No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 262 (เล่ม 60)

ขอกะคฤหบดี ราชบุรุษและพราหมณ์มหาศาล
ได้ทองคำ ๗ ลิ่ม ทองคำ ๗ ลิ่มของพระองค์นั้นหาย
เสียแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงเศร้าโศกมาก.
ข้าแต่พระมหาราช บุรุษผู้เป็นทูตของพระองค์
เหล่านั้น ข้าพระองค์คิดรู้ด้วยใจว่า ไม่สามารถจะ
ปลดเปลื้องข้าพระองค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระองค์จึงไม่บอกแก่บุรุษเหล่านั้น.
ข้าแต่พระมหาราช ส่วนพระองค์ ข้าพระองค์
คิดรู้ด้วยใจว่า พระองค์สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระ-
องค์จากทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงกราบทูล
ให้พระองค์ทรงทราบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิกฺขมาโน ความว่า ขออยู่กะคฤหบดี
เป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า เต เม ความว่า เมื่อข้าพระองค์ข้ามแม่น้ำคงคา
ทองของพระองค์ ๗ ลิ่มหายเสียแล้ว คือตกไปในแม่น้ำคงคา. บทว่า ปุริสา เต
ความว่า ข้าแต่มหาราช บุรุษผู้เป็นทูตของพระองค์. บทว่า มนสานุวิจินฺติตา
ความว่า ข้าพระองค์รู้ว่าคนเหล่านั้น ไม่สามารถจะปลดเปลื้องข้าพระองค์ให้
พ้นจากทุกข์ได้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่
บอกทุกข์ของตนแก่เขาเหล่านั้น. บทว่า ปเวทยึ แปลว่า ได้แจ้งไว้แล้ว.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า
พระราชาผู้บำรุงรัฐกาสีใหญ่ มีพระหฤทัยเลื่อม
ใส ได้พระราชทานทองคำ ๑๔ แท่ง แก่พระโพธิสัตว์
นั้น.

262
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 263 (เล่ม 60)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตรูปมเย ความว่า ได้ทรงพระราชทาน
ทองคำ ๑๔ แท่งแก่พระโพธิสัตว์นั้น.
พระมหาสัตว์ถวายโอวาทแก่พระราชาแล้ว ให้ทรัพย์แก่อาจารย์บำเพ็ญ
กุศลมีทานเป็นต้น แม้พระราชากดำรงอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ครองราช
สมบัติโดยธรรม แล้วชนทั้งสองก็ไปตามยถากรรม.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตเป็นผู้ฉลาดในอุบาย แม้ในกาลก่อน
ตถาคตก็เป็นผู้ฉลาดในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชา
ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระอานนท์ อาจารย์ได้มาเป็นพระสารีบุตร ส่วน
มาณพ คือเราตถาคตนั่นแล.
จบอรรถกถาทูตชาดก

263
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 264 (เล่ม 60)

๖. กาลิงคโพธิชาดก
ว่าด้วยการพยากรณ์ที่อันเป็นชัยภูมิ
[๑๗๙๐] พระเจ้าจักพรรดิทรงพระนามว่ากาลิง-
คะ ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ทั่วแผ่นดินโดยธรรม ได้เสด็จ
ไปสู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์ ด้วยช้างทรงมีอานุภาพมาก.
[๑๗๙๑] การทวาชปุโรหิตชาวกาลิงครัฐ พิจาร-
ณาดูภูมิภาคแล้ว จึงประคองอัญชลี กราบทูลพระเจ้า
จักรพรรดิผู้เป็นบุตรแห่งดาบสชื่อกาลิงคะว่า
[๑๗๙๒] ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญพระองค์
เสด็จลงเถิด ภูมิภาคนี้อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นสมณะทรง
สรรเสริญแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้โดยยิ่ง มี
พระคุณหาประมาณมิได้ ย่อมไพโรจน์ ณ ภูมิภาคนี้.
[๑๗๙๓] หญ้าและเครือเถาทั้งหลายในภูมิภาค
ส่วนนี้ ม้วนเวียนโดยทักษิณาวัฏ ภูมิภาคส่วนนี้
เป็นที่ไม่หวั่นไหวแห่งแผ่นดิน (เมื่อกัลป์จะตั้งขึ้น
ย่อมตั้งขึ้นก่อนเมื่อกัลป์พินาศก็พินาศภายหลัง) ข้าแต่
พระมหาราชา ข้าพระองค์ได้สดับมาอย่างนี้.
[๑๗๙๔] ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นมณฑลแห่งแผ่นดิน
อันทรงไว้ซึ่งภูตทั้งปวง มีสาครเป็นขอบเขต ขอเชิญ
พระองค์เสด็จลง แล้วทรงกระทำการนอบน้อมเถิด
พระเจ้าข้า.

