No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 668 (เล่ม 64)

ตรงต่อทิศอุดรเสด็จไปจากที่นี้โดยบรรดาใด ถัดนั้น
พระองค์จักทอดพระเนตรเห็นวิปุลบรรพตอันเกลื่อน
ไปด้วยหมู่ไม้ต่าง ๆ มีเงาเย็นน่ารื่นรมย์โดยบรรดานั้น.
ถัดนั้น พระองค์เสด็จพ้นวิปุลบรรพตนั้นแล้ว
จักทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำเกตุมดี ลึกเป็นน้ำไหลมา
แต่ซอกเขา ดาดาษไปด้วยมัจฉาชาติ แลมีท่าอันดี น้ำ
มากจงสรงเสวยที่แม่น้ำนั้น ให้พระโอรสพระธิดาและ
พระมเหสีทรงยินดี.
ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ไทร
มีผลพิเศษรสหวาน ซึ่งเกิดอยู่ที่ภูเขาน่ารื่นรมย์ มีเงา
เย็นน่ายินดี.
ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพต
ชื่อนาลิกะ เกลื่อนไปด้วยหมู่นกต่างๆ แล้วไปด้วยศิลา
เกลื่อนไปด้วยหมู่กินนร มีสระชื่อมุจลินท์อยู่ด้านทิศ
อีสานแห่งนาลิกบรรพต ปกคลุมด้วยบุณฑริกและ
อุบลขาวมีประการต่างๆ และดอกไม่มีกลิ่นหอมหวล.
ถัดนั้น พระองค์จะเสด็จถึงวนประเทศคล้าย
หมอ มีหญ้าแพรกเขียวอยู่เป็นนิตย์ แล้วเสด็จหยั่ง
ลงสู่ไพรสณฑ์ ซึ่งปกคลุมด้วยไม้ดอกและไม้ผลทั้ง
สอง ดังราชสีห์เพ่งเหยื่อหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์ฉะนั้น ฝูง
นกในหมู่ไม้ซึ่งมีดอกบานแล้วตามฤดูกาลนั้นมีมากมีสี
ต่าง ๆ ร้องกลมกล่อมอื้ออึง ต่างร้องประสานเสียงกัน.

668
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 669 (เล่ม 64)

ถัดนั้น พระองค์จักเสด็จลงซอกเขาอันเป็นทาง
กันดารเดินลำบาก เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย
จะได้ทอดพระเนตรเห็นสระโบกขรณีอันดาดาษด้วย
สลอดน้ำและกุ่มบก มีหมู่ปลาหลากหลายเกลื่อนกล่น
มีท่าเรียบราบ มีน้ำมากเปี่ยมอยู่เสมอ เป็นสระสี่เหลี่ยม
มีน้ำจืดดีไม่มีกลิ่นเหม็น พระองค์จงสร้างบรรณศาลา
ด้านทิศอีสานแห่งสระโบกขรณีนั้น ครั้นทรงสร้าง
บรรณศาลาสำเร็จแล้ว ประทับสำราญพระอิริยาบถ
ประพฤติแสวงหามูลผลาหาร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชิสิ ได้แก่ ผู้ที่เป็นพระราชาแล้ว
บวช. บทว่า สมาหิตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พระยาเจตราชทั้งหลาย
เมื่อยกหัตถ์ขวาขึ้นทูลบอกว่า เชิญพระองค์เสด็จทางเชิงบรรพตนี้ กราบทูล
ด้วยบทว่า เอส นี้. บทว่า อจฺฉสิ ได้แก่ จักประทับอยู่. บทว่า อาปกํ
ได้แก่ แม่น้ำเป็นทางน้ำไหล คือนำน้ำมา. บทว่า คิริคพฺภรํ ได้แก่ ไหล
มาแต่ช่องเขาทั้งหลาย. บทว่า มธุวิปฺผลํ ได้แก่ มีผลอร่อย. บทว่า
รมฺมเก ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปุริสายุตํ ได้แก่ ประกอบ คือ
เกลื่อนไปด้วยกินนรทั้งหลาย. บทว่า เสตโสคนฺธิเยหิ จ ความว่า ประกอบ
ด้วยอุบลชาวและดอกไม้มีกลิ่นหอมมีประการต่างๆ. บทว่า สีโหวามิสเปกฺขีว
ความว่า ดุจราชสีห์ต้องการเหยื่อ. บทว่า พินฺทุสฺสรา ได้แก่ มีเสียงกลม
กล่อม. บทว่า วคฺคู ได้แก่ มีเสียงไพเราะ. บทว่า กูชนฺตมุปกูชนฺติ
ความว่า เข้าไปร้องภายหลังร่วมกะนกที่ร้องอยู่ก่อน. บทว่า อุตุสมฺปุปฺผิเต
ทุเม ความว่า แอบที่ต้นไม้มีดอกบานตามฤดูกาล ส่งเสียงร้องพร้อมกะนกที

