง ข้างบนของควรลิ้มบ้าง ข้าง
บนของควรดื่มบ้าง ขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน แม้ในโรง
อาหาร ก็เป็นผู้มีเสียงอื้ออึง มีเสียงดังอยู่ เหมือนพวกพราหมณ์ในสถานที่
เลี้ยงพราหมณ์ ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย
จึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่สมควร . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมรรยาทไม่
สมควร . . . จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน. . . ครั้น แล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาจารย์ อาจารย์
จักตั้งจิตสนิทสนมในอันเทวาสิกฉันบุตร อันเตวาสิกจักตั้งจิตสนิทสนมใน

179
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 180 (เล่ม 6)

อาจารย์ฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ อาจารย์และอันเตวาสิกนั้นต่างจักมีความเคารพ
ยำเกรงประพฤติกลมเกลียวกันอยู่ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัย
นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาศัยภิกษุมีพรรษา ๑๐ อยู่ อนุญาต
ให้ภิกษุมีพรรษาได้ ๑๐ ให้นิสัย.
วิธีถือนิสัยอาจารย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลอันเตวาสิกพึง ถืออาจารย์อย่างนี้ ;-
อันเตวาสิกนนั้นพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ ๓ หน.
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่าน
อยู่ ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่
ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่.
อาจารย์รับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือ
รับว่า จงยังความปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วย อาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ก็ได้ รับ
ด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันว่าอันเตวาสิกถือ
อาจารย์แล้วไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็น
อันว่าอันเทวาสิกถืออาจารย์แล้ว.
อาจริยวัตร
[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงพระพฤติชอบในอาจารย์
วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้:-
อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้ว
ถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.

180
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 181 (เล่ม 6)

ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ดื่มยาคู
แล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้ว
เก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บผ้าอาสนะ.
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดเสีย.
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึง
ถวายประคตเอว พึงพับผ้าสังฆาฏิให้เป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อม
ทั้งน้ำด้วย.
ถ้าอาจารย์ปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม นุ่งให้
เป็นปริมณฑลแล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิทำเป็นชั้นกลัดคุม ล้างบาตรแล้ว
ถือไป เป็นปัจฉาสมณะของอาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ไม่พึงเดินให้ชิดนัก
พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร.
เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อย
คำใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย.
เมื่อกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด
พึงรับผ้านุ่ง.
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.
พึงพับจีวร เมื่อพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้วด้วยตั้งใจมิให้มีรอย
พับตรงกลาง พึงทำประคดเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อม
บิณฑบาตเข้าไปถวาย พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวาย

181
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 182 (เล่ม 6)

น้ำ รับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่ง
ไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.
พึงเก็บบาตร จีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือช้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บน
ฟันที่ไม่มีสิ่งใดรอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร
หรือสายระเดียง แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร.
เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึง
จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย.
ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน หรือถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟ แล้วเดินทานหลังอาจารย์ไป ถวายทั้งสำหรับเรือนไฟแล้ว รับจีวร
มาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงถวายจุณ ถวายดิน.
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า
ปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึง
ห้ามกัน อาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ.
เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า
ทั้งข้างหลังออกจากเรือนไฟ.
พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน ทำ
ตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้าแล้ว พึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ พึงถวายผ้านุ่ง
พึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือเอาตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียม
น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน

182
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 183 (เล่ม 6)

ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์
จะสอบถามอรรถกถา พึงสอบถาม.
อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึง
ปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง และผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เตียงตั่งอันเตวาสิกพึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าไห้กระทบกระแทก
บานและกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั่งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกทั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง
และมุมห้อง พึงเช็คเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำ
ขึ้นรา พึงเอาผ้าเช็ดน้ำปิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรม
แล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง.
เครื่องลาดพื้นพึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ตาม
เดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดดขัดเช็ดแล้วขนกลับตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั้งพึงผึ่ง
แดดขัดสีเคาะเสีย ยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู
ขนกลับไปให้ดี ๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดดทำ
ให้สะอาดตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง พึงผึ่งแดด
เช็ดถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม.

183