บริกรรมย่อมพ้นไป. แต่นั้นแสงสว่างก็หายไป. เมื่อแสงสว่างหายไป
แม้รูปก็ไม่ปรากฏ.
เมื่อเป็นเช่นนั้นภิกษุนั้นควรเข้าฌานเป็นบาทบ่อย ๆ ครั้นออก
จากฌานนั้นควรแผ่แสงสว่างไป ตามลำดับอย่างนี้แสงสว่างย่อมมีกำลัง
มาก ด้วยประการฉะนี้. แสงสว่างจะตกอยู่ในฐานะที่กำหนดไว้ว่า
แสงสว่างจะมีในที่นี้ดังนี้. การเห็นรูปย่อมมีแก่ภิกษุผู้นั่งดูแม้ตลอดวัน.
เมื่อใดรูปนี้ คือ รูปที่ไม่ไปสู่คลองแห่งจักษุ รูปอยู่ภายในท้อง รูป
อาศัยหทยวัตถุ รูปอาศัยภายใต้พื้นดิน รูปที่อยู่นอกฝา ภูเขา และ
กำแพง รูปที่อยู่ในจักรวาลอื่น ย่อมมาสู่คลองแห่งญาณจักษุของภิกษุ
นั้น ดุจเห็นด้วยมังสจักษุ. เมื่อนั้นทิพจักษุย่อมเกิด. ทิพจักษุนั้น
สามารถเห็นรูปในที่นี้ได้. มิใช่จิตส่วนเบื้องต้น.
ในบทมีอธิบายดังต่อไปนี้ ลำดับการเกิดของทิพจักษุทำรูปมี
ประการดังกล่าวแล้วให้เป็นอารมณ์เกิดในมโนทวาราวัชชนะ เมื่อมโน-
ทวาราวัชชนะดับ ทำรูปนั้นนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ พึงทราบตามนัย
ดังกล่าวแล้วว่า ชวนจิต ๔ หรือ ๕ ครั้ง ย่อมเกิด.
อนึ่ง ญาณนี้ท่านกล่าวว่า จุตูปปาตญาณของสัตว์ทั้งหลายบ้าง
ทิพจักขุญาณบ้าง. ญานนั้นเป็นอันตรายแก่ปุถุชน. เพราะปุถุชนนั้น
อธิฏฐานว่าแสงสว่างจงมีในทุกที่. ญาณนั้น ๆ ก็จะทะลุไปในแผ่นดิน
สมุทรและภูเขา เกิดเป็นแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. เมื่อเป็นดังนั้น