No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 738 (เล่ม 64)

แต่วัน พระนางไม่เห็นพระโอรสธิดาในอาศรมนั้น ทูลถามพระเวสสันดร
ทรงทราบว่าพระราชทานแก่พราหมณ์ชูชกไปแล้ว พึงเสด็จแล่นตามไปด้วย
ความเสน่หาเป็นกำลัง ก็จะพึงเสวยทุกข์ใหญ่.
ลำดับนั้น เทวดาเหล่านั้นจึงบังคับสั่งเทพบุตร ๓ องค์ว่า ท่านทั้ง ๓
จงจำแลงกายเป็นราชสีห์ เป็นเสือโคร่ง เป็นเสือเหลือง กั้นทางเสด็จพระ-
นางมัทรีไว้ แม้พระนางวิงวอนขอทางก็อย่าให้ จนกว่าดวงอาทิตย์อัสดงคต
พึงจัดอารักขาให้ดี เพื่อไม่ให้ราชสีห์เป็นต้นเบียดเบียนพระนางได้ จนกว่าได้
เสด็จเข้าอาศรมด้วยแสงจันทร์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เทพเจ้าทั้งหลาย ได้ฟังความคร่ำครวญของราช
กุมารกุมารี จึงได้กล่าวกะเทพบุตรทั้ง ๓ ว่า ท่านทั้ง
สามจงจำแลงกายเป็นสัตว์ร้ายในป่า คือ เป็นราชสีห์
เสือโคร่ง เสือเหลือง คอยกันพระนางมัทรีราชบุตรี
อย่าพึงเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย เหล่า
พาลมฤคในป่าอันเป็นเขตแดนของพวกเรา อย่าได้
เบียดเบียนพระนางเจ้าเลย ถ้าราชสีห์ เสือโคร่ง เสือ
เหลืองพึงเบียดเบียนพระนางเจ้าผู้มีลักษณะพระชาลี
ราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาจะพึง
มีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้มีลักษณะจะพึง
เสื่อมจากพระราชสวามีและพระปิยบุตรทั้งสอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทํ วจนมพฺรวุํ ความว่า เทวดา
เหล่านั้นได้กล่าวคำนี้กะเทพบุตรทั้งสามว่า ท่านทั้งหลาย คือทั้งสามองค์ จง
แปลงเป็นพาลมฤคในป่าสามชนิดอย่างนี้คือ ราชสีห์หนึ่ง เสือโคร่งหนึ่ง เสือ

738
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 739 (เล่ม 64)

