No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 124 (เล่ม 70)

พระโพธิสัตว์นั้นทรงเล่นอยู่ในอุทยานนั้นตลอดทั้งวัน แล้วสรง
สนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล เมื่อพระอาทิตย์อัสดงแล้ว ประทับ
นั่งบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล มีพระประสงค์จะให้เขาแต่งพระองค์. ทีนั้น
พวกบริจาริกาของพระองค์ถือเอาผ้าสีต่าง ๆ เครื่องอาภรณ์หลายชนิดนา-
นัปการ และดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ มายืนห้อมล้อมอยู่โดยรอบ.
ขณะนั้น อาสนะที่ท้าวสักกะประทับนั่ง ได้มีความร้อนขึ้น ท้าวสักกะนั้น
ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า ใครหนอ มีความต้องการจะให้เราเคลื่อนจากที่นี้
ทรงทราบว่าพระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะให้ตกแต่งพระองค์ จึงตรัส
เรียกพระวิสสุกรรมมาตรัสว่า นี่แน่ะวิสสุกรรมผู้สหาย วันนี้ สิทธัตถกุมาร
จักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ในเวลาเที่ยงคืน การประดับนี้เป็นการ
ประดับครั้งสุดท้ายของพระองค์ ท่านจงไปยังอุทยานประดับตกแต่งพระ-
มหาบุรุษ ด้วยเครื่องประดับอันเป็นทิพย์. พระวิสสุกรรมนั้นรับเทวบัญชา-
แล้ว เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ทันที ด้วยเทวานุภาพเป็นเหมือนกับช่าง
กัลบกของพระองค์ทีเดียว เอาผ้าทิพย์พันพระเศียรของพระโพธิสัตว์.
โดยการสัมผัสมือเท่านั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทราบว่า ผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ ผู้นี้
เป็นเทวบุตร. เมื่อพอเขาเอาผ้าพันผืนพันพระเศียรเข้า ผ้าพันผืนก็นูนขึ้น
โดยอาการคล้ายแก้วมณีบนพระโมลี เมื่อเขาพันอีก ผ้าพันผืนก็นูนขึ้น
เพราะเหตุนั้น เมื่อเขาพัน ๑๐ ครั้ง ผ้าหมื่นผืนก็นูนสูงขึ้น. ใคร ๆ
ไม่ควรคิดว่า พระเศียรเล็ก ผ้ามาก พอนูนขึ้นได้อย่างไร. เพราะ
บรรดาผ้าเหล่านั้น ผ้าที่ใหญ่กว่าทุกผืน มีขนาดเท่าดอกมะขามป้อม
ผ้าที่เหลือมีขนาดเท่าดอกกระทุ่ม พระเศียรของพระโพธิสัตว์ได้เป็น
เหมือนดอกสารภีที่หนาแน่นด้วยเกสรฉะนั้น.

124
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 125 (เล่ม 70)

