No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 166 (เล่ม 59)

ครองเรือนไป. ต่อมาบุตรของท่านคนหนึ่ง ก็คลอดออกมา. ในเวลา
ลูกนั้นเดินได้ ท่านเห็นโทษในกามทั้งหลาย เห็นอานิสงส์ในการออก
บวช จึงมอบสมบัติในเรือนทั้งหมดให้น้องชายพร้อมทั้งลูกเมีย ให้
โอวาทว่า จงอย่าประมาท ให้ทานเป็นไปเถิด แล้วบวชเป็นฤษี ยัง
ฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้น แล้วอยู่ที่ท้องถิ่นป่าหิมพานต์. ฝ่ายน้องชาย
ของท่านก็ได้ลูก ๑ คน. เขาเห็นเด็กนั้นเติบโตขึ้น จึงคิดว่า เมื่อลูก
พี่ชายของเรายังมีชีวิตอยู่ สมบัติจักแบ่งเป็น ๒ ส่วน เราจักฆ่าบุตร
ของพี่ชายเสีย. จึงอยู่มาวันหนึ่ง เขาได้ฆ่าเด็กนั้นถ่วงน้ำ. ภรรยาของ
พี่ชายถามถึงลูกนั่นกะเขาผู้อาบน้ำ แล้วมาว่าลูกของฉันไปไหน ? เขา
ตอบว่า มันเล่นน้ำในแม่น้ำ ต่อมาฉันค้นหามันก็ไม่พบ นางได้ร้องไห้
แล้วนิ่งเฉย. พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้น แล้วคิดว่า เราจักทำกิจนี้ให้
ปรากฏ แล้วมาทางอากาศลงที่นครพาราณสี นุ่งห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว
ยืนที่ประตูเรือนของน้องชายนั้น ไม่เห็นโรงทาน จึงคิดว่า แม้โรงทาน
อสัตบุรุษคนนี้ก็ให้พินาศไปแล้ว. ฝ่ายน้องชายของท่านได้ทราบว่าท่าน
มาแล้ว ก็มาหาไหว้พระมหาสัตว์แล้วให้ขึ้นปราสาท ให้ฉันโภชนะอัน
ประณีต. ในที่สุดแห่งภัตกิจฉันเสร็จ ท่านนั่งอย่างสบาย ถามว่า เด็ก
ไม่ปรากฏ เขาไปไหนหนอ.
ตายแล้วครับ ท่าน น้องชายตอบ.
ตายด้วยเหตุอะไร ฤาษีซัก.

166
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 167 (เล่ม 59)

ผมไม่ทราบว่า ด้วยเหตุ ชื่อโน้น ในสถานที่เล่นน้ำ น้องชาย
ตอบ.
อสัตบุรุษเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรือว่า กิจที่เจ้าทำไปแล้ว ปรากฏแก่
ฉันแล้ว เจ้าฆ่าเด็กนั้นด้วยเหตุชั่วนี้ มิใช่หรือ ? เราจักสามารถรักษา
ทรัพย์ที่กำลังสูญหายไป ด้วยอำนาจพระราชาเป็นต้น ได้หรือไม่หนอ ?
นกเขากับเจ้ามีอะไรที่ทำให้แตกต่างกัน ฤาษีกล่าวตัดพ้อ.
ลำดับนั้น มหาสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมแต่เขา ด้วยพุทธลีลา
จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า:-
นกชื่อว่ามัยหกะ นกเขา บินไปที่ไหล่
เขาและซอกเขาเกาะต้นเลียบที่มีผลสุก ร้องว่า
ของกู ๆ. เมื่อมันร้องอยู่อย่างนี้ ฝูงนกที่บินมา
รวมกัน พากันกินผลเลียบแล้วบินหนี มันก็
ยังร้องอยู่นั่นเอง ฉันใด. บุคคลบางคนในโลก
นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน รวบรวมทรัพย์ไว้มา
มาย ตนเองก็ไม่ได้ใช้สอยเลย ไม่มอบส่วน
แบ่งแก่ญาติทั้งหลายด้วย. เขาไม่ใช้สอยผ้านุ่ง
ผ้าห่ม ไม่รับประทานภัตตาหาร ไม่ทัดทรง
ดอกไม้ ไม่ลูบไล้ เครื่องลูบไล้ ไม่ใช้อะไร

