No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 568 (เล่ม 64)

มิได้เห็นพระลูกรักทั้งสองของเรา ผู้ใดมานำเอาพระ
ลูกทั้งสองนั้นไป หรือว่าพระลูกรักทั้งสองนั้นตาย
เสียแล้ว แม้ฝูงนกก็มิได้ขานขัน พระลูกน้อยทั้งสอง
ของหม่อมฉันตายเสียแล้วเป็นแน่ พระนางมัทรีผู้ทรง
พระรูปพระโฉมอันอุดม เป็นพระราชบุตรีผู้มียศเที่ยว
ไปที่โคนต้นไม้ ที่บริเวณภูเขา และในถ้ำมิได้ทรงพบ
เห็นสองพระกุมาร จึงทรงประคองพระพาหากันแสง
ไห้คร่ำครวญ ล้มสลบลงที่พื้นพสุธา ณ ที่ใกล้บาทมูล
ของพระเวสสันดรนั้นแล.
[๑๑๙๘] พระเวสสันดรราชฤาษี ทรงวักน้ำประ-
พรมพระนางมัทรีราชบุตรีผู้ล้มสลบขึ้น ณ ที่ใกล้บาท
มูลของพระองค์นั้น ครั้นทรงทราบว่า พระนางฟื้น
พระองค์ดีแล้ว จึงได้ตรัสบอกเนื้อความนี้กะพระนาง
ในภายหลังว่า ดูก่อนมัทรี ฉันไม่ปรารถนาจะแจ้ง
ความทุกข์แก่เธอแต่แรกก่อน พราหมณ์แก่เป็นยาจก
ผู้ยากจนมาสู่ที่อยู่ของฉัน ฉันได้ให้ลูกทั้งสองแก่
พราหมณีนั้นไป ดูก่อนมัทรี เธออย่ากลัวเลย จงดีใจ
เถิด ดูก่อนมัทรี เธอจงดูฉันเถิด จงอย่าดูลูกทั้งสองเลย
อย่ากันแสงไห้ไปนักเลย เราเป็นผู้ไม่มีโรค ยังมีชีวิต
อยู่ คงจักได้พบเห็นลูกทั้งสองที่พราหมณ์นำไปเป็น
แน่แท้ สัปบุรุษเห็นยาจกมาถึงแล้วพึงให้บุตร ปศุสัตว์
ธัญชาติ และทรัพย์อย่างอื่นในเรือนเป็นทานได้ ดูก่อน
มัทรี ขอเธอจงอนุโมทนาปุตตทานอันสูงสุดของเรา.

568
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 569 (เล่ม 64)

พระนางมัทรีทูลว่า
[๑๑๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ หม่อมฉัน
นุโมทนาปุตตทานอันอุดมของฝ่าพระบาท ฝ่า-
พระบาททรงพระราชทานปุตตทานอันอุดมแล้ว จงยัง
พระหฤทัยให้เลื่อมใส ขอจงทรงบำเพ็ญทานยิ่ง ๆ ขึ้น
ไปเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่ของประชุมชนในหมู่
มนุษย์ซึ่งมักเป็นคนตระหนี่เหนียว ฝ่าพระบาทพระ-
องค์เดียวผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ได้ทรงบำเพ็ญปิยปุตต-
ทานแก่พราหมณ์แล้ว.
[๑๒๐๐] ปฐพีก็บันลือลั่นเสียงสนั่นบันลือไปถึง
ไตรทิพย์ สายฟ้าแลบอยู่แปลบปลาบโดยรอบ เสียง
สะท้านปรากฏ ดังหนึ่งว่าเสียงภูเขาถล่มทลาย.
[๑๒๐๑] เทพเจ้าสองหมู่ ผู้สิงสถิตอยู่ที่นารท-
บรรพต ถวายอนุโมทนาแก่พระหน่อทศพลเวสสันดร
นั้นว่า พระอินทร์ พระพรหม ทั้งท้าวเวสวัณมหา-
ราช และเทพเจ้าขาวดาวดึงส์สวรรค์พร้อมด้วยพระ
อินทร์ทุกถ้วนหน้า ย่อมถวายอนุโมทนาพระนางเจ้า
มัทรีผู้ทรงพระรูปพระโฉมอันอุดม เป็นพระราชบุตรี
ผู้มียศ ทรงถวายอนุโมทนาปุตตทานอันอุดมของ
พระเวสสันดรราชฤาษี ด้วยประการฉะนี้แล.
จบมัทรีบรรพ

