No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 184 (เล่ม 70)

เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์
ของตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ถวายให้เป็นที่อยู่ในภิกษุผู้
เป็นพหูสูตเถิด.
อนึ่ง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะแก่ท่านเหล่า
นั้น ด้วยใจอันเลื่อมใสในท่านผู้ปฏิบัติตรง. เขาผู้ถวายวิหาร
รู้ธรรมใดในโลกนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ท่าน
เหล่านั้นย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง
แก่เขา.
จำเดิมแต่วันที่สองไป ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เริ่มการฉลอง
วิหาร. การฉลองวิหารของนางวิสาขา ๔ เดือนเสร็จ ส่วนการฉลองวิหาร
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๙ เดือนเสร็จ. แม้ในการฉลองวิหาร ก็สิ้น
ทรัพย์ไปถึง ๑๘ โกฏิทีเดียว. เฉพาะวิหารอย่างเดียวเท่านั้น ท่านได้
บริจาคทรัพย์นับได้ ๕๔ โกฏิ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในอดีตกาล ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
เศรษฐีชื่อว่า ปุนัพพสุมิตตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ สร้างสังฆา-
รามประมาณหนึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี เศรษฐีชื่อ สิริ-
วัฑฒะ ซื้อที่โดยการปูลาดผาลทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามมีประมาณ ๓
คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู เศรษฐีชื่อว่า
โสตถิยะ ซื้อที่โดยปูลาดรอยเท้าช้างทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมี
ประมาณกึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ.

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 185 (เล่ม 70)

ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ เศรษฐีชื่อว่า
อัจจุตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณหนึ่ง
คาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โกนาคมนะ เศรษฐี
ชื่อว่า อุคคะ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ
กึ่งคาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เศรษฐีชื่อว่า
สุมังคละ ซื้อที่โดยการปูลาดไม้เท้าทองคำ แล้วสร้างสังฆารามมีประมาณ
๖ กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ.
แต่ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เศรษฐีชื่อว่า
อนาถบิณฑิกะ ซื้อที่โดยการปูลาดทรัพย์โกฏิกหาปณะ แล้วสร้างสังฆาราม
มีประมาณ ๘ กรีส ลงในที่นั้นนั่นแหละ. ได้ยินว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มิได้ทรงละเลยทีเดียว.
ตั้งแต่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่มหาโพธิมัณฑ์ จนกระทั่งถึงเตียง
มหาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สถานที่ใด ๆ สถานที่
นี้นั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สันติเกนิทาน ด้วยประการฉะนี้.
จบนิทานกถา

185
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 186 (เล่ม 70)

พรรณนาอัพภันตรนิทาน
ศัพท์ว่า อถ ในคาถานี้ว่า
ลำดับนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์ จงสดับพุทธาปทาน
ว่า เราเป็นพระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน ซึ่ง
ใคร ๆ นับไม่ได้ ดังนี้.
เป็นบทนิบาตใช้ในอรรถว่า แสดงลำดับแห่งอธิการ คือ เป็นบทนิบาต
ที่ประกอบด้วยวิภัตติ ในบรรดานิบาตทั้งสอง ที่ประกอบด้วยวิภัตติ และ
ไม่ประกอบวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง
อถ ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า อธิการ, มงคล, อรรถว่า
สำเร็จ, อวธารณะ, อรรถว่า ต่อเนื่องกันไป, และอรรถว่า
ปราศจากไป.
จริงอย่างนั้น เพราะท่านกล่าวไว้ว่า
อธิการย่อมบ่งบอกถึงกิจอันยิ่ง ฐานะอันยิ่ง และอรรถ
อันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญที่สุด
ดังนี้.
(เชื่อมความว่า) ท่านทั้งหลายจงฟังอปทาน (คือเหตุ) อันประกอบ
ด้วย อถ ศัพท์อันมีอธิการเป็นอรรถ โดยเป็นกิจอันยิ่งแห่งบารมีธรรม
๓๐ ถ้วนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญ
ที่สุด. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ
ศัพท์ซึ่งมีมงคลเป็นอรรถ โดยพระบาลีว่า การบูชาผู้ควรบูชา นั่น

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 187 (เล่ม 70)