669
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 670 (เล่ม 64)

ส่งเสียงร้องอยู่. บทว่า โส อทฺทส ความว่า พระองค์นั้นจักได้ทอดพระเนตร.
บทว่า กรญฺชกกุธายุตํ ความว่า เกลื่อนไปด้วยต้นสลอดน้ำและต้นกุ่ม
ทั้งหลาย. บทว่า อปฺปฏิคนฺธิยํ ได้แก่ ปราศจากกลิ่นเหม็น เต็มเปี่ยม
ด้วยน้ำหวานดาดาษด้วยปทุมและอุบลเป็นต้นมีประการต่าง ๆ บทว่า ปณฺณ
สาลํ อมาปย ความว่า พึงสร้างบรรณศาลา. บทว่า อมาเปตฺวา ได้แก่ ครั้น
สร้างแล้ว. บทว่า อุญฺฉาจริยาย อีหถ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ ลำดับ
นั้นพระองค์พึงดำรงพระชนมชีพ ด้วยการเที่ยวแสวงหา เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่
เถิด คือพึงเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่เถิด.
พระยาเจตราชทั้งหลายกราบทูลบรรดา ๑๕ โยชน์ แด่พระเวสสันดร
อย่างนี้แล้วส่งเสด็จ คิดว่าปัจจามิตรคนใดคนหนึ่งอย่าพึงได้โอกาสประทุษร้าย
เลย เพื่อจะบรรเทาภยันตรายแห่งพระเวสสันดรเสีย จึงให้เรียกพรานป่าคน
หนึ่งชื่อเจตบุตร เป็นคนฉลาดศึกษาดีแล้วมาสั่งว่า เจ้าจงกำหนดตรวจตราคน
ทั้งหลายที่ไป ๆ มา ๆ สั่งฉะนี้แล้วให้อยู่รักษาประตูป่า แล้วกลับไปสู่นคร
ของตน.
ฝ่ายพระเวสสันดรพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและพระราช
เทวี เสด็จถึงเขาคันธมาทน์ประทับยับยั้งอยู่ ณ ที่นั่นตลอดวัน แต่นั่นบ่ายพระ
พักตร์ทิศอุดร เสด็จลุถึงเชิงเขาวิปุลบรรพต ประทับนั่งที่ฝั่งเกตุมดีนที เสวย
เนื้อมีรสอร่อยซึ่งนายพรานป่าผู้หนึ่งถวาย พระราชทานเข็มทองคำแก่นาย
พรานนั้น ทรงสรงสนานที่แม่น้ำนั้น มีความกระวนกระวายสงบ เสด็จขึ้นจาก
แม่น้ำ ประทับนั่งณร่มไม้นิโครธที่ตั้งอยู่ยอดสานุบรรพตหน่อยหนึ่ง เสวยผล
นิโครธ ทรงลุกขึ้นเสด็จไปถึงนาลิกบรรพต เมื่อเสด็จต่อไปก็ถึงสระมุจลินท์
เสด็จไปตามฝั่งสระถึงมุมด้านทิศอีสาน เสด็จเข้าสู่ชัฎไพรโดยทางเดินได้คน

670
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 671 (เล่ม 64)