569
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 570 (เล่ม 64)

พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๐๒] ลำดับนั้น เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์
อุทัยขึ้นมา เวลาเช้าท้าวสักกเทวราชทรงแปลงเพศ
เป็นอย่างพราหมณี ได้ปรากฏแก่สองกษัตริย์นั้น.
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
[๑๒๐๓] พระคุณเจ้าไม่มีโรคาพาธหรือหนอ
พระคุณเจ้าทรงพระสำราญดีหรือ ทั้งมูลมันผลไม้มี
มากหรือ เหลือบยุงและสัตว์เสือกคลานมีน้อยแลหรือ
ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤคไม่มีมาเบียดเบียน
แลหรือ.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๐๔] ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มี
โรคาพาธเบียดเบียน อนึ่งเราทั้งหลายเป็นสุขสำราญดี
เราเยียวยาอัตภาพด้วยการหาผลาหารสะดวกดีทั้งมูล
มันผลไม้ก็มีมาก เหลือบ ยุง สัตว์เสือกคลานก็มีน้อย
อนึ่ง ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ก็ไม่มีมา
เบียดเบียนแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่า มีชีวิตอัน
ตรมเตรียมมาตลอด ๗ เดือน เราพึงเห็นท่านผู้เป็น
พราหมณ์บูชาไฟ ทรงเพศอันประเสริฐ ถือไม้เท้าสี
ดังผลมะตูม และลักจั่นน้ำนี้เป็นคนที่สอง ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว อนึ่งท่านมิใช่มาร้าย ดูก่อน
ท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้าไปภายในเถิด เชิญล้างเท้า

570
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 571 (เล่ม 64)

ของท่านเถิด ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง
ผลหมากเม่า มีรสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญเลือกฉันแต่
ผลที่ดี ๆ เถิด ท่านพราหมณ์ แม่น้ำฉันนี้ก็เย็นสนิท
เรานำมาแต่ซอกเขา ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านจำนง
หวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด ดังเราขอถาม ท่านมา
ถึงป่าใหญ่เพราะเหตุการณ์อะไรหนอ เราถามแล้วขอ
ท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
[๑๒๐๕] ห้วงน้ำ (ในปัญจมหานที) เต็มเปี่ยม
ไม่มีเวลาเหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัยเต็ม
ไปด้วยศรัทธา ฉันนั้น เกล้ากระหม่อมฉันกราบทูล
ขอแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาพระราชทานพระ-
มเหสี แก่เกล้ากระหม่อมฉันเถิด.
[๑๒๐๖] ดูก่อนพราหมณ์ เราย่อมให้มิได้หวั่น
ไหว ท่านขอสิ่งใดเราก็จะให้สิ่งนั้น เราไม่ซ่อนเร้น
สิ่งที่มีอยู่ ใจของเรายินดีในทาน.
[๑๒๐๗] พระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐ ทรงกุม
หัตถ์พระนางมัทรี จับเต้าน้ำหลั่งอุทกวารีพระราชทาน
พระนาง ให้เป็นทานแก่พราหมณ์ ขณะนั้น เมื่อ
พระมหาสัตว์ทรงบริจาคพระนางมัทรีให้เป็นทาน เกิด
ความอัศจรรย์น่าสยดสยองโลมชาติก็ชูชัน เมทนีดล
ก็กัมปนาทหวั่นไหว พระนางเจ้ามัทรีมิได้มีพระพักตร์
เง้างอด มิได้ทรงขวยเขิน และมิได้ทรงกันแสง ทรง

571
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 572 (เล่ม 64)

