No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 341 (เล่ม 1)

เรื่องปัญหาของพระสารีบุตร
บัดนี้ ท่านพระอุบาลี เมื่อจะแสดงการที่พระสารีบุตรเถระเกิดความ
รำพึง ที่ปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท เพื่อแสดงนิทานตั้งต้นแต่เค้าเดิม แห่งการ
ทรงบัญญัติพระวินัย จึงได้กล่าวคำมีอาทิ อถโข อายสฺมโต สารึปุตฺตสฺส
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคตสฺส แปลว่า ไปแล้วในที่สงัด.
บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส แปลว่า หลีกเร้นอยู่ คือถึงความเป็นผู้
โดดเดี่ยว.
บทว่า กตเมสานํ ความว่า บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระ-
วิปัสสีเป็นต้น ที่ล่วงไปแล้ว ของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน ? พรหมจรรย์
ชื่อว่าดำรงอยู่นาน เพราะอรรถว่า พรหมจรรย์นั้นดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
หรือมีการดำรงอยู่นาน. คำที่ยังเหลือในบทว่า อถโข อายสฺมโต เป้นต้นนี้
มีใจความเฉพาะบทตื้นทั้งนั้น.
ถามว่า ก็พระเถระ ไม่สามารถจะวินิจฉัยความปริวิตกของตนนี้
ด้วยตนเองหรือ ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- พระเถระ ทั้งสามารถ ทั้งไม่สามารถ.
จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระนี้ ย่อมสามารถวินิจฉัยเหตุมีประมาณเท่านี้ได้ คือ
ธรรมดาศาสนาของพรพุทธเจ้าเหล่านี้ดำรงอยู่ไม่ได้นาน, ของพระพุทธเจ้า
เหล่านี้ ดำรงอยู่ได้นาน แต่ท่านไม่สามารถจะวินิจฉัยเหตุนี้ว่า ศาสนาดำรงอยู่
ไม่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดำรงอยู่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดังนี้.

341
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 342 (เล่ม 1)

ส่วนพระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า เหตุการณ์แม้นั่น ก็เป็นของ
ไม่หนักแก่พระอัครสาวก ผู้ได้บรรลุที่สุดยอดแห่งปัญญา ๑๖ อย่างเลย, ส่วน
การที่พระอัครสาวก ผู้อยู่ในสถานที่เดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำการ
วินิจฉัยเสียเอง ก็เป็นเช่นกับการทิ้งตราชั่งแล้วกลับชั่งด้วยมือ ; เพราะเหตุนั้น
พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียทีเดียว. ถัดจากนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาคำทูลถามของพระเถระนั้น จึงตรัสพระดำรัส
มีอาทิว่า ภควโต จ สารีปุตฺต วิปสฺสิสฺส ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น.
พระเถระ เมื่อจะทูลถามถึงเหตุการณ์ต่อไปอีก จึงได้กราบทูลคำมี
อาทิว่า โก นุ โข ภนฺเต เหตุ (ที่แปลว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ พระเจ้าข้า!)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข ภนฺเต เป็นคำทูลถามถึง
เหตุการณ์. ใจความแห่งบทนั้นว่า เหตุเป็นไฉนหนอแล พระเจ้าข้า !
คำทั้งสองนี้คือ เหตุ ปจฺจโย เป็นชื่อแห่การณ์ จริงอยู่ การณ์
ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นเครื่องไหลออก คือเป็นไปแห่งผลของการณ์นั้น.
เพราะผลอาศัยการณ์นั้นแล้วจึงดำเนิน คือจึงเป็นไปได้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
ปัจจัย. บทแม้ทั้งสองนี้ในที่นั้น ๆ แม้เป็นอันเดียวกันโดยใจความถ้อยคำ ดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น. คำที่เหลือในคำว่า โก นุ โข เป็นต้นนี้ ก็มีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้น.
[พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพราะบริษัทมีมากหรือน้อยก็หาไม่]
ก็เพื่อแสดงเหตุและปัจจัยนั้น ในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สารีปุตฺต วิปสฺสี.