เหลืองหนึ่ง. บทว่า มา เหว โน ความว่า เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า พระ-
นางมัทรีราชบุตรีอย่าเสด็จกลับมาจากเสาะหาผลาผลแต่เย็นเลย จงเสด็จมาจน
ค่ำอาศัยแสงเดือน. บทว่า มา เหวมฺทากํ นิพฺโภเค ความว่า พาลมฤค
ไร ๆ ในป่าอันเป็นเขตแดน คือเป็นแว่นแคว้นของพวกเรา อย่าได้เบียดเบียน
พระนางเจ้าในป่าชัฏของพวกเราเลย เทวดาทั้งหลายสั่งเทพบุตรทั้งสามว่า พวก
ท่านจงอารักขาพระนางมัทรีโดยประการที่สัตว์ร้ายทั้งหลายเบียดเบียนไม่ได้.
บทว่า สีโห เจ นํ ความว่า ก็ถ้าสัตว์ร้ายไร ๆ ในบรรดาราชสีห์เป็นต้นพึง
เบียดเบียนพระนางมัทรีซึ่งไม่มีการระวังรักษา ครั้นเมื่อพระนางมัทรีถึงชีพิ-
ตักษัย พระชาลีราชกุมารจะไม่พึงมีพระชนม์อยู่ พระกัณหาชินาราชกุมารีจะ
พึงมีพระชนม์อยู่แต่ไหน พระนางเจ้าผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะนั้นจะพึงเสื่อมจาก
พระปิยบุตรทั้งสองทีเดียว. บทว่า ปติปุตฺเต จ ความว่า พระนางเจ้ามัทรี
จะพึงเสื่อมจากส่วนทั้งสอง เพราะฉะนั้นท่านทั้งสามจงจัดอารักขาให้ดี.
ครั้งนั้น เทพบุตรทั้งสามรับคำของเทวดาเหล่านั้นว่า สาธุ ต่างจำแลง
กายกลายเป็นราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง มานอนหมอบเรียงกันอยู่ในมรรคา
ที่พระนางเจ้ามัทรีเสด็จมา.
ฝ่ายพระนางมัทรีหวั่นพระหฤทัยว่า วันนี้เราฝันร้าย จักหามูลผลาผล
ในป่ากลับอาศรมแต่วัน ก็ทรงพิจารณาหามูลผลาผลทั้งหลาย ลำดับนั้น (เกิด
ลางร้าย) เสียมหลุดจากพระหัตถ์ของพระนางเจ้า กระเช้าก็หลุดจากพระอังสา
พระเนตรเบื้องขวาก็เขม่น พฤกษาชาติที่มีผลก็เป็นเหมือนไม่มีผล พฤกษา-
ชาติทีไม่เคยมีผลก็ปรากฏเป็นราวกะว่ามีผล ทิศทั้งปวงก็ไม่ปรากฏ พระนาง
เจ้ามัทรีทรงพิจารณาว่า นี่เป็นอย่างไรหนอ ไม่เคยมีมาแต่ก่อนก็มามีในวันนี้
เหตุการณ์อะไรจักมีแก่เรา แก่ลูกทั้งสองของเรา หรือแด่พระเวสสันดรราช-
สวามี กระมัง ทรงคิดฉะนี้แล้ว ตรัสว่า

739
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 740 (เล่ม 64)

เสียมก็ตกจากมือของเรา และนัยน์ตาขวาของ
เราก็เขม่น รุกขชาติที่เคยมีผลก็หาผลมิได้ ทิศทั้งปวง
เราก็ฟั่นเฟือนลุ่มหลง พระนางเจ้าเสด็จมาสู่อาศรมใน
เวลาเย็น ในเมื่อดวงอาทิตย์อัศดงคต พาลมฤคก็ปรากฏ
ในหนทาง ครั้นเมื่อพระอาทิตย์โคจรลงต่ำ อาศรมก็
ยังอยู่ไกล เราจักนำมูลผลาผลใดไปแต่ที่นี้ เพื่อพระ-
ราชสวามีและลูกทั้งสอง พระราชสวามีและลูกทั้งสอง
พึงเสวยมูลผลาผลอันเป็นของเสวยนั้น พระบรม
กษัตริย์ผู้ภัสดาเสด็จอยู่ที่บรรณศาลาแต่พระองค์เดียว
แท้ ๆ ทรงเห็นว่าเรายังไม่กลับ ก็จะทรงปลอบโยน
พระโอรสพระธิดาผู้หิว ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า
ด้วยความเข็ญใจ เคยเสวยนมเคยเสวยน้ำในเวลาที่คน
สามัญเรียกให้อาหารเวลาเย็น ลูกทั้งสองของเราเป็น
กำพร้าด้วยความเข็ญใจ เคยลุกยืนรับเรา เหมือนลูก
โคอ่อนยืนคอยแม่โคนม ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้า
ด้วยความเข็ญใจ หรือประหนึ่งลูกหงส์ยืนอยู่บนเปือก
ตมคอยแม่ ลูกทั้งสองของเราเป็นกำพร้าด้วยความ
เข็ญใจ เคยยืนรับเราแต่ที่ใกล้อาศรม ทางเดินไปมี
เฉพาะทางเดียว เป็นทางเดินได้คนเดียว เพราะมีสระ
และที่ลุ่มลึกอยู่ข้าง ๆ เราไม่เห็นทางอื่นซึ่งจะพึงแยก
ไปสู่อาศรม ข้าขอนอบน้อมพระยาพาลมฤคผู้มีกำลัง
มากในป่า ท่านทั้งหลายจงเป็นพี่ของข้าโดยธรรม จง

