No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 801 (เล่ม 4)

ส่วนอุบาสกนั้นไม่ถวายบังคม ไม่ลุกรับเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วย
ความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระทัยว่า
ไฉนบุรุษนี้ เมื่อเรามาแล้ว จึงไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงพอพระ -
ทัย จึงตรัสขึ้นในขณะนั้นว่า มหาบพิตร อุบายสกผู้นี้ เป็นพหูสูต เป็นคน
เล่าเรียนพระปริยัติธรรมมาก เป็นผู้ปราศจากความยินดีในกามทั้งหลาย
ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระดำริว่า อุบาสกผู้นี้ไม่ใช่
เป็นคนต่ำต้อย แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสชมเขา แล้วรับสั่งกะอุบาสก
นั้นว่า ดูก่อนอุบาสก. เธอพึงพูดได้ตามประสงค์เถิด.
อุบาสกนั้นกราบทูลว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นเกล้า พระ-
พุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรง
เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ.
[๗๓๒] ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่ ณ พระมหาปราสาท
ชั้นบน ได้ทอดพระเนตรเห็นอุบาสกนั้นเดินกั้นร่มไปตามถนน จึงโปรดให้
เชิญตัวมาเฝ้าแล้วรับสั่งว่า ดูก่อนอุบาสก ได้ทราบว่า เธอเป็นพหูสูต เป็น
คนเล่าเรียนพระปริยัติธรรมมาก ดีละอุบาสก ขอเธอจงช่วยสอนธรรมแก่ฝ่าย
ในของเรา.

801
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 802 (เล่ม 4)

อุบาสกนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมด้วยอำนาจ
แห่งพระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้าเท่านั้นจักสอนธรรมแก่ฝ่ายในของใต้ฝ่า-
ละอองธุลีพระบาทได้.
พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งขึ้นในขณะนั้นว่า อุบาสกพูดจริงแท้ ดังนี้
แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ราชอาสน์
อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส
ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ภิกษุรูปหนึ่ง ไปเป็นผู้สอนธรรมแก่ฝ่ายใน
ของหม่อมฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้พระเจ้าปเสนทิโกศล
ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง ให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำทักษิณเสด็จกลับไปแล้ว.
ทรงแต่งตั้งท่านพระอานนท์เป็นครูสอนธรรม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงสอนธรรมแก่ฝ่ายในของพระเจ้าแผ่นดิน.
ท่านพระอานนท์ ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปสอนธรรมแก่
ฝ่ายในของพระเจ้าแผ่นดินทุกเวลา ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์ครอง
อันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ขณะนั้น พระเจ้า-
ปเสนทิโกศลประทับอยู่ในห้องพระบรรทมกับพระนางมัลลิกาเทวี พระนางได้
ทอดพระเนตรเห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกลเทียว จึงผลีผลามลุกขึ้น พระภูษา
ทรงสีเหลืองเลี่ยนได้เลื่อนหลุด ท่านพระอานนท์กลับจากสถานที่นั้นในทันที

802
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 803 (เล่ม 4)

ไปถึงอารามแล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย . . .
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอานนท์ยังไม่ได้รับบอกก่อน
จึงได้เข้าสู่พระราชฐานชั้นในเล่า... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์
ข่าวว่า เธอไม่ได้รับบอกก่อนเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน จริงหรือ.
ท่านอานนท์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนอานนท์ ไฉนเธอยัง
ไม่ได้รับบอกก่อนจึงได้เข้าสู่พระราชฐานชั้นในเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . . ครั้นแล้ว ทรงทำธรรมีกถา แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลาย ดังต่อไปนี้:-
โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน
[๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นในมี
๑๐ อย่าง ๑๐ อย่างอะไรบ้าง.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในพระราชฐานชั้นในนี้ พระเจ้าแผ่นดิน
กำลังประทับอยู่ในตำหนักที่ผทมกับพระมเหสี ภิกษุเข้าไปในพระราชฐานชั้น
ในนั้น พระมเหสีเห็นภิกษุแล้วทรงยิ้มพรายให้ปรากฏก็ดี ภิกษุเห็นพระมเหสี
แล้วยิ้มพรายให้ปรากฎก็ดี ในข้อนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า
คนทั้งสองนี้รักใคร่กันแล้วหรือจักรักใคร่กันเป็นแม่นมั่น นี้เป็นโทษข้อที่หนึ่ง
ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

