No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 831 (เล่ม 4)

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๗๕๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารานของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรกำลังนอนอยู่บนเตียงนอนอันสูง. พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จจาริกตามเสนาสนะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก ผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ๆ ได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกลเทียว
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จทอดพระเนตรเตียงนอนของข้าพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าข้า.
จึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับจากที่นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทราบโมฆบุรุษเพราะที่อยู่อาศัย ครั้นแล้ว
ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยาย ...แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓๖. ๕. อนึ่ง ภิกษุ ภิกษุผู้ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี ใหม่ พึงทำ
ให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ เธอทำ
ให่ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้ตัดเสีย.
เรื่องอุปนันทศากยบุตร จบ

831
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 832 (เล่ม 4)

สิกขาบทวิภังค์
[๗๕๖] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายถึงการทำขึ้น.
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน
ขา ๑ เตียงมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑
เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑
ตั่งมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรด
แม่แคร่ ๑.
บทว่า ผู้ทำให้ คือ ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี.
คำว่า พึงทำให้มีแท้เพียง ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต เว้นไว้แต่
แม่แคร่เบื้องต่ำ คือ ยกเว้นแม่แคร่เบื้องต่ำ.
ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เกินประมาณนั้น เป็นทุกกฏในประโยค
เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้เตียงตั่งนั้นมา ต้องตัดให้ได้ประมาณก่อน จึงแสดง
อาบัติตก.
บทภาชนีย์
จตุกปาจิตตีย์
[๗๕๗] เตียงตั่ง คนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
เตียงตั่ง ตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เตียงตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ คนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เตียงตั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

832
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 833 (เล่ม 4)

ทุกะทุกกฏ
ภิกษุทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
ภิกษุได้เตียงตั่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๕๘] ทำเตียงตั่งได้ประมาณ ๑ ทำเตียงตั่งหย่อนกว่าประมาณ ๑
ได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำเกินประมาณมาตัดเสียก่อนแล้ว ใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
มัญจสิกขาบทที่ ๕
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังนี้ :-
ปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า เฉทนกะ มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
ในคำว่า ฉินฺทิตฺวา ปริภุญฺชติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุ
ไม่ประสงค์จะตัด จะฝังลงในพื้นดินแสดงประมาณไว้ข้างบน หรือถมพื้นดิน
ให้สูงขึ้นแล้วใช้สอย หรือจะยกขึ้นวางบนคานกระทำให้เป็นแคร่ใช้สอย ควร
ทุกอย่าง. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖.
มัญจสิกขาบทที่ ๕ จบ

833
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 834 (เล่ม 4)

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๕๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น พวกชาวบ้านเที่ยวไปทาง
วิหารเห็นเข้าแล้ว ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น เหมือนพวก
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ทำเทียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า...
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่น จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ให้ทำเตียงบ้าง ตั่งบ้าง ยัดด้วยนุ่นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใส
ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

834
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 835 (เล่ม 4)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๑๓๗. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด ให้ทำเตียงก็ดี ตั่งก็ดี เป็นของ
หุ้มนุ่น เป็นปาจิตตีย์ ที่ให้รื้อเสีย.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๖๐] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .
นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เตียง ได้แก่เตียง ๔ ชนิด คือ เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าใน
ขา ๑ เตียงมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ เตียงมีขาดังก้ามปู ๑
เตียงมีขาจรดแม่แคร่ ๑.
ที่ชื่อว่า ตั่ง ได้แก่ตั่ง ๔ ชนิด คือ ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขา ๑
ตั่งมีแม่แคร่ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันกับขา ๑ ตั่งมีขาดังก้ามปู ๑ ตั่งมีขาจรด
แม่แคร่ ๑.
ที่ชื่อว่า นุ่น ได้แก่นุ่น ๓ ชนิด คือ นุ่นเกิดจากต้นไม้ ๑ นุ่นเกิด
จากเถาวัลย์ ๑ นุ่นเกิดจากดอกหญ้าเลา ๑.
บทว่า ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เป็นทุกกฏในประโยค
เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ของมา ต้องรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก.

835
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 836 (เล่ม 4)

บทภาชนีย์
จตุกปาจิตตีย์
[๗๖๑] เตียงตั่งคนทำค้างไว้ แล้วทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เตียงตั่งตนทำค้างไว้ แล้วใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เตียงตั่งคนอื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เตียงตั่งคนอื่นทำค้างไว้ ใช้คนอื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ทำเองก็ดี ใช้คนอื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ได้เตียงตั่งอันคนอื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๖๒] ทำสายรัดเข่า ๑ ทำประคดเอว ๑ ทำสายโยกบาตร ๑ ทำ
ถุงบาตร ๑ ทำผ้ากรองน้ำ ๑ ทำหมอน ๑ ได้เตียงตั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมา
ทำลายก่อนใช้สอย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
ตูโลนัทธสิกขาบทที่ ๖
วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๖ พึงทราบดังนี้:-
เตียงและตั่งที่ชื่อว่าหุ้มนุ่น เพราะอรรถว่า เป็นที่มีนุ่นถูกหุ้มไว้. มี
คำอธิบายว่า ภิกษุยัดนุ่นแล้วหุ้มด้วยผ้าลาดพื้นข้างบน. คำที่เหลือในสิกขาบท
นี้ ตื้นทั้งนั้น. สิกขาบทนี้มีสมุฏฐาน ๖.
ตูโลนันธสิกขาบทที่ ๖ จบ