740
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 741 (เล่ม 64)

ให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอเถิด ข้าเป็นมเหสีของพระเวส-
สันดรราชบุตรผู้มีสิริ ผู้ถูกเนรเทศจากแคว้น ข้าผู้
อนุวัตรไม่ล่วงเกินพระราชสวามี ดุจนางสิดาผู้อนุวัตร
ไม่ล่วงเกินพระรามราชสวามี ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย
จงให้ทางแก่ข้า แล้วไปพบลูกทั้งสอง เพราะถึงเวลา
เรียกกินอาหารเย็นแล้ว ส่วนข้าก็จะได้ไปพบชาลีและ
กัณหาชินาบุตรบุตรีทั้งสองของข้า รากไม้ผลไม้นี้มี
มากและภักษานี้ก็มีไม่น้อย ข้าให้กึ่งหนึ่งแต่มูลผลาผล
นั้น แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้บรรดาแก่ข้า
ผู้ขอเถิด พระมารดาของพวกข้าเป็นพระราชบุตร และ
พระบิดาของพวกข้าก็เป็นพระราชบุตร ท่านทั้งหลาย
จงเป็นภาดาของข้าโดยธรรม จงให้มรรคาแก่ข้าผู้ขอ
เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺสา ได้แก่ เรานั้น. บทว่า
อสฺสมาคมนํ ปติ ความว่า มาหมายเฉพาะอาศรม. บทว่า อุปฏฺฐหุํ
ได้แก่ ปรากฏขึ้น เล่ากันมาว่า สามสัตว์เหล่านั้นนอนเรียงกันอยู่ก่อน เวลา
พระนางมัทรีเสด็จมา จึงลุกขึ้นบิดตัวแล้ว แล้วกั้นบรรดายืนขวางเรียงกันอยู่.
บทว่า ยญฺจ เนสํ ความว่า ชนทั้งสามนั้น คือ พระเวสสันดรและลูกน้อย
ทั้งสองของพระองค์ พึงบริโภคมูลผลาผลที่ข้านำไปแต่ป่านี้เพื่อเขา โภชนา
หารอย่างอื่นไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. บทว่า อนายตึ ความว่า พระเวสสันดร
ทราบว่าข้ายังไม่กลับมา พระองค์เดียวนั่นแหละประทับนั่งปลอบโยนเด็ก
ทั้งสองแน่ ๆ. บทว่า สํเวสนากาเล ได้แก่ ในเวลาที่ตนให้กินอาหาร

741
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 742 (เล่ม 64)