264
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 265 (เล่ม 60)

[๑๗๙๕] ช้างกุญชรตัวประเสริฐ เกิดในตระกูล
อุโบสถย่อมไม่เข้าไปใกล้ประเทศนั้นเลย ด้วยเหตุมี
ประมาณเท่านี้.
[๑๗๙๖] ช้างตัวประเสริฐนี้ เป็นช้างเกิดแล้วใน
ตระกูลอุโบสถโดยแท้ ถึงกระนั้น ก็ไม่อาจจะเข้าไป
ใกล้ประเทศมีประมาณเท่านี้ได้ ถ้าพระองค์ยังทรง
สงสัยอยู่ ก็จงทรงไสช้างพระที่นั่งไปเถิด.
[๑๗๙๗] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว
จึงทรงใคร่ครวญถ้อยคำของปุโรหิตผู้ชำนาญการพยา-
กรณ์ว่า เราจักรู้ถ้อยคำของปุโรหิตนี้ว่าจริงหรือไม่จริง
อย่างนี้แล้ว ทรงไสช้างพระที่นั่งไป.
[๑๗๙๘] ฝ่ายช้างพระที่นั่งนั้น ถูกพระราชา
ทรงไสไปแล้ว ก็เปล่งเสียงดุจนกกระเรียนแล้วถอย-
หลังทรุดคุกลง ดังอดทนภาระหนักไม่ได้.
[๑๗๙๙] ปุโรหิตภารทวาชะชาวกาลิงครัฐ รู้ว่า
ช้างพระที่นั่งสิ้นอายุแล้ว จึงรีบกราบทูลพระเจ้า-
กาลิงคะว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญเสด็จไปทรง
ช้างพระที่นั่งเชือกอื่นเถิด ช้างพระที่นั่งเชือกนี้สิ้นอายุ
แล้ว พระเจ้าข้า.
[๑๘๐๐] พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึง
รีบเสด็จไปทรงช้างพระที่นั่งเชือกใหม่ เมื่อพระราชา
เสด็จก้าวไปพ้นแล้ว ช้างพระที่นั่งที่ตายแล้วก็ล้มลง

265
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 266 (เล่ม 60)

ณ พื้นดินที่นั้นเอง ถ้อยคำของปุโรหิต ผู้ชำนาญ
การพยากรณ์เป็นอย่างใด ช้างพระที่นั่งเป็นอย่างนั้น.
[๑๘๐๑] พระเจ้ากาลิงคะได้ตรัสกะพราหมณ์
ภารทวาชะ ชาวกาลิงครัฐอย่างนี้ว่า ท่านเป็นสัมพุทธะ
รู้เห็นเหตุทั้งปวงโดยแท้.
[๑๘๐๒] กาลิงคพราหมณ์ เมื่อไม่รับคำสรร-
เสริญนั้นจึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา ข้า
พระองค์เป็นผู้ชำนาญการพยากรณ์ชื่อว่าพุทธะผู้รู้เหตุ
ทั้งปวงก็จริง.
[๑๘๐๓] แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระสัพ-
พัญญูด้วย เป็นพระสัพพวิทูด้วย ย่อมรู้เหตุทั้งปวงด้วย
พระญาณเป็นเครื่องกำหนด ข้าพระองค์รู้เหตุทั้งปวง
ได้เพราะกำลังแห่งอาคม พระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้เหตุ
ทั้งปวงได้ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
[๑๘๐๔] พระเจ้ากาลิงคะ ทรงนำเอามาลาและ
เครื่องลูบไล้พร้อมด้วยดนตรีต่าง ๆ ไปบูชาพระมหา-
โพธิ์แล้ว รับสั่งให้กระทำกำแพงแวดล้อม.
[๑๘๐๕ ] รับสั่งให้เด็ดดอกไม้ประมาณหกหมื่น
เล่มเกวียนมาบูชาโพธิมณฑลอันเป็นอนุตริยะ แล้ว
เสด็จกลับ.
จบกาลิงคโพธิชาดกที่ ๖