803
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 804 (เล่ม 4)

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า
แผ่นดินทรงมีพระราชกิจมาก ทรงมีพระราชกรณียะมาก ทรงร่วมกับพระสนม
คนใดคนหนึ่ง แล้วทรงระลึกไม่ได้ พระสนมนั้นตั้งพระครรภ์เพราะเหตุที่ทรง
ร่วมนั้น ในเรื่องนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐาน
ชั้นในนี้ คนอื่นเข้ามาไม่ได้สักคน นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำ
ของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สองในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก รัตนะ
บางอย่างในพระราชฐานชั้นในหายไป ในเรื่องนั้น พระเจ้าแผ่นดินจะทรง
ระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้ คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้ นอกจาก
บรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สาม ในการ
เข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ข้อ
ราชการลับที่ปรึกษากันเป็นการภายในพระราชฐานชั้นในเปิดเผยออกมาภายนอก
ในเรื่องนั้นพระเจ้าแผ่นดินจะทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้
คนอื่นสักคนก็เข้ามาไม่ได้นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของ
บรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่สี่ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก ในพระ-
ราชฐานชั้นใน พระราชโอรสปรารถนาจะปลงพระชนม์พระราชบิดา หรือ
พระราชบิดาปรารถนาจะปลงพระชนม์พระราชโอรส ทั้งสองพระองค์นั้นจะ
ทรงระแวงอย่างนี้ว่า ในพระราชฐานชั้นในนี้ ไม่มีใครคนอื่นจะเข้ามาได้
นอกจากบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่ห้า
ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

804
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 805 (เล่ม 4)

๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า
แผ่นดินทรงเลื่อนข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ในฐานันดรอันสูง พวก
ชนที่ไม่พอใจการที่ทรงเลื่อนข้าราชการผู้นั้นขึ้น จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้า
แผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้
เป็นโทษข้อที่หก ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า
แผ่นดินทรงลดข้าราชการผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสูงไว้ในฐานันดรอันต่ำ พวกชน
ที่ไม่พอใจการที่ทรงลดตำแหน่งข้าราชการผู้นั้นลง จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้า
แผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็น
โทษข้อที่เจ็ด ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า
แผ่นดินทรงส่งกองทัพไปในกาลไม่ควร พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้น
จะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงคลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็น
การกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่แปด ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระเจ้า
แผ่นดินทรงส่งกองทัพไปในกาลอันควร แล้วรับสั่งให้ยกกลับเสียในระหว่างทาง
พวกชนที่ไม่พอใจพระราชกรณียะนั้นจะระแวงอย่างนี้ว่า พระเจ้าแผ่นดินทรง
คลุกคลีกับบรรพชิต ชะรอยจะเป็นการกระทำของบรรพชิต นี้เป็นโทษข้อที่เก้า
ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.
๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งโทษที่จะพึงกล่าวยังมีอยู่อีก พระ-
ราชฐานชั้นในเป็นสถานที่รื่นรมย์เพราะ ช้าง ม้า รถ และมีอารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัดเช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งไม่สมควรแก่
บรรพชิต นี้แลเป็นโทษข้อที่สิบ ในการเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน.

