No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 618 (เล่ม 64)

ได้ยินว่าพราหมณ์ทั้งหลายได้ช้างแถบประตูด้านทักษิณทิศ นั่งบนหลัง
มีมหาชนแวดล้อม ขับไปท่ามกลางพระนคร มหาชนเห็นแล้วกล่าวกะพราหมณ์
เหล่านั้นว่า แน่ะเหล่าพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านขึ้นช้างของเราทั้งหลาย ท่านได้
มาแต่ไหน พราหมณ์เหล่านั้นตอบว่า ช้างนี้พระเวสสันดรมหาราชเจ้าพระ-
ราชทานแก่พวกเรา เมื่อโต้ตอบกะมหาชนด้วยวิการแห่งมือเป็นต้น พลาง
ขับไปท่ามกลางพระนคร ออกทางประตูทิศอุดร ชาวพระนครโกรธพระบรม-
โพธิสัตว์ ด้วยสามารถเทวดาดลใจให้คิดผิด จึงชุมนุมกันกล่าวติเตียนใหญ่แทบ
ประตูวัง.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อพระเวสสันดรผู้ยังแคว้นของชาวสีพีให้เจริญ
พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น
เสียงอันกึกก้องก็แผ่ไปมากมาย ครั้งนั้น เมื่อพระ-
เวสสันดรพระราชทานช้างตัวประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึง
น่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นในนครนั้น ในกาลนั้นชาว
พระนครก็กำเริบ ครั้งนั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้
ผดุงสีพีรัฐให้เจริญรุ่งเรือง พระราชทานช้างตัว
ประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมากก็เป็นไป
ในนครนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โฆโส ได้แก่ เสียงติเตียน. บทว่า
วิปุโล ได้แก่ ไพบูลย์เพราะแผ่ออกไป. บทว่า มหา ได้แก่ มากมาย
เพราะไปในเบื้องบน. บทว่า สิวีนํ รฏฺฐวฑฺฒเน ได้แก่ การทำความ
เจริญเเก่แว่นแคว้นของประชาชนผู้อยู่ในแว่นแคว้นสีพี.
ครั้งนั้นชาวเมืองมีจิตตื่นเต้นเพราะพระเวสสันดรพระราชทานช้าง
สำคัญของบ้านเมือง จึงกราบทูลพระเจ้าสญชัย.

618
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 619 (เล่ม 64)

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
พวกคนที่มีชื่อเสียง พระราชบุตรทั้งหลาย พ่อ
ค้า ชาวนาทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง
กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น
ประชุมกันแล้ว เห็นช้างลูกพราหมณ์ทั้ง ๘ นำไป พวก
เหล่านั้นจึงกราบทูลพระเจ้าสญชัยให้ทรงทราบว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์อันพระ-
เวสสันดรกำจัดเสียแล้ว พระเวสสันดรพระโอรสของ
พระองค์พระราชทานช้างตัวประเสริฐของเราทั้งหลาย
ซึ่งชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ด้วยเหตุไร พระเวสสันดร
พระราชทานช้างของเราทั้งหลาย ซึ่งมีงาดุจงอนไถ
เป็นราชพาหนะรู้ชัยภูมิแห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่ว
สรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลืองซับ
มัน อาจย่ำยีศัตรูได้ฝึกดีแล้ว พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี
มีกายสีขาวเช่นกับเขาไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร
ทั้งเครื่องลาดอันงาม ทั้งหมอ ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยาน
อันเลิศ เป็นช้างพระที่นั่ง พระราชทานให้เป็นทรัพย์
แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ เสียด้วยเหตุไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุคฺคา ได้แก่ เด่น คือ รู้กันทั่ว คือ
ปรากฏ. บทว่า นิคโม ได้แก่ คนมีทรัพย์ชาวนิคม. บทว่า วิธมํ เทว
เต รฏฺฐํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์ถูกกำจัด
เสียแล้ว. บทว่า กถํ โน หตฺถินํ ทชฺชา ความว่า พระราชทานช้างที่รู้สึก
กันว่าเป็นมงคลยิ่งของเราทั้งหลาย แก่พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ ด้วยเหตุไร.
บทว่า เขตฺตญฺญุํ สพฺพยุทฺธานํ ความว่า ผู้สามารถรู้ความสำคัญของชัยภูมิ

619
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 620 (เล่ม 64)