เป็นมงคลอันสูงสุด เพราะการบูชาพระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเป็นมงคลโดย
สภาพ. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานที่ประกอบด้วย อถ
ศัพท์อันมีความสำเร็จเป็นอรรถ เพราะกิจแห่งสมบัติของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าเป็นต้น สำเร็จแล้วด้วยพระอรหัตมรรค. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลาย
จงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ ศัพท์อันมีอวธารณะเป็นอรรถ คือมี
การห้ามเป็นอรรถ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่มีกุศลอื่นจากกุศลมี
อรหัตมรรคเป็นต้น. เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบ
ด้วย อถ ศัพท์อันมี อนันตระ ความต่อเนื่องกันเป็นอรรถ เพราะท่าน
ร้อยกรองไว้ติดต่อกับการร้อยกรองขุททกปาฐะ. เชื่อมความว่า ท่าน
ทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถ ศัพท์ ซึ่งมีการจากไปเป็นอรรถ
เพราะเริ่มจากขุททกปาฐะนี้ไป.
ในบทว่า พุทฺโธ พระพุทธเจ้า นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงหยั่งเห็นสิ่งทั้งปวง.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ไม่มีตนอื่นแนะนำ.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะสิ้นอาสวะแล้ว.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะปราศจากอุปกิเลส.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะการถือบวช.

187
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 188 (เล่ม 70)

ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าไม่เป็นที่สอง.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าละตัณหาได้.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะเสด็จดำเนินทางเป็นที่ไปอันเอก.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เดียวตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิ-
ญาณอันยอดเยี่ยม.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงได้เฉพาะความรู้ เป็นเหตุกำจัด
ความไม่รู้เสียได้.
บททั้งสามคือ พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ นี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. ผ้า
เราเรียกว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น ฉันใด.
ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า
ฉันนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ญาณในมรรคทั้ง ๔ เรียกว่า โพธิ, ญาณที่เรียกว่า
โพธิ เพราะทำหมู่กิเลส ๑,๕๐๐ ทั้งสิ้นให้สิ้นไป ด้วยญาณนั้นนั่นแหละ
แล้วบรรลุพระนิพพาน. สมังคีบุคคลผู้ประกอบพร้อมด้วยญาณนั้น ชื่อว่า
เป็นพระพุทธเจ้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วย
ญาณนั้นเหมือนกัน แล้วจึงบรรลุพระนิพพาน. ก็ญาณนั้นเท่านั้นเป็น
อปทาน คือเป็นเหตุของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยเป็นญาณอันยิ่งเฉพาะ.
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่า พุทธาปทาน เพราะพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายทรงบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขยแสนกัป จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ
และเพราะทรงบรรลุอสาธารณญาณ มีอินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณา-
สมาบัติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ
อาสยานุสยญาณเป็นต้น และเพราะทรงให้หมู่สัตว์นับไม่ถ้วนดื่มอมตธรรม

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 189 (เล่ม 70)

ด้วยพระธรรมเทศนา แม้กัณฑ์เดียวแล้วให้บรรลุพระนิพพาน.
ก็พุทธาปทานนั้นมี ๒ อย่าง โดยเป็นกุศลและอกุศล แต่พระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้ แม้เมื่อจะทำการสงเคราะห์
ทายกผู้ถวายปัจจัย มีข้าวเป็นต้น ก็แสดงธรรมด้วยคาถา ๒ คาถานี้
เท่านั้นแหละว่า
ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดย
เร็วพลัน ความดำริไว้ในใจจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์
ในวันเพ็ญฉะนั้น.
ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้ว ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดย
เร็วพลัน ความดำริในใจจงเต็มที่ เหมือนแก้วมณี ชื่อโชติรส
ฉะนั้น ดังนี้.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้จะแสดงธรรม ก็ไม่อาจทำหมู่สัตว์
นับไม่ถ้วนให้ตรัสรู้ได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นเหมือนพระสัพพัญญู-
พุทธเจ้า ตรัสรู้ได้เฉพาะโดยโดดเดี่ยว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า. อปทาน คือเหตุแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า
ปัจเจกพุทธาปทาน.
ชื่อว่า เถระ เพราะดำรงอยู่นาน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ มีศีล อาจาระ
และมัทวะความอ่อนโยนเป็นต้น อันมั่นคงกว่า.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ คือศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ อันมั่นคงและประเสริฐ.