เพ่งดูพระราชสวามีโดยดุษณีภาพ โดยทรงเคารพเชื่อ
ถือว่า ท้าวเธอทรงทราบซึ่งสิ่งอันประเสริฐ.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๐๘] เมื่อตถาคตเป็นพระเวสสันดร บริจาค
ชาลีกัณหาชินาซึ่งเป็นบุตรธิดาและพระมัทรีเทวี ผู้
เคารพยำเกรงในพระราชสวามี มิได้คิดเสียดายเลย
เพราะเหตุแห่งพระโพธิญาณเท่านั้น บุตรทั้งสองเป็น
ที่เกลียดชังของเราก็หามิได้ พระมัทรีเทวีไม่เป็นที่รัก
ของเราก็หามิได้ แต่สัพพัญุตญาณเป็นที่รักของเรา
ฉะนั้นเราจึงได้ให้ของอันเป็นที่รัก.
พระนางมัทรีทรงพระดำริว่า
[๑๒๐๙] ข้าพระบาทเป็นพระมเหสีของพระองค์
ตั้งแต่ยังแรกรุ่นสาว พระองค์ก็เป็นเจ้าเป็นใหญ่ใน
ข้าพระบาท พระองค์ปรารถนาจะพระราชทานข้าพระ-
บาทแต่ผู้ใด ก็พึงพระราชทานได้ ทรงปรารถนาจะ
ขายหรือจะฆ่า พึงทรงขายทรงฆ่าได้.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๑๐] ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงทราบชัดซึ่ง
ความทรงดำริของสองกษัตริย์แล้ว จึงตรัสชมดังนี้ว่า
อันว่าข้าศึกทั้งมวลล้วนเป็นของทิพย์ (อันห้ามเสียซึ่ง
ทิพยสมบัติ) และเป็นของมนุษย์ (อันห้ามเสียซึ่งมนุษย์
สมบัติ) พระองค์ทรงชนะได้แล้ว ปฐพีก็บันลือลั่น

572
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 573 (เล่ม 64)

เสียงสนั่นบันลือไปถึงไตรทิพย์ สายฟ้าแลบอยู่แปลบ
ปลายโดยรอบ เสียงสะท้านปรากฏดังหนึ่งว่าเสียงภูเขา
ถล่มทลาย เทพเจ้าสองหมู่ผู้สิงสถิตอยู่ที่นารทบรรพต
ถวายอนุโมทนาแก่พระหน่อทศพลเวสสันดรนั้นว่า
พระอินทร์ พระพรหม ท้าวประชาบดี จันทเทพบุตร
พระยม ทั้งท้าวเวสวัณมหาราช และเทพเจ้าทั้งปวง
ย่อมถวายอนุโมทนาว่า พระเวสสันดรบรมกษัตริย์
ทรงกระทำกรรมที่ทำได้ยาก เมื่อคนดีทั้งหลายให้สิ่งที่
ให้ได้ยาก กระทำกรรมที่ทำได้ยาก คนไม่ดีย่อมทำ
ได้ยาก คนไม่ดีย่อมทำตามไม่ได้ เพราะว่าธรรมของ
สัตบุรุษทั้งหลาย อันอสัตบุรุษตามได้โดยยาก เพราะ
ฉะนั้น ต่อจากนี้ คติของสัตบุรุษและของอสัตบุรุษ
ย่อมต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษมีสวรรค์
เป็นที่ไป การที่พระองค์เสด็จมาอยู่ในป่า ได้พระ-
ราชทานสองพระราชกุมารและพระมเหสีให้เป็นทานนี้
ชื่อว่าเป็นยานอันประเสริฐ ไม่เป็นยานก้าวลงสู่อบาย-
ภูมิ ขอปุตตทานมหาทานของพระองค์นั้น จงเผล็ด
ผลในสรวงสวรรค์.
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
[๑๒๑๑] ข้าพเจ้าขอถวายพระนางเจ้ามัทรีพระ-
มเหสี ผู้งามทั่วสรรพางค์คืนให้พระคุณเจ้า พระองค์
เท่านั้นเป็นผู้สมควรแก่พระมัทรี และพระมัทรีก็คู่ควร

