No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 288 (เล่ม 64)

พระราชา ๖ พระองค์นี้ คือ ท้าวธตรฐ ท้าว
เวสสามิตร ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าวอุสสินนระ
ท้าวสิวิราชและพระราชาพระองค์อื่น ๆ ได้ทรงบำรุง
สมณพราหมณ์ทั้งหลายแล้วเสด็จไปยังสวรรค์ ฉันใด
ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แม่มหาบพิตร
ก็ฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรม แล้วทรงประพฤติธรรม
ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศภายในพระ-
ราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่า ใครหิว ใคร
กระหาย ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนาเครื่องลูบ-
ไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม จงนุ่งห่มผ้าสีต่าง ๆ ตามปรารถนา
ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้า อย่างเนื้ออ่อน
อย่างดี ราชบุรุษทั้งหลายจงประกาศดังนี้ ในพระนคร
ของพระองค์ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า มหาบพิตรอย่าได้ใช้
คนแก่เฒ่า และโคม้าอันแก่ชราเหมือนดังก่อน และ
จงทรงพระราชทาน เครื่องบริหารแก่บุคคลที่เป็นกำลัง
เคยกระทำความดีไว้เท่าเดิมเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอเต จ ความว่า พระราชาทั้ง ๖ เหล่า
นั้นคือ ท้าวธตรฐ ท้าวเวสสามิตร ท้าวอัฏฐกะ ท้าวยมทัตติ ท้าวอุสสินนระ
ท้าวสิวิราช และพระราชาอื่น ๆ ได้ประพฤติธรรม อันเป็นวิสัยแห่งท้าวสักกะ
ฉันใด แม้พระองค์ก็พึงเว้นอธรรม พึงประพฤติธรรมฉันนั้น. บทว่า
โก ฉาโต ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร พวกราชบุรุษผู้ถืออาหารจงประกาศไป
ในวิมาน ในบุรี ในราชนิเวศน์ และในพระนครของพระองค์ว่า ใครหิว

288
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 289 (เล่ม 64)

ใครกระหาย ดังนี้เพื่อประสงค์จะให้แก่พวกเหล่านั้น. บทว่า โก มาลํ
ความว่า จงโฆษณาว่า ใครปรารถนามาลา ใครปรารถนาเครื่องลูบไล้ ใคร
ปรารถนาสีแดงต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง จงให้ผ้าสีนั้น ๆ ใครเป็นคนเปลือย
กายจักนุ่งห่ม. บทว่า โก ปนฺเถ ฉตฺตมาเทติ ความว่า ใครจะกั้นร่มใน
ในหนทาง. บทว่า ปาทุกา จ ความว่า และใครจะปรารถนารองเท้าอ่อน-
นุ่มและสวยงาม. บทว่า ชิณฺณํ โปสํ ความว่า ผู้ใดเป็นอุปัฏฐากของท่าน
จะเป็นอำมาตย์ หรือ ผู้อื่นที่ทำอุปการะไว้ก่อน ในเวลาที่คร่ำคร่าเพราะชรา
ไม่สามารถจะทำการงานได้เหมือนในก่อน. แม้โคและม้าเป็นต้น ในเวลาแก่
ก็ไม่สามารถจะทำการงานได้. แม้ในบรรดาโคและม้าเป็นต้น แม้ตัวเดียว
ท่านก็อย่าใช้ในการงานทั้งหลายเช่นในก่อน. จริงอยู่ ในเวลาแก่ สัตว์เหล่านั้น
ไม่สามารถจะทำการงานเหล่านั้นได้ การบริหารในบทว่า ปริหารญฺจ นี้ท่าน
กล่าว สักการะ. ท่านอธิบายไว้ว่า ก็ผู้ใดเป็นกำลังของท่าน คือเป็นการกระทำ
อุปการะมาก่อนโดยเป็นเจ้าหน้าที่ ท่านพึงให้การบริหารแก่เขาเหมือนก่อนมา.
จริงอยู่ อสัตบุรุษในเวลาที่บุคคลสามารถเพื่อจะทำอุปการะแก่ตนย่อมทำความ
นับถือ ในเวลาที่เขาไม่สามารถก็ไม่แลดูบุคคลผู้นั้นเลย ส่วนสัตบุรุษใน
เวลาสามารถก็ดี ในเวลาไม่สามารถก็ดี ย่อมสามารถกระทำสักการะเหมือน
อย่างนั้นแก่เขาเหล่านั้น เพราะฉะนั้น แม้พระองค์ก็พึงกระทำอย่างนั้นแล.
ดังนั้น พระมหาสัตว์ครั้นแสดงทานกถาและศีลกถาแล้ว บัดนี้เพราะ
เหตุที่พระราชานี้ ย่อมยินดีในพรรณนาโดยเปรียบเทียบด้วยรถในอัตภาพ
ของตน เพราะเหตุดังนี้นั้นเมื่อจะแสดงธรรมโดยเปรียบเทียบด้วยรถอันให้
ความใคร่ทั้งปวงจึงกล่าวว่า
มหาบพิตรจงทรงสำคัญพระวรกายของพระองค์
ว่าเป็นดังรถ อันมีใจเป็นสารถี กระปรี้กระเปร่า

