No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 478 (เล่ม 64)

เหตุ ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้าก็พระยานาคนั้น เลื่อมใสในการแก้ปัญหา
ในเรื่องอุโบสถ ๔ บูชาข้าพระองค์ด้วยแก้วมณี แล้วเสด็จกลับไปยังนาคพิภพ
เมื่อพระนางวิมลาเทวีทูลถามว่า แก้วมณีของพระองค์หายไปไหน พระเจ้าข้า
จึงทรงพรรณนาความที่ข้าพระองค์เป็นธรรมกถึก. พระนางวิมลาเทวีนั้น มีพระ
ประสงค์จะสดับธรรมกถาของข้าพระองค์ ได้ยังความปรารถนาด้วยดวงหทัย
ของข้าพเจ้าให้เกิดขึ้น. พระยานาคทรงเข้าใจผิด ตรัสกะนางอิรันทตีผู้เป็น
ธิดาของตนว่า มารดาของเจ้าปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต เจ้าจงไป
แสวงหาสามีผู้สามารถจะนำดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตนั้นมาให้ได้ นางอิรันทตี
เที่ยวแสวงหาสามีอยู่ ได้พบปุณณกยักษ์ผู้เป็นหลานของท้าวกุเวรเวสวัณ
ทราบว่าปุณณกยักษ์นั้นมีความปฏิพัทธ์ในตน จึงนำไปสู่สำนักพระบิดา. ลำดับ
นั้น พระยานาคตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า เมื่อเจ้าสามารถนำดวงหทัยของวิธุร-
บัณฑิตมาให้ จักได้นางอิรันทตีลูกสาวของเรา. ปุณณกยักษ์จึงนำเอาแก้วมณี
อันเป็นของบริโภคแห่งพระเจ้าจักรพรรดิจากเวปุลบรรพตมาพนันเล่นสกากับ
พระองค์ ได้ข้าพระองค์แล้วพักอยู่ที่เรือนของข้าพระองค์ ๓ วัน บอกให้ข้า-
พระองค์จับทางม้าแล้วพาไป ทุบตีข้าพระองค์ที่ต้นไม้บ้างที่ภูเขาบ้าง ในหิมวันต์
ประเทศ เมื่อไม่อาจให้ข้าพระองค์ตายได้ จึงบ่ายหน้าต่อลมเวรัมภะ ควบม้า
ไปในกองลม ๗ ครั้ง แล้ววางข้าพระองค์ไว้บนยอดเขากาฬาคิรีบรรพตที่สูงได้
๖๐ โยชน์ ทำกรรมอย่างนี้บ้างอย่างโน้นบ้าง ด้วยอำนาจแห่งเพศแห่งราชสีห์
เป็นต้น ก็ไม่อาจทำให้ข้าพระองค์ตายได้ ข้าพระองค์ถามถึงเหตุที่เขาจะฆ่า เขา
บอกเหตุนั้นให้ทราบโดยตลอด เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์จึงได้แสดงสาธุนร-
ธรรมแก่เขา เขาได้สดับสาธุนรธรรมนั้น มีจิตเลื่อมใส ใคร่จะนำข้าพระองค์
มาส่ง ณ ที่นี้ ครั้น เขามีความประสงค์จะมาส่งเช่นนั้น ข้าพระองค์จึงพาเขาไปสู่
นาคพิภพ แสดงธรรมถวายพระยานาคและพระนางวิมลาเทวี นาคบริษัททั้งหมด

478
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 479 (เล่ม 64)

