No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 152 (เล่ม 60)

ครั้งนั้นความร้อนบังเกิดขึ้นในพระกายแห่งพระองค์ผู้ทรงตกอยู่ในอำนาจตัณหา
เมื่อสรีระทุกส่วน เร่าร้อนอยู่ กริยาที่วิ่งพล่านแห่งโลหิต ก็ทำท้อง
ให้กำเริบแล้วพลุ่งขึ้น ภาชนะอันหนึ่งเข้าอันหนึ่งออก พวกแพทย์สุดฝีมือที่จะ
ถวายการรักษาได้ครั้งนั้นการที่ท้าวเธอ ถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนได้เลื่องลือ
ไปทั้งพระนคร.
กาลนั้นพระโพธิสัตว์เรียนศิลปะสำเร็จจากเมืองตักกศิลา มาสู่สำนัก
บิดามารดา ในพระนครพาราณสี ฟังเรื่องของพระราชานั้น คิดว่าเราต้อง
ถวายการรักษา ไปสู่พระราชทวาร ให้กราบทูลว่า ได้ยินว่า มาณพผู้หนึ่ง
มาจะถวายการรักษาพระองค์ พระราชาตรัสว่า แม้ถึงพวกแพทย์ ผู้ทิศาปาโมกข์
ใหญ่ ๆ ยังไม่สามารถรักษาเราได้ มาณพหนุ่มจักสามารถได้อย่างไร พวกท่าน
พากันให้เสบียง แล้วปล่อยเขาไปเสียเถิด มาณพฟังพระดำรัสนั้นแล้ว กล่าวว่า
ข้าพเจ้าไม่มีเรื่องที่ต้องทำด้วยค่ากำนัลหมอเลย ข้าพเจ้าจักขอถวายการรักษา
โปรดให้เพียงค่ายาเท่านั้นแหละ พระราชาทรงสดับคำนั้น แล้วตรัสว่า ลองดูที
รับสั่งให้เรียกมาณพตรวจดูพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์จักถวายการรักษา ก็แต่ว่าพระองค์ทรง
โปรดบอกสมุฏฐานแห่งโรคแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า พระราชาทรงพอ
พระหทัยตรัสว่า เจ้าจักเอาสมุฏฐานไปทำไม จงบอกยาเท่านั้นเถิด กราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาหมอทราบว่า ความเจ็บนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุนี้
ย่อมการทำยาให้ถูกต้องกับความเจ็บนั้นได้พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ถูกต้อง
ละพ่อ เมื่อตรัสสมุฏฐานได้ตรัสเรื่องทั้งหมดตั้งต้นแต่ที่มาณพคนหนึ่งมาบอกว่า
จักเอาราชสมบัติในสามพระนครมาให้ แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เราเจ็บคราวนี้
เพราะตัณหา ถ้าเจ้าพอจะรักษาได้ ก็จงรักษาเถิด มาณพทูลถามว่า ข้าแต่
พระมหาราช พระองค์อาจได้พระนครเหล่านั้นด้วยการเศร้าโศกหรือ ตรัสว่า
ไม่อาจดอกพ่อ กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศก

152
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 153 (เล่ม 60)

พระเจ้าข้า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมละร่างกายของตน เป็นต้น ตลอดถึง
สวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมดไป แม้พระองค์จะยึดครองราช
สมบัติในพระนครทั้งสี่ได้ พระองค์ก็เสวยพระกระยาหารในสุวรรณภาชนะทั้งสี่
บรรทมเหนือพระที่ทั้งสี่ ทรงเครื่องประดับทั้งสี่พร้อมกันคราวเดียวไม่ได้ พระ-
องค์ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจตัณหา เพราะตัณหานี้ เมื่อเจริญขึ้นย่อมไม่ปล่อยให้
พ้นจากอุบายทั้งสี่ไปได้. พระมหาสัตว์ ครั้นถวายโอวาทพระราชาดังนี้แล้ว
เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า
เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ
บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้น
แล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้.
เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ
บุคคลนั้น ย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จ
บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็ย่อมได้ประสบกาม
ตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน
ย่อมจะเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น.
ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคนพาลมี
ปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที เหมือน
เขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น.
แม้จะให้สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า
ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คน
คนเดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ.

