No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 432 (เล่ม 56)

พระศาสดา. ครั้งนั้นพวกภิกษุพากันถามพระเถระผู้เฒ่าทั้งสองว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นานจริงหนอที่ท่านทั้งสองมิได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
เหตุไรท่านทั้งสองจึงได้ชักช้าอย่างนี้ ? พระเถระผู้เฒ่าทั้งสอง
ก็พากันเล่าเรื่องนั้น ครั้งนั้นความเกียจคร้าน โอ้เอ้ ของท่านทั้งสอง
ก็ระบือไปในหมู่สงฆ์ แม้ในธรรมสภา พวกภิกษุก็อาศัยความ
เป็นผู้เกียจคร้านของท่านทั้งสองนั้นแหละ ตั้งเป็นเรื่องขึ้น. พระ-
ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว มีรับสั่งให้เรียกท่านทั้งสองมาเฝ้า ตรัสถามว่า
ได้ยินว่าพวกเธอเกียจคร้าน โอ้เอ้ จริงหรือ ? ครั้นท่านทั้งสอง
ทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่
แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอทั้งสองเป็นผู้เกียจคร้าน แม้ในกาลก่อน
ก็เป็นผู้เกียจคร้านและยังเป็นผู้มีความอาลัย ห่วงใยในที่อยู่
ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี มีปลา ๓ ตัวอยู่ในพระนครพาราณสี ปลา
ทั้ง ๓ นั้น มีชื่อดังนี้ คือ พหุจินตี อัปปจินตี และมิตจินตี. ปลา
ทั้ง ๓ พากันออกจากป่ามาสู่ถิ่นมนุษย์ ในปลาทั้ง ๓ นั้น มิตจินตี
บอกกับปลาทั้งสองอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าถิ่นมนุษย์นี้ เต็มไปด้วย
ความรังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า พวกชาวประมงพากันวางข่าย
และไซเป็นต้น มีประการต่าง ๆ แล้วจับเอาปลา พวกเราพากัน

432
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 433 (เล่ม 56)

เข้าป่าตามเดิมเถอะ ปลาทั้งสองนอกนี้ ต่างพูดผลัดว่า พวกเรา
จะไปกันวันนี้ หรือพรุ่งนี้ค่อยไปเถิด เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน
และเพราะความติดใจในเหยื่อ จนเวลาล่วงไปถึง ๓ เดือน
ครั้งนั้น พวกชาวประมงพากันวางข่ายในแม่น้ำ ปลาพหุจินตี และ
ปลาอัปปจินตี เมื่อออกหาอาหาร พากันว่ายไปข้างหน้า ไม่
กำหนดกลิ่นข่าย เพราะความเป็นสัตว์โง่ ตกเข้าไปในท้องข่าย
ทันที ปลามิตจินตีตามมาข้างหลัง กำหนดกลิ่นข่ายได้ และรู้ว่า
ปลาทั้งคู่นั้นเข้าไปในท้องข่ายเสียแล้ว คิดว่า เราจักให้ทานชีวิต
แก่ปลาอันธพาล ผู้เกียจคร้านคู่นี้ไว้ แล้วก็ว่ายไปสู่ที่ท้องข่าย
ข้างนอก ทำให้น้ำป่วนปั่น ทำเป็นทีว่าท้องข่ายขาดแล้วโดด
ออกไปได้ แล้วก็โดดไปข้างหน้าข่าย ว่ายเข้าไปสู่ท้องข่ายอีก
ทำให้น้ำป่วนปั่น เป็นทีว่าทำให้ข่ายส่วนหลังขาด โดดออกไปได้
แล้วก็โดดออกไปทางเบื้องหลังข่าย พวกประมงสำคัญว่า ปลา
พากันชำแรกข่ายไปได้ ก็ช่วยกันจับปลายข่ายยกขึ้น ปลาทั้งสอง
นั้นก็รอดจากข่ายตกลงไปในน้ำ เป็นอันว่าปลาทั้งสองนั้น อาศัย
ปลามิตจินตี จึงได้มีชีวิต พระศาสดาครั้นทรงนำเอาเรื่องในอดีต
นี้มาสาธกแล้ว ได้ตรัสรู้ยิ่งแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถานี้ ความว่า :-
" ปลาสองตัว คือปลาพหุจินตี และปลา-
อัปปจินตี ติดอยู่ในข่าย ปลาชื่อมิตจินตีได้ช่วย
ให้พ้นจากข่าย ปลาทั้งสองตัวจึงได้มาพร้อมกัน
กับปลามิตจินตี ในแม่น้ำนั้น" ดังนี้.

