No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 264 (เล่ม 70)

ชนทั้งหลายมีประโยชน์เป็นเหตุ จึงคบหาสมาคมกัน
บุคคลผู้ไม่มีเหตุ จะมาเป็นมิตรกันในทุกวันนี้หาได้ยาก พวก
มนุษย์ผู้ไม่สะอาดมักเห็นแก่ประโยชน์ตน พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
คำว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ ในคาถานั้น คือพระสูตรว่าด้วยขัคค-
วิสาณปัจเจกสัมพุทธาปทาน.
พระสูตรนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระสูตรทั้งปวง มีเหตูเกิดขึ้น ๔ อย่าง คือเกิดโดยอัธยาศัย
ของตนเอง ๑ เกิดโดยอัธยาศัยของผู้อื่น เกิดโดยเกิดเรื่องขึ้น ๑
และเกิดโดยอำนาจการถาม ๑
ในเหตุเกิด ๔ อย่างนั้น ขัคควิสาณสูตรเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม
โดยไม่พิเศษ. แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ เพราะเหตุที่คาถาบางคาถาในสูตรนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ ถูกเขาถามจึงกล่าวไว้ บางคาถาไม่ถูก
ถาม แต่เมื่อจะเปล่งเฉพาะอุทานอันเหมาะสมแก่นัยแห่งมรรคที่คนบรรลุ
จึงได้กล่าวไว้ เพราะฉะนั้น บางคาถาจึงเกิดขึ้นด้วยอำนาจการถาม บาง
คาถาเกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยของตน. ในเหตุเกิด ๔ อย่างนั้น เหตุเกิดด้วย
อำนาจการถามโดยไม่พิเศษนี้นั้น พึงทราบอย่างนี้จำเดิมแต่ต้นไป.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนครสาวัตถี ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์ อยู่ในที่ลับเร้นอยู่ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า
ความปรารถนาและอภินีหารของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมปรากฏ ของ
พระสาวกทั้งหลายก็ปรากฏเหมือนอย่างนั้น แต่ของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายยังไม่ปรากฏ ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

264
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 265 (เล่ม 70)

ทูลถาม. ท่านพระอานนท์นั้นจึงออกจากที่เร้น ทูลถามถึงเรื่องราวนั้น
โดยลำดับ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตร
แก่ท่านพระอานนท์นั้นว่า
ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ คือย่อมทำ
ผู้หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน ให้พลันบรรลุพระอรหัต-
ผลในปัจจุบัน ๑ ถ้ายังไม่ให้บรรลุพระอรหัตผลในปัจจุบัน
เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมให้บรรลุพระอรหัตผลในเวลาจะตาย ๑
ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะเป็นเทวบุตรบรรลุพระอรหัตผล ๑ ถ้า
ไม่อย่างนั้น จะเป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้ได้เร็ว ในเมื่ออยู่
ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะ
เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าในกาลสุดท้ายภายหลัง ๑
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปอีกว่า
ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาว่าพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วย อภินีหาร หยั่งลงในความเพียรอันมีในก่อน
เพราะฉะนั้น ความปรารถนาและอภินิหารของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งมวล จึงจำปรารถนา.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนา
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นไปนานเพียงไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความปรารถนาของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยกำหนดอย่างต่ำ ย่อมเป็นไป ๔ อสงไขย
แสนกัป โดยกำหนดอย่างกลาง ย่อมเป็นไป ๘ อสงไขยแสนกัป โดย
กำหนดอย่างสูง ย่อมเป็นไป ๑๖ อสงไขยแสนกัป.