153
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 154 (เล่ม 60)

พระราชาทรงปราบชนะทั่วแผ่นดิน ทรงครอบ
ครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ทรงครอง
มหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้
มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก.
เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่ม
ด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา มีกาย
และใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็นโทษด้วยญาณ
ชนเหล่านั้นนั่นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม.
บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญา
ประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อน
ด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อม
กระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้.
ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรา-
รถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบ
ด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย.
ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า
ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่ดี ๆ มาทำ
รองเท้าขายได้ราคาแล้ว ย่อมมีความสุข เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่ง
กามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุข
ทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย.

154
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 155 (เล่ม 60)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามํ ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม.
บทว่า กามยมานสฺส แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตสฺส เจ ตํ สมิชฺฌติ
ความว่า สิ่งที่เขาปรารถนาย่อมสำเร็จ และย่อมเผล็ดผลแก่บุคคลนั้น. บทว่า
นํ ในคำว่า ตโต นํ อปรํ กาเม นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปรํ
เป็นบทแสดงส่วนอื่น. บทว่า กาเม เป็นพหุวจนะ ใช้ในอรรถแห่งทุติยา-
วิภัตติ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ถ้าเมื่อเขาปรารถนากาม สิ่งที่เขาปรารถนานั้น
ย่อมสำเร็จแก่เขาสมประสงค์ เมื่อสิ่งนั้นสำเร็จแล้ว เขายังปรารถนาต่อไปอีก
บุคคลนั้นเมื่อปรารถนาอยู่ ย่อมประสบคือได้รับกามกล่าวคือตัณหา เหมือน
บุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิดความอยากคือได้รับความกระ-
หายน้ำฉะนั้น. ตัณหามีรูปตัณหาเป็นต้นย่อมเจริญแก่บุคคลนั่นแล. บทว่า ควํว
แปลว่า เหมือนรูปโค. บทว่า สิงคิโน ได้แก่ เขาสัตว์ที่ผ่ายอดแล้วยกขึ้น.
บทว่า มนฺทสฺส แปลว่า ผู้มีปัญญาอ่อน. บทว่า พาลสฺส ได้แก่ ผู้ประกอบ
ด้วยพาลธรรม. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เขาโคย่อมเติบโตพร้อมกับร่างของ
ลูกโคตัวกำลังเติบโค ฉันใด กามตัณหาที่ยังไม่มาถึงก็ดี ความกระหายในกาม
ที่มาถึงแล้วก็ดี ย่อมเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปสำหรับอันธพาลชน. บทว่า สาลิยวกํ
ได้แก่ นาข้าวสาลี และนาข้าวเหนียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงธัญชาติหมด
มีข้าวสาลีและข้าวเหนียวเป็นต้น. ด้วยบทที่ ๒ ท่านแสดงถึงสัตว์ ๒ เท้าและ
สัตว์ ๔ เท้า. หรือด้วยบทที่ ๑ ท่านแสดงถึงสิ่งที่ไม่มีวิญญาณทั้งหมด ด้วยบท
นอกนี้ ท่านแสดงถึงสิ่งที่มีวิญญาณทั้งสิ้น. บทว่า ทตฺวาปิ แปลว่า แม้
ให้แล้ว ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า อาณาจักรทั้ง ๓ จงยกไว้ ถ้าว่า มาณพนั้น
ให้สิ่งอื่น ๆ หรือแผ่นดินทั้งสิ้น ที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ทั้งรัตนบุรี
แก่ใครแล้วไป สิ่งแม้มีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่สิ้นสุดแก่บุคคล

155
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 156 (เล่ม 60)

