No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 154 (เล่ม 6)

สัทธิวิหาริกวัตร
[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก
วิธีพระพฤติชอบในสัทธิวิหาริกนั้น มีดังต่อไปนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก
ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาทและอนุศาสนี.
ถ้าอุปัชฌายะมีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มีบาตร อุปัชฌายะพึงให้บาตร
แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตร
พึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก.
ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌายะพึงให้จีวรแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิด
แก่สัทธิวิหาริก.
ถ้าอุปัชฌายะมีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌายะ พึงให้
บริขารแก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
บริขารพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก.
ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะพึงลุกแต่เช้าตรู่ แล้วให้ไม้ชำระฟัน
ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้ว นำยาคูเข้าไปให้ เมื่อสัทธิวิหาริกดื่มยาคู
แล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้ว
เก็บไว้ เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา
พึงให้ประคตเอว พึงพับสังฆาฏิเป็นชั้นให้ พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อมทั้งน้ำด้วย
พึงปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ ด้วยกำหนดในใจว่าเพียงเวลาเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับ

154
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 155 (เล่ม 6)

มา น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็คเท้า พึงเตรียมตั้งไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตร
และจีวร พึงให้ผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด.
พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจ
มิให้มีรอยพับตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกประสงค์จะฉัน พึงให้น้ำแล้ว นำบิณฑ-
บาตเข้าไปให้ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน เมื่อสัทธิวิหาริกฉันแล้ว พึงให้
น้ำรับบาตรมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบ ล้างให้สะอาดเช็ดให้แห้ง แล้วพึงผึ่งไว้
ที่แดด ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงทิ้งไว้ที่แดด.
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ต่ำแล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้น
ที่ไม่มีสิงใครอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร
หรือ สายระเดียงแล้วทำชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างในแล้วจึงเก็บจีวร.
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าสัทธิวิหาริกใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงให้ ถ้าต้องการนำเย็น พึง
จัดน้ำเย็นให้ ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนให้.
ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟไป แล้วให้ตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง พึงให้จุณ ให้ดิน.
ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า
ปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่
พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ.

155
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 156 (เล่ม 6)

เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้า
ทั้งข้างหลัง ออกจากเรือนไฟ.
พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริก แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้วพึงขึ้นมาก่อน
ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ นุ่งผ้า แล้วพึงเช็ดนาจากตัวของสัทธิวิหาริก พึงให้ผ้า-
นุ่ง พึงให้ผ้าสังฆาฏิ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียม
น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถามสัทธิวิหาริกด้วยน้ำฉัน.
สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่
พึงปัดกวาดเสีย เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่งและผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง.
เตียงตั่งอุปัชฌายะพึงยกต่ำ ๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบาน
และกรอบประตู ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เขียง
รองเตียง กระโถน พนักอิง พึงขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่อง
ปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้ที่เดิม แล้วขนออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่าง
และมุมห้องพึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมันหรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา
พึงเอาผ้าชุบน้ำ ปิดแล้วเช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ด
เสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวดหยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง.
เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดดชำระเคาะปัดแล้ว ขนกลับปูไว้ตามเติม
เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดดขัดเช็คแล้ว ขนกลับไว้ในที่เดิม เตียงทั่ง พึงผึ่งแดด
ขัคสีเคาะเสีย ยกต่ำ ๆ อยู่ให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบ
ประตู ขนกลับไปให้ดี ๆ แล้วทั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน

156
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 157 (เล่ม 6)

พึงผึ่งแดทำให้สะอาดตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักอิง
พึงผึ่งแดเช็ดถูเสีย แล้วขนกลับทั้งไว้ตามเดิม.
พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือ
ข้างหนึ่งลูบคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงวางบาตรบนพื้น
ที่ไม่มีสิ่งใดรอง.
เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือ
สายระเดียงแล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างในแล้วจึงเก็บจีวร.
ถ้าลมเจือด้วยผงคลีพัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวัน-
ออก ถ้าพัดมาแต่ทิศตะวันตก. พึงปิดหน้าต่างค้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่
ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน พึงปิดกลางคืน ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้า
ต่างกลางวัน พึงเปิดกลางคืน.
ถ้าบริเวณ ซุ่มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย
ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ใน
หม้อชำ ระ.
ถ้าความกระสันบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงช่วยระงับหรือพึง
วานภิกษุอื่นให้ช่วยระงับ หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความ
รำคาญบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌายะพึงบรรเทาหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย
บรรเทา หรือพึงทำธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าความเห็นผิดบังเกิดแก่
สัทธิวิหาริกอุปัชฌายะพึงให้สละเสียหรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรม-
กถาแก่สัทธิวิหาริกนั้น ถ้าสิทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อุปัชฌายะ
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิ-