342
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 343 (เล่ม 1)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิลาสุโน อเหสํ ความว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น ไม่ทรงใฝ่พระทัยเพราะความเกียจคร้าน ก็หา
มิได้. จริงอยู่ ความเกียจคร้านก็ดี ความมีพระวิริยภาพย่อหย่อนก็ดี ของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หามีไม่. เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะทรง
แสดงธรรมแก่จักรวาลหนึ่งก็ดี สองจักรวาลก็ดี จักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ย่อมทรง
แสดงด้วยพระอุตสาหะเสมอกันทีเดียว ครั้นทอดพระเนตรเห็นบริษัทมีจำนวน
น้อยแล้ว ทรงลดมีพระวิริยภาพลงก็หาไม่ ทั้งทอดพระเนตรเห็นบริษัทมีจำนวน
มากแล้ว ทรงมีพระวิริยภาพมากขึ้นก็หาไม่. เหมือนอย่างว่า พญาสีหมฤคราช
ล่วงไป ๗ วัน จึงออกไปเพื่อหากิน ครั้นพบเห็นสัตว์เล็กหรือใหญ่ก็ตาม
ย่อมวิ่งไปโดยเชาว์อันเร็ว เช่นเดียวกันเสมอ, ข้อนั้น เพราะเหตุแห่งอะไร ?
เพราะเหตุแห่งความใฝ่ใจว่า ความเร็วของเราอย่าได้เสื่อมไป ดังนี้ ฉันใด
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ฉันนั้น ย่อมทรงแสดงธรรมแก่บริษัท จะมีจำนวน
น้อยหรือมากก็ตาม ก็ด้วยพระอุตสาหะเสมอกันทั้งนั้น, ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?
เพราะเหตุแห่งความใฝ่พระทัยอยู่ว่า เหล่าชนผู้หนักในธรรมของเรา อย่าได้
เสื่อมไป ดังนี้. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงหนักในธรรม ทรงเคารพ
พระธรรมแล. เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้ทรง
แสดงธรรมโดยพิสดาร ดุจ (วลาหกเทวดา) ยังมหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมอยู่
ฉันใด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น หาได้แสดงธรรม
ฉันนั้นไม่.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะความที่สัตว์ทั้งหลาย มีธุลี คือกิเลสในปัญญาจักษุน้อย
เบาบาง.

343
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 344 (เล่ม 1)

ดังได้สดับมาว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายมี
อายุยืนนาน ได้เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสในปัญญาจักษุน้อยเบาบาง. สัตว์เหล่านั้น
พอได้สดับแม้พระคาถาเดียว ที่ประกอบด้วยสัจจะ ๔ ย่อมบรรลุธรรมได้ ;
เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น จึงไม่ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร. ก็
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ นวังคสัตถุศาสน์ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น คือ สุตตะ
เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
จึงได้มีน้อย. ความที่นวังคสัตถุศาสน์มีสุตตะเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในคำว่า อปิปกญฺจ เป็นต้นนั้น เป็นต่าง ๆกัน ข้าพเจ้าได้กล่าว
ไว้แล้วในวรรณนาปฐมสังคีตินั้นแล.
[พระวิปัสสีเป็นต้นหาได้ทรงบัญญัติสิกขาบทเป็นต้นไม่]
หลายบทว่า อปฺปญฺญตฺตํ สาวกานํ สิกฺขาปทํ ความว่า สิกขาบท
คือข้อบังคับด้วยอำนาจอาบัติ ๗ กอง ที่ควรทรงบัญญัติ โดยสมควรแก่โทษ
อันพระพุทธเจ้ามีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ แก่พระสาวก
ทั้งหลาย เพราะเป็นผู้ไม่มีโทษ.
สองบทว่า อนุทฺทิฏฺฐํ ปาฏิโมกฺขํ ความว่า พระปาฏิโมกข์คือ
ข้อบังคับ ก็มิได้ทรงแสดงทุกกึ่งเดือน. พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ทรงแสดง
เฉพาะโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น และแม้โอวาทปาฏิโมกข์นั้น ก็มิได้แสดงทุก
กึ่งเดือน. *จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ทรงแสดงโอวาทปฏิโมกข์
๖ เดือนต่อครั้ง ๆ ก็แลโอวาทปาฏิโมกข์นั้น ทรงแสดงด้วยพระองค์เองทั้งนั้น.
ส่วนพวกสาวกของพระองค์มิได้แสดงในที่อยู่ของตน ๆ ภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมด
ในสกลชมพูทวีป กระทำอุโบสถ ในที่แห่งเดียวเท่านั้น คือในอุทยาน-
* พระธรรมบัณฑิต (มานิต ถาวโร ป. ธ. ๙ ) วัดสัมพันธวงค์ แปล

344
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 345 (เล่ม 1)