คนเดียวเท่านั้น นี้ชื่อว่าตัณหาให้เต็มได้โดยยากด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิติ
วิทฺธา สมํ จเร ความว่า บุรุษเมื่อรู้อย่างนี้ เป็นผู้ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา
บำเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์ พึงประพฤติให้สม่ำเสมอ. บทว่า โอรํ
ได้แก่ ถึงส่วนอันมีในภายใน. ด้วยบทนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่อิ่ม พึงปรารถนา
แม้ฝั่งแห่งสมุทรอีก ด้วยอาการอย่างนี้ท่านแสดงว่า ขึ้นชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นไปใน
อำนาจแห่งตัณหา เป็นอันเต็มได้โดยยาก. บทว่า ยาว เป็นบทกำหนดนับ
ตามอนิยม. บทว่า อนุสฺสรํ แปลว่า ระลึกถึงอยู่. บทว่า นาชฺฌคา แปลว่า
ย่อมไม่ประสบ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษมีใจระลึกถึงกาม
ทั้งหลาย แม้อันหาที่สุดไม่ได้ ย่อมไม่ประสบความอิ่ม ปรารถนาจะบรรลุถึงอยู่
นั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัณหาในกามทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง.
บทว่า ตโต นิวตฺตา ความว่า บุคคลเหล่าใดมีจิตและกายกลับจากวัตถุกาม
และกิเลสกามแล้ว เห็นโทษด้วยญาณนั่นแล อิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยปัญญา บุคคล
เหล่านั้นแลชื่อว่าย่อมอิ่ม. บทว่า ปญฺญาย ติตฺตีนํ เสฏฺฐํ คือความอิ่มด้วย
ปัญญานี้ ย่อมเป็นของประเสริฐเต็มที่. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า น โส กาเมหิ ตปฺปติ นี้ บาลีว่า ย่อมไม่ถูกกามทั้งหลายแผดเผา.
อธิบายว่า เพราะเหตุที่บุรุษผู้อิ่มด้วยปัญญา ย่อมไม่ถูกกามแผดเผา. บทว่า
น กุรุเต วสํ ความว่า เพราะตัณหาไม่อาจยังบุรุษเช่นนั้นให้อยู่ในอำนาจได้
ก็บุรุษนั้นนั่นแลเห็นโทษแห่งตัณหาแล้ว ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา
เหมือนวังวนแห่งสายน้ำ และเหมือนพระราชอัฑฒมาสก. บทว่า อปจิเนเถว
แปลว่า พึงกำจัดเสียเลย. บทว่า สมุทฺทมตฺโต คือมีประมาณสมุทร เพราะ
ประกอบด้วยปัญญาอันใหญ่. บุรุษนั้น ย่อมไม่เดือดร้อนคือไม่รุ่มร้อนด้วยกิเลส
กามทั้งหลาย เหมือนสมุทรไม่ร้อนแม้เพราะไฟใหญ่ฉะนั้น. บทว่า รถกาโร

156
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 157 (เล่ม 60)

แปลว่า ช่างหนัง. บทว่า ปริกนฺตํ แปลว่า ตัดแล้ว ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า
ช่างหนังตัดรองเท้า เว้นที่ที่หนังไม่เข้าลักษณะที่ถือเอาได้ ทำให้เป็นรองเท้า
ได้ค่ารองเท้า ย่อมได้รับความสุขฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณา
ด้วยปัญญาอันเสมือนกับศาสตราของช่างรองเท้า พึงถึงความสุขทางกายกรรม
วจีกรรมและมโนกรรมนั้น ที่เว้นจากแดนแห่งกาม อันเป็นเหตุให้ตนละแดน
กาม ปรารถนาเฉพาะสุขมีกายกรรมเป็นต้น ทุกอย่างที่ปราศจากความเร่าร้อน
พึงเจริญกสิณยังฌานให้เกิดละกามทั้งปวงเสีย.
ก็เมื่อพระมหาสัตว์กำลังกล่าวคาถานี้อยู่ ได้เกิดฌานมีโอทาตกสิณ
เป็นอารมณ์ เพราะหน่วงเอาพระเศวตฉัตรของพระราชาเป็นอารมณ์. แม้
พระราชาก็ทรงหายจากโรค พระองค์ทรงมีความยินดี เสด็จลุกจากพระที่บรรทม
มีพระดำรัสว่า พวกแพทย์เท่านี้ยังไม่อาจรักษาได้ แต่มาณพผู้เป็นบัณฑิต
ได้ทำเราให้ปราศจากโรคด้วยญาณวิสัยของตนได้ เมื่อจะทรงปราศรัยกับพระ-
โพธิสัตว์ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า
คาถาทั้งหมด ๘ คาถา ที่ท่านกล่าวแล้ว ขอ
ท่านจงรับเอาทรัพย์ทั้ง ๘,๐๐๐ นี้เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้
เป็นคำยังประโยชนให้สำเร็จ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐ ได้แก่ คาถา ๘ คาถา ที่ประกอบ
ด้วยโทษแห่งกาม ตั้งต้นแต่คาถาที่ ๒ ไป. บทว่า สหสฺสิยา แปลว่า ควรแก่
๑,๐๐๐. บทว่า ปฏิคฺคณฺห ความว่า จงรับเอาทรัพย์ ๘,๐๐๐. บทว่า สาเธตํ
ตว ภาสิตํ ความว่า คำที่ท่านกล่าวนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
พระมหาสัตว์ ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑๑ ว่า
ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อยทรัพย์พัน
หรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถาสุดท้าย ใจ
ของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม.