167
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 168 (เล่ม 59)

สักครั้งเดียว และไม่สงเคราะห์ญาติทั้งหลาย
เมื่อบ่นเพ้ออยู่อย่างนี้ว่า ของกู ของกู หวงแหน
ไว้ภายหลัง พระราชาบ้าง โจรบ้าง ทายาท
ผู้ไม่เป็นที่รักบ้าง เอาทรัพย์ไป คนนั้นก็จะบ่น
เพ้ออยู่นั่นแหละ ส่วนผู้มีปรีชาใช้เองด้วย
สงเคราะห์ญาติทั้งหลายด้วย ด้วยการสงเคราะห์
นั้น เขาจะได้รับเกียรติ ละโลกนี้ไปแล้วจะ
บรรเทิงในสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหโก ความว่า ที่ได้ชื่ออย่างนี้
เพราะอำนาจการร้องว่า ของกู ของกู. บทว่า คิริสานุทรีจโร ความว่า
นกนั้นที่ชื่อว่า คิริสานุทรีจโร เพราะบินไปที่ไหล่เขาและซอกเขา.
บทว่า ปกฺกํ ปิปฺผลึ ความว่า ต้นเลียบต้นหนึ่งที่มีผลเต็มต้น ใน
ดินแดนหิมพานต์. บทว่า กนฺทติ ความว่า มันจะบินร้องห้ามฝูงนก
ที่ห้อมล้อมต้นไม้นั้น กินผลที่สุก ๆ อยู่. บทว่า ตสฺเสวํ วิลปนฺตสฺส
ความว่า เมื่อมันร่ำร้องอยู่อย่างนี้นั่นแหละ บทว่า ภุตฺวาน ปิปฺผลึ
ยนฺติ ความว่า กินผลเลียบนั้น แล้วบินไปต้นอื่นที่มีผลสมบูรณ์.
บทว่า วิลปเตว ความว่า ส่วนนกนั้นก็ยังร้องอยู่นั่นเอง. บทว่า
ยโถธึ ความว่า ตามส่วน อธิบายว่า ไม่ได้ส่วนที่จะต้องได้ ด้วยอำนาจ
เครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคของมารดาบิดา พี่ชายพี่สาว น้องชาย

168
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 169 (เล่ม 59)

น้องสาวและบุตรธิดาเป็นต้น. บทว่า สกึ ความว่า ไม่ได้ใช้สอย
แม้แต่ครั้งเดียว อธิบายว่า ไม่ได้ใช้ของตนบ้าง. บทว่า น สงฺคณฺหาติ
ความว่า ไม่ได้สงเคราะห์ด้วยอำนาจการให้ภัตตาหาร เครื่องนุ่ง พืช
พันธุ์และไถเป็นต้น. บทว่า วิลปเตว โส นโร ความว่า เมื่อพระราชา
เป็นต้นเหล่านั้น เอาทรัพย์ไป คน ๆ นั้นก็จะบ่นเพ้ออยู่นั่นแหละ.
บทว่า ธีโร ได้แก่บัณฑิต. บทว่า สงฺคณฺหาติ ความว่า ย่อมสงเคราะห์
ญาติทั้งหลายที่เขากำลังทำมาหากิน ที่มาสู่สำนักตนด้วยการให้ภัตตาหาร
เครื่องนุ่งห่ม พืชพันธุ์และไถเป็นต้น. บทว่า เตน ความว่า สัตบุรุษนั้น
จะได้รับเกียรติและการสรรเสริญตนในท่ามกลางษริษัท ครั้นละโลกนี้
ไปแล้วก็จะปลื้มใจในเทพนคร ด้วยการสงเคราะห์ญาตินั้น.
พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงธรรมแก่น้องชายอย่างนี้ แล้วก็ให้เขา
ทำโรงทานที่เขางดไป แล้วให้เป็นไปตามปกติ แล้วได้ไปยังแดน
หิมพานต์ มีฌานไม่เสื่อมถึงแก่กรรมแล้ว ได้เข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า
ขอถวายพระพรมหาบพิตร อาคันตุกเศรษฐี ไม่ได้บุตร ไม่ได้ธิดาเลย
เพราะฆ่าบุตรพี่ชาย ด้วยเหตุดังนี้แล แล้วทรงประชุมชาดกไว้ว่า
น้องชายในครั้งนั้น ได้แก่ อาคันตุกเศรษฐี ในบัดนี้ ส่วนพี่ชาย
ได้แก่ เราตถาคตนั่นเอง.
จบ อรรถกถามัยหกสกุณชาดกที่ ๕