เขมมฤคทายวันใกล้ราชธานี ชื่อพันธุมดี อันเป็นที่เสด็จประทับของพระผู้มี
พระภาคเจ้าวิปัสสี. ก็แล อุโบสถนั้นได้กระทำเป็นสังฆอุโบสถอย่างเดียว
หาได้กระทำเป็นคณะอุโบสถ บุคคลอุโบสถ ปาริสุทธิอุโบสถ อธิษฐาน
อุโบสถไม่ ได้ทราบว่าในเวลานั้น ในชมพูทวีป มีวิหารแปดหมื่นสี่พันตำบล
ในวิหารแต่ละตำบนมีภิกษุอยู่เกลื่อนไป วิหารละหมื่นรูปบ้าง สองหมื่นรูปบ้าง
สามหมื่นรูปบ้าง เกินไปบ้าง.
[พวกเทวดาบอกวันทำอุโบสถแก่พวกภิกษุ]
พวกเทวดาผู้บอกวันอุโบสถ เที่ยวไปบอกในที่นั้น ๆ ว่า ท่านผู้มี
นิรทุกข์ทั้งหลาย ! ล่วงไปแล้วปีหนึ่ง ล่วงไปแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ๔ ปี ๕ ปี,
นี้ปีที่หก เมื่อดิถีเดือนเพ็ญมาถึง พวกท่านควรไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าและ
เพื่อทำอุโบสถ กาลประชุมของพวกท่านมาถึงแล้ว ในเวลานั้น พวกภิกษุผู้มี
อานุภาพก็ไปด้วยอานุภาพของตน พวกนอกนี้ไปด้วยอานุภาพของเทวดา.
ถามว่า พวกนอกนี้ไปด้วยอานุภาพของเทวดาได้อย่างไร ?
ตอบว่า ได้ทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นผู้อยู่ใกล้สมุทรทางทิศปราจีนหรือ
ใกล้สมุทรทางทิศปัจฉิม อุดร และทักษิณ บำเพ็ญคมิยวัตร แล้วถือเอาบาตร
และจีวรยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า จะไป. พร้อมด้วยจิตตุปบาท พวกเธอก็
เป็นผู้ไปสู่โรงอุโบสถทีเดียว. พวกเธอถวายอภิวาทพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วนั่งอยู่.
[โอวาทปาฏิโมกขคาถา]
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ ในบริษัทผู้
นั่งประชุมกันแล้วว่า

345
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 346 (เล่ม 1)

ความอดทน คือความอดกลั้น เป็น
ธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อม
กล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม ผู้ทำร้ายผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย ผู้เบียดเบียนผู้อื่น
อยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ.
ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศล
ให้ถึงพร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ความกล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย
๑ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ ความ
เป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่ง
อันสงัด ๑ ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อใน
อธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธ-
ทั้งหลาย.*
พึงทราบปาฏิโมกขุทเทสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้นอกนี้ โดย
อุบายนี้นั่นแล. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มีพระโอวาทปาฏิโมกขคาถา
เพียง ๓ คาถานี้เท่านั่น. คาถาเหล่านั้น ย่อมมาสู่อุเทศจนถึงที่สุดแห่งพระ-
ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มีพระชนมายุยืนยาวนานทั้งหลาย. แต่สำหรับ
พระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุน้อยทั้งหลาย คาถาเหล่านั้นมาสู่อุเทศเฉพาะใน
ปฐมโพธิกาลเท่านั้น . ด้วยว่า จำเดิมตั้งแต่เวลาทรงบัญญัติสิกขาบทมา ก็แสดง
เฉพาะอาณาปาฏิโมกข์เท่านั้น. ก็แลอาณาปาฏิโมกข์นั้น พวกภิกษุเท่านั้นแสดง
* ที่. มหา. ๑๐ / ๕๗.

346
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 347 (เล่ม 1)

พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรงแสดงไม่. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
ของพวกเรา ก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ตลอดเวลาเพียง ๒๐ พรรษา ใน
ปฐมโพธิกาลเท่านั้น.
[เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทำอุโบสถและปาฏิโมกข์]
ต่อมาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งอยู่ที่ปราสาทของ
มิคารมารดา ในบุพพาราม ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย !
ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย !
ต่อแต่นี้ไปพวกเธอเท่านั้น พึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย !
มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่พระตถาคตจะพึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์ ใน
บริษัท ผู้ไม่บริสุทธิ์*.
ตั้งแต่นั้นมาพวกภิกษุก็แสดงอาณาปาฏิโมกข์. อาณาปาฏิโมกข์นี้เป็น
ของอันพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ มีพระวิปัสสีเป็นต้น ไม่ทรงยกขึ้นแสดงแก่
ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนุทฺทิฏฺฐํ
ปาฏิโมกฺขํ.
[เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน]
คำว่า เตสํ พุทฺธานํ ความว่า แห่งพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์
มีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อนฺตรธาเนน คือ เพราะขันธ์อันตรธาน
ไป, มีอธิบายว่า เพราะปรินิพพาน. บทว่า พุทฺธานุพุทฺธานํ ความว่า
และเพราะความอันตรธานไปแห่งขันธ์ ของเหล่าพระสาวกผู้ได้ตรัสรู้ตาม
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น คือพระสาวกผู้ยังทันเห็นพระศาสดา. คำว่า เย เต
ปจฺฉิมา สาวกา ความว่า เหล่าปัจฉิมสาวกผู้บวชในสำนัก ของพวกสาวก
* วิ. จุลฺล. ๗ /๒๙๒.