289
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 290 (เล่ม 64)

(เพราะปราศจากถิ่นมิทธะ) อันมีอวิหิงสาเป็นเพลาที่
เรียบร้อยดี มีการบริจารเป็นหลังคา มีการสำรวมเท้า
เป็นกง มีการสำรวมมือเป็นกระพอง มีการสำรวม
ท้องเป็นน้ำมันหยอด มีการสำรวมวาจาเป็นความเงียบ
สนิท มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถอันบริบูรณ์ มีการ
กล่าวคำไม่ส่อเสียดเป็นการเข้าหน้าไม้สนิท มีการ
กล่าวคำอ่อนหวานเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยงเกลา มีการ
กล่าวพอประมาณเป็นเครื่องผูกรัด มีศรัทธาและ
อโลภะเป็นเครื่องประดับ มีการถ่อมตนและกราบไหว้
เป็นทูบ มีความไม่กระด้างเป็นงอนรถ มีการสำรวม
ศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ มีความไม่โกรธเป็นอาการไม่
กระเทือน มีกุศลกรรมเป็นเศวตฉัตร มีพาหุสัจจะ
เป็นสายทาบ มีการตั้งจิตมั่นเป็นที่มั่น มีความคิด
เครื่องรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้าเป็นไม้ค้ำ
มีความประพฤติถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก มีความ
ไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่องลาด
มีการเสพบุคคลผู้เจริญเป็นเครื่องกำจัดธุลี มีสติของ
นักปราชญ์เป็นประตัก มีความเพียรเป็นสายบังเหียน
มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเช่นดังม้าที่หัดไว้เรียบเป็นเครื่องนำ
ทาง ความปรารถนาและความโลภเป็นทางคด ส่วน
ความสำรวมเป็นทางตรง ขอถวายพระพร ปัญญาเป็น
เครื่องกระตุ้นเตือนม้า ในรถคือพระวรกายของมหา-
บพิตรที่กำลังแล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส พระองค์

290
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 291 (เล่ม 64)