แห่งการยุทธ์แม้ทุกอย่าง. บทว่า ทนฺตึ ได้แก่ ประกอบด้วยการฝึกจนใช้ได้
ตามชอบใจ. บทว่า สวาลวีชนึ ได้แก่ ประกอบด้วยพัดวาลวีชนี. บทว่า
สุปตฺเถยฺยํ ได้แก่ พร้อมด้วยเครื่องลาด. บทว่า สาถพฺพนํ ได้แก่
พร้อมด้วยหมอช้าง. บทว่า สหตฺถิปํ ความว่า พร้อมด้วยคนเลี้ยงคือคน
บำรุงช้างและคนดูแลรักษาช้าง ๕๐๐. สกุล. ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว
ได้กล่าวอย่างนี้อีกว่า
พระเวสสันดรนั้นควรพระราชทานข้าวน้ำและ
ผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสนาสนะ เพราะว่าของนั้นสมควรแก่
พราหมณ์ทั้งหลาย พระเวสสันดรนี้เป็นพระราชาสืบ
วงศ์มาแต่พระองค์ เป็นผู้ทำความเจริญแก่สีพีรัฐ ข้าแต่
พระเจ้าสญชัย พระเวสสันดรผู้พระราชโอรสพระราช
ทานช้างเสียทำไม ถ้าพระองค์จักไม่ทรงทำตามคำอัน
นี้ของชาวสีพี ชะรอยชาวสีพีจักพึงทำพระองค์กับ
พระราชโอรสไว้ในเงื้อมมือของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วํสราชาโน ได้แก่ เป็นมหาราชมา
ตามเชื้อสาย. บทว่า ภาเชติ ได้แก่ พระราชทาน. บทว่า สิวิหตฺเถ กริสฺ-
สเร ความว่า ชนชาวสีพีรัฐทั้งหลายจักทำพระองค์กับพระราชโอรสในมือ
ของตน.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น ทรงสำคัญว่าชาวเมืองเหล่านี้จักปลง
พระชนม์พระเวสสันดร จึงตรัสว่า
ถึงชนบทจะไม่มี และแม้แว่นแคว้นจักพินาศไปก็
ตามเถิด เราก็ไม่พึงเนรเทศพระโอรสผู้หาความผิดมิได้
จากแคว้นของตนตามคำของชาวเมืองสีพี เพราะลูก
เกิดแต่อุระของเรา และเราไม่พึงประทุษร้ายในโอรส

620
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 621 (เล่ม 64)

นั้น เพราะเธอเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรอันประ-
เสริฐ แม้คำติเตียนจะพึงมีแก่เรา และเราจะพึง
ได้บาปเป็นอันมาก ฉะนั้นเราจะฆ่าลูกเวสสันดรด้วย
ศัสตราได้อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาสิ ตัดบทเป็น มา อโหสิ
ความว่า จงอย่าเป็น. บทว่า อริยสีเลวโต ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลและ
วัตรอันประเสริฐ คือสมาจารสมบัติอันประเสริฐ. บทว่า ฆาตยามเส ได้แก่
จักฆ่า. บทว่า ทุพฺเภยฺยํ ความว่า ลูกของเราไม่มีโทษ คือปราศจากความผิด.
ชาวสีพีได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลว่า
พระองค์อย่าประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อน
ไม้และศัสตรา เพราะพระปิโยรสนั้นหาควรแก่เครื่อง
พันธนาการไม่ พระองค์จงขับพระเวสสันดรนั้นเสีย
จากแคว้น พระเวสสันดรจงประทับอยู่ ณ เขาวงกต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา นํ ทณฺเฑน สตฺเถน ความว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าทรงประหารพระเวสสันดรนั้นด้วยท่อนไม้หรือ
ด้วยศัสตรา. บทว่า น หิ โส พนฺธนารโห ความว่า พระเวสสันดรนั้น
เป็นผู้ไม่ควรแก่พันธนาการเลยทีเดียว.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสว่า
ถ้าชาวสีพีพอใจอย่างนี้ เราก็ไม่ขัดความพอใจ
ขอโอรสของเราจงอยู่ตลอดราตรีนี้ และจงบริโภค
กามารมณ์ทั้งหลาย แต่นั้นเมื่อราตรีสว่างแล้ว ดวง
อาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีจงพร้อมกันขับโอรสของเรา
จากแว่นแคว้นเถิด.