ลำดับนั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงแล้ว
เมื่อพวกนักดนตรีทั้งปวงแสดงปฏิภาณของตน ๆ เมื่อพวกพราหมณ์สรร-
เสริญด้วยคำมีอาทิว่า ขอพระองค์จงทรงยินดีในชัยชนะ เพราะพวกคนที่
ถือการได้ยินได้ฟังว่าเป็นมงคลเป็นต้น สรรเสริญด้วยการประกาศสดุดี
ด้วยคำอันเป็นมงคลนานัปการ พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นรถอันประเสริฐซึ่ง
ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
ทรงสดับว่า มารดาราหุลประสูติพระโอรส จึงส่งสาสน์ไปว่า ท่านทั้งหลาย
จงบอกความดีใจของเราแก่ลูกของเราด้วย. พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับข่าว
สาสน์นั้นแล้วตรัสว่า ราหุ (ห่วง) เกิดแล้ว เครื่องจองจำเกิดแล้ว. พระ-
ราชาตรัสถามว่า บุตรของเราได้พูดอะไรบ้าง ครั้นได้สดับคำนั้นแล้วจึง
ตรัสว่า ตั้งแต่นี้ไป หลานของเราจงมีชื่อว่า ราหุลกุมาร.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็เสด็จขึ้นทรงรถอันประเสริฐ เสด็จเข้าสู่พระนคร
ด้วยพระยศอันยิ่งใหญ่ ด้วยพระสิริโสภาคย์อันรื่นรมย์ใจยิ่งนัก. สมัยนั้น
นางขัตติยกัญญาพระนามว่า กีสาโคตมี เสด็จอยู่ ณ พื้นปราสาทชั้นบน
อันประเสริฐ เห็นความสง่าแห่งพระรูปโฉมของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำ
ประทักษิณพระนคร ทรงเกิดปีติโสมนัส จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า
บุรุษเช่นนี้ เป็นบุตรของมารดาใด มารดานั้นก็ดับ๑ได้แน่
เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้นก็ดับได้แน่ เป็นสามีของนารีใด
นารีนั้นก็ดับได้แน่.
พระโพธิสัตว์สดับคำอันเป็นคาถานั้น ทรงดำริว่า พระนางกีสาโคตมี
นี้ตรัสอย่างนี้ว่า หทัยของมารดา หทัยของบิดา หทัยของภริยา ผู้เห็นอัตภาพ
เห็นปานนี้ ย่อมดับทุกข์ได้ เมื่ออะไรหนอดับ หทัยจึงชื่อว่าดับทุกข์ได้.
๑. หมายถึงสมายใจ, เย็นใจ.

125
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 126 (เล่ม 70)

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ผู้มีหทัยคลายความกำหนัดในกิเลสทั้งหลาย
ได้มีพระดำริดังนี้ว่า เมื่อไฟคือราคะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี เมื่อไฟคือ
โทสะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี เมื่อไฟคือโมหะดับ หทัยชื่อว่าดับก็มี
เมื่อความเร่าร้อนเพราะกิเลสทั้งปวงมีมานะทิฏฐิเป็นต้นดับ หทัยชื่อว่า
ดับก็มี พระนางให้เราฟังคำที่ดี ความจริง เรากำลังเที่ยวแสวงหาความ
ดับอยู่ วันนี้แล เราควรทิ้งการครองเรือนออกไปบวชแสวงหาความดับ.
นี้จงเป็นส่วนแห่งอาจารย์สำหรับพระนางเถิด แล้วปลดแก้วมุกดาหารมีค่า
หนึ่งแสนจากพระศอ ส่งไปประทานแก่พระนางกีสาโคตมี. พระนางเกิด
ความโสมนัสว่า สิทธัตถกุมารมีจิตปฏิพัทธ์เราจึงส่งเครื่องบรรณาการมาให้.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของพระองค์ ด้วยพระสิริโสภาคย์
อันยิ่งใหญ่ เสด็จบรรทมบนพระที่สิริไสยาสน์ ในทันใดนั้นเอง เหล่าสตรี
นักฟ้อนผู้ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ผู้ศึกษามาดีแล้วใน
การฟ้อนและการขับเป็นต้น ทั้งงามเลิศด้วยรูปโฉม ประดุจนางเทพ.
กัญญา ถือดนตรีนานาชนิดมาแวดล้อมทำพระโพธิสัตว์ให้อภิรมย์ยินดี
ต่างพากันประกอบการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง. พระโพธิสัตว์ไม่
ทรงอภิรมย์ยินดีในการฟ้อนรำเป็นต้น เพราะทรงมีพระหฤทัยเบื่อหน่ายใน
กิเลสทั้งหลาย ครู่เดียวก็เสด็จเข้าสู่นิทรา. ฝ่ายสตรีเหล่านั้นคิดกันว่า
พวกเราประกอบการฟ้อนรำเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชกุมารใด
พระราชกุมารนั้นเสด็จเข้าสู่นิทราแล้ว บัดนี้พวกเราจะลำบากไปเพื่ออะไร
ต่างพากันวางเครื่องดนตรีที่ถือไว้ๆ แล้วก็นอนหลับไป ดวงประทีป
น้ำมันหอมยังคงลุกสว่างอยู่.

