No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 482 (เล่ม 60)

ก็เท่ากับพวกเราจับเสือโคร่งตัวที่ประทุษร้ายได้ตัวหนึ่ง แต่นอกจากนี้ผู้ที่จะนำ
เสือโคร่งมาได้ยังมีอยู่. ถามว่า นั่นชื่อไร. ตอบว่า ชฎิลโกงผู้คอยกินมังสะ
ที่เสือโคร่งนำมาแล้ว ๆ. กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพากันมาเถิด พวกเราต้องจับมัน
ให้ได้ แล้ววิ่งแน่วไปกับพวกหมูเหล่านั้น. กล่าวถึงชฎิลนึกว่าเสือโคร่งมัวช้า
อยู่ มองดูทางมาของมัน เห็นพวกหมูเป็นอันมากกรูวิ่งมา คิดว่าชะรอยพวก
หมูเหล่านี้ฆ่าเสือโคร่งได้แล้ว พากันวิ่งมาเพื่อฆ่าเรา หนีขึ้นต้นมะเดื่อต้นหนึ่ง
พวกหนูพากันร้องว่า มันขึ้นต้นไม้ไปแล้ว. ตัจฉกสุกรถามว่า ต้นไม้อะไร.
ตอบว่า ต้นมะเดื่อ. ตัจฉกสุกรกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นอย่าเสียใจเลย ประเดี๋ยว
พวกเราต้องจับมันได้ พลางเรียกหมูหนุ่ม ๆ มาให้ช่วยกันคุ้ยดินออกจากโคน
ต้นไม้ ให้แม่หมูทั้งหลายไปอมน้ำมา ให้พวกหมูที่มีเขี้ยวใหญ่ ๆ ช่วยกัน
ขวิดรากโดยรอบ จนเหลือแต่รากแก้วที่หยั่งลงไปตรงรากเดียวเท่านั้น ต่อ
จากนั้นก็ร้องบอกพวกหมูที่เหลือ ๆ ว่า พวกเจ้าพากันหลบเสียเถิด แล้วคุกเข่า
เอาเขี้ยวขวิดตรงรากแก้ว ขาดไปเหมือนฟันด้วยขวาน ต้นไม้นั้นก็พลิก พอ
ชฎิลโกงตกลงมาเท่านั้น พวกหมูก็พากันรับไว้แล้วรุมกินเนื้อเสีย. รุกขเทวดา
เห็นเหตุอัศจรรย์นั้น จึงกล่าวคาถาว่า
ญาติทั้งหลายมีมากด้วยกัน ย่อมยังประโยชน์ให้
สำเร็จ ถึงต้นไม้ทั้งหลายที่เกิดในป่า ก็เหมือนกัน
สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันเข้า ฆ่าเสือโคร่งเสียได้
เพราะประพฤติร่วมใจอันหนึ่งอันเดียวกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกายเน หโต ความว่า ฆ่าเสือโคร่ง
เสียได้ เพราะมีความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้นเอง.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความที่พวกสุกรเหล่านั้นกำจัดศัตรู
ทั้ง ๒ เสียได้จึงตรัสพระคาถาว่า

482
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 483 (เล่ม 60)

