No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 351 (เล่ม 1)

อินทรีย์ คือจักษุ อินทรีย์ คือหญิง อินทรีย์ คือความตั้งใจว่า จักรู้พระ-
อรหัตที่ยังไม่รู้ อะไรซิ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจในโลกนี้. ก็ในคำนี้มีอรรถ
โยชนาดังต่อไปนี้ : - ดูก่อนสารีบุตร ! ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัว
นั้นเป็นถิ่นน่าสยดสยอง จึงมีคำพูดกันดังนี้แล, บทว่า ภึสนกตสฺมึ ความว่า
ในเพราะไพรสณฑ์เป็นถิ่นที่น่ากลัว. พึงเห็นว่าลบตะอักษรไปตัวหนึ่ง. อนึ่ง
พระบาลีว่า ภึสนกตฺตสฺมึ ดังนี้ก็มี. อนึ่ง ในเมื่อควรจะกล่าวเป็นอิตถีลิงค์ว่า
ภึสนกตาย ท่านก็ทำให้เป็นลิงควิปัลลาส. ก็ในคำว่า ภึสนกตสฺมึ นี้เป็น
สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งนิมิต. เพาะฉะนั้น พึงเห็นสัมพันธ์อย่างนี้ว่า
คำนี้แลย่อมมีในเพราะความที่ไพรสณฑ์น่าพึงกลัว เป็นถิ่นที่มีความสยดสยอง
เป็นนิมิต คือมีคำพูดนี้แล เพราะมีความสยดสยองเป็นเหตุ เพราะมีความ
สยดสยองเป็นปัจจัย ข้อว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์
นั้น โดยมาก โลมชาติย่อมชูชัน ความว่า ขนเป็นอันมากกว่ามาก ย่อมชูชัน
คือตั้งปลายขึ้นเป็นเช่นกับเข็มและเป็นเช่นกับหนาม จำนวนน้อยไม่ชูชัน อนึ่ง
โลมชาติของสัตว์จำนวนมากกว่ามากย่อมชูชัน แต่ของคนผู้กล้าหาญยิ่งน้อยคน
ย่อมไม่ชูชัน.
บัดนี้ คำมีว่า อยํ โข สารีปุตฺต เหตุ เป็นต้น เป็นคำกล่าวย้ำ.
ส่วนคำที่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ ในพระบาลีนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบตามลำดับแห่งพระบาลีนั้นแล. แต่พระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ไม่ดำรงอยู่นาน บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์
ตรัสด้วยอำนาจแห่งยุคของคน.

351
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 352 (เล่ม 1)

[ความต่างกันแห่งอายุกาลของพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น]
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีโดยการนับปี มีพระชนมายุแปด-
หมื่นปี แม้พวกสาวกที่พร้อมหน้าของพระองค์ ก็อายุประมาณเท่านั้นปีเหมือน
กัน. พรหมจรรย์ (ศาสนา) สืบต่อด้วยสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ซึ่ง
เป็นองค์สุดท้ายเขาทั้งหมด ตั้งอยู่ได้ตลอดแสนหกหมื่นปี ด้วยประการอย่างนี้.
แต่โดยอำนาจแห่งยุคคน พรหมจรรย์ได้ตั้งอยู่ต่อมา ด้วยความสืบต่อกันแห่งยุค
ตลอดยุคคน ๒ ยุคเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ไม่ดำรงอยู่นาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านามว่าสิขี มีพระชนมายุเจ็ดหมื่น
ปี แม้พวกสาวกพร้อมหน้าของพระองค์ ก็มีอายุประมาณเท่านั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสภู มีพระชนมายุหกหมื่นปี แม้วกสาวก
อยู่พร้อมหน้าของพระองค์ ก็มีอายุประมาณเท่านั้นปีเหมือนกัน. พรหมจรรย์
(ศาสนา) สืบต่อด้วยสาวกองค์สุดท้ายเขาทั้งหมด แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนาว่าสิขีและเวสภูแม้นั้นตั้งอยู่ต่อมาได้ประมาณแสนสี่หมื่นปี และประมาณ
แสนสองหมื่นปี. แต่ว่าโดยอำนาจแห่งยุคคน พรหมจรรย์ตั้งอยู่ต่อมาได้ด้วย
การสืบต่อแห่งยุค ตลอดยุคคน ๒ ยุคเท่ากัน ๆ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดำรงอยู่ไม่นาน.
ท่านพระสารีบุตร ฟังเหตุแห่งการดำรงอยู่ไม่นานแห่งพรหมจรรย์ของ
พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์อย่างนี้แล้ว มีความประสงค์จะฟังเหตุแห่งการดำรงอยู่
ได้นาน แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์นอกนี้ จึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าอีก โดยนัย มีอาทิว่า ก็ อะไรเป็นเหตุ พระเจ้าข้า !.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์แก่ท่าน. คำพยากรณ์นั้นแม้ทั้งหมด
พึงทราบด้วยอำนาจนัยที่ตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว. และแม้ในความดำรงอยู่