นั้นแลเป็นสารถี ถ้าความประพฤติชอบและความ
เพียรมั่นมีอยู่ด้วยยานนี้ รถนั้นจะให้สิ่งที่น่าใคร่ทุก
อย่าง จะไม่นำไปบังเกิดในนรก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รถสญฺญาโต ความว่า ดูก่อนมหา-
บพิตร พระองค์ทรงสำคัญว่า พระวรกายของพระองค์ว่าเป็นดังรถ. บทว่า
มโนสารถิโก ความว่า ประกอบด้วยกุศลจิตคือใจเป็นนายสารถี. บทว่า ลหุ
ได้แก่ เป็นผู้เบาเพราะปราศจากถิ่นมิทธะ. บทว่า อวิหึสาสาริตกฺโข ความ
ว่า ประกอบด้วยเพลาอันเป็นเครื่องแล่นอันสำเร็จเรียบร้อยแล้วไปด้วยอวิหึสา.
บทว่า สํวภาคปฏิจฺฉโท ความว่า ประกอบด้วยหลังคา อันสำเร็จด้วยการ
จำแนกทาน. บทว่า ปาทสญฺญมเนมิโย แปลว่า ประกอบด้วยกงอันสำเร็จ
ด้วยการสำรวมเท้า. บทว่า หตฺถสญฺญมปกฺขโร แปลว่า ประกอบด้วย
กระพองอันสำเร็จด้วยการสำรวมมือ. บทว่า กุจฺฉิสญฺญมนพฺภนฺโต ความว่า
หยอดด้วยน้ำมัน อันสำเร็จด้วยโภชนะพอประมาณ กล่าวคือการสำรวมท้อง.
บทว่า วาจาสญฺญมกูชโน แปลว่า มีการสำรวมวาจาเป็นการเงียบสนิท.
บทว่า สจฺจวากฺยสมตตงฺโค ความว่า มีการกล่าวคำสัตย์เป็นองค์รถบริบูรณ์
ไม่บกพร่อง. บทว่า อเปสุญฺญสุสญฺญโต ความว่า มีการไม่กล่าวคำส่อ
เสียดเป็นการสำรวมสัมผัสอย่างสนิท. บทว่า คิราสขิลเนลงฺโค ความว่า
มีการกล่าวคำอ่อนหวานน่าคบเป็นสหาย ไม่มีโทษเป็นเครื่องรถอันเกลี้ยงเกลา.
บทว่า มิตภาณิสิเลสิโต ความว่า มีการกล่าวพอประมาณอันสละสลวยเป็น
เครื่องผูกรัดด้วยดี. สทฺธาโลภสุสงฺขาโร ความว่า ประกอบด้วยเครื่อง
ประดับอันงาม อันสำเร็จด้วยศรัทธา กล่าวคือการเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม
และสำเร็จด้วยอโลภะ. บทว่า นิวาตญฺชลิกุพฺพโร ความว่า ประกอบด้วย

291
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 292 (เล่ม 64)

ทูบรถอันสำเร็จด้วยความประพฤติอ่อนน้อม และสำเร็จด้วยอัญชลีกรรมแก่ผู้
มีศีล. บทว่า อถทฺธตานตีสาโก ความว่า ไม่มีความกระด้างหน่อยหนึ่งเป็น
งอนรถ เพราะไม่มีความกระด้างกล่าวคือ ความเป็นผู้มีวาจาน่าคบเป็นสหาย
และมีวาจานำมาซึ่งความบันเทิงใจ. บทว่า สีลสํวรนทฺธโน ความว่า ประกอบ
ด้วยเชือกขันชะเนาะ กล่าวคือการสำรวมจักขุนทรีย์และมีศีล ๕ ไม่ขาดเป็นต้น
บทว่า อกฺโกธนมนุคฺฆาฏี ความว่า ประกอบด้วยการไม่กระทบกระทั่ง
กล่าวคือความเป็นผู้ไม่โกรธ. บทว่า ธมฺมปณฺฑรฉตฺตโก ได้แก่ ประกอบ
ด้วยเศวตฉัตรอันขาวผ่อง กล่าวคือ กุศลกรรมบถธรรม ๑๐ ประการ. บทว่า
พาหุสจฺจมุปาลมฺโพ ได้แก่ประกอบด้วยสายทาบ อันสำเร็จด้วยความเป็น
พหูสูตอันอิงอาศัยประโยชน์. บทว่า  ิติจิตฺตมุปาธิโย ความว่า ประกอบ
ด้วยเครื่องลาดอันยอดเยี่ยมหรือด้วยราชอาสน์อันตั้งมั่น กล่าวถึงความเป็นผู้มี
อารมณ์เป็นหนึ่ง อันตั้งมั่นด้วยดี โดยภาวะไม่หวั่นไหว. บทว่า กาลลญฺญุ-
ตาจิตฺตสาโร ความว่า ประกอบด้วยจิตคือด้วยกุศลจิตอันเป็นสาระ อันรู้จัก
กาลแล้วจึงกระทำ กล่าวคือความเป็นผู้รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลที่ควรให้ทาน
นี้กาลที่ควรรักษาศีล. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์ควร
ปรารถนาทัพสัมภาระทั้งหมด ตั้งต้นแต่ลิ่มแห่งรถและสิ่งอันบริสุทธิ์ สำเร็จแต่
สิ่งอันเป็นสาระฉันใด รถนั้นก็ควรแก่การตั้งอยู่ได้นานฉันนั้น แม้รถคือกายของ
พระองค์ก็เหมือนกัน จึงมีจิตอันหมดจดรู้จักกาลแล้วจึงกระทำ จงประกอบด้วย
กุศลสาระมีทานเป็นต้น. บทว่า เวสารชฺชติทณฺฑโก ความว่า แม้เมื่อแสดง
ในท่ามกลางบริษัท จงประกอบด้วยไม้สามขากล่าวคือความเป็นผู้แกล้วกล้า.
บทว่า นิวาตวุตฺติโยตฺตงฺโค ความว่า ประกอบด้วยเชือกผูกแอกอันอ่อนนุ่ม
กล่าวคือความประพฤติในโอวาท จริงอยู่ม้าสินธพย่อมนำรถอันผูกได้ด้วยเชือก
ผูกแอกอันอ่อนนุ่มไปได้สะดวกพระวรกายของพระองค์ก็เหมือนกัน อันผูกมัด