เดียว ล่วงที่นั้นก็บรรลุถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ข้างหน้าของภูเขาทางกันดาร
เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย.
ขณะนั้นพิภพของท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักกะ
ทรงพิจารณาก็ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงทรงดำริว่า พระมหาสัตว์เสด็จเข้าสู่
หิมวันตประเทศ พระองค์ควรได้ที่เป็นที่ประทับ จึงตรัสเรียก พระวิสสุกรรม
เทพบุตรมาสั่งว่า ดูก่อนพ่อ ท่านจงไปสร้างอาศรมบทในสถานที่อันเป็นรมณีย์
ณ เวิ้งเขาวงกตแล้วกลับมา สั่งฉะนี้แล้วทรงส่งพระวิสสุกรรมไป พระวิสสุ-
กรรมรับเทวบัญชาว่า สาธุ แล้วลงจากเทวโลกไป ณ ที่นั้น เนรมิตบรรณศาลา
๒ หลัง ที่จงกรม ๒ แห่ง และที่อยู่กลางคืน ที่อยู่กลางวัน แล้วให้มีกอไม้อัน
วิจิตรด้วยดอกต่างๆ และดงกล้วย ในสถานที่นั้น ๆ แล้วตกแต่งบรรพชิต
บริขารทั้งปวง จารึกอักษรไว้ว่าท่านผู้หนึ่งผู้ใดใคร่จะบวช ก็จงใช้บริขาร
เหล่านั้น. แล้วห้ามกันเสียซึ่งเหล่าอมนุษย์และหมู่เนื้อหมู่นกที่มีเสียงน่ากลัว แล้ว
กลับที่อยู่ของตน.
ฝ่ายพระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเห็นทางเดินคนเดียว ทรงกำหนดว่า
จักมีสถานที่อยู่ของพวกบรรพชิต จึงให้พระนางมัทรีและพระราชโอรสธิดาพัก
อยู่ที่ทวารอาศรมบท พระองค์เองเสด็จเข้าสู่อาศรมบททอดพระเนตรเห็นอักษร
ทั้งหลาย ก็ทรงทราบความที่ท้าวสักกะประทาน ด้วยเข้าพระทัยว่า ท้าวสักกะ
ทอดพระเนตรเห็นเราแล้ว จึงเปิดทวารบรรณศาลาเสด็จเข้าไป ทรงเปลื้อง
พระแสงขรรค์และพระแสงศรที่พระภูษา ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาด
หนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎาทรงถือเพศฤาษี ทรงจับธารพระกร
เสด็จออกจากบรรณศาลา ยังสิริแห่งบรรพชิตให้ตั้งขึ้นพร้อม ทรงเปล่งอุทาน
ว่า โอเป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง เราได้ถึงบรรพชาแล้ว เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม
เสด็จจงกรมไปมา แล้วเสด็จไปสำนักพระราชโอรสธิดาและพระราชเทวีด้วย
ความสงบเช่นกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ฝ่ายพระนางมัทรีเทวีเมื่อทอดพระเนตร

671
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 672 (เล่ม 64)

เห็นก็ทรงจำได้ ทรงหมอบลงที่พระบาทแห่งพระมหาสัตว์ ทรงกราบแล้วทรง
กันแสงเข้าสู่อาศรมบทกับด้วยพระมหาสัตว์ แล้วไปสู่บรรณศาลาของพระนาง
ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาดหนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎา ทรงถือ
เพศเป็นดาบสินี ภายหลังให้พระโอรสพระธิดาเป็นดาบสกุมารดาบสินีกุมารี
กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ที่เวิ้งแห่งคีรีวงกต ครั้งนั้นพระนางมัทรีทูล
ขอพรแต่พระเวสสันดรว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ไม่ต้องเสด็จไปสู่ป่า
เพื่อแสวงหาผลไม้ จงเสด็จอยู่ ณ บรรณศาลากับพระราชโอรสและพระราชธิดา
หม่อมฉันจะนำผลาผลมาถวาย.
จำเดิมแต่นั้นมา พระนางนำผลาผลมาแต่ป่าบำรุงปฏิบัติพระราชสวามี
และพระราชโอรสพระราชธิดา ฝ่ายพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ก็ทรงขอพรกะ
พระนางมัทรีว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้เราทั้งสองชื่อว่าเป็น
บรรพชิตแล้ว ขึ้นชื่อว่าหญิงเป็นมลทินแก่พรหมจรรย์ ตั้งแต่นี้ไป เธออย่ามาสู่
สำนักฉันในเวลาไม่สมควร พระนางทรงรับว่าสาธุ แม้เหล่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งปวง
ในที่ ๓ โยชน์โดยรอบ ได้เฉพาะซึ่งเมตตาจิตต่อกันและกัน ด้วยอานุภาพแห่ง
เมตตาของพระมหาสัตว์ พระนางมัทรีเทวีเสด็จอุฏฐาการแต่เช้าตั้งน้ำดื่มน้ำใช้
แล้วนำน้ำบ้วนพระโอฐ น้ำสรงพระพักตร์มา ถวายไม้ชำระพระทนต์ กวาด
อาศรมบท ให้พระโอรสพระธิดาทั้งสองอยู่ในสำนักพระชนก แล้วทรงถือ
กระเช้า เสียมขอเสด็จเข้าไปสู่ป่า หามูลผลาผลในป่าให้เต็มกระเช้า เสด็จกลับ
จากป่าในเวลาเย็น เก็บงำผลาผลไว้ในบรรณศาลาแล้วสรงน้ำ และให้พระ-
โอรสพระธิดาสรง ครั้งนั้นกษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ ประทับนั่งเสวยผลาผลแทบ
ทวารบรรณศาลา แต่นั้นพระนางมัทรีพระชาลีและพระกัณหาชินาไปสู่
บรรณศาลา กษัตริย์ทั้ง ๔ ประทับอยู่ ณ เวิ้งเขาวงกตสิ้น ๗ เดือน โดย
ทำนองนี้แล ด้วยประการฉะนี้.
จบวนปเวสนกัณฑ์