265
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 266 (เล่ม 70)

ก็ความแตกต่างกันเหล่านี้ พึงทราบโดยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า
ผู้เป็นปัญญาธิกะยิ่งด้วยปัญญา สัทธาธิกะยิ่งด้วยศรัทธา และวิริยาธิกะ
ยิ่งด้วยความเพียร.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้เป็นปัญญาธิกะ มีศรัทธาอ่อน มีปัญญา
กล้าแข็ง.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นสัทธาธิกะ มีปัญญาปานกลาง มีศรัทธา
กล้าแข็ง.
พระพุทธเจ้าผู้เป็นวิริยาธิกะ มีศรัทธาและปัญญาอ่อน มีความ
เพียรกล้าแข็ง.
ก็ฐานะนี้ที่ว่ายังไม่ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป เมื่อให้ทานทุกวัน ๆ เช่น
การให้ทานของพระเวสสันดร และการสั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้นอัน
สมควรแก่ทานนั้น ก็จะเป็นพระพุทธเจ้าในระหว่างได้ ดังนี้ ย่อมจะมี
ไม่ได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง
ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่กล้า. ฐานะนี้ที่ว่า ข้าวกล้าที่จะ
เผล็ดผลต่อเมื่อล่วงไป ๓ เดือน ๔เดือน และ ๕ เดือน ยังไม่ถึงเวลานั้น ๆ
จะอยากได้ก็ดี จะเอาน้ำรดก็ดี สักร้อยครั้งพันครั้งทุกวัน ๆ จัก ให้เผล็ด
ผลโดยปักษ์หนึ่งหรือเดือนหนึ่งในระหว่าง ดังนี้ ย่อมไม่มี. ถามว่า เพราะ
เหตุไร ? ตอบว่า เพราะข้าวกล้ายังไม่ท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยัง
ไม่แก่ ดังนี้ชื่อฉันใด ฐานะนี้ว่า ยังไม่ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป จักได้
เป็นพระพุทธเจ้าดังนี้ ย่อมไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พึง
กระทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ เพื่อต้อง
การให้ญาณแก่กล้า.

266
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 267 (เล่ม 70)

อนึ่ง ผู้ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าโดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้
ก็จำต้องปรารถนาสมบัติ ๘ ประการในการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่
อภินีหารนี้ย่อมสำเร็จเพราะประชุมธรรม ๘ ประการไว้ได้
คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศชาย ๑ เหตุ ๑
การได้พบพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความถึงพร้อมด้วย
คุณ ๑ การกระทำอันยิ่ง ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑.
คำว่า อภินีหาร นี้ เป็นชื่อของความปรารถนาเดิมเริ่มแรก. ใน
ธรรม ๘ ประการนั้น การเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่าความเป็นมนุษย์.
จริงอยู่ เว้นจากกำเนิดมนุษย์ ความปรารถนาย่อมไม่สำเร็จแก่ผู้ดำรงอยู่
ในกำเนิดที่เหลือ แม้แต่กำเนิดเทวดา อันผู้ดำรงอยู่ในกำเนิดอื่นนั้น
เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ต้องกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น
แล้วปรารถนาเฉพาะความเป็นมนุษย์ (ให้ได้ก่อน) ครั้นดำรงอยู่ในความ
เป็นมนุษย์แล้วจึงค่อยกระทำความปรารถนา (ความเป็นพระพุทธเจ้า).
เมื่อกระทำอย่างนี้แหละ ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ.
ความเป็นบุรุษ ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยเพศ. จริงอยู่ มาตุคาม
กะเทย และคนสองเพศ แม้จะดำรงอยู่ในกำเนิดมนุษย์ ก็ปรารถนาไม่
สำเร็จ. อันผู้ดำรงอยู่ในเพศมาตุคามเป็นต้น นั้น เมื่อปรารถนาความเป็น
พระพุทธเจ้า พึงกระทำบุญกรรมมีทานเป็นต้น แล้วจึงปรารถนาเฉพาะ
ความเป็นบุรุษ ครั้นได้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษแล้ว จึงพึงปรารถนา
ความเป็นพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ความปรารถนาย่อมสำเร็จ.
ความถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตชื่อว่าเหตุ. ก็บุคคลใด
เพียรพยายามอยู่. ในอัตภาพนั้นสามารถบรรลุพระอรหัต ความปรารถนา

267
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 268 (เล่ม 70)

