No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 688 (เล่ม 64)

วัน บางต้นมีผลห่ามเป็นปากตะกร้อ บางต้นมีผลสุก
ทั้งสองอย่างนั้นมีพรรณดังสีหลังกบ อนึ่งในบริเวณ
อาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่ใต้ต้นก็เก็บมะม่วงสุกกินได้
ผลมะม่วงดิบและสุกทั้งหลาย มีสีสวยกลิ่นหอมรส
อร่อยที่สุด เหตุการณ์เหล่านี้เป็นที่น่าอัศจรรย์แก่
ข้าพเจ้าเหลือเกิน ถึงกับออกอุทานว่า อือ ๆ ที่ประทับ
ของพระเวสสันดรนั้น เป็นดังที่อยู่แห่งเทวดาทั้งหลาย
งดงามปานนันทนวัน มีหมู่ตาล มะพร้าว และ
อินทผลัมในป่าใหญ่ ราวกะระเบียบดอกไม้ที่ช่างร้อย
ครองตั้งไว้ ปรากฏดังยอดธง วิจิตรด้วยบุปผชาติมี
พรรณต่าง ๆ เหมือนดาวเรื่อเรืองอยู่ในนภากาศ แลมี
ไม่มูกมัน โกฐ สะค้าน และแคฝอย บุนนาค บุนนาค-
เขาและทองหลาง มีดอกบานสะพรั่ง อนึ่งในบริเวณ
อาศรมนั้น มีไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะเกลือ กฤษณา
รักดำ ก็มีมาก ต้นไทรใหญ่ ไม้รกฟ้า ไม่ประดู่ มี
ดอกบานสะพรั่งในบริเวณอาศรมนั้น มีไม้อัญชันเขียว
ไม้สน ไม้กะทุ่ม ขนุนสำมะกอ ไม้ตะแบก ไม้รัง
ล้วนมีดอกเป็นพุ่มคล้ายลอมฟาง ในที่ไม่ไกลอาศรม
นั้น มีสระโบกขรณี ณ ภูมิภาคน่ารื่นรมย์ ดาดาษ
ไปด้วยปทุมและอุบล ดุจในนันทนอุทยานของเหล่า
ทวยเทพฉะนั้น อนึ่งในที่ใกล้สระโบกขรณีนั้น มีฝูง
นกดุเหว่าเมารสบุปผชาติ ส่งเสียงไพเราะจับใจ ทำป่า

688
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 689 (เล่ม 64)

นั้นอื้ออึงกึกก้อง ในเมื่อหมู่ไม้ผลิดอกแย้มบานตาม
ฤดูกาล รสหวานดังน้ำผึ้งร่วงหล่นจากเกสรดอกไม้ลง
มาค้างอยู่บนใบบัว เรียกว่า โบกขรมธุ น้ำผึ้งใบบัว
(ขันฑสกร) อนึ่งลมทางทิศทักษิณและทิศประจิมย่อม
พัดมาที่อาศรมนั้น อาศรมเป็นสถานที่เกลื่อนกล่นด้วย
ละอองเกสรปทุมชาติ ในสระโบกขรณีนั้นมีกระจับ
ใหญ่ ๆ ทั้งข้าวสาลีร่วงลง ณ ภูมิภาค เหล่าปูในสระ
นั้นก็มีมาก ทั้งมัจฉาชาติและเต่าว่ายไปตามกันเห็น
ปรากฏ ในเมื่อเหง้าบัวแตก น้ำหวานก็ไหลออก ดุจ
นมสด เนยใส ไหลออกจากเหง้าบัวฉะนั้น วนประเทศ
นั้นฟุ้งไปด้วยกลิ่นต่างๆ หอนตลบไป วนประเทศนั้น
เหมือนดังจะชวนเชิญชนผู้มาถึงแล้วให้ยินดีด้วยดอก
ไม้และกิ่งไม้ที่มีกลิ่นหอม แมลงผึ้งทั้งหลายก็ร้องตอม
อยู่โดยรอบ ด้วยกลิ่นดอกไม้ อนึ่งในที่ใกล้อาศรมนั้น
มีฝูงวิหคเป็นอันมากมีสีสันต่าง ๆ กัน บันเทิงอยู่กับคู่
ของตน ๆ ร่ำร้องขานกะกันและกัน มีฝูงนกอีก ๔
หมู่ ทำรังอยู่ใกล้สระโบกรณี คือหมู่ที่ ๑ ชื่อนันทิกา
ย่อมร้องทูลเชิญพระเวสสันดรให้ชื่นชมยินดีอยู่ในป่านี้
หมู่ที่ ๒ ชื่อชีวปุตตา ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระ-
เวสสันดรพร้อมด้วยพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี
จงมีพระชนม์ยืนนานด้วยความสุขสำราญ หมู่ที่ ๓ ชื่อ
ชีวปุตตาปิยาจโน ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระเวส-
สันดรพร้อมทั้งพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี ผู้

