No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 254 (เล่ม 70)

ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะละโมหะได้ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งหลาย
ได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า
ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว ด้วยประการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ไป
สำหรับคนผู้เดียว เป็นอย่างไร ?
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านเรียกว่า เอกายนมรรค ทางเป็นที่
ไปสำหรับคนผู้เดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่ง
ชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงรู้ชัดทางเป็น
ที่ไปสำหรับคนผู้เดียว ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้ามโอฆะไป
แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคตจักข้ามด้วยทางนี้ และปัจจุบันนี้
ก็กำลังข้ามโอฆะด้วยทางนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่
ไปสำหรับคนผู้เดียว ด้วยประการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะ
พระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว เป็นอย่างไร ?
ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้น ตรัสรู้ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เทียง ตรัสรู้

254
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 255 (เล่ม 70)

ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา. ตรัสรู้
ว่า สังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า วิญญาณมีเพราะ
สังขารเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า
สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ผัสสะมีเพราะสฬายตนะ
เป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ตัณหามี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ตรัสรู้ว่า ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชาติมีเพราะภพเป็น
ปัจจัย ตรัสรู้ว่า ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย.
ตรัสรู้ว่า สังขารดับ เพราะอวิชชาดับ ตรัสรู้ว่า วิญญาณดับ
เพราะสังขารดับ ฯลฯ ตรัสรู้ว่า ชาติดับ เพราะภพดับ ตรัสรู้ว่า
ชรามรณะดับ เพราะชาติดับ. ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขสมุทัย
ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธ ตรัสรู้ว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ตรัสรู้ว่า
เหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่า นี้อาสวสมุทัย ฯลฯ ตรัสรู้ว่า นี้ปฏิปทา.
ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ
ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ว่า ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ
ตรัสรู้การเกิดการดับไป ความเพลิดเพลิน โทษ และการสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้การเกิด ฯลฯ การสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕
ตรัสรู้การเกิด การดับไป ความเพลิดเพลินโทษ และการสลัดออกแห่ง
มหาภูตรูป ๔ ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง ตรัสรู้ ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม บรรลุ
ถูกต้อง กระทำให้แจ้ง ซึ่งสิ่งที่ควรรู้ ควรรู้ตาม ควรรู้เฉพาะ ควรรู้

255
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 256 (เล่ม 70)

พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจก-
โพธิญาณนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งพระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว อย่างนี้ด้วย
ประการฉะนี้.
บทว่า จเร ความว่า จริยา ๘ คือ อิริยาบถจริยา ๑ อายตน-
จริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ ปัตติ-
จริยา ๑ และโลกัตถจริยา ๑.
จริยาในอิริยาบถทั้ง ๔ ชื่อว่า อิริยาปถจริยา.
จริยาในอายตนะภายใน ๖ และภายนอก ๖ ชื่อว่า อายตนจริยา.
จริยาในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ชื่อว่า สติจริยา.
จริยาในฌาน ๔ ชื่อว่า สมาธิจริยา.
จริยาในอริยสัจ ๔ ชื่อว่า ญาณจริยา.
จริยาในอริยมรรค ๔ ชื่อว่า มรรคจริยา.
จริยาในสามัญญผล ๔ ชื่อว่า ปัตติจริยา.
จริยาในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกทั้งหลายบางส่วน ชื่อว่า โลกัตถอริยา.
อิริยาบถจริยาย่อมมีแก่ผู้เพียบพร้อมด้วยปณิธิการดำรงตน, อาตน-
จริยาย่อมมีแก่ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สติจริยาย่อมมีแก่ผู้ปกติ
อยู่ด้วยความไม่ประมาท. สมาธิจริยาย่อมมีแก่ผู้ประกอบเนือง ๆ ในอธิจิต,
ญาณจริยาย่อมมีแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยพุทธิปัญญา, มรรคจริยาย่อมมีแก่ผู้ปฏิบัติ
โดยชอบ, ปัตติจริยาย่อมมีแก่ผู้บรรลุผล และโลกัตถจริยาย่อมมีแก่

256
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 257 (เล่ม 70)