352
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 353 (เล่ม 1)

นาน ในคำพยากรณ์นั้น บัณฑิตพึงทราบความดำรงอยู่นาน โดยเหตุทั้งสอง
คือโดยประมาณแห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นบ้าง โดยยุคแห่งตน
บ้าง. ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ มีพระชน-
มายุสี่หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมน์ มีพระชนมายุสาม
หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสป มีพระชนมายุสองหมื่นปี
แม้พระสาวกพร้อมหน้าทั้งหลายของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ก็มีอายุเท่านั้นปี
เหมือนกัน. และยุคแห่งสาวกเป็นอันมากของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จักพรหม-
จรรย์ให้เป็นไป โดยความสืบต่อกันมา. พรหมจรรย์ดำรงอยู่นานโดยเหตุทั้งสอง
คือโดยประมาณแห่งพระชนมายุ ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นบ้าง โดยยุคแห่ง
สาวกบ้าง ด้วยประการฉะนี้.
[เหตุที่พระพุทธเจ้าของเราเกิดในกาลแห่งคนมีอายุน้อย]
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ควรจะเสด็จอุบัติขึ้นในกาลแห่งคน
มีอายุหมื่นปี ซึ่งเท่ากับอายุกึ่งหนึ่ง แห่งพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสป ไม่ถึงกาลแห่งคนมีอายุหมื่นปีนั้น ก็ควรจะเสด็จอุบัติขึ้น
ในกาลแห่งคนมีอายุห้าพันปี หรือในกาลแห่งคนมีอายุหนึ่งพันปี หรือแม้ใน
กาลแห่งคนมีอายุห้างร้อยปี แต่เพราะเมื่อพระองค์ทรงเสาะหา คือแสวงหาธรรม
อันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า ทรงยังญาณให้แก่กล้า ให้ตั้งครรภ์ (เพื่อ
ตลอดคุณพิเศษ) ญาณได้ถึงความแก่กล้า ในกาลแห่งคนมีอายุร้อยปี เพราะ
ฉะนั้น พระองค์จึงเสด็จอุบัติขึ้น ในกาลแห่งคนมีอายุน้อยเหลือเกิน เพราะ
ฉะนั้น ควรกล่าวได้ว่า พรหมจรรย์แม้ดำรงอยู่ได้นาน ด้วยอำนาจความสืบต่อ
กันแห่งพระสาวกของพระองค์ แต่ก็ดำรงอยู่ได้ไม่นานโดยการนับปี ด้วยอำนาจ
ปริมาณแห่งอายุเหมือนกัน.

353
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 354 (เล่ม 1)

[พระสารีบุตรทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]
ถามว่า ในคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต มีอะไรเป็น
อนุสนธิ. ตอบว่า คือ ท่านพระสารีบุตร ครั้นได้ฟังเหตุการณ์ดำรงอยู่นาน
แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์อย่างนี้แล้ว ถึงความตกลงใจว่า
การบัญญัติสิกขาบทเท่านั้น เห็นเหตุแห่งความดำรงอยู่ได้นาน เมื่อปรารถนา
ความดำรงอยู่นาน แห่งพรหมจรรย์ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลวิงวอน
ขอการบัญญัติสิกขาบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระอุบาลีเถระกล่าว คำว่า
อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต อุฏฺฐายาสนา ฯเปฯ จิรฏฺฐิติก นี้
เพื่อแสดงวิธีทูลวิงวอนของการบัญญัติสิกขาบทนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อทฺธนิยํ คือ ควรแก่กาลนาน มีคำอธิบายว่า มีกาลยาวนาน. คำที่เหลือ
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตร
นั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิ
ตฺวํ สารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺวํ
ความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ
เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัย
ของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย
จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ
เป็นสัตตมีวิภัตติ เพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า

354
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 355 (เล่ม 1)