พากันเลื่อมใสในธรรมเทศนาทั้งนั้น พระยานาคในเวลาท้าวเธอทรงยินดีใน
ธรรมเทศนาของข้าพระองค์ ได้ประทานนางอิรันทตีแก่ปุณณกยักษ์ ๆ ได้นาง
อิรันทตีแล้วมีจิตเลื่อมใสจึงบูชาข้าพระองค์ด้วยแก้วมณี อันพระยานาคทรงบังคับ
ให้มาส่งข้าพระองค์ จึงยกข้าพระองค์ขึ้นขี่ม้ามโนมัยสินธพ ส่วนตนเองนั่งบน
อาสนะท่ามกลางให้ข้าพระองค์นั่งอาสนะข้างหน้า ให้นางอิรันทตีนั่งอาสนะข้าง
หลัง นำมาส่งในที่นี้ ยังข้าพระองค์ให้ลงที่ท่ามกลางบริษัทแล้ว พานางอิรันทตี
ไปสู่นครของตนแล้วแล ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุแห่งนางอิรันทตีผู้
มีเอวอันงดงามน่ารักนั้น ปุณณกยักษ์จึงได้พยายามจะฆ่าข้าพระองค์ด้วย
ประการอย่างนี้ ก็แต่ว่าปุณณกยักษ์ได้อาศัยข้าพระองค์ ในครั้งนั้นแล จึงได้
เป็นผู้พร้อมเพรียงสมัครสังวาสกันกับภรรยา พระยานาคทรงสดับธรรมเทศนา
ของข้าพระองค์ทรงเลื่อมใสแล้ว ทรงอนุญาตให้ส่งข้าพระองค์กลับคืน และ
ข้าพระองค์ได้แก้วมณีอันเป็นของบริโภคแห่งพระเจ้าจักรพรรดิอันสามารถให้
สิ่งน่าใคร่ได้ทุกอย่าง ข้าพระองค์ได้มาจากสำนักแห่งปุณณกยักษ์ ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงรับแก้วมณีดวงนี้ ครั้นกราบทูลดังนี้
แล้ว ได้ถวายแก้วมณีแก่พระราชา. แต่นั้นพระราชาเมื่อจะตรัสเล่าพระสุบิน
ที่พระองค์ทรงเห็นในเวลาจวนรุ่งแก่ชาวพระนคร จึงตรัสว่า ดูก่อนทวยราษฎร์
ผู้เจริญทั้งหลาย พวกเจ้าจงฟังสุบินนิมิตที่เราเห็นในเวลานี้ แล้วตรัสเป็น
คาถาว่า
มีต้นไม้ต้นหนึ่ง เกิดริมประตูวังของเรา ลำต้น
ประกอบด้วยปัญญา กิ่งแล้วด้วยศีล ต้นไม้นั้น ตั้งอยู่
ในอรรถและธรรม มีผลเต็มไปด้วยปัญจโครส ดารดาษ
ไปด้วยช้างม้าและโคที่ประดับประดาแล้ว เมื่อมหาชน
ทำสักการะบูชาต้นไม้นั้น เล่นเพลิดเพลินด้วยฟ้อน

479
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 480 (เล่ม 64)

รำขับร้องและดนตรีอยู่ ครั้นบุรุษดำคนหนึ่ง มาไล่
เสนาที่ยืนล้อมอยู่ให้หนีไป จึงถอนต้นไม้นั้นลากไป
ไม่กี่วัน ต้นไม้นั้นกลับมาประดิษฐานอยู่ที่ประตูวังของ
เราอีกตามเดิม ต้นไม้ใหญ่นั้น ก็ได้แก่วิธุรบัณฑิตนี้
ซึ่งกลับมาสู่ที่อยู่ของเรา บัดนี้พวกท่านทั้งปวง จงพา
กันทำสักการะเคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือวิธุรบัณฑิต
นี้ขอเชิญบรรดาอำมาตย์ผู้มีจิตยินดี ด้วยยศที่ตนอาศัย
เราได้แล้วทั้งหมดทีเดียว จงทำจิตของตนให้ปรากฏ
ในวันนี้ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านจง
กระทำบรรณาการให้มาก พากันนำนาทำสักการะ
เคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือวิธุรบัณฑิตนี้ สัตว์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ที่ผูกไว้ชั้นที่สุดมฤคและปักษีที่ขังไว้เพื่อดู
เล่น อันมีอยู่ในแคว้นของเรา สัตว์เหล่านั้นทุกจำพวก
จงให้ปล่อยจากเครื่องผูก และที่ขังเสียทั้งหมด บัณฑิต
นี้พ้นจากเครื่องผูกฉันใดแล สัตว์เหล่านั้น จงพ้นจาก
เครื่องผูกและที่ขังฉันนั้นเหมือนกัน พวกชาวไร่ชาวนา
ทั้งปวง จงเลิกทำไร่ทำนาทั้งปวง พักเสียตลอดเดือนนี้
ให้พวกกลองดีกลองเที่ยวประกาศชาวพระนครพร้อม
กันมาทำการสมโภชเป็นการใหญ่ จงอัญชลีพราหมณ์
ทั้งหลายมาบริโภคข้าวสุกเจือด้วยเนื้อ พวกนักเลงสุรา
จงเว้นการเที่ยวดื่มสุรา จงเอาหม้อใส่ให้เต็มปรี่ไปนั่ง
ดื่มอยู่ที่ร้านของตน ๆ พวกหญิงแพศยาที่อยู่ประจำทาง
จงเล้าโลมลวงล่อชายผู้มีความต้องการ ด้วยกิเลสเป็น
นิตย์ อนึ่งจงจัดการรักษาในแว่นแคว้นให้แข็งแรง