805
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 806 (เล่ม 4)

เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๑๐ อย่าง ในการเข้าสู่พระราชฐาน
ชั้นใน.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
[๗๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอานนท์ โดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
. . . แล้วตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๓๒ ๑. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน ก้าวล่วงธรณี
เข้าไปในห้องของพระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ที่พระ-
ราชายังไม่ได้เสด็จออก ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๓๕] บทว่า อนึ่ง. . .ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด . . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ผู้กษัตริย์ คือ เป็นผู้เกิดดีแล้วทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายพระ
ราชมารคา และพระราชบิดา เป็นผู้มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีแล้ว
ตลอดเจ็ดชั่วบุรพชนก ไม่มีใครคัดค้านติเตียนโดยกล่าวถึงชาติได้.
ที่ชื่อว่า ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว คือ ได้รับอภิเษกโดยสรงสนาน
ให้เป็นกษัตริย์แล้ว .

806
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 807 (เล่ม 4)

บทว่า ที่พระราชายังไม่เสด็จออก คือ พระเจ้าแผ่นดินยังไม่
เสด็จออกจากตำหนักที่ผทม.
บทว่า ที่รัตนะยังไม่ออก คือ พระมเหสียังไม่เสด็จออกจาก
ตำหนักที่ผทม หรือทั้งสองพระองค์ยังไม่เสด็จออก.
บทว่า ยังไม่ได้รับบอกก่อน คือ ไม่มีใครนิมนต์ไว้ก่อน.
ที่ชื่อว่า ธรณี ได้แก่ สถานที่เขาเรียกกันว่าธรณีแห่งตำหนักที่ผทม.
ที่ชื่อว่า ตำหนักที่ผทม ได้แก่ที่ผทมของพระเจ้าแผ่นดินซึ่งเจ้า
พนักงานจัดแต่งไว้ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยที่สุดแม้วงด้วยพระสูตร.
คำว่า ก้าวล่วงธรณีเข้าไป คือ ยกเท้าที่ ๑ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป
ต้องอาบัติทุกกฏ ที่ยกเท้า ๒ ก้าวล่วงธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๗๓๖] ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก ก้าวล่วง
ธรณีเข้าไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสงสัยอยู่ ก้าวล่วงธรณีเข้าไปต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ยังไม่ได้รับบอก ภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว ก้าวล่วงธรณีเข้าไป
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกทุกกฏ
ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับบอก. . . ต้องอาบัติทุกกฏ.
ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสงสัยอยู่ . . .ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ได้รับบอกแล้ว ภิกษุสำคัญว่าได้รับบอกแล้ว . . . ไม่ต้องอาบัติ.

807
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 808 (เล่ม 4)

อนาปัตติวาร
[๗๓๗] ได้รับบอกแล้ว ๑ ไม่ใช่กษัตริย์ ๑ ไม่ได้รับอภิเษกโดย
สรงสนานให้เป็นกษัตริย์ ๑ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกจากดำหนักที่ผทมแล้ว ๑
พระมเหสีเสด็จออกจากทำหนักที่ผทมแล้ว ๑ หรือทั้งสองพระองค์เสด็จออก
จากที่ผทมแล้ว ๑ ไม่ใช่ตำหนักที่ผทม ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
รตนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
ปาจิตตีย์ ราชวรรคที่ * ๙
อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑
วนิจฉัยในสิกขาบทที่ ๑ แห่งราชวรรค พึงทราบดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถบางปาฐะในสิกขาบทที่ ๑ ]
บทว่า โอรโก แปลว่า ต่ำต้อย.
บทว่า อฺปริปาสาทวรคโต แปลว่า ประทับอยู่ ณ เบื้องบนแห่ง
ปราสาทอันประเสริฐ.
สองบทว่า อยฺยานํ วาหสา แปลว่า เพราะเหตุแห่งพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลาย มีคำอธิบายว่า ข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรม เพราะพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น
ได้ชั่วให้เกิดขึ้น.
สองบทว่า ปิตรํ ปฏฺเฐติ ได้แก่ พระราชโอรสต้องการจะเห็นโทษ
แล้วปลงพระชนม์พระราชบิดา.
* บาลีเป็น รตนวรรค.