292
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 293 (เล่ม 64)

ด้วยความประพฤติในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมแล่นไปได้อย่างสะดวก.
บทว่า อนติมานยุโค ลหุ ความว่า ประกอบด้วยแอกเบากล่าวคือความไม่
ทนงตัว. บทว่า อลีนจิตฺตสนฺถาโร ความว่า รถคือพระวรกายของพระองค์
จงมีจิตไม่ท้อถอยไม่คดโกงด้วยกุศลมีทานเป็นต้น ย่อมงามด้วยเครื่องลาดอัน
โอฬารสำเร็จด้วยงา เช่นเดียวกับเครื่องลาดจิตของพระองค์ ที่ไม่หดหู่ย่อหย่อน
ด้วยกุศลกรรมมีทานเป็นต้นฉะนั้น. บทว่า วุฑฺฒิเสวี รโชหโต ความว่า รถ
เมื่อแล่นตามทางที่มีธุลี อันไม่เสมอ เกลื่อนกล่นไปด้วยธุลี ย่อมไม่งาม เมื่อ
แล่นโดยหนทางสม่ำเสมอปราศจากธุลี ย่อมงดงามฉันใด แม้รถคือกายของ
พระองค์ก็ฉันนั้น ดำเนินไปตามทางตรงมีพื้นสม่ำเสมอเพราะเสพกับบุคคลผู้
เจริญด้วยปัญญา จงเป็นผู้ขจัดธุลี. บทว่า สติ ปโตโท ธีรสฺส ความว่า
พระองค์มีนักปราชญ์คือบัณฑิต จงมีสติตั้งมั่นอยู่ที่รถเป็นประตัก. บทว่า ธิติ
โยโค จ รสฺมิโย ความว่า พระองค์มีความตั้งมั่น กล่าวคือมีความเพียรไม่
ขาดสาย และจงมีความพยายาม กล่าวคือความประกอบในข้อปฏิบัติอันเป็น
ประโยชน์ และจงมีบังเหียนอันมั่นคงที่ร้อยไว้ในรถของพระองค์นั้น. บทว่า
มโน ทนฺตํ ปถํ เนติ สมทนฺเตหิ วาชิภิ ความว่า รถที่แล่นไปนอกทางด้วย
ม้าที่ฝึกไม่สม่ำเสมอ ย่อมแล่นผิดทาง แต่เทียมด้วยม้าที่ฝึกดีแล้ว ศึกษาดีแล้ว
ย่อมแล่นไปตามทางตรงทีเดียว ฉันใด แม้ใจของพระองค์อันฝึกแล้วก็ฉันนั้น
ย่อมละพยศไม่เสพทางผิด ถือเอาแต่ทางถูกฉะนั้น. เพราะฉะนั้น จิตที่ฝึกดีแล้ว
สมบูรณ์ด้วยอาจาระ จึงยังกิจแห่งม้าสินธพ แห่งรถคือพระวรกายของพระองค์
ให้สำเร็จ. บทว่า อิจฺฉา โลโภ จ ความว่า ความปรารถนาในวัตถุที่ยังไม่มาถึง
และความโลภที่มาถึงเข้า เพราะฉะนั้นความปรารถนาและความโลภนี้ จึงชื่อว่า
เป็นทางผิดเป็นทางคดโกง เป็นทางไม่ตรง ย่อมนำไปสู่อบายถ่ายเดียว แต่การ
สำรวมในศีล อันเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือมรรคมีองค์ ๘