126
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 127 (เล่ม 70)

พระโพธิสัตว์ทรงตื่นบรรทม ทรงนั่งขัดสมาธิบนหลังพระที่บรรทม
ได้ทอดพระเนตรเห็นสตรีเหล่านั้นนอนหลับทับเครื่องดนตรีอยู่ บางพวก
มีน้ำลายไหล มีตัวเปรอะเปื้อนน้ำลาย บางพวกกัดฟัน บางพวกนอนกรน
บางพวกละเมอ บางพวกอ้าปาก บางพวกผ้าหลุดลุ่ยปรากฏอวัยวะเพศอัน
น่าเกลียด. พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นอาการผิดแผกของสตรีเหล่า-
นั้น ได้ทรงมีพระหฤทัยเบื่อหน่ายในกามทั้งหลายยิ่งกว่าประมาณ พื้น
ใหญ่นั้นตกแต่งประดับประดาไว้แม้จะเป็นเช่นกับภพของท้าวสักกะ ก็
ปรากฏแก่พระองค์ประหนึ่งว่า ป่าช้าผีดิบซึ่งเต็มด้วยซากศพนานาชนิด
ภพทั้ง ๓ ปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้ จึงเปล่งอุทานว่า วุ่นวายจริง
หนอ ขัดข้องจริงหนอ. พระทัยของพระองค์ทรงน้อมไปเพื่อบรรพชา
ยิ่งขึ้น.
พระโพธิสัตว์นั้นทรงดำริว่า เราออกมหาภิเนษกรมณ์เสียในวันนี้
ทีเดียว จึงเสด็จลุกขึ้นจากพระที่บรรทม เสด็จไปใกล้ประตูตรัสว่า ใคร
อยู่ที่นั่น. นายฉันนะนอนเอาศีรษะหนุนธรณีประตูอยู่กราบทูลว่า ข้าแต่
พระลูกเจ้า ข้าพระองค์ ฉันนะ. ตรัสว่า วันนี้เรามีประสงค์จะออกมหา-
ภิเนษกรมณ์ จงจัดหาม้าให้เราตัวหนึ่ง. เขาทูลรับว่า ได้ พระเจ้าข้า แล้ว
ถือเอาเครื่องม้าไปยังโรงม้า เมื่อดวงประทีปน้ำมันหอมยังลุกโพลงอยู่
เห็นหญ้าม้ากัณฐกะยืนอยู่บนภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ภายใต้เพดานแผ่น
ดอกมะลิ คิดว่า วันนี้ เราควรจัดม้าตัวนี้แหละถวาย จึงได้จัดม้ากัณฐกะ.
มากัณฐกะนั้นเมื่อนายฉันนะจัดเตรียมอยู่ ได้รู้ว่าการจัดเตรียมคราวนี้
กระชับแน่นจริง ไม่เหมือนการจัดเตรียมในคราวเสด็จประพาสเล่นในสวน
เป็นต้น ในวันอื่น ๆ วันนี้พระลูกเจ้าของเรา จักมีพระประสงค์เสด็จ

127
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 128 (เล่ม 70)

