No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 157 (เล่ม 57)

เรือนนี้เลย จงพังฝาหนีไปเสียในที่ใดที่หนึ่ง รักษาชีวิตไว้ภายหลัง
จึงค่อยกลับมา ขุดทรัพย์ซึ่งฝังไว้มีอยู่ในที่นี้ แล้วเก็บทรัพย์ไว้
เลี้ยงชีพให้เป็นสุขเถิด. บุตรรับคำของมารดาบิดาแล้วพังฝา
หนีไป เมื่อโรคของตนหายดีแล้วจึงกลับมาขุดเอาทรัพย์ที่ฝังไว้
อยู่ครองเรือนอย่างเป็นสุข. วันหนึ่งเขาให้คนถือเนยใสและ
น้ำมัน ผ้า เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ไปวิหารเชตวัน ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วนั่ง. พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเขาแล้ว
ตรัสถามว่า ได้ยินว่า อหิวาตกโรคเกิดขึ้นในเรือนของท่าน
ท่านทำอย่างไรจึงรอดมาได้. เขาได้กราบทูลเรื่องราวนั้นให้
ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก แม้แต่ก่อนชน
เหล่าใด เมื่อภัยเกิดขึ้นทำความอาลัยในที่อยู่ของตน ไม่ยอมไป
อยู่ที่อื่น ชนเหล่านั้นถึงสิ้นชีวิต แต่ชนเหล่าใดไม่ทำความอาลัย
ไปอยู่เสียที่อื่น ชนเหล่านั้นรอดชีวิตแล้วทรงนำเรื่องในอดีต
มาตรัสเล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลช่างหม้อใกล้หมู่บ้าน
แห่งหนึ่ง ทำการปั้นหม้อเลี้ยงบุตรภรรยา. ในครั้งนั้น ใกล้
กรุงพาราณสี ได้มีสระใหญ่ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกับแม่น้ำใหญ่
สระนั้นมีน้ำไหลถึงกันกับแม่น้ำในคราวน้ำมาก. เมื่อน้ำน้อย
ก็แยกกัน. ปลาและเต่าย่อมรู้ว่า ปีนี้ฝนดี ปีนี้ฝนแล้ง. ครั้นต่อมา
ปลาและเต่าที่เกิดในสระนั้นรู้ว่า ในปีนี้ฝนจะแล้ง ครั้นถึงเวลา

157
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 158 (เล่ม 57)

น้ำไหลต่อเนื่องกันเป็นอันเดียว จึงพากันออกจากสระไปสู่แม่น้ำ.
แต่เต่าตัวหนึ่ง ไม่ยอมไปด้วยคิดเสียว่านี้เป็นที่เกิดของเรา เป็น
ที่เติบโตของเรา เป็นที่ที่พ่อแม่ของเราเคยอยู่ เราไม่อาจจะละ
ที่นี้ไปได้. ครั้นถึงคราวหน้าแล้ง น้ำแห้งผาก. เต่านั้นขุดคุ้ยดิน
เข้าไปอยู่ในที่ที่ขนดินของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ได้ไป
ณ ที่นั้นด้วยประสงค์ว่าจักเอาดิน จึงเอาจอบใหญ่ขุดดิน สับถูก
เต่าแล้วเอาจอบงัดมันขึ้นคล้ายก้อนดินทิ้งกลิ้งอยู่บนบก. เต่า
นั้นได้รับเวทนา จึงพูดคร่ำครวญว่า เราไม่อาจละที่อยู่ได้จึงถึง
ความพินาศอย่างนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
เราเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ เพราะเหตุนี้ เรา
จึงได้อาศัยอยู่ที่เปือกตม เปือกตมกลับทับถมเรา
ให้ทุรพล ดูก่อนท่านภัคควะ เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ขอท่านจงฟังคำของ
ข้าพเจ้าเถิด บุคคลได้รับความสุขในที่ใด จะเป็น
ในบ้านหรือในป่าก็ตาม ที่นั้นเป็นที่เกิด เป็นที่
เติบโตของบุรุษผู้รู้จักเหตุผล บุคคลพึงเป็นอยู่
ได้ในที่ใดก็พึงไปในที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตน
เสีย.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชนิตํ เม ภวิตํ เม ได้แก่ นี้เป็นที่เกิด
ของเรา นี้เป็นที่เติบโตของเรา. บทว่า อิติ ปงฺเก อวสฺสยึ ความ

158
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 159 (เล่ม 57)