ของบุคคลนั้นย่อมสำเร็จ ความปรารถนาของบุคคลนอกนี้ย่อมไม่สำเร็จ
เหมือนดังสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้น ได้พบพระทีปังกร-
พุทธเจ้าในที่พร้อมพระพักตร์แล้วจึงการทำความปรารถนา.
ความเป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือน ชื่อว่าการบรรพชา. ก็ความเป็นผู้ไม่มี
เหย้าเรือนนั้น ย่อมควรในพระศาสนา หรือในนิกายของดาบสและ
ปริพาชกผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่
ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นดาบส นามว่าสุเมธ ได้กระทำความปรารถนา
แล้ว.
การได้เฉพาะคุณมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าความถึงพร้อมด้วยคุณ.
จริงอยู่ แต่เมื่อบวชแล้วก็เฉพาะสมบูรณ์ด้วยคุณเท่านั้น ความปรารถนา
จึงจะสำเร็จ ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังสุเมธบัณฑิต.
จริงอยู่ ท่านสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีอภิญญา ๕ และเป็นผู้ได้สมาบัติ ๘
ได้ปรารถนาแล้ว.
การกระทำอันยิ่ง อธิบายว่า การบริจาคชื่อว่า อธิการ. จริงอยู่
เมื่อบุคคลบริจาคชีวิตเป็นต้นแล้วปรารถนานั้นแหละ ความปรารถนาย่อม
สำเร็จ ไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนดังท่านสุเมธบัณฑิต. จริงอยู่ ท่าน
สุเมธบัณฑิตนั้นกระทำการบริจาคตน แล้วตั้งความปรารถนาไว้อย่างนี้ว่า
พระพุทธเจ้าพร้อมกับศิษย์ทั้งหลายจงเหยียบเราไป อย่า
ทรงเหยียบเปือกตมเลย ข้อนี้จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่เรา ดังนี้.
แล้วจึงได้ปรารถนา.

268
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 269 (เล่ม 70)

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่าความเป็นผู้มีฉันทะ. ความเป็น
ผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ย่อมมีกำลังแก่ผู้ใด ความปรารถนาย่อมสำเร็จแก่
ผู้นั้น. อธิบายว่า ก็ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำนั้น ถ้าใคร ๆ มากล่าวว่า
ใครอยู่ในนรก ๔ อสงไขยแสนกัป แล้วปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า
ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจกล่าวว่า เรา ดังนี้ พึงทราบว่ามีกำลังแก่ผู้นั้น.
อนึ่ง ถ้าใคร ๆ มากล่าวว่า ใครเหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเต็มด้วยถ่าน
เพลิงปราศจากเปลว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใคร
เหยียบจักรวาลทั้งสิ้นอันเกลื่อนกลาดด้วยหอกและหลาวพ้นไปได้ ย่อม
ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครข้ามจักรวาลทั้งสิ้นอันมีน้ำเต็ม
เปี่ยมไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าได้ ใครเดินย่ำจักรวาล
ทั้งสิ้นที่ปกคลุมด้วยกอไผ่ไม่มีช่องว่างพ้นไปได้ ย่อมปรารถนาความเป็น
พระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ผู้ใดได้ฟังดังนั้นอาจสามารถพูดว่า เรา ดังนี้ พึงทราบ
ว่าผู้นั้นมีความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำมีกำลัง. ก็สุเมธบัณฑิตประกอบด้วย
ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่ที่จะทำเห็นปานดังกล่าวมา จึงปรารถนาแล้ว.
ก็พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินีหารอันสำเร็จแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่เข้าถึง
อภัพพฐานะ คือฐานะอันไม่ควร ๑๘ ประการเหล่านี้.
อธิบายว่า จำเดิมแต่สำเร็จอภินีหารแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นไม่เป็น
คนบอดไม่เป็นคนหนวกมาแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้๑.
ไม่เป็นง่อยเปลี้ย ไม่เกิดขึ้นในหมู่คนมิลักขะ คือคนป่าเถื่อน ๑ ไม่เกิด
ในท้องนางทาสี ๑ ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิคือคนมีมิจฉาทิฏฐิอันดิ่ง ๑ ท่าน
จะไม่กลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรมห้า ๑ ไม่เป็นคนมีโรคเรื้อน ๑
ในกำเนิดดิรัจฉานจะไม่มีร่างกายเล็กกว่านกกระจาบ จะไม่ใหญ่โตกว่า