ออกมหาภิเนษกรมณ์. ทีนั้นก็มีใจยินดีจึงร้องดังลั่น เสียงนั้นจะพึงกลบ
ไปทั่วทั้งพระนคร แต่เทวดาทั้งหลายกั้นเสียงนั้นไว้มิให้ใคร ๆ ได้ยิน.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงใช้นายฉันนะไปแล้วทรงดำริว่า เราจักเยี่ยม
ดูลูกเสียก่อน จึงเสด็จลุกขึ้นจากบัลลังก์ที่ประทับ เสด็จไปยังที่อยู่ของ
พระมารดาพระราหุล ทรงเปิดประตูห้อง ขณะนั้นดวงประทีปน้ำมันหอม
ยังลุกไหม้อยู่ในภายในห้อง พระมารดาพระราหุลทรงบรรทมวางพระหัตถ์
เหนือเศียรพระโอรส บนที่บรรทมอันเกลื่อนกล่นด้วยดอกมะลิซ้อนและ
ดอกมะลิลาเป็นต้น. พระโพธิสัตว์ประทับยืนวางพระบาทบนธรณีประตู
ทอดพระเนตรดูแล้วทรงดำริว่า ถ้าเราจักเอามือพระเทวีออกแล้วจับลูก
ของเราไซร้ พระเทวีก็จักตื่นบรรทม เมื่อเป็นอย่างนั้น อันตรายจักมี
แก่เรา เราจักเป็นพระพุทธเจ้าเสียก่อนจึงจักมาเยี่ยมดูลูก ครั้นทรงดำริ
แล้วจึงเสด็จลงจากพื้นปราสาทไป. ก็คำที่กล่าวไว้ในอรรถกถาชาดกว่า
ตอนนั้น พระราหุลกุมารประสูติได้ ๗ วัน ดังนี้ ไม่มีอยู่ในอรรถกถา
ที่เหลืออยู่ เพราะฉะนั้น พึงถือเอาคำนี้แหละ.
พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากพื้นปราสาทอย่างนี้แล้ว เสด็จเข้าไปใกล้
ม้าตรัสอย่างนี้ว่า นี่แน่ะพ่อกัณฐกะ วันนี้ เจ้าจงให้เราข้ามฝั่งสักคืน
หนึ่งเถิด เราอาศัยเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จักยังโลกพร้อมทั้งเทวโลก
ให้ข้ามฝั่งด้วย. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ก็กระโดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะ.
ม้ากัณฐกะโดยความยาวเริ่มแต่คอวัดได้ ๑๘ ศอก ประกอบด้วยส่วนสูง
อันเหมาะสมกับความยาวนั้น สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเร็ว ตัวขาว
ปลอดประดุจสังข์ที่ขัดแล้ว. ถ้าม้ากัณฐกะนั้นพึงร้องหรือกระทำเสี่ยงที่เท้า
เสียงก็จะพึงกลบไปทั่วทั้งพระนคร เพราะฉะนั้น เทวดาทั้งหลายจึงปิด

128
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 129 (เล่ม 70)

เสียงร้องของม้านั้น โดยประการที่ใคร ๆ จะไม่ได้ยิน ด้วยอานุภาพของ
คน แล้วเอาฝ่ามือเข้าไปรองรับในวาระที่ม้าก้าวเท้าเหยียบไป ๆ. พระ-
โพธิสัตว์เสด็จอยู่ท่ามกลางหลังม้าตัวประเสริฐ ให้นายฉันนะจับหางม้า
เสด็จถึงยังที่ใกล้ประตูใหญ่ตอนเที่ยงคืน.
ก็ในกาลนั้น พระราชาทรงให้การทำบานประตูสองบาน แต่ละบาน
จะต้องใช้บุรุษหนึ่งพันคนเปิด ด้วยทรงพระดำริว่า เมื่อเป็นอย่างนี้
บุตรของเราจักไม่อาจเปิดประตูเมืองออกไปได้ ไม่ว่าเวลาไหน ๆ. แต่
พระโพธิสัตว์ทรงสมบูรณ์ด้วยพละกำลัง เมื่อเทียบกับช้าง ทรงกำลังเท่า
ช้างถึงพันโกฏิเชือก เมื่อเทียบกับบุรุษ ทรงกำลังเท่าบุรุษถึงหมื่นโกฏิ
พระองค์จึงทรงดำริว่า ถ้าใครไม่เปิดประตู วันนี้เรานั่งอยู่บนหลังม้า
กัณฐกะนี่แหละ จักเอาขาอ่อนหนีบม้ากัณฐกะพร้อมทั้งนายฉันนะผู้ยืนจับ
หางอยู่ โดดข้ามกำแพงสูง ๑๘ ศอกไป. ฝ่ายนายฉันนะก็คิดว่า ถ้าประตู
ไม่เปิด เราจักให้พระลูกเจ้าผู้เป็นนายของตนประทับนั่งบนคอ เอาแขน-
ขวาโอบรอบท้องม้ากัณฐกะกระทำให้อยู่ในระหว่างรักแร้ โดดข้ามกำแพง
ออกไป. ฝ่ายม้ากัณฐกะก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด เราจักยกนายของตน
ทั้งที่นั่งอยู่บนหลัง พร้อมทั้งนายฉันนะผู้ยืนจับหางอยู่ โดดข้ามกำแพง
ออกไป. ถ้าประตูไม่เปิด ชนทั้งสามนั้นคนใดคนหนึ่งพึงทำให้สำเร็จตาม
ที่คิดไว้ได้แน่ แต่เทวดาผู้สิงอยู่ที่ประตูเปิดประตูให้.
ในขณะนั้นนั่นเอง มารผู้มีบาปคิดว่า จักให้พระโพธิสัตว์กลับ จึง
มายืนอยู่ในอากาศแล้วทูลว่า ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าออกเลย ในวันที่ ๗
แต่วันนี้ไป จักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน ท่านจักครอบครองราชสมบัติ
ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร จงกลับเถิด ท่านผู้

