No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 147 (เล่ม 57)

๖. กฬายมุฏฐิชาดก
ว่าด้วยโลภมาก
[๒๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ลิงผู้เที่ยว
หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของมัน
ก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำเสียหมดสิ้น แล้วเที่ยว
ค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงยังพื้นดิน.
[๒๐๒] ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น
ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ
น้อย เปรียบเหมือนวานรเสื่อมจากถั่วทั้งหมด
เพราะถั่วเมล็ดเดียว ฉะนั้น.
จบ กฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖
อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖
พระราชาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพระเจ้ากรุงโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ทาโล วตายํ ทุมสาขโคจโร ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง ในฤดูฝนทางชายแดน
ของพระเจ้ากรุงโกศลเกิดกบฎ พวกนักรบที่อยู่ ณ ชายแดน
นั้น ได้ทำการสู้รบถึงสองสามครั้ง ก็ไม่สามารถเอาชนะข้าศึก

147
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 148 (เล่ม 57)

เป็นธรรมานุสาสก (สอนธรรม) ของพระองค์. ครั้งนั้นทาง
ชายแดนของพระองค์เกิดกบฎ ทหารที่ชายแดนส่งสาส์นให้
ทรงทราบ. พระราชาเสด็จออกในฤดูฝน ตั้งพักค่าย ณ พระ-
อุทยาน. พระโพธิสัตว์ได้อยู่ใกล้ที่ประทับพระราชา. ขณะพวก
ทหารนำถั่วดำอาหารม้ามาใส่ไว้ในราง. บรรดาลิงในพระราช-
อุทยาน มีลิงตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ ฉวยเอาถั่วดำจากรางนั้น
ใส่ปากจนเต็มแล้วยังคว้าติดมือไปอีก กระโดดขึ้นไปนั่งบนต้นไม้
เริ่มจะกิน เมื่อมันจะกินถั่วดำเม็ดหนึ่งหลุดจากมือตกลงไป
บนดิน มันจึงทิ้งถั่วดำทั้งหมดทั้งที่อยู่ในปาก และที่มือลงจาก
ต้นไม้มองหาถั่วดำนั้น ครั้นไม่เห็นมันจึงกลับขึ้นต้นไม้ใหม่
นั่งเศร้าโศกเสียใจ หน้าซึมอยู่บนกิ่งไม้ เหมือนแพ้คดีไปสักพันคดี.
พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาของลิงจึงตรัสเรียก
พระโพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า ดูซิ ท่านอาจารย์ ลิงมันทำอะไร
นั่น. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราช ผู้โง่เขลา
ไร้ปัญญา ไม่มองถึงของมาก มองแต่ของน้อย ย่อมกระทำเช่นนี้
แหละพระพุทธเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถาแรกก่อนว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ลิงผู้เที่ยว
หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของ
มันก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำ เสียหมดสิ้นแล้ว
เที่ยวค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงบนพื้นดิน.

148
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 149 (เล่ม 57)

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุมสาขโคจโร ได้แก่ลิง. เพราะ
ลิงนั้นหาอาหารบนกิ่งไม้. กิ่งไม้เหล่านั้นเป็นโคจร คือเป็นที่เที่ยว
สัญจรไปมาของมัน เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ผู้เที่ยวไปตาม
กิ่งไม้. เรียกพระราชาว่า ชนินฺท เพราะพระราชา ชื่อว่าเป็น
จอมชน เพราะความเป็นใหญ่ยิ่ง. บทว่า กฬายมุฏฺฐึ ได้แก่
ลูกเดือยกำหนึ่ง. เกจิอาจารย์กล่าวว่า กาฬราชมาสมุฏฺฐึ บ้าง
(ถั่วดำ ถั่วราชมาส) บทว่า อวกิริย ได้แก่ สาดทิ้ง. บทว่า
เกวลํ คือ ทั้งหมด. บทว่า คเวสติ คือหาเมล็ดเดียวที่ตกลงบน
พื้นดิน.
ครั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปยังที่นั้น
กราบทูลปราศัยกับพระราชา แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น
ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ
น้อย เหมือนลิงเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะถั่ว
เมล็ดเดียวแท้ ๆ.
ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้ พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทแด่
พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นที่ถูกความ
โลภครอบงำก็ดี ทั้งหมดนั้นย่อมเสื่อมจากของมากเพราะของ
น้อย ด้วยว่าบัดนี้พวกเราจะเดินทางไปในฤดูฝนอันมิใช่กาล
สมควร ย่อมเสื่อมจากประโยชน์มาก เพราะเหตุประโยชน์เล็ก
น้อย. บทว่า กฬาเยเนว วานโร ความว่า เหมือนลิงตัวนี้แสวงหา