293
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 294 (เล่ม 64)

ชื่อว่าทางตรง. บทว่า รูเป ความว่า พระองค์จงมีเป็นปัญญาเป็นเครื่องรถคือ
พระวรกายของพระองค์ผู้ถือเอานิมิตในกามคุณมีรูปเป็นต้นอันเป็นที่ชอบใจ
เหล่านั้น เหมือนประตักสำหรับเคาะห้ามม้าสินธพแห่งราชรถที่แล่นออกนอก
ทาง ก็ปัญญานั้นคอยห้ามรถคือพระวรกายนั้นจากการแล่นไปนอกทาง ให้ขึ้น
สู่ทางตรงคือทางสุจริต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตนาว ความว่า ก็
ชื่อว่า นายสารถีอื่น ย่อมไม่มีในรถคือพระวรกายของพระองค์นั้น พระองค์
นั้นแหละเป็นสารถีของพระองค์เอง. บทว่า สเจ เอเตน ยาเนน ความว่า
ถ้ารถใดมียานเป็นเครื่องแล่นไปเห็นปานนั้นมีอยู่. บทว่า สมจริยา ทฬฺหา
ธิติ ความว่า รถคือกายใด ย่อมมีความประพฤติสม่ำเสมอ และมีความตั้ง
มั่นคงถาวร รถนั้นก็จะไปด้วยยานนั้น เพราะเหตุที่รถนั้นย่อมให้ความใคร่
ทั้งปวง คือย่อมให้ความใคร่ทั้งปวงตามที่มหาบพิตรปรารถนา เพราะเหตุนั้น
พระองค์ไม่ต้องไปนรกแน่นอน พระองค์ทรงยานนั้นไว้โดยส่วนเดียว พระ-
องค์ไม่ไปสู่นรกด้วยยานนั้น มหาบพิตร จะตรัสข้อใดกะอาตมภาพว่า นารทะ
ขอท่านจงบอกทางแห่งวิสุทธิ ตามที่อาตมาจะไม่พึงตกนรกด้วยประการฉะนี้
แล้ว ความข้อนั้นอาตมภาพได้บอกแก่พระองค์แล้วโดยอเนกปริยายแล.
ครั้นพระนารทฤาษีแสดงธรรมถวายพระเจ้าอังคติราช ให้ทรงละ
มิจฉาทิฏฐิ ให้ตั้งอยู่ในศีลอย่างนี้แล้ว จึงถวายโอวาทกะพระราชาว่า ตั้งแต่นี้ไป
พระองค์จงละปาปมิตร เข้าไปใกล้กัลยาณมิตร อย่าทรงประมาทเป็นนิตย์ ดังนี้
แล้วพรรณนาคุณของพระนางรุจาราชธิดา ให้โอวาทแก่ราชบริษัทและทั้งนาง
ใน เมื่อมหาชนเหล่านั้นกำลังดูอยู่นั่นแลได้กลับไปสู่พรหมโลก ด้วยอานุภาพ
อันใหญ่.
พระเจ้าอังคติราช ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพรหมนารทะ ละมิจฉา
ทิฏฐิ บำเพ็ญบารมีทานเป็นต้น ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

294
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 295 (เล่ม 64)