129
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 130 (เล่ม 70)

นิรทุกข์. พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร ? มารตอบว่า เรา
เป็นวสวัตดีมาร. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนมาร เรารู้ว่าจักรรัตนะจะ
ปรากฏแก่เรา เราไม่มีความต้องการราชสมบัติ เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
ทำหมื่นโลกธาตุให้บันลือ. มารกล่าวว่า จำเดิมแต่บัดนี้ไป ในเวลาที่
ท่านคิดถึงกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกก็ตาม เราจักรู้ ดังนี้
คอยหาช่องติดตามไปเหมือนเงาฉะนั้น.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไม่ทรงห่วงใยละทิ้งจักรพรรดิราชสมบัติอันอยู่ใน
เงื้อมพระหัตถ์ ประหนึ่งทิ้งก้อนเขฬะ เสด็จออกจากพระนครด้วยสักการะ
ยิ่งใหญ่ ก็ในวันเพ็ญเดือน ๘ เมื่อนักขัตฤกษ์ในเดือน ๘ หลังกำลัง
ดำเนินไปอยู่ พระโพธิสัตว์เสด็จออกไปแล้ว มีพระประสงค์จะแลดูพระ-
นครอีกครั้ง ก็แหละเมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมีความคิดพอเกิดขึ้นอย่างนี้เท่า
นั้น มหาปฐพีเหมือนจะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาบุรุษ พระองค์ไม่ต้องหัน
กลับมาทำการทอดพระเนตรดอก ได้แยกขาออกหมุนกลับให้ ประดุจ
วงล้อของนายช่างหม้อ. พระโพธิสัตว์ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปทาง
พระนคร ทอดพระเนตรดูพระนครแล้วทรง แสดงเจดีย์สถานที่กลับม้า-
กัณฐกะ ณ ปฐพีประเทศนั้น แล้วทรงกระทำม้ากัณฐกะให้บ่ายหน้าไปใน
ทางที่จะเสด็จ ได้เสด็จไปแล้วด้วยสักการะอันยิ่งใหญ่ ด้วยความงามสง่า
อันโอฬาร.
ได้ยินว่า ในครั้งนั้นเทวดาทั้งหลายชูคบเพลิงไปข้างหน้าพระโพธิ-
สัตว์นั้นหกหมื่นดวง ข้างหลังหกหมื่นดวง ข้างขวาหกหมื่นดวง และ
ข้างซ้ายหกหมื่นดวง. เทวดาอีกพวกหนึ่งชูคบเพลิงหาประมาณมิได้ที่ขอบ
ปากจักรวาล. เทวดากับนาคและครุฑเป็นต้นอีกพวกหนึ่ง เดินบูชาด้วย

130
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 131 (เล่ม 70)