157
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 158 (เล่ม 60)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺฉิมํ นี้เป็นคาถาสุดท้ายว่า รถกาโรว
จมฺมสฺส. บทว่า กาเม เม นิรโต มโน ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
เมื่อข้าพระองค์กำลังกล่าวคาถาอยู่นั่นแล ใจไม่ยินดีทั้งในวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม
เพราะข้าพเจ้านั้น เมื่อกล่าวคาถายังฌานให้บังเกิดด้วยธรรมเทศนาของตนแล.
พระราชาทรงยินดีอย่างเหลือประมาณ ในเมื่อจะทรงสรรเสริญพระ-
มหาสัตว์ ได้ตรัสคาถาสุดท้ายว่า
มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหา อันยัง
ความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออกได้ มาณพนี้เป็นคนดี
เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขชนนึ ได้แก่ ยังทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น
ให้เกิด. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ กำหนดรู้แล้ว คือกำหนดตัด ตัดขาด
นำออกไป เมื่อสรรเสริญพระโพธิสัตว์จึงได้ตรัสอย่างนี้.
พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์
จงเป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติธรรมเถิด แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศ บวช
เป็นฤาษีเจริญพรหมวิหารอยู่จนตลอดชนมายุ แล้วไปเกิดในพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทำให้พราหมณ์นี้คลายความ
เศร้าโศกด้วยประการดังนี้ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้นได้
มาเป็นพราหมณ์นี้ ส่วนมาณพผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคตแล.
จบอรรถกถากามชาดก

158
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 159 (เล่ม 60)

๕. ชนสันธชาดก
ว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
[๑๖๔๙] พระเจ้าชนสันธะได้ตรัสอย่างนี้ว่า
เหตุที่จะทำให้จิตเดือดร้อนนั้นมีอยู่ ๑๐ ประการ บุคคล
ไม่กระทำเสียในกาลก่อนแล้ว ย่อมเดือดร้อนใน
ภายหลัง.
[๑๖๔๐] บุคคลเมื่อยังเป็นหนุ่ม ไม่ทำความ
พยายามยังทรัพย์ให้เกิดขึ้น ครั้นแก่ลงหาทรัพย์ไม่ได้
ย่อมเดือดร้อนภายหลังว่า เมื่อก่อนเราไม่ได้แสวงหา
ทรัพย์ไว้.
[๑๖๕๑] ศิลปะที่สมควรแก่ตน บุคคลใดไม่ได้
ศึกษาไว้ในกาลก่อน บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนใน
ภายหลังว่า เราไม่ได้ศึกษาศิลปะไว้ก่อน ผู้ไม่มีศิลปะ
ย่อมเลี้ยงชีพลำบาก.
[๑๖๕๒] ผู้ใดเป็นคนโกง ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราเป็นคนโง่ ส่อเสียด กินสินบน
ดุร้าย หยาบคาย ในกาลก่อน.
[๑๖๕๓] ผู้ใดเป็นคนฆ่าสัตว์ ผู้นั้นย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราเป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้าทุศีล
ประพฤติต่ำช้า ปราศจากขันติ เมตตาและเอ็นดูสัตว์
ในกาลก่อน.