480
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 481 (เล่ม 64)

อย่างที่พวกชนจะพึงเบียดเบียนกันไม่ได้ พวกท่านจง
ทำสักการเคารพนบนอบ ต้นไม้คือบัณฑิตนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลมยสฺส ความว่า กิ่งของต้นไม้นี้ ล้วน
แล้วด้วยศีล. บทว่า อตฺเถ จ ธมฺเม จ ความว่า ต้นไม้นั้น ตั้งอยู่ในความ
เจริญและในสภาวธรรม. บทว่า นิปาโก ความว่า ต้นไม้นั้นแล้วด้วย
ปัญญาประดิษฐานอยู่แล้ว. บทว่า ควปฺผโล ความว่า ต้นไม้นั้น มีผล
ล้วนแล้วด้วยปัญจโครส. บทว่า หตฺถิควาสฺสฉนฺโน ความว่า ต้นไม้นั้น
ดารดาษไปด้วยฝูงช้างฝูงโค และฝูงม้าที่ประดับประดาแล้ว. บทว่า นจฺจคีต-
ตุริยาภินาทิเต ความว่า ครั้นเมื่อมหาชนกระทำการบูชาต้นไม้นั้น เล่น
เพลิดเพลินไปด้วยการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้นที่ต้นไม้นั้นอยู่. ครั้งนั้นบุรุษดำคน
หนึ่งมาไล่ขับเสนาที่ยืนล้อมถอนต้นไม้นั้นหนีไป ต้นไม้นั้นกลับมาประดิษ-
ฐานอยู่ ที่ประตูของเราตามเดิม ต้นไม้ใหญ่นั้นก็ได้แก่บัณฑิตนี้ ซึ่งกลับมา
สู่ที่อยู่ของเรา บัดนี้พวกท่านทั้งปวง จงพากันทำสักการะ ยำเกรง เคารพ แก่
ต้นไม้คือบัณฑิตนี้ให้มาก. บทว่า มม ปจฺจเยน ความว่า บรรดาอำมาตย์
ผู้มีจิตยินดีด้วยยศที่ตนอาศัยเราได้มาแล้วทั้งหมดนั้นจงทำกิจของตนให้ปรากฏ
ในวันนี้. บทว่า ติพฺพานิ ได้แก่ มากคือใหญ่. บทว่า อุปายนานิ ได้
แก่ เครื่องบรรณาการทั้งหลาย. บทว่า เยเกจิ ความว่า โดยชั้นที่สุดหมาย
เอามฤคและปักษีที่ขังไว้เพื่อดูเล่น. บทว่า มุญฺจเร แปลว่า จงให้ปล่อย.
บทว่า อุนฺนงฺคลา มาสมิมํ กโรนฺตุ ความว่า ขอพวกชาวนา ชาวไร่
ทั้งปวง จงเลิกทำไร่ทำนาเสียตลอดเดือนนี้ ให้คนตีกลองเที่ยวประกาศไป.
ชาวพระนคร พร้อมกันมาทำการสมโภชเป็นการใหญ่. บทว่า ภกฺขยนฺตุ
ความว่า จงเชิญบริโภค. อ อักษรในบทว่า อมชฺชปา นี้เป็นเพียงนิบาต
อธิบายว่า พวกนักเลงสุรา เมื่อควรจะดื่มสุรา ย่อมมาประชุมกันดื่มอยู่ที่ร้าน

481
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 482 (เล่ม 64)