672
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 673 (เล่ม 64)

ชูชกบรรพ
กาลนั้นมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ชูชก เป็นชาวบ้านพราหมณ์ชื่อ
ทุนนวิฏฐะ ใน กาลิงครัฐ เที่ยวภิกขาจารได้ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ ฝากไว้
ที่สกุลพราหมณ์แห่งหนึ่งแล้วไปเพื่อประโยชน์แสวงหาทรัพย์อีก เมื่อชูชกไป
ช้านาน สกุลพราหมณ์นั้นก็ใช้กหาปณะเสียหมด ภายหลังชูชกกลับมาทวง ก็
ไม่สามารถจะให้ทรัพย์นั้นจึงยกธิดาชื่อนางอมิตตตาปนาให้ชูชก ชูชกจึงพานาง
อมิตตตาปนาไปอยู่บ้านทุนนวิฏฐพราหมณ์คามในกาลิงครัฐ นางอมิตตตาปนา
ได้ปฏิบัติพราหมณ์โดยชอบ.
ครั้งนั้น พวกพราหมณ์หนุ่ม ๆ เหล่าอื่นเห็นอาจารสมบัติของนาง
จึงคุกคามภรรยาของตน ๆ ว่า นางอมิตตตาปนานี้ปฏิบัติพราหมณ์ชราโดยชอบ
พวกเจ้าทำไมประมาทต่อเราทั้งหลาย ภรรยาพราหมณ์เหล่านั้นจึงคิดว่า พวก
เราจักยังนางอมิตตตาปนานี้ให้หนีไปเสียจากบ้านนี้ คิดฉะนี้แล้วจึงไปประชุม
กันด่านางอมิตตตาปนาที่ท่าน้ำเป็นต้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อชูชกมีปกติอยู่ในกาลิงครัฐ
ภรรยาสาวของพราหมณ์นั้นชื่ออมิตตตาปนา.
นางพราหมณ์เหล่านั้นในหมู่บ้านนั้น ไปตักน้ำที่
ท่าน้ำ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกันมาประชุมกันกล่าว
บริภาษนางอมิตตตาปนาว่า แน่ะนางอมิตตตาปนา
บิดามารดาของเจ้า เมื่อเจ้ายังเป็นสาวอยู่อย่างนี้ ยัง
มอบตัวเจ้าให้แก่ชูชกพราหมณ์แก่ได้ พวกญาติของ
เจ้าผู้มอบตัวเจ้าแก่พราหมณ์แก่ ทั้งที่เจ้ายังเป็นสาวอยู่

673
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 674 (เล่ม 64)