808
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 809 (เล่ม 4)

ในคำว่า ราชนฺเตปุรํ หตฺถิสมฺมทฺทํ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่าที่พระ-
ราชฐานชั้นในนี้อัดแอไปด้วยพวกช้าง; ฉะนั้น จึงชื่อว่า หัตถิสัมัมททะ.
อธิบายว่า คับแคบไปด้วยช้าง. แม้ในบทว่าอัสสรถสังมัททะก็นัยนี้เหมือนกัน.
ภิกษุบางพวกสวดว่า สมฺมตํ ก็มี. คำนั้นไม่ควรถือเอา. ปาฐะว่า รญฺโญ
อนฺเตปุเร หตฺถิสมฺมทฺทํ. ก็มี ในปาฐะนั้น มีอรรถว่า การเหยียบย่ำไป
มาแห่งช้างทั้งหลาย ชื่อว่า หัตถิสัมมัททะ. มีคำอธิบายว่า การเดินย่ำไปมา
แห่งช้างมีอยู่ในพระราชวังชั้นใน. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.
บทว่า รชนียานิ ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น เช่นนี้ มีอยู่ในพระราช
วังชั้นในนั้น.
บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส คือ ผู้ทรงได้รับอภิเษกสรงสนานบน
พระเศียร.
บทว่า อนิกฺขนฺตราชเก มีวิเคราะห์ว่า พระราชายังไม่เสด็จออก
จากพระตำหนักที่ผทมนี้; เหตุนั้น ตำหนักนั้น จึงชื่อว่า ที่พระราชายังไม่
เสด็จออก. อธิบายว่า ในคำหนักทีผทมมีพระราชายังไม่เสด็จออกนั้น. พระ-
มเหสี พระผู้มีพระภาคเจ้าเรียกว่ารัตนะ.
บทว่า นึภฏํ แปลว่า ออกแล้ว. รัตนะ (คือพระมเหสี) ยิ่งไม่
เสด็จออก จากตำหนักที่ผทมนี้ ฉะนั้น ตำหนักผทมนั้น จงชื่อว่าที่รัตนะยัง
ไม่ออก. อธิบายว่า ในทำหนักที่ผทม มีรัตนะยังไม่ออกนั้น. คำที่เหลือใน
สิกขาบทนี้ ดินทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายกับวาจา ๑
ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นทางกิริยา ทั้งอกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ
ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
อันเตปุรสิกขาบทที่ ๑ จบ

809
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 810 (เล่ม 4)

รตนวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๗๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ
รูปหนึ่งอาบน้ำอยู่ในแม่น้ำอจิรวดี แม้พราหมณ์คนหนึ่งวางถุงเงินประมาณ
๕๐๐ กษาปณ์ไว้บนบกแล้วลงอาบน้ำในแม่น้ำอจิรวดี เสร็จแล้วได้ลืมถุงทรัพย์
นั้นไว้ ไปแล้ว จึงภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยสำคัญว่า นี้ถุงทรัพย์ของพราหมณ์
นั้น อย่าได้หายเสียเลย ฝ่ายพราหมณ์นั้นนึกขึ้นได้ รีบวิ่งมาถามภิกษุนั้นว่า
ข้าแด่พระคุณเจ้า พระคุณเจ้าเห็นถุงทรัพย์ของข้าพเจ้าบ้างไหม.
ภิกษุนั้นได้คืนให้พร้อมกับกล่าวว่า เชิญครับไปเถิดท่านพราหมณ์.
พราหมณ์ฉุกคิดขึ้นได้ในขณะนั้นว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจึง
จะไม่ต้องให้ค่าไถ่ร้อยละห้าแก่ภิกษุนี้ จึงพูดเป็นเชิงขู่ขึ้นว่า ทรัพย์ของข้าพเจ้า
ไม่ใช่ ๕๐๐ กษาปณ์ ของข้าพเจ้า ๑,๐๐๐ กษาปณ์ ดังนี้ แล้วปล่อยตัวไป
ครั้นภิกษุนั้นไปถึงพระอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุจึงได้เก็บเอาสิ่งรัตนะเล่า . . .แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
เจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า
เธอเก็บเอารัตนะไว้ จริงหรือ.
ภิกษุรูปนั้น กราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

810