ว่า เราอาศัย คือ นอน คือสำเร็จการอยู่ในเปือกตมนี้ เพราะเหตุนี้.
บทว่า อชฺฌภวิ ได้แก่ ครอบงำคือให้ถึงความพินาศ. เรียก
ช่างหม้อว่า ภัคควะ ภัคควะนี้เป็นบัญญัตินามและโคตรของ
ช่างหม้อ. บทว่า สุขํ ได้แก่ ความสบายทางกายและทางจิต.
บทว่า ตํ ชนิตํ ภวิตญฺจ ได้แก่ นั้นเป็นที่เกิดและเป็นที่เติบโต.
บทว่า ปชานโต ได้แก่ ผู้รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์คือ เหตุ
และมิใช่เหตุ. บทว่า น นิเกตหโต สิยา ความว่า ทำความอาลัย
ในที่อยู่แล้วไม่ไปในที่อื่นถูกที่อยู่ฆ่า ไม่ควรให้ถึงมรณทุกข์
เช่นนี้.
เต่าเมื่อพูดกับพระโพธิสัตว์อย่างนี้ก็ตาย. พระโพธิสัตว์
จับเอาเต่าไปแล้วให้ชาวบ้านทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อจะสอน
มนุษย์ทั้งหลาย จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านจงดูเต่านี้ ในขณะ
ที่ปลาและเต่าอื่น ๆ ไปสู่แม่น้ำใหญ่ เต่านี้ไม่อาจตัดความอาลัย
ในที่อยู่ของตนได้ ไม่ไปกับสัตว์เหล่านั้น เขาไปนอนยังที่ขนดิน
ของเรา ครั้นเราขนดินได้เอาจอบใหญ่สับหลังมันเหวี่ยงมันลง
บนบกเหมือนก้อนดิน เต่านี้จึงเปิดเผยกรรมที่ตนกระทำคร่ำครวญ
ด้วยคาถาสองคาถาแล้วก็ตาย มันทำความอาลัยในที่อยู่ของตน
ถึงแก่ความตาย แม้พวกท่านก็อย่าได้เป็นเช่นเต่าตัวนี้ ตั้งแต่
นี้ไป พวกท่านจงอย่ายึดด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจเครื่อง
อุปโภคและบริโภคว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของเรา
บุตรของเรา ธิดาของเรา ทาสีและทาสเงินทองของเราแท้

159
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 160 (เล่ม 57)

สัตว์ผู้เดียวนี้เท่านั้นวนเวียนไปในภพสาม. พระโพธิสัตว์ได้ให้
โอวาทแก่มหาชน ด้วยพุทธสีลา ด้วยประการฉะนี้. โอวาทนั้น
แผ่ไปทั่วชมพูทวีป ดำรงอยู่ตลอดเวลาประมาณเจ็ดพันปี.
มหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทำบุญมีทานเป็นต้น
ทำทางสวรรค์ให้บริบูรณ์ในคราวสิ้นอายุ.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศ
อริยสัจ ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบอริยสัจกุลบุตรนั้นตั้งอยู่ใน
โสดาปัตติผล. เต่าในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนช่าง
หม้อ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๘

160
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 161 (เล่ม 57)

๙. สตธรรมชาดก
ว่าด้วยสตธรรมมาณพ
[๒๐๗] อาหารที่เราบริโภค น้อยด้วย เป็นเดนด้วย
อนึ่ง เขาให้แก่เราโดยยากเต็มที เราเป็นชาติ
พราหมณ์บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น อาหารที่เรา
บริโภคเข้าไปแล้วจึงกลับออกมาอีก.
[๒๐๘] ภิกษุใดละทิ้งธรรมเสีย หาเลี้ยงชีพโดย
ไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้นก็ย่อมไม่เพลินด้วยลาภ
แม้ที่ได้มาแล้ว เปรียบเหมือนสตธรรมมาณพ
ฉะนั้น.
จบ สตธรรมชาดกที่ ๙
อรรถกถาสตธรรมชาดกที่ ๙
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
การแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เป็นต้นว่า ตญฺจ อปฺปญฺจ อุจฺฉิฏฺฐํ ดังนี้.
เรื่องพิสดารมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากสำเร็จ
ชีวิตด้วยการแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง เป็นต้นว่า การเป็นหมอ
การเป็นทูต การส่งข่าว การรับใช้ การให้ไม้สีฟัน การให้ไม้ไผ่

161
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 162 (เล่ม 57)