157
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 158 (เล่ม 6)

วิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวาย
ว่า ด้วยอุบายยอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเติม ถ้าสัทธิ-
วิหาริกควรมานัต อุปัชฌายะพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
สงฆ์พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก ถ้าสัทธิวิหาริกควรอัพภาน อุปัชฌายะพึงทำ
ความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก.
ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่สัทธิวิหาริก คือ ตัชชนียกรรม นิยส-
กรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อุปัชฌายะ
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิ-
วิหาริก หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรือสัทธิวิหาริกนั้นถูกสงฆ์
ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรร หรืออุกเขป-
นียกรรมแล้ว อุปัชฌายะ พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
สัทธิวิหาริกพึงพระพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว สงฆ์พึง
ระงับกรรมนั้นเสีย.
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌายะพึงบอกว่า ท่านพึงซัก
อย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซัก
จีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องทำ อุปัชฌายะพึงบอกว่า
ท่านพึงทำอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ
พึงทำจีวรของสัทธิวิหาริก ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌายะพึง
บอกว่า ท่านพึงต้มอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม
อุปัชฌายะพึงบอกว่า ท่านพึงย้อมอย่างนี้ หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก เมื่อย้อมจีวร พึงย้อม

158
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 159 (เล่ม 6)

พลิกกลับไปมาให้ดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย ถ้า
สัทธิวิหาริกอาพาธ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.
สัทธิวิหารริกวัตร จบ
อรรถกถาสัทธิวิหาริกวัตตกถา
พึงทราบวินิจฉัยในการที่อุปัชฌาย์ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกต่อไป:-
ข้อว่า สงฺคเหตพฺโพ อนุคฺคเหตพฺโพ มีความว่า อุปัชฌาย์พึง
ทำการช่วยเหลือและอุคหนุนเธอด้วยกิจมีอุทเทสเเป็นต้น. ในกิจมีอุทเทสเป็น
ต้นนั้น อุทเทสนั้น ได้แก่การบอกบาลี. ปริปุจฉานั้นได้แก่อธิบายความแห่ง
บาลี. โอวาทนั้น ได้แก่การกล่าวว่า จงทำอย่างนี้ อย่าทำอย่างนี้ ในเมื่อเรื่อง
ยังไม่เกิด. อนุศาสนีนั้น ได้แก่ การว่ากล่าวอย่างนั้น ในเมื่อเรื่องเกิดแล้ว
อีกประการหนึ่ง เรื่องจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม การว่ากล่าวครั้งแรก ชื่อโอวาท.
การพร่ำสอนอยู่เนือง ๆ ชื่ออนุศาสนี.
ข้อว่า สเจ อปชฺฌายสฺส ปตฺโต โหติ มีความว่า ถ้าอติเรก
บาตรมี. มีนัยเหมือนกันทุกแห่ง สมณบริขารแม้อื่น ชื่อว่าบริขาร. ความค้น
คว้าหาอุบายซึ่งเกิดขึ้นโดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ความขวนขวาย ในสัทธิ-
วิหาริหาวัตรนี้. ถัดจากนี้ไป วัตรตั้งต้นแต่ให้ไม้สีฟัน ถึงที่สุดเติมน้ำในหม้อ
ชำระ อุปัชฌาย์ควรทำแก่สัทธิวิหาริกเฉพาะผู้เป็นไข้. อนึ่ง กิจมีพาเที่ยวเพื่อ
ระงับความกระสันเป็นต้น แม้สัทธิวิหาริกไม่เป็นไข้ อุปัชฌาย์ก็ควรทำแท้.
ข้อว่า จีวรํ รชนฺเตน มีความว่า เมื่อได้ฟังอุบายจากอุปัชฌาย์ว่า
พึงย้อมอย่างนี้ แล้วจึงย้อม คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้น.
อรรถกถาสัทธิวิหาริกวัตตกถา จบ

159
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 160 (เล่ม 6)