ของหอม ดอกไม้ จุณและธูปอันเป็นทิพย์. ท้องฟ้านภาดลได้เนืองแน่น
ไปด้วยดอกปาริฉัตรและดอกมณฑารพ เหมือนเนืองแน่นด้วยสายธารน้ำ
ในเวลามีเมฆฝนอันหนาทึบ. ทิพยสังคีตทั้งหลายได้บรรเลงแล้ว ดนตรี
หกล้านแปดแสนชนิดได้บรรเลงโดยรอบ ๆ คือด้านหน้าแปดแสนด้านข้าง
และด้านหลังด้านละสองล้าน เสียงดนตรีเหล่านั้นย่อมเป็นไป เหมือนเวลา
ที่เมฆคำรามในท้องมหาสมุทร และเหมือนเวลาที่สาครมีเสียงกึกก้องใน
ท้องภูเขายุคนธร.
พระโพธิสัตว์เสด็จไปด้วยสิริโสภาคย์นี้ ล่วงเลยราชอาณาจักร-
ทั้ง ๓ โดยราตรีเดียวเท่านั้น บรรลุถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที ในที่สุด ๓๐
โยชน์. ถามว่า ก็สามารถไปเกินกว่านั้นได้หรือไม่ ? ตอบว่า ไม่สามารถ
หามิได้ เพราะม้านั้นเที่ยวไปทางชาย ๆ ขอบท้องจักรวาลหนึ่ง เหมือนเหยียบ
ขอบกงของวงล้อที่อยู่ในดุม สามารถจะกลับมาก่อนอาหารเช้าตรู่ แล้ว
บริโภคอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน. ก็ในกาลนั้น ม้าต้องดึงร่างที่ทับถม
ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ที่เทวดา นาค และครุฑเป็นต้น ยืน
โปรยอยู่ในอากาศจนกระทั่งอุรุประเทศขาอ่อน แล้วตะลุยชัฏแห่งของหอม
และดอกไม้ไป จึงได้มีความล่าช้ามาก เพราะฉะนั้น จึงไปได้เพียง ๓๐
โยชน์เท่านั้น. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ยืนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำตรัสถามนาย
ฉันนะว่า แม่น้ำนี้ชื่ออะไร ? นายฉันนะทูลว่า ชื่ออโนมานที พระเจ้าข้า.
พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า การบรรพชาของเราจักไม่ทราม จึงเอาส้นพระ-
บาทกระตุ้นให้สัญญาณม้า และม้าก็ได้กระโดดไปยืนอยู่ที่ฝั่งโน้นของ
แม่น้ำอันกว้าง ๘ อุสภะ.
พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนบนเนินทรายอันเป็น

131
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 132 (เล่ม 70)