266
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 267 (เล่ม 60)

อรรถกถากาลิงคชาดก*
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-
ปรารภการบูชามหาโพธิ์ ที่พระอานนท์เถระการทำแล้ว ตรัสพระธรรม
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชา กาลิงฺโค จกฺกวตฺติ ดังนี้.
ความพิสดารว่า พระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปตามชนบท เพื่อ
ประโยชน์จะทรงสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวกรุงสาวัตถีต่างถือของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้นไปยังพระเชตวัน ไม่ได้ปูชนียสถานอย่างอื่นไปวางไว้ที่ประตู
พระคันธกุฎี ด้วยเหตุนั้น เขาก็มีความปราโมทย์กันอย่างยิ่ง. ท่านอนาถปิณฑิก
มหาเศรษฐีทราบเหตุนั้นแล้ว จึงไปยังสำนักพระอานนท์เถระ ในเวลาที่
พระตถาคตเสด็จมาพระเชตวัน กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อพระตถาคต
เสด็จหลีกจาริกไป พระวิหารนี้ไม่มีปัจจัย มนุษย์ทั้งหลายไม่มีสถานที่บูชา
ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ขอโอกาสเถิดท่านเจ้าข้า ขอท่านจงกราบทูล
ความเรื่องนี้แด่พระตถาคต แล้วจงรู้ที่ที่ควรบูชาสักแห่งหนึ่ง.
พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง. พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.
พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า
ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑. พระอานนทเถระทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์
ได้หรือ. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะ
ธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สำหรับอุทเทสิกเจดีย์
ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้า
บาลีเป็น กาลิงคโพธิชาดก*

267
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 268 (เล่ม 60)

อาศัยเป็นที่ตรัสรู้ ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้ว
ก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน. พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป พระมหาวิหารเชตวันหมดที่พึ่งอาศัย มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ได้สถานที่เป็นที่บูชา ข้าพระองค์จักนำพืชจากต้นมหาโพธิมาปลูกที่ประตู
พระเชตวัน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดีแล้วอานนท์ เธอจงปลูกเถิด
เมื่อเป็นเช่นนั้น ในพระเชตวันก็จักเป็นดังตถาคตอยู่เป็นนิตย์. พระอานนท์เถระ
บอกแก่พระเจ้าโกศล อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา
เป็นต้น ให้ขุดหลุม ณ ที่เป็นที่ปลูกต้นโพธิที่ประตูพระเชตวัน แล้วกล่าวกะ
พระมหาโมคคัลลานเถระว่า ท่านขอรับ กระผมจักปลูกต้นโพธิที่ประตูพระ-
เชตวัน ท่านช่วยนำเอาลูกโพธิสุกจากต้นมหาโพธิให้กระผมทีเถิด.
พระมหาโมคคัลลานเถระรับว่า ดีละ แล้วเหาะไปยังโพธิมณฑล
เอาจีวรรับลูกโพธิที่หล่นจากขั้วแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน ได้แล้วนำมาถวายพระ-
อานนทเถระ. พระอานนทเถระได้แจ้งความพระเจ้าโกศลเป็นต้นว่า เราจัก
ปลูกต้นโพธิ์ในที่นี้. พระเจ้าโกศลให้ราชบุรุษถือเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างเสด็จ
มาพร้อมด้วยบริวารใหญ่ในเวลาเย็น. อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี มหาอุบาสิกา
วิสาขา และผู้มีศรัทธาอื่น ๆ ก็ได้ทำเช่นนั้น.
พระอานนทเถระ ตั้งอ่างทองใบใหญ่ไว้ในที่เป็นที่ปลูกต้นโพธิ ให้
เจาะก้นอ่างแล้วให้ลูกโพธิสุกแด่พระเจ้าโกศล ทูลว่า มหาบพิตร พระองค์
จงปลูกโพธิสุกนี้เถิด พระเจ้าโกศลทรงพระดำริว่า ความเป็นพระราชามิได้
ดำรงอยู่ตลอดไป ควรที่เราจะให้อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีปลูกต้นโพธินี้ ทรง
ดำริดังนี้ แล้วได้วางลูกโพธิสุกนั้นไว้ในมือของมหาเศรษฐี. อนาถปิณฑิก
มหาเศรษฐีรวบรวมเปือกตมที่มีกลิ่นหอมแล้ว ฝังลูกโพธิสุกไว้ในเปือกตมนั้น