689
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 690 (เล่ม 64)

เป็นที่รักของพระองค์จงทรงสำราญ มีพระชนมายุยืน
นานไม่มีข้าศึกศัตรู หมู่ที่ ๔ ชื่อปิยาปุตตาปิยานันทา
ย่อมร่ำร้องถวายพระพรให้พระโอรสพระธิดาและพระ-
มเหสี จงเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์จงเป็นที่
รักของพระโอรสพระธิดาและมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัส
ต่อกันและกัน ทิวไม้ราวกะระเบียบดอกไม้ที่ช่างร้อย
กรองตั้งไว้ ปรากฏดังยอดธง วิจิตรด้วยบุปผชาติมี
พรรณต่าง ๆ เหมือนคนฉลาดเก็บมาร้อยกรองไว้ ซึ่ง
เป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วยพระ-
มัทรีราชเทวีทัพระชาลีและพระกัณหาชินา ทรงเพศ
บรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิงกับทั้งชฎา ทรงหนัง
เสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรง
นมัสการเพลิง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จารุติมฺพรุกฺขา ได้แก่ ต้นมะพลับ
ทอง. บทว่า มธุมธุกา ได้แก่ มะซางมีรสหวาน. บทว่า เถวนฺติ
แปลว่า ย่อมรุ่งเรือง. บทว่า มธุตฺถิกา ได้แก่ เหมือนน้ำผึ้ง หรือเช่นกับ
รวงผึ้งเพราะแม่น้ำหวานไหลเยิ้ม. บทว่า ปาเรวตา ได้แก่ ต้นกล้วยงาช้าง.
บทว่า ภเวยฺย ได้แก่ กล้วยมีผลยาว. สกมาทาย ความว่า ถือเอารวงผึ้ง
นั้นบริโภคได้เองทีเดียว. บทว่า โทวิลา ได้แก่ มีดอกและใบร่วงหล่น มี
ผลดาษดื่น. บทว่า เภงฺควณฺณา ตทูภยํ ความว่า มะม่วงทั้งสองอย่างนั้น
คือ ดิบบ้าง สุกบ้าง มีสีเหมือนสีของหลังกบทีเดียว. บทว่า อเถตฺถ
เหฏฺฐา ปุริโส ความว่า อนึ่ง อาศรมนั้น บุรุษยืนอยู่ใต้ต้นมะม่วง

690
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 691 (เล่ม 64)