169
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 170 (เล่ม 59)

๖. ปัพพชิตวิเหฐกชาดก
ว่าด้วยกราบไหว้ผู้ควรกราบไหว้
[๙๓๗] เธอมีรูปร่างงาม แต่ให้สมณะรูปร่างขี้เหร่
อยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ สมณะ
รูปนั้นดีกว่าเธอหรือเสมอกับเธอ ขอจงบอก
ทั้งชื่อของตนทั้งชื่อผู้อื่น คือสมณะ.
[๙๓๘] ข้าแต่มหาราช ทวยเทพอุปัตติเทพ จะ
ไม่เอ่ยชื่อและโคตรของเทพทั้งหลาย ผู้พร้อม
เพรียงกัน ผู้ปฏิบัติตรง คือวิสุทธิเทพ แต่
ข้าพเจ้าจะบอกข้อของข้าพเจ้าแก่ท่าน ข้าพเจ้า
คือท้าวสักกะรู้เป็นจอมทวยเทพชาวไตรทศ.
[๙๓๙] ผู้ใดเห็นภิกษุผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่
ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ ข้าแต่เทว-
ราช ข้าพระองค์ขอถามข้อความนี้กะพระองค์
ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้วจะได้ความสุขอะไร ?
[๙๔๐] ผู้ใดเห็นภิกษุผู้เข้าถึงจรณะ ให้ท่านอยู่
ข้างหน้า แม้ประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ผู้นั้น

170
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 171 (เล่ม 59)

จะได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน และจะไป
สวรรค์ เพราะร่างกายแตกดับไป.
[๙๔๑] วันนี้ บุญได้เกิดขึ้นแต่ข้าพเจ้าแล้วหนอ
ที่ข้าพระองค์ได้พบเห็น พระผู้เป็นเจ้าวาสวะ,
ข้าแต่ท้าวสักกะ ข้าพระองค์เห็นพระภิกษุและ
พระองค์แล้ว จะทำบุญหาน้อยไม่.
[๙๔๒] ควรคบหาผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต คิดถึง
เหตุการณ์มากมายโดยแน่แท้แล ดูก่อนพระ-
ราชา พระองค์เห็นภิกษุและหม่อมฉันแล้ว
จงทำบุญหาน้อยไม่.
[๙๔๓] ผู้ไม่มักโกรธ มีจิตเลื่อมใสเนืองนิตย์
เป็นผู้ควรแก่การขอของแขกทุกคน ข้าแต่ท่าน
จอมเทพ ข้าพระองค์สดับสุภาษิตแล้ว จักทำ
ลายมานะ กราบไหว้ท่านผู้นั้น.
จบ ปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖

171
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 172 (เล่ม 59)