สุกรทั้งหลายช่วยกัน ฆ่าพราหมณ์ และเสือโคร่ง
ทั้ง ๒ ได้แล้ว ต่างร่าเริงบันเทิงใจ พากันบันลือศัพท์
สำเนียงเสียงสนั่น.
ตัจฉกสุกรถามอีกว่า ศัตรูของพวกเจ้าแม้อื่น ๆ ยังมีหรือ. พวกสุกร
พากันตอบว่า ไม่มีละนายเอ๋ย ตกลงกันว่า พวกเราต้องอภิเษกท่านให้เป็น
พระราชา พากันเที่ยวหาน้ำ เห็นสังข์สำหรับตักน้ำดื่มของชฎิล สังข์นั้นเป็น
สังข์ทักษิณาวัฏ (เวียนขวา) เป็นสังขรัตนะ จึงตักน้ำมาเต็มสังข์ อภิเษก
ตัจฉกสุกร ณ โคนต้นมะเดื่อนั้นเอง แล้วพากันให้นางสุกรสรงน้ำอภิเษก
เป็นมเหสีของพญาตัจฉกสุกรนั้น ตั้งแต่ครั้งนั้น การนั่งตั่งไม้มะเดื่อ รดน้ำ
ด้วยสังข์ทักษิณาวัฏ ก็ได้รับประพฤติสืบมา.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความแม้นั้น ตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
สุกรเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันที่โคนต้นมะเดื่อ
อภิเษกตัจฉกสุกรด้วยคำว่า ท่านเป็นพระราชา เป็นเจ้า
เป็นใหญ่ของพวกเรา.
พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ถึงในครั้งก่อน ธนุคคหติสสะเคยฉลาดในการ
จัดขบวนรบเหมือนกัน ทรงประชุมชาดกว่า ชฎิลโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็น
เทวทัต ตัจฉลสุกรได้มาเป็นธนุคคหติสสะ ส่วนรุกขเทวดาได้มาเป็น
เราตถาคตแล
จบอรรถกถาตัจฉกสุกรชาดก

483
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 484 (เล่ม 60)

๑๐. มหาวาณิชชาดก
ว่าด้วยโลภมากจนตัวตาย
[๑๙๙๐] พวกพ่อค้าพากันมาจากรัฐต่าง ๆ กระทำ
การประชุมกันในเมืองพาราณสี ตั้งพ่อค้าคนหนึ่งให้เป็น
หัวหน้า แล้วพากันขนเอาทรัพย์กลับไป พ่อค้าเหล่านั้น
มาถึงแดนกันดาร ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ได้เห็นต้นไทร
ใหญ่มีร่มเงาเย็นสบาย น่ารื่นรมย์ใจ ก็พากันเข้าไปนั่ง
พักที่ร่มต้นไทรนั้น พ่อค้าทั้งหลายเป็นคนโง่เขลา ถูก
โมหะครอบงำ คิดร่วมกันว่า ไม้ต้นนี้บางทีจะมีน้ำ
ไหลซึมอยู่ เชิญพวกเราเหล่าพ่อค้ามาช่วยกันตัดกิ่ง
ข้างทิศตะวันออกแห่งต้นไม้นั้นดูทีเถิด พอกิ่งนั้นถูก
ตัดขาดออก น้ำใสไม่ขุ่นมัวไหลออกมา พ่อค้าเหล่านั้น
ก็พากันอาบและดื่ม ที่สายน้ำนั้น จนสมปรารถนา
พ่อค้าทั้งหลาย ผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด
กันเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่ง
ข้างทิศใต้แห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาด
ออก ข้าวสาลี เนื้อสุก ขนมถั่ว ซึ่งมีสีเหมือนข้าว-
ปายาสปราศจากน้ำ แกงอ่อมปลาดุก ก็ไหลออกมา
มากมาย พ่อค้าเหล่านั้นพากันบริโภคเคี้ยวกินจนสม
ปรารถนา พ่อค้าทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ
ร่วมคิดกันเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัด

484
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 485 (เล่ม 60)