ให้ดื่มน้ำในวันอื่น ๆ. บทว่า ขีรํ ปีตาว ความว่า พระนางมัทรีตรัสว่า
ลูกน้อยมฤคีที่ยังไม่อดนมร้องหิวนม เมื่อไม่ได้นมก็ร้องไห้จนหลับไป ฉันใด
ลูกน้อยทั้งสองของข้า ร้องไห้อยากผลาผล เมื่อไม่ได้ผลาผลก็จักร้องไห้จน
หลับไป ฉันนั้น. บทว่า วารึ ปีตาว ความว่า ในอาศรมบท พึงเห็นเนื้อ
ความโดยนัยนี้ว่า เหมือนลูกน้อยมฤคมีความระหาย ร้องหิวน้ำ เมื่อไม่ได้น้ำ
ก็ร้องคร่ำครวญจนหลับไป. บทว่า อจฺฉเร ได้แก่ อยู่. บทว่า ปจฺจุคฺคตา
มํ ติฏฺฐนฺติ ความว่า ยืนคอยรับเรา. ปาฐะว่า ปจฺจุคิคตุํ ก็มีความว่า
ต้อนรับ. บทว่า เอกายโน ได้แก่ เป็นที่ไปแห่งคนผู้เดียวเท่านั้น คือเป็น
ทางเดินได้เฉพาะคนเดียว. บทว่า เอกปโถ ความว่า ทางนั้นเฉพาะคนเดียว
เท่านั้น ไม่มีคนที่สอง คือไม่อาจแม้จะก้าวลงไปได้ เพราะเหตุไร เพราะมี
สระและที่ลุ่มลึกอยู่ข้างทาง. บทว่า นมตฺถุ ความว่า พระนางมัทรีนั้นทอด
พระเนตรไม่เห็นทางอื่นคิดว่า เราจักอ้อนวอนสามสัตว์เหล่านี้ให้ช่วยเรากลับ
ไปได้ จึงลดกระเช้าผลไม้ลงจากพระอังสา ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวอย่าง
นี้. บทว่า ภาตโร ความว่า ก็พวกเราเป็นลูกของเจ้ามนุษย์ แม้พวกท่านก็
เป็นลูกของเจ้ามฤค ดังนั้นขอพวกท่านจงเป็นพี่โดยธรรมของข้าเถิด. บทว่า
อวรุทฺธสฺส ได้แก่ ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น. บทว่า รามํ สีตาวนุพฺพ-
ตา ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า พระเทวีสีตาผู้พระกนิษฐาของพระราม
เป็นพระอัครมเหสีของพระรามนั้นเอง เป็นผู้อนุวัตรตามพระราม คือ เคารพ
ยำเกรงพระรามผู้สวามีเหมือนเทวดา เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุงบำเรอพระราม
ราชโอรสของพระเจ้าทศรถมหาราช ฉันใด แม้ข้าก็เป็นผู้ไม่ประมาทบำรุง
บำเรอพระเวสสันดร ฉันนั้น. บทว่า ตุมฺเห จ ความว่า พระนางมัทรี
อ้อนวอนว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้บรรดาแก่เราแล้วไปพบลูก ๆ ของท่านใน
เวลากินอาหารเย็นส่วนข้าก็จะพบลูก ๆ ของข้า ขอท่านทั้งหลายจงให้บรรดาเถิด

742
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 743 (เล่ม 64)

ครั้งนั้น เทพบุตร (ที่จำแลงเป็นสามสัตว์) เหล่านั้น แลดูเวลาก็รู้ว่า
บัดนี้เป็นเวลาที่จะให้บรรดาแก่พระนางแล้ว จึงลุกขึ้นหลีกไป
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระนางเจ้ามัทรีทรงพิไรรำพันอยู่ เหล่า
มฤคจำแลงได้ฟังพระวาจาอันอ่อนหวานกอรปด้วยน่า
เอ็นดูมาก ก็หลีกไปจากทางเสด็จ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนลปตึ ความว่า วาจาอ่อนหวาน
บริสุทธิ์ ไม่มากไปด้วยน้ำลาย คือปราศจากน้ำลายแตก.
เมื่อพาลมฤคทั้งสามหายไปแล้ว พระนางเจ้ามัทรีก็เสด็จไปถึงอาศรม
ก็ในกาลนั้นเป็นวันบูรณมีอุโบสถ พระนางเจ้าเสด็จถึงท้ายที่จงกรม ไม่เห็น
พระลูกรักทั้งสองซึ่งเคยเห็นในที่นั้น ๆ จึงตรัสว่า
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ลุกยืนรับเราในประเทศนี้ ดุจลูกวัวอ่อนยืนคอยแม่
โคนมฉะนั้น.
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ยืนต้อนรับแม่อยู่ตรงนี้ดุจหงส์ยืนอยู่บนเปือกตมฉะนั้น
พระลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นเคย
ยืนรับเราอยู่ที่ใกล้อาศรมนี้ ลูกทั้งสองเคยร่าเริงหรรษา
วิ่งมาต้อนรับแม่ ดุจมฤคชาติชูหูวิ่งแล่นไปโดยรอบ
ฉะนั้น ร่าเริงบันเทิงเป็นไป ประหนึ่งยังหัวใจแม่ให้
ยินดี วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง
นั้น วันนี้แม่ละลูกทั้งสองออกไปหาผลไม้ เหมือน
แม่แพะแม่เนื้อและแม่นกพ้นไปจากรัง และแม่ราชสีห์