433
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 434 (เล่ม 56)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุจินฺตี ความว่า ปลาที่ได้
นามอย่างนี้ว่า พหุจินตี เพราะมีความคิดมาก มีความตรึกตรอง
มาก แม้ในชื่อทั้งสองนอกนี้ ก็มีนัยนี้แหละ.
บทว่า อุโภ ตตฺถ สมาคตา ความว่า ปลาทั้งคู่เข้าไป
ติดข่าย อาศัยปลามิตจินตี จึงรอดชีวิตกลับมา ร่วมกับปลา-
มิตจินตี ในน่านน้ำนั้นอีก.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาด้วยประการฉะนี้
แล้วทรงประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ
ภิกษุผู้เฒ่า (ทั้งสององค์) ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ปลาพหุจินตี
และปลาอัปปจินตี ในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุคู่นี้ ส่วนปลา-
มิตจินตี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตจินติชาดกที่ ๔

434
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 435 (เล่ม 56)

๕. อนุสาสิกขาดก
ว่าด้วยดีแต่สอนผู้อื่น
[๑๑๕] "นางนกสาลิกาตัวใด สั่งสอนนกตัวอื่น
อยู่เนือง ๆ ตัวเองมีปกติเที่ยวไปด้วยความ
ละโมภ นางนกสาลิกาตัวนั้นถูกล้อบดแล้ว มี
ปีกหักนอนอยู่"
จบ อนุสาสิกชาดกที่ ๕
อรรถกถาอนุสาสิกชาดกที่ ๕
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุณีผู้ชอบพร่ำสอนรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยายญฺญมนุสาสติ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุณีนั้นเป็นกุลธิดานางหนึ่ง ชาวพระนคร-
สาวัตถีบวชแล้ว ตั้งแต่กาลที่ตนบวชแล้ว ก็มิได้ใส่ใจในสมณธรรม
ติดใจในอามิส เที่ยวไปบิณฑบาตในเอกเทศแห่งพระนคร ที่
ภิกษุณีอื่น ๆ ไม่พากันไป ครั้งนั้น พวกมนุษย์พากันถวาย
บิณฑบาตอันประณีตแก่เธอ เธอถูกความอยากในรสผูกพันไว้
คิดว่า ถ้าภิกษุณีอื่น ๆ จักเที่ยวบิณฑบาตในประเทศนี้ ลาภ
ของเราจักเสื่อมถอย เราควรกระทำให้ภิกษุณีอื่น ๆ ไม่มาถึง

435
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 436 (เล่ม 56)

ประเทศนี้ ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของนางภิกษุณีทั้งหลาย พร่ำ
สั่งสอนนางภิกษุณีทั้งหลายว่า ดูก่อนแม่เจ้าทั้งหลาย ในที่ตรงโน้น
มีช้างดุ มีม้าดุ มีสุนัขดุ ท่องเที่ยวอยู่ เป็นสถานที่มีอันตราย
รอบด้าน แม้คุณทั้งหลายอย่าไปเที่ยวบิณฑบาตในที่นั้นเลย
ฟังคำของเธอแล้ว แมัภิกษุณีสักรูปหนึ่ง ก็ไม่เหลียวคอมองดู
ประเทศนั้น. ครั้นวันหนึ่ง ขณะที่เธอกำลังเที่ยวบิณฑบาต เข้าไป
สู่เรือนหลังหนึ่งโดยเร็ว แพะดุชนเอากระดูกขาหัก พวกมนุษย์
รีบเข้าไปตรวจดู ประสานกระดูกขาที่หักสองท่อนให้ติดกัน
แล้วหามเธอด้วยเตียง นำไปสู่สำนักภิกษุณี พวกภิกษุณีพากัน
หัวเราะเยาะว่า ภิกษุณีรูปนี้ชอบพร่ำสอนภิกษุณีรูปอื่น ๆ
ตนเองกลับเที่ยวไปในประเทศนั้น จนขาหักกลับมา ด้วยเหตุ
ที่เธอกระทำแม้นั้น ก็ปรากฏในหมู่ภิกษุไม่ช้านัก ครั้นวันหนึ่ง
พวกภิกษุพากันกล่าวโทษของเธอในธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ชอบสอน พร่ำสอนภิกษุณีอื่น ๆ ตนเองเที่ยว
ไปในประเทศนั้น ถูกแพะดุชนเอากระดูกหัก พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ใน
กาลก่อน ภิกษุณีนั้น ก็เอาแต่สั่งสอนคนอื่น ๆ แต่ตนเองไม่
ประพฤติ ต้องเสวยทุกข์ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว แล้วทรงนำ
เอาเรื่องในอดีต มาสาธกดังนี้ :-