กิ่งข้างทิศตะวันตกแห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูก
ตัดขาดออก เหล่านางนารีแต่งตัวงามสมส่วน มีผ้า
และเครื่องอารมณ์อันวิจิตร ใส่ต่างหูแก้วมณี พากัน
ออกมา นารีทั้งหลายต่างแยกกันบำเรอพ่อค้า คน
ละนาง นารี ๒๕ นาง ต่างก็แวดล้อมพ่อค้า ผู้เป็น
หัวหน้าอยู่โดยรอบ ที่ร่มแห่งต้นไทรนั้น พ่อค้าเหล่านั้น
แวดล้อมด้วยนารีเหล่านั้นจนสมปรารถนา พ่อค้า
ทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดเป็นครั้ง
ที่ ๔ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศเหนือแห่ง
ต้นไม้อีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก แก้วมุกดา
แก้วไพฑูรย์ เงิน ทอง เครื่องประดับมือ เครื่องปูลาด
ผ้ากาสิกพัสตร์และผ้ากัมพล ชื่ออุทธิยะ ก็พรั่งพรู
ออกมาเป็นอันมาก พ่อค้าเหล่านั้นพากันขนบรรทุก
ใส่ในเกวียนเหล่านั้นจนสมปรารถนา พ่อค่าเหล่านั้น
เป็นคนโง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดกันเป็น
ครั้งที่ ๕ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดโคนต้นไม้นั้น
เสียทีเดียว บางทีจะได้ของมากไปกว่านี้อีก ทันใดนั้น
นายกองเกวียนจึงลุกขึ้น ประคองอัญชลีร้องขอว่า
ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึงพา
กันจะทำร้าย) ขอให้ท่านจงมีความเจริญเถิด ดูก่อน
พ่อค้าทั้งหลาย กิ่งทางทิศตะวันออกก็ให้น้ำ กิ่งทาง
ทิศใต้ก็ให้ข้าวและน้ำ กิ่งทางทิศตะวันตก ก็ให้นาง

485
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 486 (เล่ม 60)

นารี และกิ่งทางทิศเหนือก็ให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง
ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึงพากันจะทำร้าย) ขอให้
ท่านจงมีความเจริญเถิด บุคคลพึงนั่งหรือนอนที่ร่มเงา
แห่งต้นไม้ใด ก็ไม่ควรหักรานก้านแห่งต้นไม้นั้น
เพราะประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม แต่พ่อค้า
เหล่านั้นมากด้วยกัน ไม่เชื่อถือถ้อยคำนายกองเกวียน
ผู้เดียว ต่างก็ถือขวานที่ลับแล้ว พากันเข้าไปหมายจะ
ตัดต้นไทรนั้นที่โคน.
[๑๙๙๑] ทันใดนั้น นาคทั้งหลายก็พากันออกไป
พวกสวมเกราะ ๒๕ พวกถือธนู ๓๐๐ พวกถือโล่
๖,๐๐๐.
[๑๙๙๒] ท่านทั้งหลายจงจับพวกนี้มัดฆ่าเสีย
อย่าไว้ชีวิตเลย เว้นไว้แต่นายกองเกวียนเท่านั้น
นอกนั้นจงสังหารมันทุกคนให้เป็นภัสมธุลีไป.
[๑๙๙๓] เพราะเหตุนี้แหละ บุรุษผู้เป็นบัณฑิต
เมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ของตน ไม่ควรลุอำนาจแห่ง
ความโลภ พึงกำจัดใจอันประกอบด้วยความโลภเสีย
ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ และรู้ตัณหาว่าเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์
พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่มีความถือมั่น พึงเป็นผู้
มีสติละเว้นโดยรอบเถิด.
จบมหาวาณิชชาดกที่ ๑๐

486
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 487 (เล่ม 60)

อรรถกถามหาวาณิชชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงพระปรารภ
พวกพ่อค้าชาวพระนครสาวัตถี ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วาณิชา
สมิตึ กตฺวา ดังนี้.
เรื่องมีว่า พ่อค้าเหล่านั้นเมื่อจะไปค้าขาย ถวายมหาทานแด่พระศาสดา
ดำรงมั่นในสรณะและศีล กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกข้าพระองค์
จักไม่มีโรคกลับมาได้ จักขอบังคมพระบาทยุคลของพระองค์อีกพระเจ้าข้า ออก
เดินทางไปกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถึงแดนกันดาร กำหนดหนทางไม่ได้ เลย
พากันหลงทางท่องเที่ยวไปในป่า ขาดน้ำขาดอาหาร เห็นต้นไทรซึ่งนาคยึด
ครองต้นหนึ่ง ก็ชวนกันปลดเกวียน นั่งที่โคนต้น. พวกนั้นเห็นไทรใบเขียว
ชอุ่ม ประหนึ่งตะไคร้น้ำ กิ่งไทรเล่าก็เป็นเหมือนอิ่มด้วยน้ำ จึงคิดกันว่า
ในต้นไม้นี้ ปรากฏเหมือนมีน้ำเอิบอาบ พวกเราตัดกิ่งตะวันออกของต้นไม้นี้
เถอะเพื่อจะหลั่งน้ำดื่มให้ได้ ครั้นแล้วคนหนึ่งก็ขึ้นสู่ต้นไม้ตัดกิ่งขาด. ท่อน้ำ
ขนาดลำตาลไหลพรั่ง พวกนั้นพากันอาบพากันดื่ม ณ ที่นั้น แล้วพากันตัดกิ่ง
ทางใต้. โภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ พรั่งพรูออกจากนั้น พากันบริโภค แล้วตัดกิ่ง
ตะวันตก. เหล่าสตรีผู้ตกแต่งร่างกายแล้ว พากันออกมาจากกิ่งนั้น พากัน
อภิรมย์กับหมู่สตรีนั้น แล้วตัดกิ่งทางเหนือ. แก้ว ๗ ประการหลั่งไหลออกจาก
กิ่งนั้น พากันเก็บแก้วเหล่านั้นบรรทุกเต็มเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม กลับมาสู่
พระนครสาวัตถี เก็บงำทรัพย์แล้ว ชวนกันถือของหอมและมาลาเป็นต้น ไปสู่
พระมหาวิหารเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาบูชาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
ฟังธรรมกถาแล้ว ทูลนิมนต์ถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้น พากันให้ส่วนบุญว่า

487
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 488 (เล่ม 60)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานครั้งนี้ แก่รุกขเทวดา
ผู้ให้ทรัพย์แก่พวกข้าพระองค์พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงฉันเสร็จ ตรัสถามว่า
พวกเธอให้ส่วนบุญแก่รุกขเทวดาองค์ไหน. พวกพ่อค้าพากันกราบทูลเหตุที่
พวกตนได้ทรัพย์ ในต้นไทรแด่พระตถาคต. พระศาสดาตรัสว่า พวกเธอมิได้
ลุอำนาจตัณหา เพราะเป็นผู้รู้จักประมาณดอกนะจึงได้ทรัพย์ แต่ในครั้งก่อน
พวกที่ลุอำนาจตัณหา เพราะไม่รู้จักประมาณ พากันละทิ้งเสียทั้งทรัพย์และ
ชีวิต พ่อค้าเหล่านั้นพากันกราบทูลอาราธนาทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ทางกันดารนั้นเอง ต้นไทรก็ต้นนั้นแหละ แต่เมืองเป็น
พระนครพาราณสี พ่อค้าพ่อค้าหลงทางพบต้นไทรนั้นเหมือนกัน.
พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงข้อความนั้น จึงตรัสพระ
คาถาทั้งหลายว่า
พวกพ่อค้าพากันมาจากรัฐต่าง ๆ กระทำการ
ประชุมฉันในเมืองพาราณสี ตั้งพ่อค้าคนหนึ่งให้เป็น
หัวหน้า แล้วพากันขนเอาทรัพย์กลับไป พ่อค้าเหล่านั้น
มาถึงแดนกันดาร ไม่มีอาหาร ไม่มีน้ำ ได้เห็นต้น
ไทรใหญ่มีร่มเงาเย็นสบาย น่ารื่นรมย์ใจ ก็พากันไป
นั่งพักที่ร่มต้นไทรนั้น พ่อค้าทั้งหลายเป็นคนโง่เขลา
ถูกโมหะครอบงำ คิดร่วมกันว่า ไม้ต้นนี้บางทีจะมี
น้ำไหลซึมอยู่ เชิญพวกเราเหล่าพ่อค้ามาช่วยกันตัดกิ่ง
ข้างทิศตะวันออกแห่งต้นไม้นั้นดูทีเถิด พอกิ่งนั้นถูก
ตัดขาดออกน้ำใสไม่ขุ่นมัวไหลออกมา พ่อค้าเหล่านั้น
ก็พากันอาบและดื่ม ที่สายน้ำนั้นจนสมปรารถนาพ่อค้า