573
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 574 (เล่ม 64)

กับพระราชสวามี น้ำนมและสังข์ ทั้งสองนี้มีสีเหมือน
กัน ฉันใด พระองค์และพระมัทรีก็มีพระหฤทัยเสมอ
กัน ฉันนั้น ทั้งสององค์เป็นกษัตริย์สมบูรณ์ด้วยพระ-
โคตร เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายพระชนนีและพระชนก
ทรงถูกขับไล่จากแว่นแคว้นมาอยู่ในอาศรมราวป่า บุญ
ทั้งหลายที่พระองค์กระทำมาแล้วฉันใด ขอพระองค์
ทรงให้ทานกระทำบุญอยู่ร่ำไปฉันนั้น.
[๑๒๑๒] ข้าแต่พระราชฤาษี หม่อมฉันเป็นท้าว
สักกะจอมเทพ มาในสำนักของพระองค์ ขอพระองค์
จงทรงเลือกพร หม่อมฉันขออวยพร ๘ ประการแก่
พระองค์.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า
[๑๒๑๓] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งสรรพ-
สัตว์ ถ้าพระองค์จะประสาทพระพรแก่หม่อมฉันไซร้
ขอให้พระบิดาจงมารับหม่อมฉัน ขอพระบิดาพึงทรง
ต้อนรับหม่อมฉันผู้ออกจากป่านี้ไปถึงเรือนของตนด้วย
ราชอาสน์ พรนี้เป็นที่ ๑ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา
อนึ่ง ขอให้หม่อมฉันไม่พึงพอใจซึ่งการฆ่าคน แม้ผู้
นั้นจะเป็นนักโทษถึงประหารชีวิตกระทำผิดอย่างร้าย
กาจ ขอให้หม่อมฉันพึงปลดปล่อยให้พ้นจากการถูก
ประหารชีวิต พรนี้เป็นที่ ๒ เป็นพรที่หม่อมฉัน
ปรารถนา อนึ่ง ขอให้ประชาชนทั้งปวง ทั้งแก่เฒ่าเด็ก

574
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 575 (เล่ม 64)

และปานกลาง พึงเข้ามาอาศัยหม่อมฉันเลี้ยงชีวิต พรนี้
เป็นที่ ๓ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง หม่อมฉัน
ไม่พึงคบหาภรรยาผู้อื่น พึงพอใจแต่ในภรรยาของตน
ไม่พึงลุอำนาจแห่งหญิงทั้งหลาย พรนี้เป็นที่ ๔ เป็น
พรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอให้
บุตรของหม่อมฉัน ผู้พลัดพรากไปนั้น พึงมีอายุยืน
นาน พึงครองซึ่งแผ่นดินโดยธรรมเถิด พรนี้เป็นที่ ๕
เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง ตั้งแต่วันที่หม่อม
ฉันกลับคืนถึงพระนคร เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์
อุทัยขึ้นมาแล้ว ขอให้อาหารอันเป็นทิพย์พึงปรากฏ
พรนี้เป็นที่ ๖ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง เมื่อ
หม่อมฉันให้ทานอยู่ ขอไทยธรรมอย่าได้หมดสิ้นไป
เมื่อกำลังให้ ขอให้หม่อมฉันทำจิตให้ผ่องใส ครั้น
ให้แล้วขอให้หม่อมฉันไม่พึงเดือดร้อนใจในภายหลัง
พรนี้เป็นที่ ๗ เป็นพรที่หม่อมฉันปรารถนา อนึ่ง
เมื่อล่วงพ้นจากอัตภาพนี้ไปขอให้หม่อมฉันครรไลยัง
โลกสวรรค์ ให้ได้ไปถึงชั้นดุสิตอันเป็นชั้นวิเศษ ครั้น
จุติจากชั้นดุสิตนั้นแล้ว พึงมาสู่ความเป็นมนุษย์ แล้ว
ไม่พึงเกิดต่อไป พรนี้เป็นที่ ๘ เป็นพรที่หม่อมฉัน
ปรารถนา.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๒๑๔] ครั้นท้าวสักกะจอมเทพทรงสดับพระ-
ดำรัส ของพระมหาสัตว์เวสสันดรนั้นแล้ว ได้ตรัส