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน
แก่พระสาวกทั้งหลายบางส่วน นี้จริยา ๘ ประการ.
จริยา ๘ อีกอย่างหนึ่ง ท่านเมื่อน้อมใจเชื่อย่อมประพฤติด้วย
ศรัทธา, เมื่อประคองอยู่ย่อมประพฤติด้วยความเพียร. เมื่อเข้าไปตั้งมั่น
ย่อมประพฤติด้วยสติ. เมื่อกระทำความไม่ฟุ้งซ่านย่อมประพฤติด้วยสมาธิ,
เมื่อรู้ชัดย่อมประพฤติไปด้วยปัญญา. เมื่อรู้แจ้งย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ-
จริยา, ย่อมประพฤติด้วยอายตนจริยา เพราะมนสิการว่า กุศลธรรม
ทั้งหลายย่อมมาถึงแก่ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมประพฤติด้วยวิเสสจริยา เพราะ
มนสิการว่า ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ย่อมบรรลุคุณวิเศษ. นี้จริยา ๘ ประการ.
จริยา ๘ อีกอย่างหนึ่ง จริยาในทัสสนะ สำหรับสัมมาทิฏฐิ จริยา
ในการยกจิต สำหรับสัมมาสังกัปปะ จริยาในการกำหนด สำหรับสัมมา-
วาจา จริยาในความหมั่น สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยาในความบริสุทธิ์
สำหรับสัมมาอาชีวะ จริยาในการประคองไว้ สำหรับสัมมากัมมันตะ จริยา
ในการปรากฏ สำหรับสัมมาสติ และจริยาในความไม่ฟุ้งซ่าน สำหรับ
สัมมาสมาธิ นี้จริยา ๘ ประการ.
บทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า ธรรมดาแรด มีนอเดียวเท่านั้น
ไม่มีนอที่สอง ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เหมือนกับนอแรดนั้น เช่นเดียวกับนอแรดนั้น มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด
นั้น, ของเค็มจัด เรียกว่าเหมือนเกลือ ของขมจัด เ รียกว่าเหมือนของขม
ของหวานจัด เรียกว่าเหมือนน้ำหวาน ของร้อนจัด เรียกว่าเหมือนไฟ
ของเย็นจัด เรียกว่าเหมือนหิมะ ลำน้ำใหญ่ เรียกว่าเหมือนทะเล พระ-
สาวกผู้บรรลุมหาอภิญญาพละ เรียกว่าเหมือนพระศาสดา ฉันใด พระ-

257
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 258 (เล่ม 70)

ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านเหมือนนอแรด เช่นกับ
นอแรด มีส่วนเปรียบด้วยนอแรด ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน หลุดพ้นกิเลส
เครื่องผูกพัน เที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไปอยู่ คุ้มครองอยู่ ไปอยู่
ให้ไปอยู่ในโลกโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงกล่าวว่า
บุคคลวางอาชญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น
แม้ตัวหนึ่ง ไม่ปรารถนาบุตร จะปรารถนาสหายแต่ที่ไหน
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความเสน่หาย่อมมีแก่บุคคลผู้เกิดความเกี่ยวข้อง ทุกข์ที่
อาศัยความเสน่หานี้มีมากมาย. บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดจาก
ความเสน่หา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ผู้ช่วยอนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตพัวพันอยู่ ย่อมทำ
ประโยชน์ให้เสื่อมไป บุคคลมองเห็นภัยในความสนิทสนมนี้
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความอาลัยในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่ใหญ่
เกี่ยวเกาะกันอยู่ บุคคลไม่ข้องอยู่ในบุตรและภรรยาเหมือน
หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
วิญญูชนหวังความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดดังเนื้อในป่าไม่ถูกผูก ย่อมเที่ยวไปหาเหยื่อได้ตาม
ความปรารถนาฉะนั้น.
ในท่ามกลางสหาย ย่อมจะต้องมีการปรึกษาหารือกัน

258
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 259 (เล่ม 70)

บุคคลเล็งเห็นความเสรี อันไม่เพ่งเล็งไปในการอยู่ การยืน
การเดิน และการเที่ยวไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
การเล่นในท่ามกลางสหายเป็นความยินดี และความรัก
ในบุตรภรรยาเป็นเรื่องกว้างใหญ่ไพศาล บุคคลเกลียดความ
พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
พึงแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ และไม่โกรธเคือง ยินดีด้วย
ปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลาย ไม่หวาดเสียว
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
แม้บรรพชิตบางพวก และพวกคฤหัสถ์ที่ครองเรือนก็
สงเคราะห์ได้ยาก พึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยในบุตรของคนอื่น
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์เสีย เป็นผู้กล้าหาญ
ตัดเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลางขาดใบ พึง
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน พึงเที่ยวไป
กับสหายผู้เป็นนักปราชญ์มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ พึง
ครอบงำอันตรายทั้งมวล พึงดีใจ มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.
ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เป็นนักปราชญ์
มีปกติอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้เที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้
เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้นที่พระองค์
ชนะแล้ว และเหมือนช้างชื่อมาตังคะในป่าฉะนั้น.