488
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 489 (เล่ม 60)

ทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมทะครอบงำ ร่วมคิดกันเป็น
ครั้งที่ ๒ ว่า ขอให้พวกเราด้วยกันตัดกิ่ง ข้างทิศใต้
แห่งต้นไม้นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก ข้าว
สาลี เนื้อสุก ขนมถั่ว ซึ่งมีสีเหมือนข้าวปราศจากน้ำ
แกงอ่อม ปลาดุก ก็ไหลออกมามากมาย พ่อค้าเหล่านั้น
พากันบริโภคเคี้ยวกินจนสมปรารถนา พ่อค้าทั้งหลาย
ผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิดเป็นครั้งที่ ๓ ว่า
ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศตะวันตกแห่งต้นไม้
นั้นอีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก เหล่านี้นารีแต่งตัว
งามสมส่วน มีผ้าและเครื่องอาภรณ์อันวิจิตร ใส่ต่างหู
แก้วมณี พากันออกมา นารีทั้งหลายต่างแยกกันบำเรอ
พ่อค้าคนละนาง นารี ๒๕ นางต่างก็แวดล้อมพ่อค้า
ผู้เป็นหัวหน้าอยู่โดยรอบ ที่ร่มแห่งต้นไทรนั้น พ่อค้า
เหล่านั้น แวดล้อมด้วยนารีเหล่านั้นจนสมปรารถนา
พ่อค้าทั้งหลายผู้โง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด
เป็นครั้งที่ ๔ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดกิ่งข้างทิศ
เหนือ แห่งต้นไม้อีกเถิด พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดออก
แก้วมุกดา แล้วไพฑูรย์ เงิน ทอง เครื่องประดับ
เครื่องปูลาด ผ้ากาสิกพัสตร์และผ้ากัมพล ชื่ออุทธิยะ
ก็พรั่งพรูออกมาเป็นอันมาก พ่อค้าเหล่านั้นพากันขน
บรรทุกใส่ในเกวียนเหล่านั้นจนสมปรารถนา พ่อค้า
เหล่านั้น เป็นคนโง่เขลา ถูกโมหะครอบงำ ร่วมคิด

489
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 490 (เล่ม 60)

กันเป็นครั้งที่ ๕ ว่า ขอให้พวกเราช่วยกันตัดโคนต้นไม้
นั้นเสียทีเดียว บางทีจะได้ของมากไปกว่านี้อีก ทันใด
นั้นนายกองเกวียนจึงลุกขึ้น ประคองอัญชลีร้องขอว่า
ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย ต้นไทรทำผิดอะไรหรือ (จึง
พากันทำร้าย) ขอให้ท่านจงมีความเจริญเถิด ดูก่อน
พ่อค้าทั้งหลาย กิ่งทางทิศตะวันออกก็ให้น้ำ กิ่งทาง
ทิศใต้ก็ให้ข้าวและน้ำ กิ่งทางทิศตะวันตกก็ให้นารี
กิ่งทางทิศเหนือก็ให้สิ่งที่ปรารถนาทุกอย่าง ต้นไทร
ทำผิดอะไรหรือ (จึงพากันจะทำร้าย) ขอให้ท่านจง
มีความเจริญเถิด บุคคลพึงนั่งหรือนอน ที่ร่มเงาแห่ง
ต้นไม้ใด ก็ไม่ควรหักรานก้านแห่งต้นไม้นั้น เพราะ
ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม แต่พ่อค้าเหล่านั้น
มากด้วยกัน ไม่เชื่อถือคำของนายกองเกวียนผู้เดียว
ต่างก็ถือขวานที่ลับแล้ว พากันเข้าไปหมายจะตัดต้น
ไทรนั้นที่โคน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมิตึ กตฺวา ความว่า จัดเป็นสมาคม
คือมากคนรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวในกรุงพาราณสี. บทว่า ปกฺกมึสุ
ความว่า บรรทุกสิ่งของที่มีในกรุงพาราณสีด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่มเดินทางไป.
บทว่า คามณึ ความว่า ตั้งผู้มีปัญญาผู้หนึ่งให้เป็นนายกองเกวียน. บทว่า
ฉาทิยา แปลว่า ที่ร่มเงา. บทว่า อลฺลายเต คือ ปรากฏเป็นเหมือนเต็ม
ด้วยน้ำ. บทว่า ฉินฺนาว ปคฺฆรติ พระศาสดาทรงแสดงว่า ผู้ฉลาดในการขึ้น
ต้นไม้คนหนึ่ง ขึ้นไปตัดกิ่งนั้น พอกิ่งนั้นถูกตัดขาดน้ำใสก็ไหลพลั่ง. แม้ข้างหน้า