อรรถกถาปัพพชิตวิเหฐกชาดกที่ ๖
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ
บำเพ็ญประโยชน์เพื่อชาวโลก จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทุพฺพณฺณ-
รูปํ ดังนี้. เรื่องนี้จักมีแจ้งในกัณหชาดก.
ก็ในคราวครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่
ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อนตถาคตก็บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
เหมือนกัน แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกะ. ครั้งนั้น. วิชาธรคนหนึ่ง
ร่ายเวทย์มนต์แล้ว เข้าไปในห้องมิ่งขวัญในเวลาเที่ยงคืน ประพฤติ
ล่วงเกินกับพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี. ฝ่ายข้าหลวงของพระ-
นาง ได้กราบทูลแด่พระราชา. พระนางจึงเสด็จเฝ้าพระราชาเสียเอง
ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชายคนหนึ่งเข้ามาในห้องมิ่งขวัญ ในเวลาเที่ยง
คืนข่มขืนหม่อมฉัน.
พระราชา ก็เธอจะสามารถทำเครื่องหมาย คือสัญญาณอะไรไว้
ที่มันได้ไหม ?
พระอัครมเหสี สามารถพระเจ้าข้า.

172
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 173 (เล่ม 59)

พระนางทรงให้นำถาดใส่ชาด คือชาติหิงคุมาได้ เมื่อเวลาชาย
คนนั้นมาในเวลากลางคืน ร่วมอภิรมย์แล้วจะไป ทรงประทับนิ้วทั้ง ๕
ไว้ที่หลัง แล้วได้กราบทูลพระราชาแต่เช้าทีเดียว. พระราชาตรัสสั่งบังคับ
คนทั้งหลายว่า สูเจ้าทั้งหลายจงไป จงพากันตรวจดูทั่วทุกทิศแล้วจับ
ชายคนที่มีรอยชาดอยู่บนหลัง. ฝ่ายวิชาธร เมื่อทำอนาจารในเวลา
กลางคืนแล้ว กลางวันก็ยืนขาเดียวนมัสการพระอาทิตย์อยู่ที่สุสาน.
ราชบุรุษทั้งหลายเห็นเขาแล้วจึงพากันล้อมไว้. เขารู้ว่า กรรมของเรา
ปรากฏแล้ว จึงร่ายเวทย์เหาะไปทางอากาศ. พระราชาทรงเห็นชายคน
นั้นแล้ว จึงตรัสถามราชบุรุษทั้งหลายที่มาแล้วว่า เธอทั้งหลายได้เห็น
ไหม ?
ราชบุรุษ ได้เห็นพระพุทธเจ้าข้า.
พระราชา มันชื่ออะไรล่ะ คือใคร.
ราชบุรุษ เป็นบรรพชิต พระพุทธเจ้าข้า.
เพราะว่าเวลากลางคืนเขาทำอนาจาร แต่เวลากลางวันเขาอยู่โดย
เพศบรรพชิต. พระราชาทรงกริ้วบรรพชิตทั้งหลายว่า บรรพชิตเหล่านี้
กลางวันประพฤติโดยเพศสมณะ แต่กลางคืนทำอนาจาร แล้วทรงยืดถือ
ผิดๆ จึงทรงให้ตีกลองประกาศว่า สูเจ้าทั้งหลายจักต้องปฏิบัติตามพระ-
ราชโองการ ในที่ ๆ ตนได้เห็นแล้ว เห็นแล้วว่า บรรพชิตทั้งหมด จง
หนีไปจากอาณาจักรของเรา. บรรพชิตทั้งหมด จึงหนีไปจากแคว้น

173
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 174 (เล่ม 59)