259
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 260 (เล่ม 70)

อันที่แท้ พวกเราสรรเสริญสหายสมบัติ พึงคบหาสหาย
ผู้ประเสริฐกว่าหรือผู้เสมอกัน บุคคลไม่ได้สหายเหล่านี้ พึง
คบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
บุคคลเห็นกำไลมือทองคำอันสุกปลั่ง อันช่างทองทำสำเร็จ
อย่างดี กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
การกล่าวด้วยวาจา หรือการติดข้องของเรา จะพึงมีกับ
เพื่อนอย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ ต่อไปภายหน้า พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ก็กามทั้งหลายงดงาม หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตใจด้วยรูปแปลก ๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณ
ทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความจัญไร หัวฝี อันตราย โรค บาดแผล และภัย นี้
จะพึงมีแก่เรา บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงครอบงำอันตรายนี้ทั้งหมด คือความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์
เลื้อยคลาน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด หรือเหมือน
ช้างเกิดร่างกายใหญ่โต มีสีดังดอกปทุม ละโขลงอยู่ในป่า
ตามชอบใจฉะนั้น.
ท่านใคร่ครวญคำของพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจพันธุ์

260
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 261 (เล่ม 70)

ว่า ข้อที่บุคคลผู้ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ จะพึงบรรลุวิมุตติอัน
เกิดขึ้นในสมัยนั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
เราเป็นไปล่วงข้าศึกคือทิฏฐิ ถึงความแน่นอน มีมรรค
อันได้แล้ว มีญาณเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีคนอื่นแนะนำ พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่
คุณท่าน มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว ไม่มีกิเลสเป็นที่มา
นอน ครอบงำโลกทั้งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
บุคคลพึงเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความพินาศ ตั้งมั่น
อยู่ในฐานะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไม่ซ่องเสพผู้ขวนขวาย ผู้ประมาท
ด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ
รู้ทั่วถึงประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยได้ พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก
ไม่อาลัยคลายความยินดีจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวแต่
คำสัตย์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก
พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

261
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 262 (เล่ม 70)

นี้เป็นกิเลสเครื่องข้อง ในกิเลสเครื่องข้องนี้ มีความสุข
นิดหน่อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มากยิ่ง ผู้มีความคิดรู้ว่า
เครื่องข้องนี้เป็นดุจขอ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เหมือนปลาทำลายข่าย
ไม่หวนกลับมาอีก เหมือนไฟไม่หวนกลับมายังที่ที่ไหม้แล้ว
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า คุ้มครองอินทรีย์ รักษา
มนัส อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึงเป็นผู้
เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงละเครื่องหมายคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองกวาวมีใบขาด
แล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชแล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น
ไม่พึงทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น
เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวในสกุล
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั่น.
พึงละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ บรรเทาอุปกิเลสเสีย
ทั้งหมด ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา
ได้แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
กระทำสุข ทุกข์ โสมนัส และโทมนัสในก่อนไว้เบื้อง
หลัง ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

262
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 263 (เล่ม 70)

พึงปรารภความเพียรเพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง มีจิตไม่
หดหู่ ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ประกอบ
ด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร
แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้า
น้ำลาย มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันพิจารณาแล้ว เป็นผู้เที่ยงมี
ปธานความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ไม่พึงสะดุ้งในเพราะเสียง ดุจสีหะ มีข้องอยู่ เหมือนลม
ไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ เหมือนปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงเสพเสนาสนะอันสงัด เหมือนสีหะผู้เป็นราชาของ
พวกเนื้อ มีเขี้ยวเป็นกำลัง ประพฤติข่มขี่ครอบงำเนื้อทั้งหลาย
ฉะนั้น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงเจริญเมตตาวิมุตติ กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุติ และ
อุเบกขาวิมุตติทุกเวลา ไม่พิโรธสัตว์โลกทั้งมวล พึงเป็นผู้
เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงละราคะ โทสะ และโมหะ ทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

263