347
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 348 (เล่ม 1)

ผู้ทันเห็นพระศาสดา, บทว่า นานานามา ความว่า มีชื่อต่าง ๆ กัน ด้วย
อำนาจชื่อมีอาทิว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต สังฆรักขิต. บทว่า นานาโคตฺตา
ความว่า มีโคตรต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจโคตรมีอาทิว่า โคตมะ โมคคัลลานะ.
บทว่า นานาชจฺจา คือมีชาติต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจชาติมีอาทิว่า กษัตริย์
พราหมณ์. สองบทว่า นานากุลา ปพฺพชิตา ความว่า ออกบวชจากตระกูล
ต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจตระกูลกษัตริย์เป็นต้น หรือด้วยอำนาจตระกูลมีตระกูล
สูงตระกูลต่ำ ตระกูลมีโภคะโอฬาร และไม่โอฬารเป็นต้น. คำว่า เต ตํ
พฺรหฺมจริยํ ความว่า เพราะปัจฉิมสาวกเหล่านั้น ทำในใจว่า พวกเรามีชื่อ
เดียวกัน มีโคตรเดียวกัน มีชาติเดียวกัน บวชจากตระกูลเดียวกัน ศาสนา
เป็นแบบแผนประเพณีของพวกเรา จึงช่วยกันรักษาพรหมจรรย์ทำให้เป็นภาระ
ของตน บริหารพระปริยัติธรรมไว้ให้นาน แต่ปัจฉิมสาวกเหล่านี้ ไม่เป็น
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น พวกเธอจึงเบียดเบียนกัน ถือความเห็นขัดแย้งกัน
ทำย่อหย่อนด้วยถือเสียว่า พระเถระโน้นจักรู้ พระเถระโน้นจักทราบ พึงยัง
พรหมจรรย์นั้นให้อันตรธานไปพลันทีเดียว คือไม่ยกขึ้นสู่การสังคายนารักษา
ไว้. คำว่า เสยฺยถาปิ เป็นการแสดงไขเนื้อความนั้นโดยข้ออุปมา บทว่า
วิกีรติ แปลว่า ย่อมพัดกระจาย. บทว่า วิธมติ แปลว่า ย่อมพัดไปสู่ที่อื่น.
บทว่า วิทฺธํเสติ แปลว่า ย่อมพัดออกไปจากที่ตั้งอยู่. คำว่า ยถาตํ
สุตฺเตน อสงฺคติตฺตา ความว่า ลมย่อมพัดกระจายไปเหมือนพัดดอกไม้
เรี่ยราย เพราะไม่ได้ร้อย เพราะไม่ได้ผูกด้วยด้ายฉะนั้น. มีคำอธิบายว่า
(ดอกไม้ทั้งหลาย) ที่มิได้ควบคุมด้วยด้าย ย่อมถูกลมพัดกระจัดกระจายไป
ฉันใด ย่อมเรี่ยรายไปฉันนั้น. คำว่า เอวเมว โข เป็นการยังข้ออุปไมยให้
ถึงพร้อม. บทว่า อนฺตรธาเปสํ ความว่า (พวกสาวกภายหลัง) เมื่อไม่

348
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 349 (เล่ม 1)