621
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 622 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสตุ ความว่า พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
ลูกเวสสันดรจงอยู่ให้โอวาทแก่บุตรและทาระ พวกเจ้าจงให้โอกาสเธอราตรี
หนึ่ง.
ชาวเมืองสีพีรับพระราชดำรัสว่า พระโอรสนั้นจงยับยั้งอยู่สักราตรีหนึ่ง.
ลำดับนั้นพระเจ้าสญชัยส่งชาวเมืองเหล่านั้น ให้กลับไปแล้ว เมื่อจะส่งข่าวแก่
พระโอรสจึงตรัสเรียกนายนักการมาส่งไปสำนักพระโอรส นายนักการรับพระ-
ราชกระแสรับสั่งแล้วไปสู่พระนิเวศน์แห่งพระเวสสันดรกราบทูลประพฤติเหตุ.
เมื่อพระศาสดาจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แน่ะนายนักการ เจ้าจงลุก รีบไปบอกลูกเวสสันดร
ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวสีพีและชาวนิคมขัดเคือง
พระองค์ มาประชุมกัน พวกคนที่มีชื่อเสียงและพระ-
ราชบุตรทั้งหลาย พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย
ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม
ชาวสีพีทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว
ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีทั้งหลายพร้อมกันขับ
พระองค์จากแว่นแคว้น นายนักการนั้นอันพระเจ้ากรุง
สีพีส่งไป ก็สวมสรรพาภรณ์ นุ่งห่มดีแล้ว ประพรม
ด้วยแก่นจันทน์ เขาสนานศีรษะในน้ำแล้วสวมกุณฑล
มณี ไปสู่วังอันน่ารื่นรมย์ซึ่งเป็นพระนิเวศนี้แห่งพระ
เวสสันดร เขาได้เห็นพระเวสสันดรรื่นรมย์อยู่ในวัง
ของพระองค์นั้น ซึ่งเกลื่อนไปด้วยเสวกามาตย์ ดุจท้าว
วาสวะของเทพเจ้าชาวไตรทศ นายนักการนั้นไป ณ ที่

622
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 623 (เล่ม 64)

นั้นได้กราบทูลพระเวสสันดรผู้รื่นรมย์อยู่ว่า ข้าแต่
พระจอมพล ข้าพระบาทจักทูลความทุกข์ของพระองค์
ขอพระองค์อย่ากริ้วข้าพระบาท นักการนั้นถวาย
บังคมแล้วร้องไห้ กราบทูลพระเวสสันดรว่า ข้าแต่
มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยงข้าพระบาท เป็น
ผู้นำมาซึ่งรสคือความใคร่ทั้งปวง ข้าพระบาทจักกราบ
ทูลความทุกข์ของพระองค์ เมื่อข่าวแสดงความทุกข์
อันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาททรงยัง
ข้าพระบาทให้ยินดี ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ชาว
สีพีและชาวนิคมขัดเคืองพระองค์ มาประชุมกัน พวก
คนที่มีชื่อเสียง และพระราชบุตรทั้งหลาย และพวก
พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า
กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น ประชุม
กันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว
ชาวสีพีทั้งลาย พร้อมกันขับพระองค์จากแว่นแคว้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมารํ ได้แก่ พระราชาที่นับว่าเป็น กุมาร
เพราะยังมีพระมารดาและพระบิดา. บทว่า รมฺนานํ ได้แก่ ผู้ประทับนั่งตรัส
สรรเสริญทานที่พระองค์ให้แล้ว มีความโสมนัส. บทว่า อมจฺเจหิ ได้แก่
แวดล้อมไปด้วยเหล่าอำมาตย์ผู้สหชาติประมาณหกหมื่นคน ประทับนั่งเหนือ
พระราชอาสน์ภายใต้เศวตฉัตรยกขึ้นแล้ว. บทว่า เวทยิสฺสามิ ได้แก่
จักกราบทูล. บทว่า ตตฺถ อสฺสายนฺตุ มํ ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ
เมื่อข่าวแสดงความทุกข์นั้นอันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาทโปรดยัง
ข้าพระองค์ให้ยินดี คือขอพระองค์โปรดตรัสกะข้าพระบาทว่า เจ้าจงกล่าว
ตามสบายเถิด นักการกล่าวอย่างนั้น ด้วยความประสงค์ดังนี้.

623
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 624 (เล่ม 64)