836
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 837 (เล่ม 4)

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๗๖๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว พระฉัพพัคคีย์ทราบ
ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มี
ประมาณ ให้ห้อยลงข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง แห่งเตียงบ้าง แห่งตั่งบ้าง
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระฉัพพัคคีย์จึงได้ใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า พวกเธอใช้ผ้าสำหรับนั่งไม่มีประมาณ จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ใช้ผ้าปูนั่งไม่มีประมาณเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้ :-

837
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 838 (เล่ม 4)

พระบัญญัติ
๑๓๘. ๗. ก. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง ต้องให้ทำ
ให้ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบ
ครึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไป เป็นปาจิตตีย์ที่ให้
ตัดเสีย.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระอุทายี
[๗๖๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระอุทายีเป็นผู้มีร่างกายใหญ่ ท่าน
ปูผ้าสำหรับนั่งลงตรงเบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งดึงออกอยู่โดย
รอบ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอุทายีในขณะนั้นว่า ดูก่อนอุทายี
เพราะเหตุไร เธอปูผ้าสำหรับนั่งแล้ว จึงดึงออกโดยรอบ เหมือนช่างหนังเก่า.
ท่านพระอุทายีกราบทูลว่า จริงดั่งพระดำรัส พระพุทธเจ้าข้า เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตผ้าสำหรับนั่ง แก่ภิกษุทั้งหลายเล็กเกินไป.
พระพุทธานุญาตพิเศษ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชายแห่งผ้าสำหรับนั่งเพิ่มอีกคืบหนึ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้
ว่าดังนี้:-

838
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 839 (เล่ม 4)

พระอนุบัญญัติ
๑๓๘. ๗. ข. อนึ่ง ภิกษุผู้ให้ทำผ้าสำหรับนั่ง พึงให้ทำให้
ได้ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง
ชายคืบหนึ่ง ด้วยคืบสุคต เธอทำให้ล่วงประมาณนั้นไปเป็นปาจิตตีย์
ที่ให้ตัดเสีย.
เรื่องพระอุทายี จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๖๕] ที่ชื่อว่า ผ้าสำหรับนั่ง ได้แก่ผ้าที่เขาเรียกกันว่าผ้ามีชาย.
บทว่า ผู้ให้ทำ คือ ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ต้องให้ทำให้ได้
ประมาณ นี้ประมาณในคำนั้น โดยยาว ๒ คืบ โดยกว้างคืบครึ่ง ชายคืบหนึ่ง
ด้วยคืบสุคต ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี ให้เกินประมาณนั้นไป เป็นทุกกฏ
ในประโยค เป็นปาจิตตีย์ด้วยได้ผ้าสำหรับนั่งนั้นมา พึงตัดก่อนจึงแสดงอาบัติ
ตก.
บทภาชนีย์
จตุกปาจิตตีย์
[๗๖๖] ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ผ้าสำหรับนั่ง ตนทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ตนทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.

839
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 840 (เล่ม 4)

ผ้าสำหรับนั่ง ผู้อื่นทำค้างไว้ ให้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ทำเองก็ดี ให้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ.
ได้ผ้าสำหรับนั่งที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วมาใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๗๖๗] ภิกษุทำผ้าสำหรับนั่งได้ประมาณ ๑ ทำผ้าสำหรับนั่งหย่อน
กว่าประมาณ ๑ ได้ผ้าสำหรับนั่ง ที่ผู้อื่นทำสำเร็จแล้วเกินประมาณมาตัดเสีย
แล้วใช้สอย ๑ ทำเป็นผ้าขึงเพดานก็ดี ทำเป็นผ้าปูพื้นก็ดี ทำเป็นม่านก็ดี
ทำเป็นเปลือกฟูกก็ดี ทำเป็นปลอกหมอนก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ-
กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ
นิสีทนสิกขาบทที่ ๗
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๗ พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า นิสีทนํ อนุญฺญาตํ โหติ มีความว่า นิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง )
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ณ ที่ไหน ? (ทรงอนุญาตไว้) ในเรื่อง
ปณีตโภชนะ ในจีวรขันธกะ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจีวร.
ขันธกะนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตผ้านิสีทนะ เพื่อรักษากาย
เพื่อรักษาจีวร เพื่อรักษาเสนาสนะ * ดังนี้ .
* วิ. มหาวคฺค ๕/๒๑๖.

840