159
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 160 (เล่ม 60)

[๑๖๕๔] ผู้ใดคบชู้ในภรรยาผู้อื่น ย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า หญิงที่ไม่มีใครหวงแหนมีอยู่เป็นอัน
มาก ไม่ควรที่เราจะคบหาภรรยาผู้อื่นเลย.
[๑๖๕๕] คนตระหนี่ ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
ว่าเมื่อก่อน ข้าวและน้ำของเรามีอยู่มากมาย เราก็มิได้
ให้ทานเลย.
[๑๖๕๖] ผู้ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา ย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราสามารถพอที่จะเลี้ยงดูมารดาและ
บิดาผู้แก่เฒ่าชราได้ ก็มิได้เลี้ยงดูท่าน.
[๑๖๕๗] ผู้ไม่ทำตามโอวาทบิดา ย่อมเดือดร้อน
ในภายหลังว่า เราได้ดูหมิ่นบิดาผู้เป็นอาจารย์สั่งสอน
ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู.
[๑๖๕๘] ผู้ไม่เข้าใกล้สมณพราหมณ์ ย่อม
เดือดร้อนในภายหลังว่า เมื่อก่อนเรามิได้ไปมาหาสู่
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีศีล เป็นพหูสูตเลย.
[๑๖๕๙] ผู้ใดไม่ประพฤติสุจริตธรรม ไม่เข้า
ไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ย่อมเดือดร้อนในภายหลังว่า
สุจริตธรรมที่ประพฤติแล้ว และสัตบุรุษอันเราไปมา
หาสู่แล้ว ย่อมเป็นความดี แต่เมื่อก่อนนี้เราไม่ได้
ประพฤติสุจริตธรรมไว้เลย.
[๑๖๖๐] ผู้ใดย่อมปฏิบัติเหตุเหล่านี้โดยอุบายอัน
แยบคาย ผู้นั้นเมื่อกระทำกิจที่บุรุษควรทำ ย่อมไม่
เดือดร้อนใจในภายหลังเลย.
จบชนสันธชาดกที่ ๕

160
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ – หน้าที่ 161 (เล่ม 60)

อรรถกถาชนสันธชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร มีพระพุทธ-
ประสงค์จะประทานโอวาทแก่พระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ทส ขลุมานิ ฐานานิ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลครั้งหนึ่ง พระเจ้าโกศลทรงมัวเมาด้วยอิส-
ริยยศหมกมุ่นอยู่ในความสุขที่เกิดแต่กิเลส ไม่ปรารถนาจะตัดสินคดี แม้การ
บำรุงพระพุทธเจ้า ก็ทรงลืมเสีย วันหนึ่ง พระองค์ทรงระลึกถึงพระทศพล
ทรงดำริว่า จักถวายบังคมพระศาสดา พอเสวยกระยาหารเช้าแล้ว เสด็จขึ้น
พระราชยานไปพระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วประทับนั่ง ลำดับนั้น
พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า มหาบพิตร นานมาแล้ว พระองค์มิได้เสด็จมา
เพราะเหตุไร พระเจ้าโกศลทูลว่า เพราะข้าพระองค์มีราชกิจมากพระเจ้าข้า
ไม่มีโอกาสที่จะมาเฝ้าพระองค์ ตรัสว่า มหาบพิตร เมื่อพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญู
ผู้ให้โอวาทเช่นเรา อยู่ในวิหารที่ใกล้ ไม่ควรที่พระองค์จะประมาท วิสัย
พระราชาต้องไม่ประมาทในราชกิจทั้งหลาย ดำรงพระองค์เสมอด้วยมารดาบิดา
ของชาวแว่นแคว้น ละอคติเสียครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรมจึงจะควร
เพราะเมื่อพระราชาประพฤติธรรม แม้บริษัทของพระองค์ก็ประพฤติธรรม ข้อที่
เมื่อเราตถาคตสั่งสอนอยู่ พระองค์ครองราชสมบัติโดยธรรม นั้นไม่น่าอัศจรรย์
โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้ไม่มีอาจารย์สั่งสอน ก็ยังตั้งอยู่ในสุจริตธรรม
สามประการ แสดงธรรมแก่มหาชน ตามความรู้ของตน พาบริษัทไปสวรรค์
ได้ พระเจ้าโกศลทูลอาราธนาให้ตรัสเรื่องราว พระพุทธองค์ทรงนำอดีตนิทาน
มาตรัสเล่า ดังต่อไปนี้

161