269
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 270 (เล่ม 70)

ช้าง ๑ จะไม่เกิดขึ้นในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑ จะ
ไม่เกิดขึ้นในพวกกาลกัญชิกาสูร ๑ ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑ ไม่เกิดใน
โลกันตนรก ๑ อนึ่ง จะไม่เป็นมาร ๑ ในชั้นกามาวจรทั้งหลาย ใน
ชั้นรูปาวจรทั้งหลาย จะไม่เกิดในอสัญญีภพ ๑ ไม่เกิดในชั้นสุทธาวาส ๑
ไม่เกิดในอรูปภพ ไม่ก้าวล้ำไปยังจักรวาลอื่น ๑.
พระโพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยพุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ คือ อุสสาหะ
ความอุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ปัญญา ๑ อวัตถานะ ความตั้งใจมั่น ๑
หิตจริยา การประพฤติประโยชน์เกื้อกูล ๑ ในพุทธภูมิ ๔ ประการนั้น
พึงทราบว่า
ความเพียร เรียกว่าอุสสาหะ ปัญญา เรียกว่าอุมมัคคะ
อธิษฐานความตั้งมั่น เรียกว่าอวัตถานะ การประพฤติประ-
โยชน์เกื้อกูลที่เรียกว่าหิตจริยา เรียกว่า เมตตาภาวนา.
อนึ่ง อัชฌาสัย ๖ ประการนี้ใด คืออัชฌาสัยในเนกขัมมะ ๑
อัชฌาสัยในปวิเวก ๑ อัชฌาสัยในอโลภะ ๑ อัชฌาสัยในอโทสะ ๑
อัชฌาสัยในอโมหะ ๑ และอัชฌาสัยในนิสสรณะ การสลัดออกจากภพ ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อบ่มพระโพธิญาณ. และเพราะประกอบด้วยอัชฌาสัยเหล่า
ใด ท่านจึงเรียกพระโพธิสัตว์ทั้งหลายว่า ผู้มีเนกขัมมะเป็นอัธยาศัย
เห็นโทษในกามทั้งหลาย, ว่าผู้มีปวิเวกเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในการ
คลุกคลี, ว่าผู้มีอโลภะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในความโลภ, ว่าผู้มีอโทสะ
เป็นอัธยาศัย เห็นโทษในโทสะ, ว่าผู้มีอโมหะเป็นอัธยาศัย เห็นโทษใน
โมหะ, ว่าผู้มีการสลัดออกจากภพเป็นอัธยาศัย เห็นโทษในภพทั้งปวง.

270
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 271 (เล่ม 70)

พระโพธิสัตว์ผู้สำเร็จอภินิหาร ย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยเหล่านั้น
ด้วย.
ถามว่า ก็ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไป
นานเพียงไร ? ตอบว่า ความปรารถนาของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมเป็นไป ๒ อสงไขยแสนกัป ไม่อาจต่ำกว่านั้น พึงทราบเหตุในความ
ปรารถนานั้น โดยนัยดังกล่าวไว้ในเบื้องต้นนั่นแหละ ก็ว่าโดยกาลแม้มี
ประมาณเท่านี้ ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็จำต้อง
ปรารถนาสมบัติ ๕ ประการกระทำอภินีหาร. จริงอยู่ พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้าเหล่านั้น
มีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้ คือความเป็นมนุษย์ ๑ ความ
ถึงพร้อมด้วยเพศชาย ๑ การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑
การกระทำอันยิ่งใหญ่ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การได้เห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ
ได้แก่ การได้เห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า และพระสาวก
ของพระพุทธเจ้า ท่านใดท่านหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอถามว่า ความปรารถนาของพระสาวกทั้งหลาย
เป็นไปตลอดกาลมีประมาณเท่าไร ?
ตอบว่า ความปรารถนาของพระอัครสาวกเป็นไป ๑ อสงไขย
แสนกัป ของพระอสีติมหาสาวกเป็นไปแสนกัปเท่านั้น. ความปรารถนา
ของพระพุทธบิดา พระพุทธมารดา พระพุทธอุปัฏฐาก และพระ-
พุทธบุตร ก็แสนกัปเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงไม่อาจต่ำกว่านั้น
เหตุในความปรารถนานั้น มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