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 190 (เล่ม 70)

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะบรรลุพระนิพพาน คือสันติ
ที่นับว่ามั่นคงกว่า ประณีต และยอดเยี่ยม.
อปทานของพระเถระทั้งหลาย ชื่อว่า เถราปทาน.
ชื่อว่า เถรี เพราะประกอบด้วยตาทิคุณทั้งหลายเหมือนพระเถระ.
อปทานของพระเถรีทั้งหลาย ชื่อว่า เถรีปทาน.
ในอปทานเหล่านั้น พุทธาปทานมี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร.
ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
อปทานที่ ๑ ซึ่งมี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร นี้ชื่อว่า
พุทธาปทาน โดยอนุโลม.
แม้ปัจเจกพุทธาปทานก็มี ๕ อปทาน และ ๕ พระสูตร. ด้วยเหตุ
นั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
อปทานที่ ๒ ซึ่งมี ๕ อปทาน และ๕ พระสูตร นี้ชื่อว่า
ปัจเจกพุทธาปทาน โดยอนุโลม.
เถราปทานมี ๕๑๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๕๑ วรรค. ด้วยเหตุ
นั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
อปทานที่ ๓ ซึ่งมี ๕๐๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๕๑
วรรค นี้ชื่อว่า เถราปทาน โดยอนุโลม.
เถรีอปทานมี ๔๐ อปทาน ว่าโดยวรรค มี ๔ วรรค. ด้วยเหตุนั้น
พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า
อปทานที่ ๔ ซึ่งมี ๔๐ อปทาน และมีวรรค ๔ วรรค นี้
ชื่อว่า เถรีปทาน โดยอนุโลม.

190
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 191 (เล่ม 70)

อปทาน ศัพท์ ในบทว่า อปทานํ นี้ ปรากฏว่าใช้ในความหมาย
มีอาทิว่า การณะ คหณะ อปคมนะ ปฏิปาฏิ และอักโกสนะ.
จริงอย่างนั้น อปทาน ศัพท์นี้ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า การณะ
คือเหตุ ได้ในประโยคมีอาทิว่า ขตฺติยานํ อปทานํ, พฺราหฺมณานํ อปทานํ
อธิบายว่า เหตุแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย เหตุแห่งพราหมณ์ทั้งหลาย.
ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า คหณะ คือการถือ ได้ในประโยคมี
อาทิว่า อุปาสกานํ อปทานํ อธิบายว่า อุบาสกทั้งหลายถือเอาด้วยดี.
ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า อปคมนะ คือการจากไป ได้ใน
ประโยคมีอาทิว่า วาณิชานํ อปทานํ สุทฺทานํ อปทานํ อธิบายว่า พวก
พ่อค้าและพวกศูทรเหล่านั้น พากันจากไปแต่ที่นั้น ๆ.
ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า ปฏิปาฏิ คือตามลำดับ ได้ในประโยค
มีอาทิว่า ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อมเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว โดย
เที่ยวไปตามลำดับ อธิบายว่า เที่ยวไปตามลำดับเรือน.
ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า อักโกสนะ คือ การด่า ได้ใน
ประโยคมีอาทิว่า ย่อมด่าว่า ชนเหล่านี้ไปปราศ จากความเป็นสมณะ ชน
เหล่านั้นไปปราศ จากความเป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ย่อมด่า ย่อมบริภาษ.
แต่ในที่นี้ ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า การณะ คือเหตุ เพราะ-
ฉะนั้น อปทานของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า พุทธาปทาน อธิบายว่า
เหตุแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พึงเห็นว่า บารมี ๓๐ ถ้วนมีทานบารมี
เป็นต้น เป็นเหตุของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่น้อย อุปมาดังเมล็ดทราย
ในแม่น้ำคงคา. มีการเชื่อมความว่า บัดนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์

191
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 192 (เล่ม 70)