575
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 576 (เล่ม 64)

ดังนี้ว่า ไม่นานนักดอก สมเด็จพระบิดาบังเกิดเกล้า
ของพระองค์ จักเสด็จมาทรงเยี่ยมพระองค์ ครั้นตรัส
พระดำรัสเท่านี้แล้ว ท้าวสุชัมบดีมฆวาฬเทวราช ทรง
พระราชทานพรแก่พระเวสสันดรแล้ว ได้เสด็จกลับ
ไปยังหมู่สวรรค์.
จบสักกบรรพ
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๑๕] นั่นหน้าของใครหนองามยิ่งนัก ดัง
ทองคำอันนายช่างหลอมด้วยไฟสุกใส หรือดังแท่ง
ทองคำอันละลายคว้างที่ปากเบ้า ฉะนั้น เด็กทั้งสอง
คนนี้มีอวัยวะคล้ายคลึงกัน มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คน
หนึ่งคล้ายคลึงพ่อชาลี คนหนึ่งเหมือนแม่กัณหาชินา
ทั้งสองคนมีรูปเสมอกัน ดังราชสีห์ออกจากถ้ำทอง
ฉะนั้น เด็กสองคนนี้ปรากฏเหมือนดังหล่อด้วยทองคำ
เทียว.
[๑๒๑๖] ดูก่อนภารทวาชพราหมณ์ ท่านนำเด็ก
ทั้งสองคนนี้มาจากไหนหนอ ท่านมาจากไหน ลุถึง
แว่นแคว้นของเราในวันนี้.
ชูชกทูลว่า
[๑๒๑๗] ข้าแต่พระเจ้าสญชัยสมมติเทพ กุมาร
ทั้งสองนี้มีผู้ให้แก่ข้าพระองค์ด้วยความพอใจ ตั้งแต่
วันที่ข้าพระองค์ได้สองกุมารนี้มา คืนวันนี้เป็นคืนที่ ๑๕

576
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 577 (เล่ม 64)

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
[๑๒๑๘] ท่านมีถ้อยคำดูดดื่มเพียงไร จึงได้เด็ก
สองคนนี้มา ท่านควรทำให้เราเชื่อโดยเหตุที่ชอบ ใคร
ให้ลูกน้อยทั้งหลาย อันเป็นอุดมทาน ให้ทานนั้นแก่
ท่าน.
ชูชกทูลว่า
[๑๒๑๙] พระองค์ใดเป็นที่พึ่งของเหล่ายาจกผู้
มาขอ ดังธรณีเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย พระองค์นั้น
คือ พระเวสสันดรราชซึ่งเสด็จไปอยู่ป่า ได้พระราช-
ทานพระราชโอรส และพระราชธิดาแก่ข้าพระองค์
พระองค์ได้เป็นที่รับรองของเหล่ายาจกผู้มาขอ เหมือน
สาครเป็นที่รับรองแห่งแม่น้ำทั้งหลายซึ่งไหลลงไป
ฉะนั้น พระองค์นั้น คือ พระเวสสันดรราชซึ่งเสด็จ
ไปอยู่ป่า ได้พระราชทานพระราชโอรสและพระราช-
ธิดาแก่ข้าพระองค์.
พวกอำมาตย์ทูลว่า
[๑๒๒๐] ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระราชา
ยังทรงครองเรือนอยู่เป็นผู้มีศรัทธา ทรงกระทำ
ธรรมไม่สมควรหนอ พระเวสสันดรถูกขับไล่ออกไป
อยู่ป่า พึงพระราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดา
อย่างไรหนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลายมีประมาณเท่าใด
ซึ่งมาประชุมกันอยู่ในสมาคมนี้ จงพิจารณาเรื่องนี้

577