ดื่มของตน ๆ. บทว่า ปุณฺณาหิ ถาลาหิ แปลว่า ด้วยหม้ออันเต็ม. บทว่า
ปลิสฺสุตาหิ ความว่า ไหลล้นออกจากหม้อเพราะมีสุราเต็มปรี่. บทว่า มหาปถํ
นิจฺจํ สมวฺหยนฺตุ ความว่า พวกหญิงแพศยา ที่อยู่ประจำทางใหญ่ที่ตบ
แต่งไว้ คือที่ทางหลวง จงประเล้าประโลมลวงล่อชายผู้มีความต้องการด้วย
กิเลสเป็นนิตย์. บทว่า ติพฺพํ แปลว่า แข็งแรง. บทว่า ยถา ความว่า
ขอท่านทั้งหลายจัดการรักษาต้นไม้ อย่างที่พวกชาวนาจัดแจงรักษาต้นไม้ด้วย
ดี กระทำความยำเกรงต่อต้นไม้ ไม่เบียดเบียนกันและกัน. พวกท่านจักทำ
สักการะเคารพนบนอบต้นไม้คือบัณฑิตนี้.
เมื่อพระราชาตรัสดังนั้นแล้ว
พวกพระสนมกำนัลใน พระราชกุมาร พวกพ่อ
ค้าชาวนา พราหมณาจารย์ พวกกรมช้าง กรมราช
องครักษ์ กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า และชาวชน
บท ชาวนิคมทุกหมู่เหล่า ที่พระราชาทรงบังคับแล้ว
พร้อมกันสั่งมหาชนให้ปล่อยสัตว์จากเครื่องผูกและที่ขัง
จัดแจงบรรณาการมีประการต่าง ๆ ส่งข้าวและน้ำกบ
เครื่องบรรณาการเป็นอันมากไปถวายบัณฑิต ชนเป็น
อันมากเมื่อบัณฑิตมาแล้ว ได้เห็นบัณฑิตก็มีใจเลื่อม
ใส เมื่อบัณฑิตมาถึงแล้ว ก็พากันยกผ้าขาวโห่ร้องขึ้น
ด้วยความยินดีปราโมทย์เป็นที่ยิ่ง ด้วยประการฉะนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิหารยุํ ความว่า พระสนมกำนัลใน
เป็นต้นเหล่านั้นที่พระราชาบังคับแล้วอย่างนี้ พร้อมกันสั่งมหาชนให้ปล่อยสัตว์
ทั้งปวง จากที่คุมขังและที่ผูก จัดแจงบรรณาการมีประการต่างๆ ส่งข้าวและน้ำ
พร้อมด้วยเครื่องบรรณาการนั้นไปถวายบัณฑิต. บทว่า ปณฺฑิตมาคเต
ความว่า ชนเป็นอันมาก เมื่อบัณฑิตมาถึงแล้ว ได้เห็นบัณฑิตก็มีจิตเลื่อมใส.

482
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 483 (เล่ม 64)

ได้มีงานมหรสพสมโภชตลอดกาลล่วงไปเดือนหนึ่ง จึงสำเร็จเสร็จสิ้น.
พระมหาสัตว์ แสดงธรรมแก่มหาชน สั่งสอนพระราชา เหมือนกับว่าบำเพ็ญ
พุทธกิจให้สำเร็จ บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น และรักษาอุโบสถกรรม ตั้งอยู่
ตลอดอายุ เมื่อสิ้นอายุ ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ชนชาวกุรุรัฐทั้ง
หมด ตั้งต้นแต่พระราชา ตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ พากันรักษาศีล
บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น บำเพ็ญทางสวรรค์ให้บริบูรณ์ ครั้นสิ้นอายุแล้วได้
ไปตามกรรมของตนนั้นแล.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้ง
หลายไม่ใช่แต่ในบัดนี้ อย่างเดียวเท่านั้น แม้ในกาลก่อนเราตถาคตก็ถึงพร้อม
ด้วยปัญญา ฉลาดในอุบายเหมือนกัน ดังนี้แล้วจึงประกาศสัจจะ ประชุมชาดก.
มารดาบิดาของบัณฑิตในกาลนั้น ครั้นกลับชาติมาได้เป็นมหาราชสกุล
ในบัดนี้ ภริยาใหญ่ของบัณฑิตในกาลนั้นได้เป็นมารดาของพระราหุลในบัดนี้
บุตรคนโตของบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น พระราหุล ในบัดนี้ พระนางวิมลา
ในกาลนั้นได้เป็น พระนางอุบลวรรณา ในบัดนี้ พระยาวรุณนาคราชในกาล
นั้นได้เป็น พระสารีบุตรในบัดนี้ พระยาครุฑในกาลนั้นได้เป็น พระโมค-
คัลลานะ ในบัดนี้ ท้าวสักกะเทวราชในกาลนั้นได้เป็น พระอนุรุทธะ ใน
บัดนี้ พระเจ้าโกรพยราชในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ในบัดนี้ ปุณณก-
ยักษ์ในกาลนั้นได้เป็น พระฉันนะ ในบัดนี้ ม้ามโนมัยสินธพในกาลนั้น
ได้เป็น พระยาม้ากัณฐกะ ในบัดนี้ บริษัทนอกจากนั้น ในกาลนั้นได้เป็น
พุทธบริษัทในกาลนี้ ส่วนวิธุรบัณฑิตในกาลนั้น ครั้นกลับชาติมาได้เป็นเรา
ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้แล.
จบอรรถกถาวิธุรชาดกที่ ๙