743
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 744 (เล่ม 64)

อยากได้เหยื่อ ละลูกไว้ออกไปฉะนั้น แม่กลับมาก็ไม่
เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น วันนี้แม่ไม่
เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ซึ่งมีรอยบาท
ก้าวไปมาปรากฏอยู่ดุจรอยเท้าแห่งช้าง ข้างภูเขาและ
กองทรายที่ลูกทั้งสองกองไว้ ยังเกลื่อนอยู่ในที่ไม่ไกล
อาศรม แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองซึ่งเคยเอาทรายโปรยเล่น
จนกายขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นวิ่งไปรอบๆ วันนี้แม่
ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสอง ซึ่งแต่ก่อน
เคยต้อนรับแม่ผู้กลับจากป่ามาแต่ไกล วันนี้แม่ไม่เห็น
ลูกทั้งสองซึ่งคอยรับแม่ แลดูแม่แต่ไกลดุจลูกแพะลูก
เนื้อวิ่งมาหาแม่ของตนแต่ไกล ก็ผลมะตูมเหลืองนี้เป็น
ของเล่นของลูกทั้งสองตกอยู่แล้ว วันนี้แม่ไม่เห็นชาลี
และกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ถันทั้งสองของแม่นี้
เต็มด้วยน้ำนม แต่อุระราวกะจะแตกทำลาย วันนี้แม่
ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูกรักทั้งสองนั้น ลูกชาย
หรือลูกหญิงเลือกดื่มนมอยู่บนตักของแม่ราวกะถันข้าง
หนึ่งของแม่จะยาน วันนี้แม่ไม่เห็นชาลีและกัณหาชินา
ลูกรักทั้งสองนั้น.
ลูกน้อยทั้งสองขะมุกขะมอมไปด้วยฝุ่นในสายัณห์
สมัย มาเกลือกกลิ้งไปมาบนตักแม่ แม่ไม่เห็นลูก
ทั้งสองนั้น เมื่อก่อนอาศรมนี้นั้นปรากฏแก่เราราวกะ
มีมหรสพ วันนี้แม่ไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น อาศรม
เหมือนจะหมุนไป นี่อย่างไร อาศรมสถานเงียบเสียง

744
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 745 (เล่ม 64)

เสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้แต่ฝูงกาก็ไม่มีอยู่ ลูก
ทั้งสองของแม่จักสิ้นชนมชีพเสียแน่แล้ว นี่อย่างไร
อาศรมสถานเงียบเสียงเสียทีเดียว ปรากฏแก่แม่ แม้
แต่ฝูงสกุณชาติก็ไม่มีอยู่ ลูกทั้งสองของแม่จักสิ้น
ชนมชีพเสียแน่แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปํสุกุณฺฐิตา
ได้แก่ เปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น. บทว่า ปจฺจุคฺคตา มํ ความว่า คอยรับเรา.
ปาฐะว่า ปจฺจุคนฺตุํ ดังนี้ก็มี ความว่า ต้อนรับ. บทว่า อุกฺกณฺณา
ความว่า เหมือนพวกลูกเนื้อตัวน้อย ๆ เห็นแม่ ก็ยกหูชูคอเข้าไปหาแม่ ร่าเริง
ยินดี วิ่งเล่นอยู่รอบ ๆ. บทว่า วตฺตมานาว กมฺปเร ความว่า เป็นไป
ราวกะยังหัวใจขอแม่ให้ยินดี เมื่อก่อนลูกทั้งสองของเราเป็นอย่างนี้. บทว่า
ตยชฺช ความว่า วันนี้แต่ไม่เห็นลูกรักทั้งสองนั้น. บทว่า ฉคิลีว มิคี ฉาปํ
ความว่า พระนางมัทรีกล่าวว่า แม่แพะ แม่เนื้อ และแม่นกที่พ้นไปจากรัง
คือกรง และแม่ราชสีห์พีอยากได้เหยื่อ ละลูกน้อยของตนหลีกไปหาเหยื่อ
ฉันใด แม่ก็ละลูกทั้งสองออกไป ฉันนั้น. บทว่า อิทํ เนสํ ปรกฺกนฺตํ
ความว่า รอยเท้าที่วิ่งไปวิ่งมาในสถานที่เล่นของลูกทั้งสองยังปรากฏอยู่ ดุจรอย
เท้าช้างที่เนินเขาในฤดูฝน. บทว่า จิตกา ได้แก่ กองทรายที่ลูกทั้งสองกอง
เข้าไว้. บทว่า ปริกิณฺณาโย ได้แก่ กระจัดกระจาย. บทว่า สมนฺตาม-
ภิธาวนฺติ ความว่า วิ่งแล่นไปรอบๆ ในวันอื่น ๆ. บทว่า ปจฺจุเทนฺติ
ได้แก่ ต้อนรับ. บทว่า ทูรมายตึ ได้แก่ ผู้มาแต่ไกล. บทว่า ฉคิลึว
มิคึ ฉาปา ความว่า เห็นแม่ของตนแล้ววิ่งมาหา เหมือนลูกแพะเห็นแม่แพะ
ลูกเนื้อเห็นแม่เนื้อ. บทว่า อิทญฺจ เนสํ กีฬนํ ความว่า ผลมะตูมมีสีดัง
ทองนี้ เป็นของเล่นของลูกทั้งสองซึ่งเล่นตุ๊กตาช้างเป็นต้น กลิ้งตกอยู่แล้ว.

745
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 746 (เล่ม 64)

บทว่า มยฺหิเม ความว่า ก็ถันทั้งสองของเรานี้เต็มด้วยน้ำนม. บทว่า อุโร
จ สมฺปทาลิภิ ความว่า แต่หทัยเหมือนจะแตก. บทว่า อุจฺจงฺเก เม
วิวตฺตนฺติ ความว่า กลิ้งเกลือกอยู่บนตักของเรา. บทว่า สมฺมชฺโช
ปฏิภาติ มํ ความว่า ปรากฏแก่เราเหมือนโรงมหรสพ. บทว่า ตฺยชฺช
ตัดบทเป็น เต อชฺช ความว่า วันนี้เราไม่เห็นลูกทั้งสองนั้น. น ปสฺสนฺตฺยา
ได้แก่ เราไม่เห็นอยู่. บทว่า ภมเต วิย ความว่า ย่อมหมุนเหมือนจักร
ของช่างหม้อ. บทว่า กาโกลา ได้แก่ ฝูงกาป่า. บทว่า มตา นูน
ความว่า จักตายคือจักถูกใคร ๆ นำไปแน่. บทว่า สกุณาปิ ได้แก่ ฝูงนก
ที่เหลือ. บทว่า มตา นูน ความว่า จักตายเสียเป็นแน่แล้ว
พระนางมัทรีพิลาปรำพันอยู่ด้วยประการฉะนี้ เสด็จไปเฝ้าพระเวส-
สันดรมหาสัตว์ ปลงกะเช้าผลไม้ลงเห็นพระมหาสัตว์ประทับนั่งนิ่งอยู่ เมื่อ
ไม่เห็นพระโอรสธิดาในสำนักพระภัสดา จึงทูลถามว่า
นี้อย่างไร พระองค์ทรงนิ่งอยู่ เออก็เมื่อหม่อม
ฉันฝันในราตรี ใจก็นึกถึงอยู่ แม้ฝูงกาฝูงนกก็ไม่มี
อยู่ ลูกทั้งสองของหม่อมฉันจักสิ้นชีพเสียแน่แล้ว
ข้าแต่พระลูกเจ้า พาลมฤคในป่าที่ไร้ผลและเงียบสงัด
ได้กัดกินลูกทั้งสองของหม่อมฉันเสียแล้วกระมัง หรือ
ใครนำลูกทั้งสองของหม่อมฉันไปเสียแล้ว ลูกทั้งสอง
ของหม่อมฉันพระองค์ให้เป็นทูตส่งไปเฝ้าพระสีวีราช
กรุงเชตุดรหรือเธอผู้ช่างตรัสเป็นที่รักบรรทมหลับใน
บรรณศาลา หรือเธอขวนขวายในการเล่นเสด็จออกไป
ข้างนอกหนอ เส้นพระเกสาของลูกทั้งสองไม่ปรากฏ