268
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 269 (เล่ม 60)

พอลูกโพธิพ้นมือมหาเศรษฐี เมื่อชนทั้งปวงกำลังแลดูอยู่ ได้ปรากฏลำต้น
โพธิประมาณเท่างอนไถ สูงห้าสิบศอก แตกกิ่งใหญ่ห้ากิ่ง ๆ ละห้าสิบศอก
คือในทิศทั้งสี่และเบื้องบน ต้นโพธินั้นเป็นต้นไม้ใหญ่กว่าต้นไม้ใหญ่ในป่า
ตั้งขึ้นในทันใดนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.
พระราชารับสั่งให้เอาหม้อทองคำและหม้อเงิน ๘๐๐ หม้อ ใส่น้ำหอม
เต็ม ประดับด้วยดอกบัวเขียว สูงขึ้นมาหนึ่งศอกเป็นต้น ตั้งเป็นแถวแวดล้อม
ต้นมหาโพธิ แล้วรับสั่งให้ทำแท่นสำเร็จด้วยรัตนะเจ็ด โปรยปรายผสมทอง
สร้างกำแพงล้อมรอบ ทำซุ้มประตูสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เครื่องสักการะได้มีเป็น
อันมาก. พระอานนทเถระเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ที่ข้าพระองค์ปลูก เข้าสมาบัติ
ที่ข้าพระองค์เข้า ณ โคนต้นมหาโพธิ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน.
พระศาสดาตรัสว่า พูดอะไร อานนท์ เมื่อเรานั่งเข้าสมาบัติที่ได้เข้าแล้ว ณ
มหาโพธิมณฑล ประเทศอื่นก็ไม่อาจที่จะทรงอยู่ได้. พระอานนท์เถระกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน ขอพระองค์จง
ใช้สอยโคนต้นโพธิ์นั้น ด้วยความสุขเกิดแก่สมาบัติ โดยกำหนดว่าใกล้ภูมิ-
ประเทศนี้เถิด. พระศาสดาทรงใช้สอยโคนต้นโพธินั้น ด้วยความสุขเกิดแต่
สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง.
พระอานนท์เถระถวายพระพรแด่พระเจ้าโกศลเป็นต้น ให้ทำการฉลอง
ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น
ต้นไม้ที่พระอานนท์ปลูกไว้. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า
ท่านพระอานนท์ เมื่อตถาคตยังดำรงอยู่ ให้ปลูกต้นโพธิ์แล้วบูชาอย่างมากมาย
พระเถระมีคุณมากน่าอัศจรรย์จริง. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

269
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 270 (เล่ม 60)

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
อานนท์ก็ได้พามนุษย์ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ พร้อมด้วยทวีปบริวาร ให้นำของหอม
และดอกไม้เป็นอันมากไปกระทำการฉลองต้นโพธิ์ ณ มหาโพธิมณฑลเหมือนกัน
ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาเล่าดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล พระเจ้ากาลิงคราชเสวยราชสมบัติอยู่ในทันตปุรนคร
แคว้นกาลิงคะ. พระองค์มีพระราชโอรสของพระองค์ คือ มหากาลิงคะ
องค์หนึ่ง จุลลกาลิงคะองค์หนึ่ง ในสององค์นั้น องค์พี่ พวกโหรทำนายว่า
จักได้ครองราชสมบัติ เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไปแล้ว แต่องค์น้องพวกโหร
ทำนายว่า จักบวชเป็นฤาษีเที่ยวภิกขาจาร แต่โอรสขององค์น้องจักได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ.
ต่อมาภายหลัง เมื่อพระราชบิดาล่วงลับไป พระราชโอรสองค์พี่เป็น
พระราชา องค์น้องเป็นอุปราช. อุปราชนั้น ได้มีมานะขึ้นเพราะบุตรเป็นเหตุว่า
ได้ยินว่า ลูกของเราจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. พระราชานั้นทรงอดทนอยู่
ไม่ได้จึงรับสั่งกะอำมาตย์รับใช้คนหนึ่งว่า เจ้าจงจับเจ้าจุลลกาลิงคะ. อำมาตย์
นั้นไปกราบทูลว่า ข้าแต่พระกุมาร พระราชาประสงค์จะจับพระองค์ ขอจง
รักษาชีวิตของพระองค์ไว้. อุปราชได้เอาของสามอย่างของพระองค์ คือ
พระราชลัญจกร ผ้ากัมพลเนื้อละเอียด และพระขรรค์ แสดงแก่อำมาตย์รับใช้
แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายพึงให้ราชสมบัติแก่บุตรของเราด้วยสัญญานี้ แล้ว
เสด็จเข้าป่า สร้างอาศรมในภูมิประเทศที่รื่นรมย์ บวชเป็นฤาษีอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ.
แม้ในแคว้นมัททราช พระอัครมเหสีของพระเจ้ามัททราชในสาคลนคร
ประสูติพระธิดา. พวกโหรทำนายพระธิดาว่า พระธิดานี้จักเที่ยวภิกขาจาร