271
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 272 (เล่ม 70)

แต่พระสาวกเหล่านี้ ทุกองค์มีอภินิหารเฉพาะสองข้อเท่านั้น คือ
อธิการ การกระทำอันยิ่ง และ ฉันทตา ความเป็นผู้มีฉันทะที่จะทำ.
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมีทั้งหลายตลอดกาลซึ่งมีประ
เภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินิหารนี้ อย่างนี้
แล้ว เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์หรือสกุล
พราหมณ์.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในสกุลกษัตริย์ สกุล
พราหมณ์หรือสกุลคหบดี สกุลใดสกุลหนึ่ง.
ส่วนพระอัครสาวกย่อมเกิดขึ้นเฉพาะ ในสกุลกษัตริย์ และ สกุล
พราหมณ์ เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า.
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เกิดขึ้นในสังวัฏฏกัปคือกัปเสื่อม ย่อม
เกิดขึ้นในวิวัฏฏกัปคือกัปเจริญ. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน.
อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นในกาลที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายบังเกิดขึ้น. พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง และยัง
ให้ผู้อื่นรู้ได้ด้วย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เฉพาะตนเอง แต่ไม่
ยังให้ผู้อื่นรู้. พระปัจเจกพุทธเจ้าย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ไม่แทง
ตลอดธรรมรส. เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่อาจยกโลกุตรธรรม
ขึ้นสู่บัญญัติแล้วแสดง. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีการตรัสรู้ธรรม
เหมือนคนใบ้เห็นความฝัน และเหมือนพรานป่าลิ้มรสกับข้าวในเมือง
ฉะนั้น. ท่านบรรลุประเภทแห่งความแตกฉานในอิทธิฤทธิ์และสมาบัติ
ทั้งปวง เป็นผู้ต่ำกว่าพระพุทธเจ้า สูงกว่าพระสาวก โดยคุณวิเศษ.
ให้คนอื่นบวชไม่ได้ แต่ให้ศึกษาอภิสมาจาริกวัตรได้ กระทำอุโบสถด้วย

272
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 273 (เล่ม 70)

อุเทศนี้ว่า พึงทำการขัดเกลาจิต ไม่พึงถึงอวสานคือจบ หรือกระทำ
อุโบสถโดยเพียงกล่าวว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถ
ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาฬกะโรงแก้ว ณ ควงต้นไม้สวรรค์ บนภูเขา
คันธมาทน์แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความปรารถนา และอภินิหารอัน
บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระ-
อานนท์ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสบอกพระปัจเจก-
พุทธเจ้านั้น ๆ ผู้เป็นไปพร้อมด้วยความปรารถนานี้ และด้วยอภินีหารนี้
จึงได้ตรัสขัคคิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง
ดังนี้ นี้เป็นเหตุเกิดแห่งขัคควิสาณสูตรด้วยอำนาจการถาม โดยไม่พิเศษ
ก่อน.
บัดนี้ จะได้กล่าวการเกิดขึ้นแห่งขัคควิสาณสูตร โดยพิเศษ. ใน
ข้อนั้น พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งคาถานี้อย่างนี้ก่อน :-
ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ หยั่งลงสู่ภูมิปัจเจกโพธิสัตว์
บำเพ็ญบารมีอยู่สองอสงไขยแสนกัป บวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาค-
เจ้ากัสสปะ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรให้
บริบูรณ์ ได้กระทำสมณธรรมแล้ว. เขาว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ไม่บำเพ็ญวัตรให้
บริบูรณ์อย่างนี้แล้วบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ ย่อมไม่มี. ก็วัตรอะไรที่
ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร. อธิบายว่า การนำไปและนำกลับมา. เรา
ทั้งหลายจักกล่าวโดยประการที่วัตรจะแจ่มแจ้ง.
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้นำไปแต่ไม่นำกลับมา บางรูปนำกลับ
มา แต่ไม่นำไป บางรูปทั้งไม่นำไป ไม่นำกลับมา บางรูปทั้งนำไปและ

273