เสมือนแผ่นเงิน แล้วตรัสเรียกนายฉันนะมาตรัสว่า นี่แน่ะฉันนะผู้สหาย
เธอจงพาเอาอาภรณ์และม้ากัณฐกะของฉันไป ฉันจักบวช. นายฉันนะทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ แม้ข้าพระองค์ก็จักบวช. พระโพธิสัตว์ตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง
ว่า เธอยังบวชไม่ได้ เธอจะต้องไป จึงทรงมอบอาภรณ์และม้าให้แล้ว
ทรงดำริว่า ผมทั้งหลายของเรานี้ไม่สมควรแก่สมณะ ผู้อื่นที่สมควรจะตัด
ผมของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่มี. ลำดับนั้น จึงทรงดำริว่า เราจักเอา
พระขรรค์ตัดด้วยตนเองทีเดียวจึงเอาพระหัตถ์ขวาจับพระขรรค์ เอาพระ-
หัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา (จุก) พร้อมกับพระเมาลี (มวยผม) แล้วจึงตัด
พระเกสาเหลือประมาณ ๒ องคุลี เวียนขวาแนบติดพระเศียร. พระเกสา
เหล่านั้น ได้มีอยู่ประมาณนั้นเท่านั้น จนตลอดพระชนม์ชีพ. และพระมัสสุ
ก็ได้มีพอเหมาะกับพระเกสานั้น. ชื่อว่ากิจในการปลงพระเกศาและพระ-
มัสสุ ไม่มีอีกต่อไป. พระโพธิสัตว์ถือพระจุฬากับพระเมาลีแล้วทรง
อธิษฐานว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระสัมพุทธเจ้า จงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าจักไม่
ได้เป็น จงตกลงบนแผ่นดิน แล้วทรงโยนขึ้นไปในอากาศ พระจุฬานั้น
ลอยขึ้นไปถึงที่มีประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วได้ตั้งอยู่ในอากาศ. ท้าวสักกะ
เทวราชทรงตรวจดูด้วยทิพยจักษุ แล้วทรงเอาผอบแก้วมีประมาณโยชน์
หนึ่งรับไว้ ให้ประดิษฐานไว้ในเจดีย์ชื่อว่า จุฬามณีเจดีย์ ในดาวดึงส์
พิภพ.
พระศากยะผู้ประเสริฐ ได้ตัดพระเมาลีอันอบด้วยกลิ่น-
หอมอันประเสริฐ แล้วโยนขึ้นไปยังเวหาส ท้าววาสวะผู้มี
พระเนตรตั้งพัน เอาผอบแก้วอันประเสริฐทูนพระเศียรรับไว้
แล.

132
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 133 (เล่ม 70)

พระโพธิสัตว์ทรงดำริสืบไปว่า ผ้ากาสิกพัสตร์เหล่านี้ไม่สมควรแก่
สมณะสำหรับเรา. ครั้งนั้น ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นสหายเก่าของพระโพธิ-
สัตว์ ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า มีความเป็นมิตรยังไม่เสื่อมคลายตลอด
พุทธันดรหนึ่ง คิดว่า วันนี้ สหายเราออกมหาภิเนษกรมณ์ เราจักถือเอา
สมณบริขารของสหายเรานั้นไป จึงนำเอาบริขาร ๘ เหล่านี้มาถวายคือ
บริขารเหล่านี้ คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม รัดประคด
เป็น ๘ กับผ้ากรองน้ำ ย่อมสมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบความ
เพียร.
พระโพธิสัตว์นุ่งห่มธงชัยของพระอรหันต์ ทรงถือเพศบรรพชิตอัน
อุดม แล้วตรัสว่า ฉันนะ เธอจงกราบทูลถึงความสบายไม่ป่วยไข้แก่พระ-
ชนกและพระชนนีตามคำของเรา ดังนี้แล้วทรงส่งไป. นายฉันนะถวาย
บังคมพระโพธิสัตว์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่วนม้ากัณฐกะได้ยิน
พระดำรัสของพระโพธิสัตว์ผู้ตรัสอยู่กับนายฉันนะ คิดว่า บัดนี้เราจะไม่
ได้เห็นนายของเราอีกต่อไป เมื่อละคลองจักษุไป ไม่อาจอดกลั้นความโศก
ไว้ได้ มีหทัยแตกตายไป บังเกิดเป็นเทพบุตรชื่อกัณฐกะ ในภพดาวดึงส์.
ครั้งแรก นายฉันนะได้มีความโศกเพียงอย่างเดียว แต่เพราะม้ากัณฐกะ
ตายไปถูกความโศกครั้งทีสองบีบคั้น จึงได้ร้องไห้ร่ำไรไปยังพระนคร.
พระโพธิสัตว์ครั้นบวชแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ในอนุปิยอัมพวันซึ่งมีอยู่
ในประเทศนั้น ๗ วัน ด้วยความสุขอันเกิดจากบรรพชา แล้วเสด็จดำเนิน
ด้วยพระบาทสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ โดยวันเดียวเท่านั้น ได้เสด็จเข้าไปยัง
กรุงราชคฤห์. ก็ครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว ก็เสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ
ตรอก. พระนครทั้งสิ้นได้ถึงความตื่นเต้น เพราะได้เห็นพระรูปโฉมของ

133