การให้ดอกไม้ การให้ผลไม้ การให้จุณสำหรับทา การให้
ครุภัณฑ์ การให้ยา การให้ของบิณฑบาต. การแสวงหาไม่ควร
นั้น จักมีแจ้งในสาเกตชาดก.
พระศาสดาทรงทราบการเลี้ยงชีพของภิกษุเหล่านั้น
ทรงพระดำริว่า บัดนี้ภิกษุเป็นอันมากสำเร็จชีวิตด้วยการ
แสวงหาไม่ควร ครั้นสำเร็จชีวิตอย่างนี้แล้วจักไม่พ้นความเป็น
ยักษ์ ความเป็นเปรต จักเกิดเป็นโคเทียมแอก จักเกิดในนรก
เราควรกล่าวธรรมเทศนาสักอย่างหนึ่งอันเป็นอัธยาศัยของตน
เป็นปฏิภาณของตน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของพวกเธอ
แล้วรับสั่งให้หมู่ภิกษุประชุมกัน ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ไม่ควรให้ปัจจัยเกิดขึ้นด้วยการแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง
เพราะบิณฑบาตที่เกิดขึ้นด้วยการแสวงหาไม่ควรเป็นเช่นกับ
ก้อนทองแดงร้อน เปรียบเหมือนยาพิษร้ายแรง จริงอยู่การ
แสวงหาไม่ควรนี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวก
ของพระพุทธเจ้าติเตียน คัดค้าน เมื่อภิกษุบริโภคบิณฑบาต
อันเกิดขึ้นด้วยการแสวงหาอันไม่ควร จะไม่มีความร่าเริงหรือ
โสมนัสเลย เพราะว่าบิณฑบาตอันเกิดขึ้นอย่างนี้เป็นเช่นกับ
อาหารเดนของคนจัณฑาลในศาสนาของเรา การบริโภคบิณฑบาต
นั้น ย่อมเป็นเหมือนการบริโภคอาหารเดนของคนจัณฑาล ชื่อ
สตธรรมมาณพ แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

162
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 163 (เล่ม 57)

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล ครั้น
เจริญวัยได้ตระเตรียมข้าวสารเป็นเสบียงและห่อข้าวเดินทาง
ไปทำกรณียกิจอย่างหนึ่ง. ในกาลนั้นในกรุงพาราณสีมีมาณพ
คนหนึ่ง ชื่อ สตธรรม เกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอุทิจจโคตร.
เขามิได้ตระเตรียมข้าวสารหรือห่อข้าวเดินทางไปด้วยกรณียกิจ
อย่างหนึ่ง. ทั้งสองได้มาพบกันที่ทางใหญ่. มาณพจึงถามพระ-
โพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นชาติอะไร. มาณพบอกว่า เราเป็นคน
จัณฑาล แล้วถามมาณพว่า ก็ท่านเล่าเป็นชาติอะไร เขาบอกว่า
เราเป็นพราหมณ์อุทิจจโคตร. ดีแล้วเราไปด้วยกัน ทั้งสองก็
เดินทางร่วมกันไป. ได้เวลาอาหารเช้า พระโพธิสัตว์จึงนั่งใน
ที่ที่หาน้ำง่าย ล้างมือแก้ห่อข้าวแล้วกล่าวว่า มาณพบริโภค
ข้าวกันเถิด. มาณพตอบว่า ไม่มีเสียละเจ้าคนจัณฑาลที่เรา
จะต้องการอาหารของท่าน. พระโพธิสัตว์จึงว่าตามใจ แล้ว
แบ่งอาหารเพียงพอสำหรับตนไว้ในใบไม้อื่น ไม่ทำอาหารในห่อ
ให้เป็นเดน มัดห่อวางไว้ข้างหนึ่ง บริโภค ดื่มน้ำ จากนั้นก็
ล้างมือล้างเท้าถือเอาข้าวสารและอาหารที่เหลือ กล่าวว่าไปกัน
เถิดมาณพ แล้วก็เดินทางต่อไป. เขาพากันเดินทางไปตลอดวัน
ยังค่ำ ในตอนเย็น ทั้งสองพากันลงอาบน้ำในที่ที่น้ำบริบูรณ์
แห่งหนึ่ง เสร็จแล้วก็ขึ้น. พระโพธิสัตว์นั่งในที่สำราญ แล้วแก้
ห่ออาหาร ไม่ได้เชิญมาณพ เริ่มบริโภค. มาณพเหน็ดเหนื่อย

163
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 164 (เล่ม 57)