กาสีที่มีที่ ๓๐ โยชน์ได้พากันไปยังราชธานีอื่น ๆ. สมณะพราหมณ์ผู้ทรง
ธรรม แม้คนเดียวที่จะให้โอวาทแก่คนทั้งหลายทั่วแคว้นกาสีก็ไม่มี.
คนทั้งหลายที่ไม่ได้รับโอวาท ได้เป็นคนหยาบคาย. คนทั้งหลายที่
ปล่อยปละละเลยทานและศีลเป็นต้น ตายไปแล้วโดยมาก. ก็เกิดใน
นรก. ขึ้นชื่อว่าจะเกิดในสวรรค์ไม่มีแล้ว. ท้าวสักกะเมื่อไม่ทรงเห็น
เทพบุตรใหม่ จึงทรงรำลึกว่า มีเหตุอะไรหนอแล ? แล้วก็ทรงทราบว่า
พระเจ้าพาราณสีทรงพิโรธ เพราะอาศัยวิชาธร ทรงไล่บรรพชิตออก
จากแว่นแคว้น เพราะทรงเชื่อถือผิด จึงทรงดำริว่า คนอื่นนอกจาก
เรา ที่จะสามารถทำลายความเธอถือผิดของพระราชาพระองค์นี้ไม่มี และ
เราจักเป็นที่พึ่งของพระราชาและราษฎรทั้งหลาย แล้วได้เสด็จไปสำนัก
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่เงื้อมแห่งภูเขาชื่อว่า นันทมูลกะทรงไหว้
แล้วทูลว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ชื่อพระคุณเจ้าทั้งหลาย จงให้พระ
ปัจเจกพุทธเจ้าผู้เฒ่าองค์หนึ่งแก่กระผม กระผมจักให้ราษฎรชาวกาสี
เลื่อมใส. ท้าวเธอได้พระสังฆเถระทีเดียว. จึงท้าวเธอทรงรับเอาบาตร
และจีวรของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ให้ท่านอยู่ข้างหน้าพระองค์เองอยู่
ข้างหลัง ทรงแปลงเพศเป็นมาณพรูปหล่อ วางอัญชลีไว้เหนือเศียร
นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้า เสด็จเที่ยวไปทางเบื้องบนพระนครทั้งหมด
๓ เที่ยว มาถึงประตูพระราชวัง ได้ประทับยืนอยู่บนอากาศ. อำมาตย์
ทั้งหลายได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพมาณพรูปงามคนหนึ่ง
นำเอาสมณะรูปหนึ่งมายืนอยู่บนอากาศตรงประตูพระราชวัง. พระราชา

174
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ – หน้าที่ 175 (เล่ม 59)

จึงเสด็จลุกจากราชอาสน์ ประทับยืนที่ช่องพระแกล เมื่อทรงเจรจากับ
ด้วยท้าวสักกะนั้นว่า ดูก่อนมาณพ เธอเป็นผู้มีรูปร่างงาม แต่เหตุไฉน
จึงยืนถือบาตรและจีวรของสมณะผู้มีรูปร่างขี้เหร่พลางนมัสการอยู่ดังนี้
ได้ตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-
เธอผู้มีรูปร่างงาม แต่ให้สมณะรูปร่างขี้เหร่
อยู่ข้างหน้า ประคองอัญชลีนมัสการ สมณะ
รูปนั้นคือว่าเธอหรือเสมอกันกับเธอ ขอจง
บอกทั้งข้อของคนทั้งชื่อของผู้อื่น คือสมณะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยวณฺณี ได้แก่ รูปร่างสวยงาม.
บทว่า เสยฺโย นุ เต โส ความว่า บรรพชิตรูปร่างขี้เหร่รูปนั้นดียิ่ง
กว่าเธอหรือเสมอกับเธอ. บทว่า ปรสฺสตฺตโน จ ความว่า พระราชา
ตรัสถามว่า เธอจงบอกชื่อของผู้อื่นนั้นและของตนเถิด.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะพระราชานั้นว่า ข้าแต่
มหาราช ขึ้นชื่อว่าสมณะทั้งหลายย่อมเป็นผู้ควรเคารพ เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงไม่ได้เพื่อเรียกชื่อของท่าน แต่ข้าพเจ้าจักบอกชื่อข้าพเจ้าแก่
ท่าน แล้วตรัสคาถาที่ ๒ ว่า.
ข้าแต่มหาราช ทวยเทพอุปัตติเทพ จะ
มีเอ่ยชื่อและโคตรของเทพทั้งหลาย ผู้พร้อม

175