พระมหาสัตว์ตรัสว่า
ชาวสีพีขัดเคืองเราผู้ไม่เห็นความผิดในเพราะ
อะไร แน่ะนักการ ท่านจงแจ้งความผิดนั้นแก่เรา
ชาวเมืองทั้งหลายจะขับไล่เราเพราะเหตุไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺมึ ได้แก่ ในเพราะเหตุอะไร. บทว่า
วิยาจิกฺข ความว่า จงกล่าวโดยพิสดาร.
นักการกราบทูลว่า
พวกคนมีที่ชื่อเสียงและพระราชบุตรทั้งหลาย
พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า
กองรถ กองราบ ขัดเคืองพระองค์เพราะพระราชทาน
คชสารตัวประเสริฐ ฉะนั้นพวกเขาจึงขับพระองค์เสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขียนฺติ แปลว่า ขัดเคือง.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงโสมนัสตรัสว่า
ดวงหทัยหรือจักษุ เราก็ให้ได้ จะอะไรกะทรัพย์
นอกกายของเรา คือ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์หรือ
แก้วมณี ในเมื่อยาจกมาแล้ว เราได้เห็นเขาแล้ว พึง
ให้พาหาเบื้องขวาเบื้องซ้ายก็ได้ เราไม่พึงหวั่นไหว
เพราะใจของเรายินดีในการบริจาค ปวงชาวสีพีจึงขับ
ไล่หรือฆ่าเราเสียก็ตาม พวกเขาจะตัดเราเสียเป็น ๗
ท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งดเว้นจากการบริจาคเป็น
อันขาด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจกมาคเต ความว่า เมื่อยาจกมาแล้ว
ได้เห็นยาจกนั้น บทว่า เนว ทานา วิรมิสฺสํ ความว่า จักไม่งดเว้นจาก
การบริจาคเป็นอันขาด.

624
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 625 (เล่ม 64)

นักการได้ฟังดังนั้น เมื่อจะกราบทูลข่าวอย่างอื่นตามมติของตน ซึ่ง
พระเจ้าสญชัยหรือชาวเมืองมิได้ให้ทูลเลย จึงกราบทูลว่า
ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกันกล่าวอย่างนี้ว่า
พระเวสสันดรผู้มีวัตรอันงาม จงเสด็จไปสู่ภูผาอันชื่อ
ว่า อารัญชรคีรี ตามฝั่งแห่งแม่น้ำโกนติมารา ตาม
ทางที่พระราชาผู้ถูกขับไล่เสด็จไปนั้นเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนฺติมาราย ได้แก่ ตามฝั่งแห่งแม่น้ำ
ชื่อว่าโกนติมารา. บทว่า คิริมารญฺชรํ ปติ ความว่า เป็นผู้มุ่งตรงภูผาชื่อว่า
อารัญชร. บทว่า เยน ความว่า นักการกราบทูลว่า ชาวสีพีทั้งหลายกล่าว
อย่างนี้ว่า พระราชาทั้งหลายผู้บวชแล้วย่อมไปจากแว่นแคว้นโดยทางใด แม้
พระเวสสันดรผู้มีวัตรงดงามก็จงเสด็จไปทางนั้น ได้ยินว่า นักการนั้นถูก
เทวดาดลใจจึงกล่าวคำนี้.
พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่า สาธุ เราจักไป
โดยมรรคาที่เสด็จไปแห่งพระราชาทั้งหลายผู้รับโทษ ก็แต่ชาวเมืองทั้งหลายมิได้
ขับไบ่เราด้วยโทษอื่น ขับไล่เราเพราะเราให้คชสารเป็นทาน เมื่อเป็นเช่นนี้
เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทานสักหนึ่งวัน ชาวเมืองจงให้โอกาสเพื่อเราได้ให้
ทานสักหนึ่งวัน รุ่งขึ้นเราให้ทานแล้วจักไปในวันที่ ๓ ตรัสฉะนี้แล้วตรัสว่า
เราจักไปโดยมรรคาที่พระราชาทั้งหลายผู้ต้อง
โทษเสด็จไป ท่านทั้งหลายงดโทษให้เราสักคืนกับ
วันหนึ่ง จนกว่าเราจะได้บริจาคทานก่อนเถิด.
นักการได้ฟังดังนั้นแล้วกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระบาท
จักแจ้งความนั้นแก่ชาวพระนครและแด่พระราชา ทูลฉะนี้แล้วหลีกไป
พระมหาสัตว์ส่งนักการนั้นไปแล้ว จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า
ดำรัสให้จัดสัตตสดกมหาทานว่า พรุ่งนี้เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทาน ท่าน

625
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 626 (เล่ม 64)

