No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 901 (เล่ม 4)

โภชนปฏิสังยุตต์ ๓๐ สิกขาบท
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๒๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต โดย
ไม่เอาใจใส่ ทำอาการดุจทิ้งเสียง.
พระบัญญัติ
๑๗๒. ๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาต
โดยเอื้อเฟื้อ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
บิณฑบาตโดยไม่เคารพ ทำอาการดุจทิ้งเสีย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๒๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต พลาง
แลไปในที่นั้น ๆ เมื่อเขากำลังเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี
หารู้สึกตัวไม่. . .

901
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 902 (เล่ม 4)

พระบัญญัติ
๑๗๓. ๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องในบาตร
รับบิณฑบาต.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงแลดูบาตรรับบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
รับบิณฑบาตพลางเหลียวแลไปในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๒๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาต รับ
แต่สูปะเป็นส่วนมาก . . .
พระบัญญัติ
๑๗๔. ๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตมี
สูปะเสมอกัน.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑ สูปะทำด้วย
ถั่วเหลือง ๑ ที่จับได้ด้วยมือ.
อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตมีสูปะพอสมกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
รับแต่สูปะอย่างเดียวเป็นส่วนมาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

902
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 903 (เล่ม 4)

อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ รับกับข้าวต่างอย่าง ๑
รับของญาติ ๑ รับของผู้ปวารณา ๑ รับเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมา
ด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๒๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์รับบิณฑบาตถึงล้น
บาตร...
พระบัญญัติ
๑๗๕. ๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตจด
เสมอขอบบาตร.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร ภิกษุใดอาศัยความไม่
เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนล้น ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัม-
มิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ขันภกตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
วรรคที่ ๓ จบ

903
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 904 (เล่ม 4)

วรรคที่ ๔ สักกัจจวรรค
สิกขาบทที่ ๑
[๘๓๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตโดยไม่
เอาใจใส่ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน . . .
พระบัญญัติ
๑๗๖. ๓๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาต
โดยเอื้อเฟื้อ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตโดยไม่รังเกียจ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ฉันบิณฑบาตโดยรังเกียจ ทำอาการดุจไม่อยากฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกันมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒
[๘๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตพลาง
เหลียวแลไปในที่นั้น ๆ เมื่อเขาเกลี่ยบิณฑบาตลงก็ดี เมื่อเกลี่ยเสร็จแล้วก็ดี หา
รู้สึกตัวไม่ . . .
พระบัญญัติ
๑๗๗. ๓๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักจ้องดูอยู่ในบาตร
ฉันบิณฑบาต.

904
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 905 (เล่ม 4)

สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารพึงแลดูในบาตร ฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความ
ไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตพลางแลดู ไปในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑
อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓
[๘๓๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตเจาะลง
ในที่นั้น...
พระบัญญัติ
๑๗๘. ๓๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตไม่
แหว่ง.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตเกลี่ยให้เสมอ ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ฉันบิณฑบาตเจาะลงในที่นั้น ๆ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ด้วย ๑ อาพาธ ๑ ตักให้ภิกษุอื่น เว้า
แหว่ง ๑ ตักเกลี่ยลงในภาชนะอื่นแหว่ง ๑ ตักสูปะแหว่งเว้า ๑ มีอันตราย ๑
วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ

905
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 906 (เล่ม 4)

สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔
[๘๓๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาต ฉัน
แต่กับอย่างเดียวมาก . . .
พระบัญญัติ
๑๗๙. ๓๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักฉันบิณฑบาตมี
สูปะเสมอกัน.
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า สูปะ มีสองชนิด คือ สูปะทำด้วยถั่วเขียว ๑ สูปะทำด้วย
ถั่วเหลือง ๑ ที่จับได้ด้วยมือ.
อันภิกษุพึงฉันบิณฑบาตมีสูปะพอดีกัน ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ
ฉันแต่สูปะอย่างเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ฉันกับข้าวอย่างอื่น ๆ ๑
ฉันของญาติ ๑ ฉันของคนปวารณา ๑ ฉันเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่าย
มาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้อง
อาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕
[๘๓๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ฉันบิณฑบาตขยุ้มลง
แต่ยอด . . .

906
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 907 (เล่ม 4)

พระบัญญัติ
๑๘๐. ๓๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขยุ้มลงแต่ยอด
ฉันบิณฑบาต.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงขยุ้งลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อ
เฟื้อขยุ้มลงแต่ยอดฉันบิณฑบาต ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ กวาดตะล่อมข้าวที่เหลือ
เล็กน้อยรวมเป็นคำแล้วเปิบฉัน ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๓๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์อาศัยความอยากได้
มากกลบแกงบ้าง กับข้าวบ้าง ด้วยข้าวสุก . . .
พระบัญญัติ
๑๘๑. ๓๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่กลบแกงก็ดี
กับข่าวก็ดี ด้วยข้าวสุก อาศัยความอยากได้มาก.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุผู้ฉันอาหารไม่พึงกลบแกง หรือกับข้าว ด้วยข้าวสุกเพราะ
อยากจะได้มาก ภิกษุใดอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก
เพราะอยากจะได้มาก ต้องอาบัติทุกกฏ.

907
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 908 (เล่ม 4)

อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ เจ้าของกลบถวาย ๑ ไม่ได้มุ่งอยาก
ได้มาก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน
[๘๓๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ขอกับข้าวบ้าง ข้าว
สุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ชาวบ้านพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
ว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง
เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า กับข้าวหรือข้าวสุกที่ดี ใครจะไม่พอใจ ของ
ที่มีรสอร่อยใครจะไม่ชอบใจ ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเพ่งโทษติเตียน
โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย...ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน
เล่า . . . แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประ โยชน์แก่ตนมาฉัน จริง
หรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

908
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 909 (เล่ม 4)

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ขอกับข้าวบ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า การ
กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๘๒. ๓๗. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ขอสูปะก็ดี
ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขอข้าวแกงฉัน จบ
เรื่องพระอาพาธ
[๘๓๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายอาพาธ พวกภิกษุผู้พยาบาล
ได้ถามภิกษุทั้งหลายผู้พาธว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านยังพอทนได้หรือ ยัง
พอให้อัตภาพเป็นได้หรือ
ภิกษุอาพาธทั้งหลายตอบว่า อาวุโสทั้งหลายเมื่อก่อนพวกผมขอสูปะ
บ้าง ข้าวสุกบ้าง เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้ พวกผมมีความผาสุกเพราะเหตุ
นั้น แต่บัดนี้พวกผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จึงไม่ขอ
เพราะเหตุนั้น พวกผมจึงไม่มีความผาสุก
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

909
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 910 (เล่ม 4)

ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในพระเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุก
ก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า
ดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๘๒. ๓๗. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จัก
ไม่ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน .
เรื่องพระอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่อาพาธ ไม่พึงขอสูปะ หรือข้าวสุก เพื่อประโยชน์แก่ตน
มาฉัน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ขอสูปะก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์
แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ขอต่อญาติ ๑ ขอต่อคน
ปวารณา ๑ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ มีอันตราย
๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สักกัจจวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ

910