จงสดับอปทานที่ประกอบในความหมายมีความหมายว่า อธิการคือคุณที่
กระทำไว้ยิ่งใหญ่เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทฺธมานสา ความว่า ท่านทั้งหลาย
ผู้เป็นพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ ชื่อว่าสุทธมานสา คือมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง
มีหฤทัยสะอาด เพราะทำกิเลส ๑,๕๐๐ ให้สิ้นไปด้วยอรหัตมรรคญาณ
แล้วดำรงอยู่ จงนั่งประชุมกันฟังอปทานในโรงธรรมนี้ อธิบายว่า ท่าน
ทั้งหลายจงเงี่ยโสดลงฟังกระทำไว้ในใจ.
ก็ในข้อนี้พึงเห็นว่า แม้เมื่อปัจเจกพุทธาปทาน เถราปทาน และ
เถรีอปทานจะมีอยู่ ท่านก็ไม่กล่าวว่า อปทานานิ กลับกล่าวคำว่า อถ
พุทธาปทานานิ เหมือนเมื่อขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก
สังขารยมก และอนุสยยมก แม้จะมีอยู่ก็กล่าวว่า มูลยมก ด้วยอำนาจที่เป็น
ประธาน และด้วยอำนาจที่เป็นเบื้องต้น และเหมือนเมื่อสังฆาทิเสส ๑๓
อนิยต ๒ และนิสสัคคิยะ ๓๐ แม้จะมีอยู่ ก็กล่าวว่า ปาราชิกกัณฑ์ ด้วย
อำนาจที่เป็นประธาน และด้วยอำนาจทีเป็นเบื้องต้น แม้ในที่นี้ ท่านก็
กล่าวไว้โดยที่เป็นประธานและเป็นเบื้องต้น.
เมื่อควรจะกล่าวว่า สมฺมาสมฺพุทฺธาปทานานิ แต่ท่านทำการลบ
บทนิบาตว่า สมฺมา ซึ่งบ่งบอกอรรถที่เป็นตติยาวิภัตติ และบทอุปสรรค
ว่า สํ ซึ่งบ่งบอกอรรถของศัพท์ว่า สยํ โดยนิรุตตินัยว่า วณฺณาคโม
ฯ เป ฯ ปญฺจวิธํ นิรุตฺตํ = นิรุตต์มี ๕ ชนิด คือ ลงตัวอักษร ฯลฯ
หรือโดยสูตรว่า เตสุ วุทฺธิโลปาคมวิการวิปรีตาเทสา จ = ก็ในสนธิ-
กิริโยปกรณ์เหล่านั้น มีพฤทธิ์ ลบ ลงตัวอักษร ทำให้ผิดจากของเดิม
และแปลงให้ผิดตรงกันข้าม ดังนี้ แล้วถือเอาเฉพาะศัพท์ว่า พุทฺธ อัน

192
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 193 (เล่ม 70)

บ่งว่าเป็นกิตก์ แล้วกล่าวว่า พุทฺธาปทานานิ เพื่อสะดวกในการประพันธ์
คาถา. เพราะฉะนั้น บทว่า พุทฺธาปทานานิ มีความหมายว่า อปทาน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้.
พรรณนาอัพภันตรนิทาน
ในวิสุทธขนวิลาสินี อรรถกถาอทาน
จบเพียงเท่านี้
๑. พรรณนาพุทธาปทาน
บัดนี้ พระเถระมีความประสงค์จะกล่าวอรรถกถาอปทาน ในลำดับ
อัพภันตรนิทาน จึงกล่าวไว้ว่า
อปทาน คืออปทานใด แสดงนัยอันวิจิตร พระอรหันตเจ้า
ทั้งหลาย สังคายนาไว้ในขุททกนิกาย บัดนี้ ถึงลำดับแห่ง
การสังวรรณนา เนื้อความแห่งอปทานั้น ดังนี้.
ก่อนอื่น อปทานใดในคาถานั้น ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในรส
อันเดียวกัน เพราะท่านกล่าวไว้ว่า พระพุทธพจน์ทั้งสิ้นมีรสคือวิมุตติ
เป็นอันเดียวกัน, ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในธรรมที่ท่านสงเคราะห์ไว้ ๒
ส่วน ด้วยอำนาจธรรมและวินัย, ในบรรดาปฐมพุทธพจน์ มัชฌิม-
พุทธพจน์ และปัจฉิมพุทธพจน์ ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในมัชฌิม-
พุทธพจน์, ในบรรดาพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรม-
ปิฎก ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในพระสุตตันตปิฎก, ในบรรดานิกาย ๕

193