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้ง
หลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเราก็ทำลายข่ายคือ ทิฏฐิแล้ว
จึงทรมานอุรุเวลกัสสปะนั่นเอง เมื่อจะประชุมชาดก จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่า
นี้ในตอนจบว่า
อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนามอำมาตย์
เป็นพระภัททชิ วิชยอำมาตย์เป็นสารีบุตร คุณา
ชีวกผู้อเจลกเป็นสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตร พระนางรุจา
ราชธิดา ผู้ทรงยังพระราชาให้เลื่อมใสเป็นพระอานนท์
พระเจ้าอังคติราช ผู้มีทิฏฐิชั่วในกาลนั้นเป็นพระอุรุเวล
กัสสปะ มหาพรหมโพธิสัตว์เป็นเราตถาคต ท่านทั้ง
หลายจงทรงจำชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถากมหานาทกัสสปชาดกที่ ๘

295
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 296 (เล่ม 64)

๙. วิธุรชาดก
พระวิธุรบัณฑิตบำเพ็ญสัจบารมี
ท้าววรุณนาคราชตรัสว่า
[๘๙๓] เธอมีผิวพรรณเหลือง ซูบผอม ถอย
กำลัง เมื่อก่อนรูปพรรณของเธอมิได้เป็นเช่นนี้เลย
ดูก่อนพระน้องวิมลา พี่ถามแล้ว ขอเธอจงบอก เวทนา
ในร่างกายของเธอเป็นเช่นไร.
พระนางวิมลาเทวีทูลว่า
[๘๙๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมหมู่นาค ชื่อว่า
ความอยากได้โน่นอยากได้นี่ เขาเรียกกันว่าเป็นธรรมดา
ของหญิงทั้งหลายในหมู่มนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประ-
เสริฐสุดในหมู่นาค หม่อมฉันปรารถนาดวงหทัยของ
ของวิธุรบัณฑิต ที่บุคคลนำมาได้โดยชอบเพคะ.
ท้าววรุณนาคราชตรัสว่า
[๘๙๕ ] ดูก่อนพระน้องวิมลา เธอปรารถนาหทัย
ของวิธุรบัณฑิต ดังจะปรารถนาพระจันทร์ พระอาทิตย์
หรือลม เพราะว่าวิธุรบัณฑิตยากที่บุคคลจะเห็นได้
ใครจักนำวิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพมิได้.
พระนางอิรันทตีทูลถามว่า
[๘๙๖] ข้าแต่สมเด็จพระบิดา เหตุไรหนอสม-
เด็จพระบิดาจึงทรงซบเซา พระพักตร์ของสมเด็จ-

296
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 297 (เล่ม 64)

พระบิดา เป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ ข้า
แต่สมเด็จพระบิดาผู้เป็นใหญ่ เป็นที่เกรงขามของศัตรู
เหตุไรหนอ สมเด็จพระบิดาจึงทรงเป็นทุกข์พระทัย
อย่าทรงเศร้าโศกไปเลย เพคะ.
ท้าววรุณนาคราชตรัสว่า
[๘๙๗] อิรันทตีลูกรัก ก็พระมารดาของเจ้า
ปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต เพราะวิธุรบัณฑิต
ยากที่บุคคลจะเห็นได้ ใครจักนำวิธุรบัณฑิต มาใน
นาคพิภพนี้ได้.
[๘๙๘] เจ้าจงไปเที่ยวแสวงหาสามี ซึ่งสามารถ
นำวิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพนี้ ก็นางนาคมาณพวิกานั้น
ได้สดับพระดำรัสของพระบิดาดังนี้แล้ว เป็นผู้มีจิตชุ่ม
ด้วยกิเลส ออกเที่ยวแสวงหาสามีในคืนนั้น.
นางอิรันทตีกล่าวว่า
[๘๙๙] คนธรรพ์ รากษส นาค กินนร หรือ
มนุษย์ผู้ฉลาดสามารถจะให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงได้ คน
ไหนก็ตามที่จักเป็นสามีของเราตลอดกาลนาน.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๐๐] ดูก่อนนางผู้มีนัยน์ตาหาที่ติมิได้ เธอจง
เบาใจเถิด เราจักเป็นสามีของเธอ จักเป็นผู้เลี้ยงดูเธอ
ด้วยปัญญาของเรา อันสามารถจะนำเนื้อดวงใจของ
วิธุรบัณฑิตมาให้ จงเบาใจเถิด เธอจักเป็นภรรยา
ของเรา.

297