เหล่านั้น ย่อมเก็บผลมะม่วงได้ ไม่จำเป็นต้องขึ้นต้น. บทว่า วณฺณคนฺธ-
รสุตฺตมา ได้แก่ อุดมด้วยสีเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อเตว เม อจฺฉริยํ
ความว่า เป็นที่อัศจรรย์แก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน. บทว่า หิงฺกาโร ได้แก่ ทำ
เสียงว่า หึ ๆ. บทว่า วิเภทิกา ได้แก่ ต้นตาล บทว่า มาลาว คนฺถิตา
ความว่า ดอกไม้ทั้งหลายตั้งอยู่บนต้นไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง เหมือนพวงมาลัย
ที่นายมาลาการร้อยกรองไว้. บทว่า ธชคฺคาเนว ทิสฺสเร ความว่า ต้นไม้
เหล่านั้น ปรากฏราวกะยอดธงที่ประดับแล้ว. บทว่า กุฏชี กุฏฺฐตครา
ได้แก่ รุกขชาติอย่างหนึ่งชื่อว่าไม้มูกมัน กอโกฐ และกอกฤษณา. บทว่า
คิริปุนฺนาคา ได้แก่ บุญนาคใหญ่. บทว่า โกวิฬารา ได้แก่ ต้นทอง
หลาง. บทว่า อุทฺธาลกา ได้แก่ ต้นราชพฤกษ์ดอกสีเหลือง. บทว่า
ภลฺลิยา ได้แก่ ต้นรักดำ. บทว่า ลพุชา ได้แก่ ต้นขนุนสำมะลอ.
บทว่า ปุตฺตชีวา ได้แก่ ต้นไทรใหญ่. บทว่า ปลาลขลสนฺนิภา ความ
ว่า พรานเจตบุตรกล่าวว่า ดอกไม้ที่ร่วงหล่นใต้ต้นไม้เหล่านั้นคล้ายลอมฟาง.
บทว่า โปกฺขรณี ได้แก่ สระโบกขรณีสี่เหลี่ยม. บทว่า นนฺทเน ได้แก่
เป็นราวกะสระนันทนโบกขรณี ในนันทนวนอุทยาน. บทว่า ปุปฺผรส-
มตฺตา ได้แก่ เมาด้วยรสของบุปผชาติคือถูกรสของบุปผชาติรบกวน. บทว่า
มกรนฺเทหิ ได้แก่ เกสรดอกไม้. บทว่า โปกฺขเร โปกฺขเร ความว่า
เรณูร่วงจากเกสรดอกบัวเหล่านั้นลงบนใบบัว ชื่อโปกขรมธุน้ำผึ้งใบบัว (ซึ่ง
แพทย์ใช้เข้ายาเรียกว่า ขัณฑสกร). บทว่า ทกฺขิรณา อถ ปจฺฉิมา ความว่า
ลมจากทิศน้อยทิศใหญ่ทุกทิศ ท่านแสดงด้วยคำเพียงเท่านี้. บทว่า ถูลา
สึฆาฏกา ได้แก่ กระจับขนาดใหญ่. บทว่า สสาทิยา ได้แก่ ข้าวสาลี
เล็กๆ ซึ่งเป็นข้าวสาลีที่เกิดเองตั้งอยู่ เรียกว่าข้าวสาลีบริสุทธิ์ ก็มี. บทว่า
ปสาทิยา ได้แก่ ข้าวสาลีเหล่านั้น แหละร่วงลงบนพื้นดิน. บทว่า พฺยาวิธา

691
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 692 (เล่ม 64)