อย่างนี้ เขาอยู่ในที่ลับปรึกษากันถึงเรื่องไม่เป็นประ-
โยชน์เรื่องทำชั่ว เรื่องลามก เรื่องไม่ยังใจให้เอิบอาบ
เจ้าอยู่กับผัวแก่ไม่ยังใจให้เอิบอาบ เจ้าอยู่กับผัวแก่
เจ้าตายเสียดีกว่ามีชีวิตอยู่ บิดามารดาของเจ้าคงหาชาย
อื่นให้เป็นผัวไม่ได้แน่จึงยกเจ้าซึ่งยังเป็นสาวอยู่อย่างนี้
ให้พราหมณ์แก่ เจ้าคงจัดบูชายัญไว้ไม่ดี ในดิถีที่ ๙ คง
จักไม่ได้ทำการบูชาไฟไว้ เจ้าคงจักด่าสมณพราหมณ์
มีพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า ผู้มีศีล เป็นพหูสูต ใน
โลกเป็นแน่ จึงได้มาอยู่ในเรือนพราหมณ์แก่แต่ยังเป็น
สาวอยู่อย่างนี้ ถูกงูกัดก็ไม่เป็นทุกข์ ถูกแทงด้วยหอก
ไม่เป็นทุกข์ การที่เห็นผัวแก่นั้นแล เป็นความทุกข์
ด้วย เป็นความร้ายกาจด้วย การเล่นหัว การรื่นรมย์
ย่อมไม่มีกับผัวแก่การเจรจาปราศรัยก็ไม่มี แม้การ
กระซิกกระซี้ก็ไม่งาม เมื่อใด ผัวหนุ่มเมียสาวเย้าหยอก
กันอยู่ในที่ลับ เมื่อนั้นความเศร้าโศกทุกอย่างที่เสียด
แทงหัวใจอยู่ย่อมพินาศไปสิ้น เจ้ายังเป็นสาวรูปสวย
พวกชายปรารถนายิ่งนัก เจ้าจงไปอยู่เสียที่ตระกูลญาติ
เถิด คนแก่จักให้เจ้ารื่นรมย์ได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ แปลว่า ได้มีแล้ว. บทว่า วาสี
กลิงฺเคสุ ความว่า เป็นชาวบ้านพราหมณ์ทุนนวิฏฐะแคว้นกาลิงครัฐ. บทว่า
ตา นํ ตตฺถ คตาโวจุํ ความว่า หญิงในบ้านนั้นเหล่านั้นไปตักน้ำที่ท่าน้ำ
ได้กล่าวกะนางอมิตตตาปนานั้น. บทว่า ถิโย นํ ปริภาสึสุ ความว่า หญิง
เหล่านั้นมิได้กล่าวกะใคร ๆ อื่น ด่านางอมิตตตาปนานั้นโดยแท้แล. บทว่า
กุตุหลา ได้แก่ เป็นประหนึ่งแตกตื่นกัน. บทว่า สมาคนฺตฺวา ได้แก่

674
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 675 (เล่ม 64)

ห้อมล้อมโดยรอบ. บทว่า ทหริยํ ได้แก่ ยังเป็นสาวรุ่นมีความงามเลิศ.
บทว่า ชิณฺณสฺสุ ได้แก่ ในเรือนของพราหมณ์แก่เพราะชรา. บทว่า
ทฺยิฏฺฐนฺเต นวมิยํ ความว่า เจ้าจักบูชายัญไว้ไม่ดีในดิถีที่ ๙ คือเครื่อง
บูชายัญของเจ้านั้นจักเป็นของที่กาแก่ถือเอาแล้วก่อน. ปาฐะว่า ทุยิฏฺฐา เต
นวมิยา ดังนี้ก็มี ความว่า เจ้าจักบูชายัญในดิถีที่ ๙ ไว้ไม่ดี. บทว่า อกตํ
อคฺคิหุตตฺตกํ ความว่า แม้การบูชาไฟท่านก็จักไม่กระทำ. บทว่า อภิสฺสสิ
ความว่า ด่าสมณพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว หญิง
ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์วา นี้เป็นผลแห่งบาปของเจ้านั้น.
บทว่า ชคฺฆิตํปิ น โสภติ ความว่า แม้การหัวเราะของคนแก่ที่หัวเราะ
เผยฟันหัก ย่อมไม่งาม. บทว่า สพฺเพ โสกา วินสฺสนฺติ ความว่า
ความเศร้าโศกของเขาเหล่านั้นทุกอย่างย่อมพินาศไป. บทว่า กึ ชิณฺโณ
ความว่า พราหมณ์แก่คนนี้จักยังเจ้าให้รื่นรมย์ด้วยกามคุณ ๕ ได้อย่างไร.
นางอมิตตตาปนาได้รับบริภาษแต่สำนักนางพราหมณีเหล่านั้น ก็ถือ
หม้อน้ำร้องไห้กลับไปเรือน ครั้นชูชกถามว่า ร้องไห้ทำไม เมื่อจะแจ้งความ
แก่ชูชกจึงกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่พราหมณ์ ฉันจะไม่ไปสู่แม่น้ำเพื่อน้ำตัก
มาให้ท่าน ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษ
ฉันเพราะเหตุที่ท่านเป็นคนแก่.
ความของคาถานั้นว่า ข้าแต่พราหมณ์ พราหมณีทั้งหลายบริภาษฉัน
เพราะท่านแก่ เพราะฉะนั้นจำเดิมแต่นี้ไป ฉันจักไม่ไปสู่แม่น้ำตักน้ำมาให้ท่าน.
ชูชกกล่าวว่า
แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าได้ทำการงานเพื่อฉันเลย
อย่าตักน้ำมาเพื่อฉันเลย ฉันจักตักน้ำเอง เจ้าอย่าขัด
เคืองเลย.