การประณามและการให้ขมา
[๘๓] ก็โดยสมัยนั้นแล สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบใน
อุปัชฌายะทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌายะทั้งหลาย
เล่าแล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าสัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ปฏิบัติชอบในอุปัชฌายะทั้งหลาย จริงหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน
สัทธิวิหาริกทั้งหลายจึงไม่พระพฤติชอบในอุปัชฌายะทั้งหลายเล่า ครั้นแล้วทรง
ทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลา ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกจะ
ไร่ประพฤติชอบในอุปัชฌายะไม่ได้ รูปใดไม่ประพฤติชอบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สัทธิวิหาริกทั้งหลายยังไม่ประพฤติชอบอย่างเดิม ภิกษุทั้งหลายจึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ประณามสัทธิวิหาริกผู้ไม่พระพฤติชอบ.
วิธีประณาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกอย่างนี้
ว่าฉันประณามเธอ เธออย่าเข้ามา ณ ที่นี้ เธอจงขนบาตรจีวรของเธอออกไป
เสีย พึงประณามว่า เธอไม่ต้องอุปัฏฐากฉัน ดังนี้ก็ได้.

160
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 161 (เล่ม 6)

อุปัชฌายะย่อมยังสัทธิวิหาริกให้รู้ด้วยกายก็ได้ ให้รู้ด้วยวาจาก็ได้ ให้รู้
ด้วยทั้งกายและวาจาก็ได้ เป็นอันประณามแล้ว ถ้ายังมิได้แสดงอาการกายให้รู้
ยังมิบอกให้รู้ด้วยวาจา ยังมิได้แสดงอาการกายและบอกวาจาให้รู้ สัทธิวิหาริก
ไม่ชื่อว่าถูกประณาม.
สมัยต่อมา สัทธิวิหาริกทั้งหลายถูกประณามแล้ว ไม่ขอให้อุปัชฌายะ
อดโทษ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สัทธิวิหาริกขอให้
อุปัชฌายะอดโทษ.
สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ยอมขอให้อุปัชฌายะอดโทษอย่างเดิม ภิกษุ
ทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลายสัทธิวิหาริกถูกประณามแล้ว จะไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษไม่ได้ รูปใด
ไม่ขอให้อุปัชฌายะอดโทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.
สมัยต่อมา อุปัชฌายะทั้งหลายอันพวกสัทธิวิหาริกขอให้อดโทษอยู่ ก็
ไม่ยอมอดโทษ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัส
ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปัชฌายะอดโทษ.
อุปัชฌายะทั้งหลายยังไม่ยอมอดโทษอย่างเดิม พวกสัทธิวิหาริกหลีกไป
เสียบ้าง สึกไปเสียบ้าง ไปเข้ารีดเดียรถีย์เสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุปัชฌายะ
อันพวกสัทธิวิหาริกขอให้อดโทษอยู่ จะไม่ยอมอดโทษไม่ได้ รูปใดไม่ยอมอด
โทษ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๘๔] ก็โดยสมัยนั้นแล อุปัชฌายะประณามสัทธิวิหาริกผู้พระพฤติ
ชอบ ไม่ประณามสัทธิวิหาริกผู้พระพฤติมีชอบ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่อง

161
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 162 (เล่ม 6)

นั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประ
พฤติชอบ อุปัชฌายะไม่พึงประณาม รูปใดประณามต้องอาบัติทุกกฏ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่งสัทธิวิหาริกผู้ประพฤติมีชอบ อุปัชฌายะจะไม่ประณามไม่
ได้รูปใดไม่ประณามต้องอาบัติทุกกฏ.
องค์แห่งการประณาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ คือ:-
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้.
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.
๓. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริก ผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ คือ:-
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ.
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.
๓. มีความละอายอย่างยิ่ง.
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.

162
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 163 (เล่ม 6)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะไม่พึงประณามสัทธิวิหาริกผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ นี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ควรประณาม
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้.
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.
๓.. หาความละอายอย่างยิ่งมิได้.
๔. หาความเคารพอย่างยิ่งมิได้ และ
๕. หาความหวังดีต่ออย่างยิ่งมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ควร
ประณาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรประณาม
คือ:-
๑. มีความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะ.
๒. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่ง.
๓. ความละอายอย่างยิ่ง.
๔. มีความเคารพอย่างยิ่ง และ
๕. มีความหวังดีต่ออย่างยิ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควร
ประณาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อุปัชฌายะเมื่อ
ไม่ประณาม มีโทษ เมื่อประณาม ไม่มีโทษ คือ:-
๑. หาความรักใคร่อย่างยิ่งในอุปัชฌายะมิได้.
๒. หาความเลื่อมใสอย่างยิ่งมิได้.

163