ตถาคโตว นั้น มีโยชนาดังต่อไปนี้ :- ในคำที่เธอกล่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงบัญญัติสิกขาบทนั้น พระตถาคตเท่านั้นจักรู้กาลแห่งอันบัญญัติ
สิกขาบทนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงสมัยมิใช่
กาลก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว สารีปุตฺต ดังนี้. ในคำว่า น ตาว
สารีปุตฺต เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยว่า อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมทั้งหลายอันอาสวะพึงตั้งอยู่ คือไม่พึงผ่านเลยไป เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อธิบายว่า อาสวะคือทุกข์ และอาสวะ
คือกิเลส อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและในสัมปรายภพ อาสวะมีการค่อนขอด
ของคนอื่น ความวิปฏิสาร การฆ่าและการจองจำเป็นต้น และอาสวะอันเป็น
ทุกข์พิเศษในอบาย ย่อมตั้งอยู่นั่นเทียว ในวิติกกมธรรมเหล่าใด เพราะ
วีติกกมธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุแห่งอาสวะมีอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม
เป็นต้นเหล่านั้น.
* วาจาสำหรับประกอบในคำว่า น ตาว เป็นต้นนี้ ดังนี้ว่า วีตกกมธรรม
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยังไม่มีปรากฏในสงฆ์เสียงใด
พระศาสดาจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น. ก็ถ้าพึงบัญญัติ
ไซร้ ไม่พึงพ้นจากความค่อนขอดของผู้อื่น จากความคัดค้านของผู้อื่น จาก
โทษคือความติเตียน,
[ข้อที่จะถูกตำหนิในการบัญญัติสิกขาบท]
ถามว่า ไม่พึงพ้นอย่างไร ? ตอบว่า จริงอยู่ สิขาบททั้งปวงมี
อาทิว่า โย ปน ภิกฺขุ เมถุนํ ธมมํ ปฏิสเวยฺย ดังนี้ พึงเป็นสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๐

355
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 356 (เล่ม 1)

อันพระศาสดาผู้จะบัญญัติ ควรบัญญัติ. ฝ่ายชนเหล่าอื่นไม่เห็นวีติกกมโทษ
แต่รู้พระบัญญัตินี้ จะพึงยังความค่อนขอด ความคัดค้านและความติเตียนให้
เป็นไปอย่างนี้ว่า นี่อย่างไรกัน พระสมณโคดมจักผูกมัดด้วยสิกขาบททั้งหลาย
จักบัญญัติปาราชิก ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า ภิกษุสงฆ์ยอมตามเรา ทำตามคำ
ของเรา กุลบุตรเหล่านี้ละกองโภคะใหญ่ละเครือญาติใหญ่ และละแม้ซึ่งราช-
สมบัติอันอยู่ในเงื้อมมือบวช เป็นผู้สันโดษด้วยความเป็นผู้มีอาหารและเครื่อง
นุ่งห่มเป็นอย่างยิ่ง มีความเคารพจัดในสิกขา ไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิตอยู่
มิใช่หรือ ในกุลบุตรเหล่านั้น ใครเล่า จักเสพเมถุนซึ่งเป็นโลกามิสหรือจัก
ลักของ ๆ ผู้อื่น หรือจักเข้าไปตัดชีวิตของผู้อื่น ซึ่งเป็นของปรารถนารักใคร่
หวานยิ่งนัก หรือจักสำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยอวดคุณที่ไม่มี, เมื่อปาราชิกแม้
ไม่ทรงบัญญัติไว้ สิกขาบทนั่นเป็นอันพระองค์ทรงทำให้ปรากฏแล้ว โดยสังเขป
ในบรรพชานั่นเอง มิใช่หรือ ? ชนทั้งหลายไม่ทราบเรี่ยวแรง และกำลังแม้
แห่งพระตถาคต, สิขาบทแม้ที่ทรงบัญญัติไว้ จะพึงกำเริบ คือไม่คงอยู่ใน
สถานเดิม.
[เปรียบด้วยแพทย์ผู้ไม่ฉลาดทำการผ่าตัด]
แพทย์ผู้ไม่ฉลาด เรียกบุรุษบางคน ซึ่งหัวฝียังไม่เกิดขึ้นมาแล้ว
บอกว่า มานี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ ! หัวฝีใหญ่จักเกิดขึ้นในสรีระประเทศตรงนี้
ของท่าน, จักยังความเสื่อมฉิบหายให้มาถึงท่าน, ท่านจงรีบให้หมอเยียวยามัน
เสียเถิด ดังนี้ ผู้อันบุรุษนั้นกล่าวว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ! ท่านนั่นแหละจง
เยียวยามันเถิด จึงผ่าสรีรประเทศซึ่งหาโรคมิได้ของบุรุษนั้น คัดเลือดออกแล้ว
ทำสรีรประเทศตรงนั้นให้กลับมีผิวดีด้วยยาทาและพอก และการชะล้างเป็นต้น
แล้ว จึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า โรคใหญ่ของท่าน เราได้เยียวยาแล้ว ท่านจง