675
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 676 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทกมาหิสฺสํ ความว่า ฉันจักนำน้ำ
มาเอง
พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า
แน่ะพราหมณ์ ฉันไม่ได้เกิดในตระกูลที่ใช้ผัวให้
ตักน้ำ ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ในเรือนของท่าน
ถ้าท่านจักไม่นำทาสหรือทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้
ฉันจักไม่อยู่ในสำนักของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาหํ ตมฺหิ ความว่า ฉันไม่ได้เกิด
ในตระกูลที่ใช้สามีให้ทำการงาน. บทว่า ยํ ตฺวํ ความว่า ฉันไม่ต้องการน้ำ
ที่ท่านจักนำหมา.
ชูชกกล่าวว่า
แน่ะพราหมณี พื้นฐานศิลปะหรือสมบัติคือ
ทรัพย์และข้าวเปลือกของฉันไม่มี ฉันจะหาทาสหรือ
ทาสีมาเพื่อนางผู้เจริญแต่ไหน ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญ
เอง แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าขัดเคืองเลย.
นางอมิตตตาปนาอันเทวดาดลใจ กล่าวกะพราหมณ์ชูชกว่า
มาเถิดท่าน ฉันจักบอกท่านตามที่ฉันได้ยินมา
พระราชาเวสสันดรนั้นประทับอยู่ที่เขาวงกต ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจงไปทูลขอทาสและทาสีกะพระองค์
เมื่อท่านทูลขอแล้ว พระองค์ผู้เป็นขัตติยชาติจักพระ-
ราชทานทาสและทาสีแก่ท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอหิ เต อหมกฺขิสฺสํ ความว่า ฉัน
จักบอกแก่ท่าน. นางอมิตตตาปนานั้นถูกเทวดาดลใจ จึงกล่าวคำนี้.

676
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 677 (เล่ม 64)

ชูชกกล่าวว่า
ฉันเป็นคนแก่ ไม่มีกำลัง และหนทางก็ไกล ไป
แสนยาก แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่าคร่ำครวญไปเลย
อย่าน้อยใจเลย ฉันจักบำรุงนางผู้เจริญของ เจ้าอย่าขัด
เคืองฉันเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺโณหมสฺมิ ความว่า แน่ะ นางผู้
เจริญ ฉันเป็นคนแก่ ก็ไปอย่างไรได้.
พราหมณีอมิตตตาปนากล่าวว่า
คนขลาดยังไม่ทันถึงสนามรบ ไม่ทันได้รบก็ยอม
แพ้ ฉันได้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านยังไม่ทันได้ไปเลย
ยอมแพ้ ฉันนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านไม่หาทาส
และทาสีมาให้ฉัน ท่านจงรู้อย่างนี้ ฉันจักไม่อยู่ใน
เรือนของท่าน เมื่อใดท่านเห็นฉันแต่งกายในงาน
มหรสพประกอบด้วยนักขัตฤกษ์ หรือพิธีตามที่เคยมี
เมื่อนั้นความทุกข์ก็จักมีแก่ท่าน เมื่อฉันรื่นรมย์กับด้วย
ชายอื่น ๆ ความทุกข์ก็จักมีแก่ท่านเมื่อท่านชราแล้ว
พิไรคร่ำครวญอยู่ เพราะไม่เห็นฉัน ร่างกายที่งอก็จัก
งอยิ่งขึ้น ผมที่หงอกก็จักหงอกมากขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมนาปนฺเต ความว่า เมื่อท่านไม่ยอม
ไปเฝ้าพระเวสสันดร ทูลขอทาสและทาสีมา ฉันจักกระทำกรรมที่ท่านไม่ชอบใจ.
บทว่า นกฺขตฺเต อุตุปุพฺเพส ความว่า ในงานมหรสพที่เป็นไปด้วยสามารถ
ที่จัดขึ้นในคราวนักฤกษ์ หรือด้วยสามารถที่จัดขึ้นประจำฤดูกาล ในบรรดา
ฤดูกาลทั้งหก.
ชูชกพราหมณ์ได้ฟังดังนั้นก็ตกใจกลัว.

677