149
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 150 (เล่ม 57)

ถั่วเมล็ดเดียว เสื่อมแล้วจากถั่วเป็นอันมาก เพราะถั่วเมล็ดเดียว
นั้น ฉันใด แม้พวกเราในบัดนี้ก็ฉันนั้น กำลังจะไปในที่อันเต็ม
ไปด้วยซอกเขาและลำธารเป็นต้น โดยมิใช่กาลแสวงหาประโยชน์
เล็กน้อย แต่จักเสื่อมจากพาหนะช้าง พาหนะม้าเป็นต้นมากมาย
และหมู่นักรบ เพราะฉะนั้นไม่ควรไปในเวลาอันมิใช่กาล.
พระราชาสดับถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้วเสด็จ
กลับจากที่นั้น เข้าสู่พระนครพาราณสีทันที. แม้พวกโจรได้
ข่าวว่า พระราชาเสด็จออกจากพระนคร โดยพระประสงค์จะ
ปราบปรามพวกโจร จึงพากันหนีออกจากชายแดน.
แม้ในปัจจุบันพวกโจรได้ยินข่าวว่า พระราชากรุงโกศล
เสด็จออก จึงพากันหนีไป. พระราชาสดับพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้-
มีพระภาคเจ้า การทำประทักษิณ เสด็จกลับกรุงสาวัตถี.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์
บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖

150
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 151 (เล่ม 57)

๗. ตินทุกชาดก
ว่าด้วยอุบาย
[๒๐๓] มนุษย์ทั้งหลายมีมือถือแล่งธนู ถือดาบ
อันคมแล้ว พากันมาแวดล้อมพวกเราได้โดยรอบ
ด้วยอุบายอย่างไรพวกเราจึงจะรอดพ้นไปได้.
[๒๐๔] ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิดมี
แก่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีกิจมากเป็นแน่ ยังมีเวลา
พอที่จะเก็บเอาผลไม้มากินได้ ท่านทั้งหลาย จง
พากันกินผลมะพลับเถิด.
จบ ตินทุกชาดกที่ ๗
อรรถกถาตินทุกชาดกที่ ๗
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ธนุหตฺถกลาเปหิ ดังนี้.
ความพิสดารมีอยู่ว่า พระศาสดาครั้นทรงสดับวาจา
พรรณาพระคุณแห่งปัญญาของพระองค์เหมือนในมหาโพธิชาดก
และอุมมังคชาดกแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต
มีปัญญามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็มีปัญญาและฉลาด
ในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

151
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 152 (เล่ม 57)