356
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 357 (เล่ม 1)

ให้บำเหน็จแก่เรา. บุรุษนั้น พึงค่อนขอด พึงคัดค้าน และพึงติเตียนนายแพทย์
อย่างนี้ว่า หมอโง่นี้พูดอะไร ได้ยินว่าโรคชนิดไหนของเรา ซึ่งหมอโง่นี้ได้
เยียวยาแล้ว, หมอโง่นี้ทำทุกข์ให้เกิดแก่เรา และทำให้เราต้องเสียเลือดไป
มิใช่หรือ ดังนี้ และไม่พึงรู้คุณของหมอนั้น ข้อนี้ ชื่อแม้ฉันใด, ถ้าเมื่อ
วีติกกมโทษยังไม่เกิดขึ้น พระศาสดา พึงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกไซร้
พระองค์ไม่พึงพ้นจากอนิฏฐผล มีความค่อนขอดของผู้อื่นเป็นต้น และชน
ทั้งหลายจะไม่พึงรู้กำลังพระปรีชาสามารถของพระองค์ ฉันนั้นนั่นแล และ
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติแล้ว จะพึงกำเริบ คือไม่ตั้งอยู่ในสถานเดิม. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ตาว สารีปุตฺต สตฺถา สาวภานํ
ฯ เป ฯ ปาตุภวนฺติ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลอันไม่ควร
อย่างนี้แล้ว จึงตรัสคำว่า ยโต จ โข สารีปุตฺต เป็นอาทิ เพื่อแสดงกาลอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต คือเมื่อใด มีคำอธิบายว่า ในกาลใด.
คำที่เหลือ พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล.*
อีกนัยหนึ่ง ในคำว่า ยโต เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-
วีติกกมโทษอันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ ย่อมมีปรากฏในสงฆ์
ในกาลชื่อใด, ในกาลนั้น พระศาสนา ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวก
ย่อมทรงแสดงปาฏิโมกข์, เพราะเหตุไร ? เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษเหล่านั้น
นั่นแล อันถึงซึ่งการนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงบัญญัติอย่างนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้น และเป็นผู้มี
อานุภาพปรากฏ ในสัพพัญญูวิสัยของพระองค์ ย่อมถึงสักการะ และสิกขาบท
ของพระองค์นั้นย่อมไม่กำเริบ คือตั้งอยู่ในสถานเดิม, เปรียบเหมือนนายแพทย์
ผู้ฉลาดเยียวยาหัวฝีที่เกิดขึ้นแล้วด้วยการผ่าตัดพอกยาพันแผลและชะล้างเป็นต้น

357
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 358 (เล่ม 1)

ทำให้สบายมีผิวดี เป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้นเลย และเป็นผู้มีอานุภาพ
ปรากฏในเพราะกรรมแห่งอาจารย์ของตน ย่อมประสบสักการะฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมเป็นที่ตั้งของอาสวะ อกาลและกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงกาลยังไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นแล
จึงตรัสคำว่า น ตาว สารปุตฺต อิเธกจฺเจ เป็นต้น. ในคำว่า ตาว
เป็นต้นนั้น บททั้งหลายที่มีอรรถตื้น พึงทราบด้วยอำนาจพระบาลีนั่นแล.
ส่วยการพรรณนาบทที่ไม่ตื้นดังต่อไปนี้ :-
[อธิบายเหตุที่ให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า รัตตัญญู เพราะอรรถว่า รู้ราตรีนาน คือ
รู้ราตรีเป็นอันมากตั้งแต่วันที่ตนบวชมา, มีอธิบายว่า บวชมานาน. ความ
เป็นหมู่ด้วยพวกภิกษุผู้รู้ราตรีนาน ชื่อว่า รัตตัญญุมหัตตะ. อธิบายว่า
ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยพวกภิกษุผู้บวชมานาน.
*บัณฑิตพึงทราบว่า สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ
พระอุปเสนวังคันตบุตรบัญญัติ เพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้
ราตรีนาน ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น, จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น
ได้เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีพรรษาหย่อนสิบให้อุปสมบทอยู่ ตนมีพรรษาเดียว
จึงให้สัทธิวิหาริกอุปสมบทบ้าง. ครั้งนั้นแล พระผู้พระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิขาบทว่า ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนสิบ ไม่พึงให้
อุปสมบท, ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุนั้น๑ เมื่อสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๘๒-๘๕
๑ วิ. มหา. ๔ / ๑๐๙.