270
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 271 (เล่ม 60)

เลี้ยงชีพ แต่พระโอรสของพระนางจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. พระราชา
ชาวชมพูทวีปได้สดับเหตุดังนั้น จึงมาล้อมพระนครพร้อมกัน. พระเจ้า
มัททราชทรงดำริว่า ถ้าเราให้ธิดานี้แก่พระราชาองค์หนึ่ง พระราชาที่เหลือ
ก็จักโกรธ เราจักรักษาธิดาของเราไว้ จึงพาพระธิดาและพระอัครมเหสีปลอม
พระองค์หนีเข้าป่า สร้างอาศรมอยู่ทางเหนืออาศรมของกาลิงคกุมาร เลี้ยงชีพ
ด้วยมวลผลาหารอยู่ ณ ที่นั้น. พระชนกชนนีทรงดำริว่า เราจักรักษาธิดาอยู่
ในอาศรม แล้วไปหาผลาหาร. ในเวลาที่พระชนกชนนีไป พระธิดาได้เอา
ดอกไม้ต่าง ๆ มาทำเป็นเทริดดอกไม้แล้ววางไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา จนเกิด
เป็นเหมือนคั่นบันได. ที่นั้นมีต้นมะม่วงที่งามชอุ่มอยู่ต้นหนึ่ง พระธิดาขึ้นเล่น
บนต้นมะม่วง แล้วปาเทริดดอกไม้ไป.
วันหนึ่ง เทริดดอกไม้ไปคล้องพระเศียรของกาลิงคกุมารผู้กำลัง
สรงสนานอยู่ในแม่น้ำคงคา. พระกาลิงคกุมารแลดูแล้ว ทรงพระดำริว่า เทริด
ดอกไม้นี้ หญิงคนหนึ่งกระทำ แต่ไม่ใช่หญิงแก่ทำ เป็นหญิงสาวทำ เราจัก
ตรวจตราดูก่อน จึงไปเหนือน้ำคงคาด้วยอำนาจกิเลส ได้สดับเสียงของพระธิดา
ผู้นั่งอยู่บนต้นมะม่วงร้องเพลงด้วยเสียงอันไพเราะ จึงเสด็จไปที่โคนต้นไม้
ทอดพระเนตรเห็นพระธิดา จึงตรัสถามว่า แม่นางผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่าน
เป็นใคร. พระธิดาตอบว่า เราเป็นมนุษย์. พระกุมารตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงลงมา. พระธิดาตรัสว่า นาย เราเป็นกษัตริย์ไม่อาจลงไปได้. พระกุมาร
ตรัสว่า ที่รัก ฉันเป็นกษัตริย์เหมือนกัน ท่านจงมาเถิด. พระธิดาตรัสว่า
นาย คนมิใช่เป็นกษัตริย์ได้ด้วยเหตุสักว่าถ้อยคำเท่านั้น ถ้าท่านเป็น
กษัตริย์ ขอท่านจงกล่าวมายาของกษัตริย์เถิด. ชนทั้งสองนั้นต่างกล่าวมายา
กษัตริย์กะกันและกัน. เมื่อชนทั้งสองอยู่ด้วยความรักใคร่ พระราชธิดาก็ตั้ง

271