หลายบทว่า กาลํ วิทิตฺวา ปุจฺฉนฺติ ความว่า ถ้าเวลาแห่งการ
ตรัสถามนั้น ๆ มีอยู่ไซร้, ทรงทราบกาลนั้นแล้ว จึงตรัสถาม ถ้าเวลา
แห่งการตรัสถามนั้น ไม่มีไซร้, ทรงทราบกาลแม้อย่างนั้นแล้ว ก็ไม่ตรัสถาม.
อนึ่ง พระตถาคตทั้งหลาย แม้เมื่อจะตรัสถามอย่างนั้น ย่อมตรัสถามแต่คำที่
ประกอบด้วยประโยชน์ คือ ย่อมตรัสถามเฉพาะแต่คำที่อิงอาศัยประโยชน์
อิงอาศัยเหตุเท่านั้น หาตรัสถามคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่. เพราะ
เหตุไร ? เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ทรงขจัดคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
เสียได้ด้วยมรรคชื่อว่าเสตุ. มรรคท่านเรียกวา เสตุ. มีคำอธิบายไว้ว่า การขจัด
คือ การตัดขาดด้วยดี ซึ่งคำเช่นนั้นด้วยมรรคนั่นเอง.
บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงถึงพระดำรัส ที่อิงอาศัย
ประโยชน์ซึ่งพระตถาคตทั้งหลายตรัสถามนั้น ในบทว่า อตฺถสญฺหิตํ นี้
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทฺวีหิ อากาเรหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเรหิ คือ ด้วยเหตุทั้งหลาย.
สองบทว่า ธมฺมํ วา เทเสสฺสาม ความว่า เราจักแสดงพระสูตร
ที่ประกอบด้วยอัตถุปปัตติเหตุ (คือเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า) หรือชาดกที่
ประกอบด้วยเหตุแห่งบุรพจริต (คือความประพฤติในชาติก่อน)
หลายบทว่า สาวกานํ วา สิกฺขาปทํ ปญฺญาเปสฺสาม ความว่า
หรือเราจักทำโทษที่ล่วงเกินให้ปรากฏ ด้วยการถามนั้น แล้วจักบัญญัติสิขาบท
คือตั้งข้อบังคับหนักหรือเบาไว้แก่สาวกทั้งหลาย.
ในคำว่า อถโข ภควา ฯ เป ฯ เอตมตฺถํ อาโรเจสิ นี้ หามี
คำอะไร ๆ ที่ควรกล่าวไว้ไม่. เพราะว่า ท่านพระอานนท์เมื่อทูลบอกการได้
ข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ความเป็นผู้มีความประพฤติเบา และเปลื้องจากการหุงต้ม