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดวานร มีวานรแปดหมื่น
เป็นบริวาร อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. ใกล้หิมวันตประเทศนั้น
มีบ้านชายแดนแห่งหนึ่ง บางครั้งก็มีคนอยู่ บางครั้งก็ไม่มีคนอยู่
ในท่ามกลางหมู่บ้านนั้นมีต้นมะพลับต้นหนึ่ง กิ่งก้านและคาคบ
บริบูรณ์มีผลอร่อย. ฝูงลิงพากันมากินผลมะพลับนั้นในเวลาที่
ไม่มีคนอยู่. ครั้นต่อมาถึงคราวมีผลอีก บ้านนั้นได้กลับเป็นที่อยู่
ของมนุษย์เรียงรายไปด้วยต้นอ้อ ประกอบไปด้วยประตู. แม้
ต้นไม้นั้นก็ออกผลกิ่งลู่น้อมลง. ฝูงลิงคิดว่า เมื่อก่อนเรากินผล
มะพลับที่บ้านโน้น บัดนี้มะพลับต้นนั้นมีผลหรือยังหนอ บ้าน
มีคนอยู่หรือไม่หนอ ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงส่งลิงไปตัวหนึ่ง โดย
กล่าวว่า เจ้าจงไปสืบดูที. ลิงนั้นไปสืบดูก็รู้ว่าไม้นั้นออกผล
และบ้านมีผู้คนจับจองอยู่จึงกลับมาบอกแก่พวกลิง. พวกลิง
ได้ฟังว่าต้นไม้นั้นออกผล เกิดความอุตสาหะว่าจักกินผลมะพลับ
อันโอชา จึงบอกความนั้นแก่พญาวานร. พญาวานรถามว่า
บ้านมีคนอยู่หรือไม่ มันบอกว่า มีจ้ะนาย. พญาวานรบอกว่า
ถ้าเช่นนั้นไม่ควรไป เพราะพวกมนุษย์มีเล่ห์กะเท่มาก. พวกลิง
กล่าวว่า เราจักกินตอนเที่ยงคืนในเวลาที่พวกมนุษย์หลับสนิท
ครั้นพญาวานรรับรู้แล้ว จึงลงจากป่าหิมพานต์ คอยเวลาที่
พวกมนุษย์หลับสนิท นอนอยู่บนหลังแผ่นหินใหญ่ไม่ไกลหมู่บ้าน
นั้น ครั้นมัชฌิมยามพวกมนุษย์หลับ จึงพากันขึ้นต้นไม้กินผลไม้.

152
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 153 (เล่ม 57)

ทีนั้นชายคนหนึ่งออกจากเรือนโดยจะไปถ่ายอุจจาระ ถึงท่าม
กลางบ้านเห็นฝูงลิงจึงตะโกนบอกพวกมนุษย์. พวกมนุษย์มาก
มาย สอดธนูและลูกศร ถืออาวุธต่าง ๆ ทั้งก้อนดินและท่อนไม้
เป็นต้น พอรุ่งสว่าง พากันยืนล้อมต้นไม้ด้วยหวังว่า จักจับ
ฝูงลิง.
ฝูงลิงแปดหมื่นตัวเห็นพวกมนุษย์ตกใจกลัวตาย พากัน
ไปหาพญาวานรด้วยคิดว่า นอกจากพญาวานรแล้ว ไม่มีผู้อื่น
จะเป็นที่พึ่งของพวกเราได้ แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-
พวกมนุษย์มีมือถือธนูและแล่งธนู ถือดาบ
อันคมกริบ พากันมาแวดล้อมพวกเราไว้โดยรอบ
พวกเราจะพ้นไปได้ด้วยอุบายอย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ธนุหตฺถกลาเปหิ คือมีมือถือธนู
และแล่งธนู อธิบายว่า ถือธนูแลแล่งศรยืนล้อมอยู่. บทว่า
ปริกิณฺณมฺหา คือแวดล้อม. บทว่า กถํ ได้แก่ พวกเราจักพ้นได้
ด้วยอุบายไรหนอ.
พญาวานรได้ฟังคำของพวกลิงเหล่านั้นแล้วปลอบพวก
ลิงว่า พวกเจ้าอย่ากลัวเลย ขึ้นชื่อว่าเหล่ามนุษย์มีการงานมาก
แม้วันนี้ก็เพิ่งมัชฌิมยาม บางทีเมื่อพวกมนุษย์ยืนล้อมเราด้วย
คิดว่าจักฆ่าพวกเรา กิจอื่นอันทำอันตรายแก่กิจนี้พึงเกิดขึ้น
แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

153
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 154 (เล่ม 57)

ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิด
แก่มนุษย์ผู้มีกิจมากเป็นแน่ ยังมีเวลาพอที่จะเก็บ
ผลไม้เอามากินได้ พวกท่านจงพากันกินผล
มะพลับเถิด.
บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต. ในบทนี้มีอธิบายว่า บางที.
ความต้องการอะไร ๆ อย่างอื่นพึงเกิดขึ้นแก่พวกมนุษย์ผู้มี
กิจมาก. บทว่า อตฺถิ รุกฺขสฺส อุจฺฉินฺนํ ความว่า ยังมีทางที่จะ
แย่งเอามากินได้ด้วยการฉุดกระชากผลของต้นไม้นี้. บทว่า
ขชฺช ตญฺเญว ตินฺทุกํ ความว่า พวกเจ้า จงกินผลมะพลับกัน
เถิด คือ พวกเจ้ามีความต้องการเท่าใด จงกินเท่านั้น เราจักรู้
ในเวลาที่เขาประหารพวกเรา.
พระมหาสัตว์ปลอบฝูงลิงไว้. เพราะว่าเมื่อพวกมันเมื่อ
ไม่ได้การปลอบใจเช่นนี้ ทั้งหมดจะหัวใจแตกถึงแก่ความตาย.
พระมหาสัตว์ปลอบฝูงวานรอย่างนี้แล้วกล่าวว่า พวกเจ้าจับนับ
ลิงทั้งหมดที. เมื่อพวกมันนับก็ไม่เห็นวานรชื่อ เสนกะซึ่งเป็น
หลานของพญาวานร จึงแจ้งว่า เสนกะไม่มา. พญาวานร
กล่าวว่า หากเสนกะไม่มา พวกเจ้าไม่ต้องกลัว เสนกะนั้นจัก
ทำความปลอดภัยให้แก่พวกเจ้าในบัดนี้.
เสนกะหลับในเวลาที่ฝูงลิงมา ภายหลังตื่นขึ้นไม่เห็นใคร ๆ
จึงเดินตามรอยเท้ามา ครั้นเห็นพวกมนุษย์จึงรู้ว่า ภัยเกิดขึ้นแก่
ฝูงลิงเสียแล้ว จึงไปหาหญิงแก่ซึ่งตามไฟกรอด้ายอยู่ ณ ท้าย

154
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 155 (เล่ม 57)

เรือนหลังหนึ่ง แล้วทำเป็นเด็กชาวบ้านเดินไปนา คว้าคบไฟ
ดุ้นหนึ่งวิ่งไปจุดบ้านซึ่งตั้งอยู่เหนือลม. พวกมนุษย์พากันผละ
พวกลิงไปดับไฟ. ลิงทั้งหลายก็พากันหนีเก็บผลไม้ได้ตัวละผล
เพื่อนำไปให้เสนกะแล้วพากันหนีไป.
พระศาสดาทรงนำ พระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. เสนกะหลานพญาวานรในครั้งนั้นได้เป็นมหานามศากยะ
ในครั้งนี้ ฝูงลิงได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนพญาวานร คือเรา
ตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาตินทุกชาดกที่ ๗

155
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ – หน้าที่ 156 (เล่ม 57)

๘. กัจฉปชาดก
ว่าด้วยเต่า
[๒๐๕] เราเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ เพราะเหตุนี้ เรา
จึงได้อาศัยอยู่ที่เปือกตม เปือกตมกลับทับถม
เราให้ทุรพล ดูก่อนท่านภัคควะ เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ขอท่านจงฟังคำของ
ข้าพเจ้าเถิด.
[๒๐๖] บุคคลได้รับความสุขในที่ใด จะเป็นใน
บ้านหรือในป่าก็ตาม ที่นั้นเป็นที่เกิด เป็นที่เติบโต
ของบุรุษผู้ร้จักเหตุผล บุคคลพึงเป็นอยู่ได้ในที่ใด
ก็พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย.
จบ กัจฉปชาดกที่ ๘
อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภผู้รอดจากอหิวาตกโรคคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้มีคำเริ่มต้นว่า ชนิตํ เม ภวิตํ เม ดังนี้.
มีเรื่องเล่าว่าที่กรุงสาวัตถี ได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นใน
ตระกูลหนึ่ง. มารดาบิดาจึงบอกแก่บุตรว่า ลูก เจ้าอย่าอยู่ใน

156