483
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 484 (เล่ม 64)

๑๐. เวสสันตรชาดก
พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี
ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า
[๑๐๔๕] ดูก่อนผุสดีผู้มีรัศมีแห่งผิวพรรณอัน
ประเสริฐ ผู้มีอวัยวะส่วนเบื้องหน้างาม เธอจงเลือก
เอาพร ๑๐ ประการในปฐพีซึ่งเป็นที่รักแห่งหฤทัยของ
เธอ.
พระผุสดีเทพกัญญากราบทูลว่า
[๑๐๔๖] ข้าแก่ท้าวเทวราช ข้าพระบาทนอบน้อม
แด่พระองค์ ข้าพระบาทได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หรือ
ฝ่าพระบาทจึงให้ข้าพระบาท จุติจากทิพยสถานที่น่า
รื่นรมย์ ดุจลมพัดต้นไม้ใหญ่ให้หักไป ฉะนั้น.
ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า
[๑๐๔๗] บาปกรรมเธอมิได้ทำไว้เลย และเธอ
ไม่เป็นที่รักของเราก็หาไม่ แต่บุญของเธอสิ้นแล้ว
เหตุนั้น เราจึงกล่าวกะเธออย่างนี้ ความตายใกล้เธอ
เธอจักต้องพลัดพรากจากไป จงเลือกรับเอาพร ๑๐
ประการนี้จากเราผู้จะให้.
พระผุสดีเทพกัญญากราบทูลว่า
[๑๐๔๘] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์ทั้ง
ปวง ถ้าฝ่าพระบาทจะประทานพรแก่ข้าพระบาทไซร้

484
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 485 (เล่ม 64)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระบาทพึงเกิดใน
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีวิราช ข้าแต่ท้าวปุรินททะ
ขอให้ข้าพระบาท (๑) พึงเป็นผู้มีจักษุดำเหมือนตา
ลูกมฤคี (มีอายุ ๑ ขวบปี) ซึ่งมีดวงตาดำ (๒) พึงมี
ขนคิ้วดำ (๓) พึงเกิดในราชนิเวศน์นั้นมีนามว่า
ผุสดี (๔) พึงได้พระราชโอรสผู้ให้สิ่งอันประเสริฐ ผู้
ประกอบเกื้อกูลในยาจก มิได้ตระหนี่ ผู้อันพระราชา
ทุกประเทศบูชามีเกียรติยศ (๕) เมื่อข้าพระบาททรง
ครรภ์ขออย่าให้อุทรนูนขึ้น พึงมีอุทรไม่นูน เสมอดัง
คันศรที่นายช่างเหลาเกลี้ยงเกลา (๖) ถันทั้งคู่ของข้า
พระบาทอย่าย้อยยาน ข้าแต่ท้าววาสวะ (๓) ผม
หงอกก็อย่าได้มี (๘) ธุลีก็อย่าได้ติดในกาย (๙) ข้า
พระบาทพึงปล่อยนักโทษที่ถึงประหารได้ (๑๐) ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระบาทพึงได้เป็นอัครมเหสีที่
โปรดปรานของพระราชาในแว่นแคว้นสีพี ในพระ-
ราชนิเวศน์อันกึกก้องด้วยเสียงร้องของนกยูงและนก
กระเรียน พรั่งพร้อมด้วยหมู่วรนารี เกลื่อนกล่นไป
ด้วยคนเตี้ยและคนค่อม อันพ่อครัวชาวมคธเลี้ยงดู กึก
ก้องไปด้วยเสียงกลอน และเสียงบานประตูอันวิจิตร
มีคนเชิญให้ดื่มสุราและกินกับแกล้ม.
ท้าวสักกเทวราช ตรัสว่า
[๑๐๔๙] ดูก่อนนางผู้งามทั่วสรรพางค์กาย พร
๑๐ ประการเหล่าใด ที่เราให้แต่เธอ เธอจักได้พร ๑๐
ประการเหล่านั้น ในแว่นแคว้นของพระเจ้าสีวิราช.