ความว่า เหล่าสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เที่ยวไปเป็นกลุ่ม ๆ ในน้ำใส ว่ายไปตาม
ลำดับปรากฏอยู่. บทว่า มูปยานกา ได้แก่ ปู. บทว่า มธุํ ภึเสหิ
ความว่า เมื่อเหง้าบัวแตก น้ำหวานไหลออกเช่นกับน้ำผึ้ง. บทว่า ขีรํ สปฺปิ
มูฬาลิภิ ความว่า น้ำหวานที่ไหลออกจากเหง้าบัวเป็นราวกะเนยข้นเนยใส
ผสมน้ำนม. บทว่า สมฺโมทิเตว ความว่า เป็นเหมือนจะยังชนที่ถึงแล้วให้
ยินดี. บทว่า สมนฺตามภินาทิตา ความว่า เที่ยวบินร่ำร้องอยู่โดยรอบ.
บทว่า นนฺทิกา เป็นต้นเป็นชื่อของนกเหล่านั้น ก็บรรดานกเหล่านั้น นก
หมู่ที่ ๑ ร้องถวายพระพรว่า ข้าแต่พระเวสสันดรเจ้า ขอพระองค์จงชื่นชม
ยินดีประทับอยู่ในป่านี้เถิด นกหมู่ที่ ๒ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระองค์พร้อม
ทั้งพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีจงมีพระชนม์ยืนนานด้วยความสุขสำราญเถิด
นกหมู่ที่ ๓ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระองค์พร้อมทั้งพระโอรสพระธิดาและ
พระมเหสีผู้เป็นที่รักของพระองค์ จงทรงสำราญมีพระชนม์ยืนนานไม่มีข้าศึก
ศัตรูเถิด นกหมู่ที่ ๔ ร้องถวายพระพรว่า ขอพระโอรสพระธิดาและพระมเหสี
จงเป็นที่รักของพระองค์ ขอพระองค์จงเป็นที่รักของพระโอรสพระธิดาและ
พระมเหสี ทรงชื่นชมโสมนัสกันและกันเถิด เพราะเหตุนั้นนกเหล่านั้นจึงได้
มีชื่ออย่างนี้แล. บทว่า โปกฺขรณีฆรา ได้แก่ ทำรังอยู่ใกล้สระโบกขรณี.
พรานเจตบุตรแจ้งสถานที่ประทับของพระเวสสันดรอย่างนี้แล้ว ชูชก
ยินดี เมื่อจะทำปฏิสันถารจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ก็สัตตูผงอันระคนด้วยน้ำผึ้งและสัตตูก้อนมีรส
หวานอร่อยของลุงนี้ อมิตตตาปนาจัดแจงให้แล้ว ลุง
จะแบ่งให้แก่เจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺตุภตฺตํ ได้แก่ ภัตตาหารคือสัตตู
ที่คล้ายน้ำผึ้งเคี่ยว มีคำอธิบายว่าสัตตูของลุงที่มีอยู่นี้นั้น ลุงจะให้แก่เจ้า เจ้า
จงรับเอาเถิด.

692
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 693 (เล่ม 64)

พรานเจตบุตรได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ จงเอาไว้เป็นเสบียงทาง
ของลุงเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการเสบียงทาง ขอเชิญลุง
รับน้ำผึ้งกับขาเนื้อย่างจากสำนักของข้านี้เอาไปเป็น
เสบียงทาง ขอให้ลุงไปตามสบายเถิด ทางนี้เป็นทาง
เดินได้คนเดียว มาตามทางนี้ ตรงไปสู่อาศรมอัจจุต-
ฤาษี พระอัจจุตฤาษีอยู่ในอาศรมนั้น มีฟันเขลอะ มี
ธุลีบนศีรษะ ทรงเพศเป็นพราหมณ์ มีขอสำหรับสอย
ผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา
ครองหนังเสือเหลือง นอนเหนือแผ่นดิน นมัสการ
เพลิง ลุงไปถึงแล้วถามท่านเถิด ท่านจักบอกหนทาง
ให้แก่ลุง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺพลํ ได้แก่ เสบียงทาง. บทว่า
เอติ ความว่า หนทางเดินได้เฉพาะคนเดียวมาตรงหน้าเราทั้งสองนี้ ตรงไป
อาศรมบท. บทว่า อจฺจุโต ความว่า ฤาษีองค์หนึ่งมีชื่ออย่างนี้ อยู่ใน
อาศรมนั้น.
ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ได้ฟังคำนี้แล้ว ทำ
ประทักษิณเจตบุตร มีจิตยินดีเดินทางไปยังสถานที่
อัจจุตฤาษีอยู่ ดังนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนาสิ ความว่า อัจจุตฤาษีอยู่ในที่ใด
ชูชกไปแล้วในที่นั้น.
จบจุลวนวรรณนา

693
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 694 (เล่ม 64)