สงเคราะห์ (คือสังคายนาเป็นหมวดหมู่) ด้วยวัคคสังคหะและปัณณาสสังคหะ
เป็นต้น ถือเอาแต่พรหมจรรย์กล่าวคือปริยัติธรรมที่ตนชอบใจเท่านั้น ส่วน
ที่เหลือก็ปล่อยให้พินาศไป คือนำไปสู่ความไม่ปรากฏ.
ข้อว่า กิลาสุโน จ เต ภควนฺโต อเหสํ สาวกานํ เจตสา
เจโต ปริจฺจ โอทิตํ มีความว่า ดูก่อนสารีบุตร ! อีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้า
เหล่านั้น ทรงไม่ใฝ่พระหฤทัย เพื่อจะทรงกะ คือกำหนดใจของพวกสาวกด้วย
พระหฤทัยของพระองค์ แล้วทรงสั่งสอน คือทรงทราบจิตของผู้อื่นแล้ว ทรง
แสดการแนะนำพร่ำสอน โดยไม่เป็นภาระหนัก โดยไม่ชักช้า. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพํ สารีปุตฺต ดังนี้ เพื่อประกาศ
ความที่ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงไม่ใฝ่พระหฤทัย. บทว่า ภึสนเก คือ น่า
พึงกลัว ได้แก่ ให้เกิดความน่าสยดสยอง. คำว่า เอวํ วตกฺเกถ ความว่า
พวกเธอจงตรึกกุศลวิตก ๓ มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น. คำว่า มา เอวํ วิตกฺกยิตฺถ
ความว่า พวกเธออย่าได้ตรึกอกุศลวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น. คำว่า เอวํ
มนสิ กโรถ ความว่า พวกเธอจงกระทำไว้ในใจว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ไม่สวยไม่งาม. ข้อว่า มา เอวํ มนสากตฺถ ความว่า พวกเธอ
อย่ากระทำในใจว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา สวยงาม. คำว่า อิทํ ปชหถ
คือจงละอกุศล. คำว่า อทํ อุปสมฺปชฺช วิหรถ ความว่า พวกเธอจงเข้าถึง
กลับได้ คือให้กุศลสำเร็จอยู่เถิด. ข้อว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ
วิมุจฺจึสุ คือหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น. จริงอยู่ จิตของพระสาวกเหล่านั้น
หลุดพ้นจากอาสวะเหล่าใด จิตเหล่านั้นหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่นอาสวะ
เหล่านั้น.* ก็อาสวะทั้งหลายดับไปอยู่ด้วยความดับ คือความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
* สารตฺถทีปนี. ๑ / ๖๙๘ แนะให้แปลว่า จริงอยู่ จิตทั้งหลายของพระสาวกเหล่านั้น อันอา
สวะ
เหล่าใดหลุดพ้นไปแล้ว อาสวะเหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นไปแล้ว เพราะไม่ยึดถือจิตเหล่านั้น
ด้วย
สามารถแห่งอารมณ์.

349
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 350 (เล่ม 1)

หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น*. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ.
ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้มีจิตเบิกบาน
เหมือนปทุมวันอันต้องแสงพระอาทิตย์ฉะนั้น.
ในข้อว่า ตตฺร สุทํ สารีปุตฺต ภึสนกสฺส วนสณฺฑสฺส
ภึสนกตสฺมึ โหติ นี้ คำว่า ตตฺร เป็นคำกล่าวเพ่งถึงคำต้น. คำว่า สุทํ
เป็นนิบาตลงในอรรถเพียงทำบทให้เต็ม. บทว่า สารีปุตฺต เป็นอาลปนะ.
ก็ในคำว่า ตตฺร สุทํ เป็นต้นนี้ มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- บทว่า ตตฺร
ความว่าแห่งไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิสนกะ
ในพระดำรัสที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อญฺญตรสฺมึ ภึสนเก วนสณฺเฑ.
อธิบายว่า ภาวะอันน่าพึงกลัว ชื่อว่า ความน่าสยดสยองมีในภาวะน่าสยดสยอง
คือในการทำให้หวาดกลัว. ถามว่า เป็นอย่างไร ? ตอบว่า เป็นอย่างนี้คือ
ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้นโดยมาก โลมชาติย่อม
ชูชัน. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
ศัพท์ว่า สุ เป็นนิบาต ดุจในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า กึสุ นาม เต
โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา แปลว่า สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ชื่อ
อย่างไรซิ. บทว่า อิทํ บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นคำแสดงความหมายตามที่
ประสงค์ดุจทำให้เห็นได้ชัด. คำว่า สุ อิทํ สนธิเข้าเป็น สุทํ. พึงทราบว่า
ลบอิอักษรด้วยอำนาจแห่งสนธิ เหมือนในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า จกฺขุน-
ทฺริยํ อิตฺถินฺทฺริยํ อนญฺญตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ กึสูธ วิตฺตํ แปลว่า
* โยชนาปาฐ ๑ / ๑๙๖ เป็น อนุปาทนิโรเธน ปน อนุปปาทสงฺขาดนิโรธวเสน นิรุชฌมาเน
อาสเว อตฺตานิ วิมุจฺจึสุ แปลว่า ก็จิตทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ยึดถือ
อาสวะทั้งหลายที่ดับไปอยู่ด้วยความดับ กล่าวคือ ความไม่เกิดขึ้นอีก.

350