จงจัดช้าง ๗๐๐ เชือก ม้า ๗๐๐ ตัว รถ ๗๐๐ คัน สตรี ๗๐๐ คน โคนม
๗๐๐ ตัว ทาส ๗๐๐ คน ทาสี ๗๐๐ คน จงตั้งไว้ซึ่งข้าวน้ำเป็นต้นมีประการ
ต่างๆ สิ่งทั้งปวงโดยที่สุดแม้สุราซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรให้ แล้วส่งอำมาตย์ทั้งหลาย
ให้กลับ แล้วเสด็จไปที่ประทับพระนางมัทรีแต่พระองค์เดียว ประทับนั่งข้าง
พระยีภู่อันเป็นสิริ ตรัสกับพระนางนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ตรัสเรียกพระนางมัทรี
ผู้งามทั่วสรรพางค์นั้นมาว่า พัสดุอันใดอันหนึ่งที่ฉัน
ให้เธอ ทั้งทรัพย์อันประกอบด้วยสิริ เงิน ทอง มุกดา
ไพฑูรย์มีอยู่มาก และสิ่งใดที่เธอนำมาแต่พระชนก
ของเธอ เธอจงเก็บสิ่งนั้นไว้ทั้งหมด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิทเหยฺยาสิ ความว่า เธอจงเก็บขุม
ทรัพย์ไว้. บทว่า เปติกํ ได้แก่ ที่เธอนำมาแต่ฝ่ายพระชนก.
พระราชบุตรีพระนามว่ามัทรีผู้งามทั่วพระกายจึง
ทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ จะโปรดให้เก็บทรัพย์
ทั้งนั้นไว้ในที่ไหน ขอพระองค์รับสั่งแก่หม่อมฉันผู้
ทูลถามให้ทราบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพฺรวิ ความว่า ทูลกระหม่อม
เวสสันดรพระสวามีของเราไม่เคยตรัสว่า เธอจงเก็บทรัพย์ตลอดกาลมีประมาณ
เท่านี้ เฉพาะคราวนี้พระองค์ตรัส เราจักทูลถามทรัพย์นั้นจะโปรดให้เก็บ
ไว้ในที่ไหนหนอ พระนางมัทรีมีพระดำริดังนี้จึงได้ทูลถามดังนั้น.
พระเวสสันดรบรมกษัตริย์จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงบริจาคทานในท่าน
ผู้มีศีลทั้งหลายตามควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง
อย่างอื่นยิ่งกว่าทานการบริจาคย่อมไม่มี.

626
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 627 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺเชสิ ความว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ
เธออย่าได้เก็บทรัพย์ไว้ในที่มีพระคลังเป็นต้น เมื่อจะเก็บเป็นชุมทรัพย์ที่จะติด
ตามตัวไป พึงถวายในท่านผู้มีศีลทั้งหลายในแว่นแคว้นของเรา. บทว่า น หิ
ทานา ปรํ ความว่า ขึ้นชื่อว่าที่พึ่งอาศัยที่ยิ่งในรูปกว่าทาน ย่อมไม่มี.
พระนางมัทรีรับพระดำรัสว่า สาธุ. ครั้งนั้นพระบรมโพธิสัตว์เมื่อจะ
ประทานพระราโชวาทแก่พระนางให้ยิ่งขึ้นจึงตรัสว่า
ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงเอ็นดูในโอรสและ
ธิดากับทั้งพระสัสสุและพระสสุระ กษัตริย์ใดมาสำคัญ
ว่าจะเป็นภัสดาเธอ เธอจงบำรุงกษัตริย์นั้นโดยเคารพ
ถ้าว่าไม่มีใครสำคัญว่าจะเป็นภัสดาเธอ เพราะเธอไม่
ได้อยู่กับฉัน เธอจงแสวงหาภัสดาอื่น เธออย่าลำบาก
เพราะพรากจากฉันเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทเยสิ ความว่า พึงเอ็นดูกระทำความ
เมตตา. บทว่า โย จ ตํ ภตฺตา มญฺเญยฺย ความว่า แน่ะนางผู้เจริญ
เมื่อฉันไปแล้วกษัตริย์ใดมาสำคัญว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เธอพึงบำรุง
กษัตริย์แม้นั้นโดยเคารพ. บทว่า มยา วิปฺปวเสน เต ความว่า ถ้าใคร ๆ ไม่
สำคัญเธอว่า เราจักเป็นภัสดาของเธอ เพราะเธอไม่ได้อยู่กับฉัน เมื่อเป็น
เช่นนั้นเธอจงแสวงหาภัสดาอื่นด้วยตนเองนั่นแล. บทว่า มา กิลิตฺถ มยา
วินา ความว่า เธอพรากจากฉันแล้วอย่าลำบาก คือจงอย่าลำบาก.
ครั้งนั้นพระนางมัทรีมีพระดำริว่า พระเวสสันดรผู้ภัสดาตรัสพระวาจา
เห็นปานนี้ เหตุเป็นอย่างไรหนอ จึงกราบทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์
ตรัสพระวาจาอันไม่สมควรตรัสนี้เพราะเหตุไร ลำดับนั้นพระเวสสันดรจึงตรัส
ตอบพระนางว่า แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ ชาวสีพีขัดเคืองเพราะฉันให้ช้าง

627