มหาวนวรรณนา
เมื่อชูชกพราหมณ์ภารทวาชโคตรไป ก็ได้พบ
พระอัจจุตฤาษี ครั้นได้พบท่านแล้วก็สนทนาปราศรัย
กับพระอัจจุตฤาษีว่า พระผู้เป็นเจ้าไม่มีโรคาพาธกระ-
มัง พระผู้เป็นเจ้ามีความผาสุกสำราญกระมัง พระผู้
เป็นเจ้ายังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการเสาะแสวงหา
ผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมากกระมัง
เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานที่จะมีน้อยกระมัง
ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไป
ด้วยเนื้อร้ายไม่ค่อยมีกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภารทฺวาโช ได้แก่ ชูชก. บทว่า
อปฺปเมว ได้แก่ น้อยทีเดียว. บทว่า หึสา ได้แก่ ความเบียดเบียนให้
ท่านลำบากด้วยสามารถแห่งสัตว์เหล่านั้น.
ดาบสกล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ รูปไม่ค่อยมีอาพาธสุขสำราญดี
ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะหาผลไม้สะดวกดี และ
มูลผลาหารก็มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อย
คลานมีบ้างก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากใน
วนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้ายก็ไม่ค่อยมีแก่รูป
เมื่อรูปอยู่อาศรมหลายพรรษา รูปนี้ได้รู้จักอาพาธที่
ทำใจไม่ให้ยินดีเกิดขึ้นเลย ดูก่อนมหาพราหมณ์ ท่าน

694
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 695 (เล่ม 64)

มาดีแล้วและมาไกลก็เหมือนใกล้ เชิญเข้าข้างใน ขอ
ให้ท่านเจริญเถิด ชำระล้างเท้าของท่านเสีย.
ดูก่อนพราหมณ์ ผลมะพลับ ผลมะหาด ผล
มะซาง และผลหมากเม่า เป็นผลไม้มีรสหวาน
เล็ก ๆ น้อย ๆ เชิญท่านเลือกบริโภคแต่ที่ดี ๆ เถิด ดู
ก่อนพราหมณ์ น้ำดื่มนี้เย็นนำมาแต่ซอกเขา ขอเชิญ
ดื่มเถิดถ้าปรารถนาจะดื่ม.
ชูชกกล่าวว่า
สิ่งที่พระคุณเจ้าให้แล้ว เป็นอันข้าพเจ้ารับไว้
แล้ว บรรณาการอันพระคุณเจ้ากระทำแล้วทุกอย่าง
ข้าพเจ้ามาเพื่อพบพระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยที่
ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ถ้าพระคุณเจ้าทราบก็จงแจ้งแก่
ข้าพเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมหํ ทสฺสมาคโต ความว่า ข้าพเจ้า
มาเพื่อพบพระเวสสันดรนั้น
ดาบสกล่าวว่า
มิใช่แกมาเพื่อพบพระเจ้าสีวีราชผู้มีบุญ ชะรอย
แกปรารถนาพระมเหสีของท้าวเธอ ซึ่งเป็นผู้ยำเกรง
พระราชสามี หรือชะรอยแกอยากได้พระกัณหาชินาไป
เป็นทาสี และพระชาลีไปเป็นทาส แน่ะตาพราหมณ์
อีกอย่างหนึ่ง แกมาเพื่อนำพระราชเทวีพระราชกุมาร
กุมารีทั้งสามพระองค์ไปจากป่า โภคสมบัติและพระ-
ราชทรัพย์อันประเสริฐของพระเวสสันดร ย่อมไม่มี.