436
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 437 (เล่ม 56)

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิด ในกำเนิดนกป่า เจริญวัย
แล้ว ได้เป็นจ่าฝูงนก มีนกหลายร้อยเป็นบริวาร เข้าไปสู่ป่า-
หิมพานต์ ในกาลที่พระโพธิสัตว์อยู่ในป่าหิมพานต์นั้น นางนก
จัณฑาลตัวหนึ่งไปสู่หนทางในดงดึก๑ หาอาหารกิน นางได้เมล็ด-
ข้าวเปลือกและถั่วเป็นต้น ที่หล่นตกจากเกวียนในที่นั้นแล้ว
คิดว่า บัดนี้เราต้องหาวิธีทำให้พวกนกเหล่าอื่นไม่ไปสู่ประเทศนี้
ดังนี้แล้ว ให้โอวาทแก่ฝูงนกว่า ขึ้นชื่อว่าทางใหญ่ในดงดึก เป็น
ทางมีภัยเฉพาะหน้า ฝูงสัตว์เป็นต้นว่า ช้าง ม้า และยวดยาน
ที่เทียมด้วยโคดุ ๆ ย่อมผ่านไปมา ถ้าไม่สามารถจะโผบินขึ้น
ได้รวดเร็ว ก็ไม่ควรไปในที่นั้น ฝูงนกตั้งชื่อให้นางว่า "แม่อนุ-
สาสิกา" วันหนึ่งนางกำลังเที่ยวไปในทางใหญ่ในดงดึก ได้ยิน-
เสียงยานแล่นมาด้วยความเร็วอย่างยิ่ง ก็เหลียวมองดู โดยคิดว่า
ยังอยู่ไกล คงเที่ยวเรื่อยไป ครั้งนั้นยานก็พลันถึงตัวนาง ด้วย
ความเร็วปานลมพัด นางไม่อาจโผบินขึ้นได้ทัน ล้อทับร่าง
ผ่านไป นกผู้เป็นจ่าฝูง เรียกประชุมฝูงนก ไม่เห็นนางก็กล่าวว่า
นางอนุสาสิกาไม่ปรากฏ พวกเจ้าจงค้นหานาง ฝูงนกพากันค้นหา
เห็นนางแยกออกเป็นสองเสียงที่ทางใหญ่ ก็พากันแจ้งแก่จ่าฝูง
จ่าฝูงกล่าวว่า นางห้ามนกอื่น ๆ แต่ตนเองเที่ยวไปในที่นั้น จึง
แยกออกเป็นสองเสี่ยง แล้วกล่าวคาถานี้ความว่า :-
"นางนกสาลิกาตัวใด สั่งสอนนกตัวอื่น
๑. ดงดึก = ป่าลึกเข้าไปไกล.

437
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 438 (เล่ม 56)

อยู่เนือง ๆ ตัวเองมีปกติเที่ยวได้ด้วยความ
ละโมภ นางนกสาลิกาตัวนั้นถูกล้อบดแล้ว มี
ปีกหักนอนอยู่ " ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ย อักษรในบทว่า ยายญฺญมนุสาสติ
ทำการเชื่อมบท ความก็ว่า นางนกสาลิกาใดเล่า สั่งสอนผู้อื่น.
บทว่า สยํ โลลุปฺปจารินี ความว่า เป็นผู้มีปกติเที่ยว
คนองไปด้วยตน.
บทว่า สายํ วิปกฺขิกา เสติ ความว่า นกตัวนั้น คือ นาง-
สาลิกาตัวนี้ มีขนปีกกระจัดกระจาย นอนอยู่ที่ทางใหญ่.
บทว่า หตา จกฺเกน สาสิกา ความว่า นางนกสาสิกา
ถูกล้อยานทับตาย.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า นางนกสาลิกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุณี
อนุสาสิกาในครั้งนี้ ส่วนนกจ่าฝูง ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอนุสาสิกชาดกที่ ๕

438
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 439 (เล่ม 56)