485
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 486 (เล่ม 64)

[๑๐๕๐] ครั้นท้าววาสวะมฆวาสุชัมบดีเทวราช
ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็โปรดประทานพรแก่พระนางผุสดี
เทพอัปสร.
(นี้) ชื่อว่าทศพรคาถา.
[๑๐๕๑] พระนางผุสดีเทพอัปสรจุติจากดาวดึงส์
เทวโลกนั้น มาบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ได้ทรงอยู่ร่วม
กับพระเจ้าสญชัยในพระนครเชตุดร พระนางผุสดี
ทรงครรภ์ถ้วนทศมาส เมื่อทรงทำประทักษิณพระนคร
ประสูติเราที่ท่ามกลางถนนของพวกพ่อค้า ชื่อของเรา
มิได้เนื่องแต่พระมารดา และมิได้เกิดแต่พระบิดา
เราเกิดที่ถนนแห่งพ่อค้า เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่า
เวสสันดร เมื่อใดเรายังเป็นทารก มีอายุ ๔ ขวบแต่
เกิดมา เมื่อนั้นเรานั่งอยู่ในปราสาทคิดจะบริจาคทาน
ว่า เราจะพึงให้หทัย ดวงตา เนื้อ เลือด และร่างกาย
เมื่อใครมาขอเรา เราก็ยินดีให้ เมื่อเราคิดถึงการบริ-
จาคทานอันเป็นความจริง หทัยก็ไม่หวั่นไหวมุ่งมั่น
อยู่ในกาลนั้น ปฐพีมีสิเนรุบรรพตและหมู่ไม้เป็น
เครื่องประดับ ได้หวั่นไหว.
[๑๐๕๒] พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีขนรักแร้ดก
และมีเล็บยาว ฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เหยียดแขน
ข้างขวาจะขออะไรฉันหรือ.
พราหมณ์กราบทูลว่า
[๑๐๕๓] ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
ทูลขอรัตนะเครื่องให้แว่นแคว้นของชาวสีพีเจริญ ขอ

486
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 487 (เล่ม 64)

ได้โปรดพระราชทานช้างตัวประเสริฐ ซึ่งมีงาดุจงอน
ไถอันมีกำลังสามารถเถิด พระเจ้าข้า.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๐๕๔] เราจะให้ช้างพลายซับมันตัวประเสริฐ
ซึ่งเป็นช่างราชพาหนะอันสูงสุดที่พราหมณ์ทั้งหลาย
ขอเรา เรามิได้หวั่นไหว.
[๑๐๕๕] พระราชาผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญรุ่งเรือง
มีพระหฤทัยน้อมไปในการบริจาค เสด็จลงจากคอช้าง
พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๐๕๖] เมื่อบรมกษัตริย์พระราชทานช้างตัว
ประเสริฐ (แก่พราหมณ์ทั้ง ๘) แล้วในกาลนั้น ความ
น่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้าได้เกิดมี เมทนีดลก็
หวั่นไหว เมื่อบรมกษัตริย์พระราชทานช้างตัวประเสริฐ
ในกาลนั้น ได้เกิดมีความน่าสะพึงกลัวขนพองสยอง
เกล้า ชาวพระนครกำเริบ ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ยัง
แว่นแคว้นของชาวสีพีให้เจริญพระราชทานช้างตัว
ประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น เสียงอันกึกก้องก็แผ่
ไปมากมาย.
[๑๐๕๗] ครั้งนั้น เมื่อพระเวสสันดรพระราช-
ทานช้างตัวประเสริฐแล้วเสียอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมาก
ก็เป็นไปในนครนั้น ในกาลนั้นชาวนครก็กำเริบ ครั้ง
นั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญรุ่งเรือง

487