เพราะการเดินทางมาตลอดวัน เกิดความหิวโหย ได้แต่ยืนมอง
ด้วยคิดว่า หากเขาให้อาหารเรา เราก็จักบริโภค. ฝ่ายพระ-
โพธิสัตว์ ก็มิได้พูดอะไรบริโภคท่าเดียว. มาณพคิดว่า เจ้าคน
จัณฑาลนี้ไม่พูดกับเราเลย บริโภคจนหมด เราควรยึดเอาก้อน
อาหารไว้ ทิ้งเศษอาหารข้างบนเสีย แล้วบริโภคส่วนที่เหลือ.
มาณพได้ทำดังนั้น แล้วบริโภคอาหารเดน. ครั้นบริโภคเสร็จ
แล้วเท่านั้น ก็เกิดความร้อนใจอย่างแรงว่า เราทำกรรมอันไม่
สมควรแก่ชาติ โคตร ตระกูล และประเทศของตน เราบริโภค
อาหารเดนของคนจัณฑาล. ทันใดนั้นเองอาหารปนโลหิตก็พุ่ง
ออกจากปากของมาณพนั้น. เขาคร่ำครวญ เพราะความโศก
ใหญ่หลวงเกิดขึ้นว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรเพราะเหตุ
อาหารเพียงเล็กน้อย แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-
อาหารที่เราบริโภคน้อยด้วย เป็นเดนด้วย
อนึ่ง เขาให้แก่เราโดยยากเย็นเต็มที เราเป็นชาติ
พราหมณ์บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้นอาหารที่เรา
บริโภคเข้าไปแล้ว จึงกลับออกมาอีก.
ในคาถานั้นมีความสังเขปดังต่อไปนี้ เราบริโภคอาหาร
ใดอาหารนั้นน้อยด้วยเป็นเดนด้วย คนจัณฑาลนั้นมิได้ให้อาหาร
แก่เราด้วยความพอใจของตน ที่แท้ถูกเรายึดจึงได้ให้ด้วยความ
ยาก คือ ด้วยความลำบาก เราเป็นพราหมณ์มีชาติบริสุทธิ์
ด้วยเหตุนั้นอาหารที่เราบริโภคจึงพลุ่งออกมาพร้อมกับโลหิต.

164
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 165 (เล่ม 57)

มาณพคร่ำครวญอยู่อย่างนี้แล้วจึงคิดว่า เราทำกรรมอัน
ไม่สมควร ถึงอย่างนี้แล้วจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม จึงเข้าป่าไป
ไม่แสดงตนแก่ใคร ๆ ถึงแก่กรรมลงอย่างน่าอนาถ.
พระศาสดาทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะสตธรรมมาณพบริโภคอาหารเดนของ
คนจัณฑาลเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่สมควรแก่ตน จึงมิได้
เกิดความร่าเริงยินดีฉันใด ผู้ใดบวชแล้วในศาสนานี้ก็ฉันนั้น
สำเร็จชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร บริโภคปัจจัยตามที่
ได้ ความร่าเริงยินดีมิได้เกิดแก่ผู้นั้น เพราะเขามีชีวิตเป็นอยู่
ที่น่าตำหนิ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงคัดค้าน ครั้นทรงบรรลุอภิสัม-
โพธิญาณแล้ว จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า :-
ภิกษุใดละทิ้งธรรมเสีย หาเลี้ยงชีพโดย
ไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้นก็ย่อมไม่เพลินด้วยลาภ
แม้ที่ตนได้มาแล้ว เปรียบเหมือนสตมาณพฉะนั้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรม คืออาชีวปาริ-
สุทธิคีล. บทว่า นิรงฺกตฺวา ได้แก่ นำไปทิ้งเสีย. บทว่า
อธมฺเมน ได้แก่ มิจฉาชีพ กล่าวคือการแสวงหาไม่สมควร ๒๑
อย่าง อย่างนี้. บทว่า สตธมฺโม เป็นชื่อของมาณพนั้น. บาลีเป็น
สุตธมฺโม บ้าง. บทว่า น นนฺทติ ความว่า มาณพสตธรรม
ไม่ยินดีด้วยลาภนั้นว่า เราได้อาหารเดนของคนจัณฑาล ฉันใด

165
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 166 (เล่ม 57)

กุลบุตรผู้บวชในศาสนานี้ก็ฉันนั้น บริโภคลาภที่ได้มาด้วยการ
แสวงหาอันไม่สมควร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่ยินดี ถึงความ
โทมนัสว่า เราเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ.
เพราะฉะนั้น ผู้ที่สำเร็จชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร
ควรเข้าป่าตายเสียอย่างอนาถดีกว่า เหมือนสตธรรมมาณพ
ฉะนั้น.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประกาศอริยสัจ ๔ ทรงประชุมชาดก เมื่อจบอริยสัจ ภิกษุ
เป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น. บุตรคนจัณฑาลใน
ครั้งนั้น คือเราตถาคตในครั้งนี้แล.
จบ อรรถกถาสตธรรมชาดกที่ ๙

166