490
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 491 (เล่ม 60)

ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อปฺโปทกวณฺเณ กุมฺมาเส คือ ขนมกุมมาส
ที่เป็นเสมือนกับข้าวปายาสที่มีน้ำน้อย. บทว่า สิงฺคิ คือแกงอ่อมมีแกงที่ใส่ขิง
เป็นต้น. บทว่า วิทลสุปิโย คือแกงถั่วเขียวเป็นต้น. บทว่า วาณิชา เอกา
คือ แก่พ่อค้าแต่ละคน พ่อค้ามีจำนวนเท่าใด ในจำนวนนั้นคนละ ๑ นาง
แต่ในสำนักของนายกองเกวียนมีอยู่ถึง ๒๕ นาง. บทว่า ปริกรึสุ ความว่า
แวดล้อม ก็แลพร้อม ๆ กันกับนางเหล่านั้น ยังมีเพดานและที่นอนเป็นต้น
เหล่านั้น ไหลออกมาด้วยอานุภาพแห่งพญานาค. บทว่า กุตฺติโย ได้แก่
ถุงมือเป็นต้น. บทว่า ปฏิยานิ จ ได้แก่ เครื่องปูลาด มีเครื่องปูลาดอัน
สำเร็จด้วยขนแกะอันฟูเป็นต้น. บางอาจารย์ท่านกล่าวว่า ผ้ากัมพลขาวก็มี.
บทว่า อุฏฺฏิยาเนว กมฺพลา คือผ้ากัมพลชนิดที่ชื่อว่าอุฏฏิยานะมีอยู่. บทว่า
เต ตตฺถ ภาเร พนฺธิตฺวา ความว่า ต้องการเท่าใดก็ขนเอาในที่นั้นเท่านั้น
บรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม. บทว่า วาณิชา ภทฺทมตฺถุ เต ความว่า
นายกองเกวียนร้องเรียกพ่อค้าแต่ละคน จึงกล่าวว่า ความเจริญจงมีแก่ท่าน
เถิด. บทว่า อนฺนปานญฺจ ความว่า ได้ให้ข้าวและน้ำ. บทว่า สพฺพกาเม จ
ความว่า ได้ให้สิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง. บทว่า มิตฺตทุพฺโภ ความว่า
เพราะว่าผู้ทำลายมิตรทั้งหลาย คือบุรุษผู้มุ่งร้ายต่อมิตรทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นคน
ชั่วช้าลามก. บทว่า อนาทิยิตฺวา ความว่า ไม่ยึดถือ คือไม่ขอรับถ้อยคำ
ของนายกองเกวียนนั้น. บทว่า อุปกฺกมุํ ความว่า เตรียมการโค่น คือ
เริ่มจะตัดเพราะโมหะ.
ครั้งนั้น พญานาคเห็นพ่อค้าเหล่านั้น พากันเข้าไปใกล้ต้นไม้ เพื่อที่จะ
ตัด ดำริว่า เราบันดาลน้ำดื่มแก่พวกนี้ผู้กำลังกระหาย จากนั้นให้โภชนะอัน
เป็นทิพย์มิหนำซ้ำยังให้ที่นอนและนางบำเรอแก่เขา จากนั้นเล่ายังให้รัตนะ

491