๖. ทุพพจชาดก
ได้รับโทษเพราะทำเกินขีดความสามารถ
[๑๑๖] ท่านอาจารย์ ท่านทำการเกินกว่าที่จะ
ทำได้ เรื่องนี้ไม่ถูกใจกระผมเลย ท่านโดดพ้น
หอกเล่มที่ ๔ แล้วถูกหอกเล่มที่ ๕ เสียบเข้าแล้ว.
จบ ทุพพจชาดกที่ ๖
อรรถกถาทุพพจชาดกที่ ๖
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อติกรมกราจริย ดังนี้.
เรื่องของภิกษุนั้น จักแจ่มแจ้งในคิชฌชาดก นวกนิบาต.
(แต่ในชาดกนี้) พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นผู้ว่ายาก แม้ในกาลก่อน
ก็เป็นผู้ว่ายาก เพราะความที่เป็นผู้ว่ายาก ไม่กระทำตามโอวาท
แห่งบัณฑิต จึงถูกหอกแทงถึงสิ้นชีวิต ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ ถือปฏิสนธิในกำเนิดนักฟ้อน

439
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 440 (เล่ม 56)

ทางกระโดด เจริญวัยแล้ว ได้เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดในอุบาย
ท่านศึกษาศิลปะในทางกระโดดข้ามหอก ในสำนักแห่งนักโดด
ผู้หนึ่ง เที่ยวแสดงศิลปะไปกับอาจารย์ แต่อาจารย์ของท่านรู้
ศิลปะในการโดดข้ามหอก สี่เล่มเท่านั้น ไม่ได้ถึง ๕ เล่ม วันหนึ่ง
อาจารย์แสดงศิลปะในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง เมาเหล้า แล้วพูดว่า
เราจักโดดข้ามหอก ๕ เล่ม ปักหอกเรียงรายไว้ ครั้งนั้นพระ-
โพธิสัตว์จึงกล่าวกะอาจารย์ว่า ท่านอาจารย์ครับ ท่านไม่ทราบ
ศิลปะการโดดข้ามหอก ๕ เล่ม เอาหอกออกเสียเล่มหนึ่งเถิด
ครับ ถ้าท่านขึ้นโดดจักถูกหอกเล่มที่ ๕ แทงตายแน่นอน แต่
เพราะเมาสุรา อาจารย์จึงกล่าวว่า ถึงตัวเจ้าก็หารู้ขีดความ
สามารถของเราไม่ มิได้ยึดถือถ้อยคำของพระโพธิสัตว์ โดยข้าม
ไปได้ ๔ เล่ม ถูกเล่มที่ ๕ เสียบเหมือนคนเสียบดอกมะทราง
ในไม้กลัดฉะนั้น นอนคร่ำครวญอยู่ ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์กล่าว
กะท่านอาจารย์ว่า ท่านไม่เชื่อคำของบัณฑิต จึงถึงความฉิบหาย
นี้ ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"ท่านอาจารย์ ท่านกระทำการเกินกว่า
ที่ทำได้ เรื่องนี้ไม่ถูกใจกระผมเลย ท่านโดดพ้น
หอกเล่มที่ ๔ แล้ว ถูกหอกเล่มที่ ๕ เสียบเข้า
แล้ว" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติกรมกราจริย ความว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านได้กระทำการที่ล้ำหน้า อธิบายว่า

440
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 441 (เล่ม 56)

ได้กระทำการเกินกว่าที่ตนเคยกระทำได้.
ด้วยบทว่า มยฺหมฺเปตํ น รุจฺจติ นี้ พระโพธิสัตว์แสดง
ความว่า การกระทำของท่านนี้ไม่ชอบใจข้าพเจ้าผู้เป็นอันเตวาสิก
ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้บอกท่านไว้ก่อนทีเดียว.
บทว่า จตุตฺเถ ลิงฺฆยิตฺวาน ความว่า ท่านไม่ตกลงบน
ใบหอกเล่มที่ ๔ คือถีบตนข้ามได้.
บทว่า ปญฺจมายสิ อาวุโต ความว่า ท่านไม่เชื่อถ้อยคำ
ของบัณฑิต บัดนี้จึงถูกหอกเล่มที่ ๕ เสียบไว้แล้ว.
พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ก็นำอาจารย์ออกจาก
หอก กระทำกิจที่ควรทำให้แล้ว พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานนี้
มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อาจารย์ในครั้งนั้นได้มาเป็นภิกษุ
ผู้ว่ายากนี้ ส่วนอันเตวาสิก ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทุพพจชาดกที่ ๖

441