695
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 696 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตสฺส โภคา วิชฺชนฺติ ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้เจริญ พระเวสสันดรนั้นอยู่ในป่า ย่อมไม่มีโภคสมบัติและ
พระราชทรัพย์อันประเสริฐ พระองค์ท่านอยู่อย่างเข็ญใจ แกจักไปเฝ้าพระองค์
ทำไม.
ชูชกได้ฟังดังนี้นั้นแล้วจึงกล่าวว่า
ท่านผู้เจริญยังไม่ควรจะโกรธเคืองข้าพเจ้าเพราะ
ข้าพเจ้ามิได้มาขอทาน การเห็นพระผู้ประเสริฐย่อมให้
สำเร็จประโยชน์ การอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเป็น
ความสุขทุกเมื่อ.
ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระเจ้าสีวีราชที่ถูกชาวสีพี
ขับไล่ ข้าพเจ้ามาเพื่อจะพบพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้า
ทราบก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานาสิ สํส เม มีคำอธิบายว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้ไม่ควรที่ท่านผู้เจริญจะโกรธเคืองด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยว่าข้าพเจ้ามา
เพื่อจะขออะไร ๆ กะพระเวสสันดรก็หามิได้ อนึ่งการได้เห็นพระผู้ประเสริฐ
ทั้งหลายยังประโยชน์ให้สำเร็จ และการอยู่ร่วมกับพระผู้ประเสริฐเหล่านั้นก็เป็น
ความสุข ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของพระเวสสันดรนั้น จำเดิมแต่
พระองค์ถูกชาวสีพีขับไล่นั้น ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นพระองค์เลย เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงมาเพื่อพบเห็นพระองค์ ถ้าพระคุณเจ้ารู้สถานที่ประทับของพระเวส-
สันดร ก็จงแจ้งแก่ข้าพเจ้า.
พระอัจจุตฤาษีได้ฟังคำของชูชกก็เธอจึงกล่าวว่า เอาเถอะ พรุ่งนี้เรา
จักแสดงประเทศที่ประทับของพระเวสสันดรแก่ท่าน วันนี้ท่านอยู่ในที่นี้ก่อน
กล่าวฉะนี้แล้วให้ชูชกกินผลาผลจนอิ่ม รุ่งขึ้นเมื่อจะชี้หนทางจึงเหยียดมือขวา
ออกกล่าวว่า

696
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 697 (เล่ม 64)

ดูก่อนมหาพราหมณ์ นั่นภูเขาคันธมาทน์ล้วน
แล้วไปด้วยศิลา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวส-
สันดร พร้อมด้วยพระมัทรีราชเทวี ทั้งพระชาลีและ
พระกัณหาชินา ทรงเพศบรรพชิตอันประเสริฐ ทรง
ขอสำหรับสอยผลาผล ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชา
เพลิง กับทั้งชฎา ทรงหนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง
บรรทมเหนือแผ่นดิน ทรงนมัสการเพลิง ทิวไม้เขียว
นั้นทรงผลต่าง ๆ และภูผาสูงยอดเสียดเมฆ เขียว
ชะอุ่มนั่นแลเป็นเหล่าอัญชนภูผาเห็นปรากฏอยู่ นั่น
เหล่าไม้ตะแบก ไม้หูกวาง ไม้ตะเคียน ไม้รัง ไม้
สะคร้อ และเถายางทราย อ่อนไหวไปตามลม ดัง
มาณพดื่มสุราครั้งแรกก็โซเซฉะนั้น เหล่านกโพระดก
นกดุเหว่า ย่อมร่ำร้องบนกิ่งต้นไม้ พึงฟังดุจสังคีต
โผผินบินจากต้นนั้นสู่ต้นนี้ กิ่งไม้และใบไม้ทั้งหลาย
อันลมให้หวั่นไหวแล้ว ดังจะชวนบุคคลผู้ไปให้มา
ยินดี และยังบุคคลผู้อยู่ในที่นั้นให้เพลิดเพลิน ซึ่ง
เป็นที่ประทับแห่งพระราชาเวสสันดร พร้อมด้วย
พระมัทรีราชเทวีทั้งพระชาลีและพระกัณหาชินา ทรง
เพศบรรพชิตอันประเสริฐ และขอสำหรับสอยผลาผล
ภาชนะสำหรับใช้ในการบูชาเพลิง กับทั้งชฎา ทรง
หนังเสือเหลืองเป็นภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดิน
ทรงนมัสการเพลิง.

697