358
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 359 (เล่ม 1)

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้โง่เขลา ไม่
ฉลาด คิดว่า เราได้สิบพรรษา เรามีพรรษาครบสิบ จึงให้อุปสมบทอีก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติสิกขาบทแม้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาครบสิบ แต่เป็นผู้โง่ ไม่ฉลาด
ไม่พึ่งให้อุปสมบท ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฏ แก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ฉลาด สามารถมีพรรษาสิบหรือเกินกว่า
สิบ ให้อุปสมบทได้*. ในการที่สงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้ราตรีนาน
ได้ทรงบัญญัติสองสิกขาบท
บทว่า เวปุลฺลมหตฺตํ มีความว่า ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยความเป็น
หมู่แพร่หลาย จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยความเป็นหมู่
แพร่หลาย ด้วยอำนาจภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ ผู้ใหญ่และผู้ปานกลาง
เพียงใด เสนาสนะย่อมเพียงพอกัน อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ก็ยังไม่เกิด
ขึ้นในศาสนาเพียงนั้น แต่เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้ใหญ่ ด้วยความเป็นหมู่
แพร่หลายแล้ว อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้น. ทีนั้นพระศาสดาย่อม
ทรงบัญญัติสิกขาบท. สิกขาบทที่ทรงบัญญัติในเพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่
ด้วยความเป็นหมู่แพร่หลาย ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น บัณฑิตพึง
ทราบตามนัยนี้ว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงสำเร็จการนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน
เกินสองสามคืน ภิกษุนั้นต้องปาจิตตีย์. อนึ่ง ภิกษุณีใด พึงให้นางสิกขมานา
อุปสมบทตามปี นางภิกษุณีนั้น ต้องปาจิตตีย์. อนึ่ง นางภิกษุณีใด พึงให้
นางสิกขมานาอุปสมบทปีละ ๒ รูป นางภิกษุณีนั้น ต้องปาจิตตีย์
* วิ. มหา ๔/๑๑๐

359
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 360 (เล่ม 1)

บทว่า ลาภคฺคมหตฺตํ มีความว่า ความเป็นใหญ่เป็นยอดแห่งลาภ
อธิบายว่า ความเป็นใหญ่ใด เป็นยอด คือสูงสุดแห่งลาภ สงฆ์เป็นผู้ถึงความ
เป็นใหญ่นั้น อีกอย่างหนึ่ง ถึงความเป็นใหญ่ เลิศด้วยลาภก็ได้ อธิบายว่า
ถึงความเป็นหมู่ประเสริฐ และความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยลาภ จริงอยู่ สงฆ์ยัง
ไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศด้วยลาภเพียงใด อาสวัฏฐานิยธรรมอาศัยลาภ ก็ยัง
ไม่เกิดขึ้นเพียงนั้น แต่เมื่อถึงแล้ว ย่อมเกิดขึ้น. ทีนั้น พระศาสดาย่อมทรง
บัญญัติสิกขาบทว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงให้ของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภค
ด้วยมือของตนแก่อเจลกก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ภิกษุนั้นต้อง
ปาจิตตีย์. จริงอยู่ สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติเพราะสงฆ์
ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศด้วยลาภ.
บทว่า พาหุสจฺจมหตฺตํ มีความว่า ความที่พาหุสัจจะเป็นคุณใหญ่
จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความที่พาหุสัจจะเป็นคุณใหญ่เพียงใด อาสวัฏฐานิยธรรม
ก็ยังไม่เกิดขึ้นเพียงนั้น. แต่เมื่อถึงความที่พาหุสัจจะเป็นใหญ่แล้วย่อมเกิด
ขึ้น เพราะเหตุว่า บุคคลทั้งหลายเรียนพุทธวจนะนิกายหนึ่งบ้าง สองนิกาย
บ้าง ฯลฯ ห้านิกายบ้างแล้ว เมื่อใคร่ครวญโดยไม่แยบคาย เทียบเคียงรส
ด้วยรสแล้ว ย่อมแสดงสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย. ทีนั้น พระศาสดา
ย่อมทรงบัญญัติสิกขาบท โดยนัยเป็นต้นว่า อนึ่ง ภิกษุใด พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ฯลฯ ถ้าแม้น
สมณุทเทศพึงกล่าวอย่างนี้ไซร้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกาลไม่
เกิดและกาลเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะอย่างนี้แล้ว เมื่อ
จะทรงแสดงความไม่มีแห่งอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น แม้โดยประการทั้งปวง
ในสมัยนั้น จึงตรัสคำมีว่า นิรพฺพุโท หิ สารีปุตฺต เป็นต้น.

360