746
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 747 (เล่ม 64)

พระหัตและพระบาทซึ่งมีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏเลย
เห็นจะถูกนกทั้งหลายโฉบคาบไป ลูกทั้งสองของ
หม่อมฉันอันใครนำไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ รตฺเตว เม มโน ความว่า เออ
ก็ใจของหม่อมฉันเป็นเหมือนเห็นสุบินในเวลาใกล้รุ่ง. บทว่า มิคา ได้แก่
พาลมฤคมีราชสีห์เป็นต้น. บทว่า อีริเน ได้แก่ ไร้ผล. บทว่า วิวเน
ได้แก่ เงียบสงัด. บทว่า อาทู เต ความว่า หรือว่าพระองค์ให้เป็นทูตส่ง
ไปเฝ้าพระเจ้าสีวีราชกรุงเชตุดร. บทว่า อาทู สุตฺตา ความว่า เสด็จเข้า
บรรทมภายในบรรณศาลา. บทว่า อาทู พหิ โน ความว่า พระนางมัทรี
ทูลถามว่า หรือว่าลูกทั้งสองของหม่อมฉันเหล่านั้นขวนขวายในการเล่นออกไป
ข้างนอก. บทว่า เนวาสํ เกสา ทิสฺสนฺติ ความว่า ข้าแต่พระสวามี
เวสสันดร เกสาสีดอกอัญชันดำของลูกทั้งสองนั้นไม่ปรากฏเลย หัตถ์และบาทซึ่ง
มีลายตาข่ายก็ไม่ปรากฏ. บทว่า สกุณานญฺจ โอปาโต ความว่า ใน
หิมวันตประเทศมีนกหัสดีลิงค์ นกเหล่านั้นบินมาพาไปทางอากาศนั่นแล เหตุ
นั้นหม่อมฉันอันนกเหล่านั้นนำไปหรือ แม้นกอะไร ๆ อื่นจากนี้ซึ่งเป็นราวกะ
ว่านกเหล่านั้นโฉบเอาไป ขอพระองค์โปรดบอก ลูกทั้งสองของหม่อมฉันอัน
ใครนำไป.
แม้เมื่อพระนางมัทรีกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ก็มิได้ตรัส
อะไร ลำดับนั้น พระนางจึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เหตุไรพระองค์
จึงไม่ตรัสกะหม่อมฉัน หม่อมฉันมีความผิดอย่างไร ทูลฉะนี้แล้วตรัสว่า
การที่พระองค์ไม่ตรัสกะหม่อมฉันนี้เป็นทุกข์ยิ่ง
ว่าการที่วันนี้หม่อมฉันไม่เห็นชาลีและกัณหาชินาลูก

747