No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 422 (เล่ม 56)

เขาหันกลับมามองพระโพธิสัตว์แล้วกระทำพลีกรรม พระ -
โพธิสัตว์ ก็บริโภคโอชา จากขนมนั้น แล้วกล่าวว่า ดูก่อนบุรุษ
ท่านปฏิบัติเราเพื่อต้องการอะไร ? เขากล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้
เป็นใหญ่ ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ มาปรนนิบัติ ก็ด้วยหมายใจว่า
จะอาศัยท่าน แล้วพ้นจากความเป็นทุคคตะ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านอย่าคิดเสียใจไปเลย ท่านทำการบูชา
เราผู้มีกตัญญูกตเวที รอบต้นละหุ่งนี้ มีหม้อใส่ขุมทรัพย์ตั้งไว้
เรียงราย จวบจนจรดถึงคอ ท่านจงกราบทูลพระราชา เอาเกวียน
มาขนทรัพย์ กองไว้ ณ ท้องพระลานหลวง พระราชาก็จัก
โปรดปรานประทานตำแหน่งเศรษฐีแก่ท่าน. ครั้นบอกแล้ว
พระโพธิสัตว์ก็อันตรธานไป เขาได้กระทำตามนั้น แม้พระราชา
ก็โปรดประทานตำแหน่งเศรษฐีแก่เขา. เขาอาศัยพระโพธิสัตว์
ถึงสมบัติอันใหญ่หลวง แล้วไปตามยถากรรมด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ทุคคตบุรุษในครั้งนั้น มาเป็นทุคคตบุรุษในครั้งนี้
ส่วนเทวดาผู้สิงอยู่ ณ ต้นละหุ่ง ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุณฑกปูวชาดกที่ ๙

422
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 423 (เล่ม 56)

๑๐. สัพพสังหารกปัญหา
ว่าด้วยการพูดของหญิง ๒ ประเภท
[๑๑๐] "กลิ่นเครื่องอบทั้งปวงไม่มี มีแต่กลิ่น
ดอกประยงค์ ล้วนฟุ้งไป หญิงนักเลงคนนี้ ย่อม
กล่าวคำเหลาะแหละ หญิงผู้ใหญ่กล่าวคำจริง"
จบ สัพพสังหารปัญหาที่ ๑๐
อรรถกถาสัพพสังหารกปัญหาที่ ๑๐
ปัญหาในเรื่องเครื่องประดับ อบด้วยกลิ่นหอมทุกอย่าง
มีคำเริ่มต้นว่า สพฺพสํหารโก นตฺถิ ดังนี้ จักแจ่มแจ้งโดยอาการ
ทั้งปวง ในอุมมัคคชาดก.
จบ อรรถกถาสัพพสังหารปัญหาที่ ๑๐

423
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 424 (เล่ม 56)

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปโรสชาดก ๒. ปัณณิกชาดก ๓. เวริชาดก
๔. มิตตวินทชาดก ๕. ทุพพลกัฏฐชาดก ๖. อุทัญจนีชาดก
๗. สาลิตตกชาดก ๘. พาหิยชาดก ๙. กุณฑกปูวชาดก
๑๐. สัพพสังหารกปัญหา
จบ ปโรสตวรรคที่ ๑๑

424
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 425 (เล่ม 56)

๑๒. หังสิวรรค
๑. คัทรภปัญหา
ว่าด้วยลากับม้าอัสดร
[๑๑๑] "ข้าแต่ราชาผู้ประเสริฐ ถ้าพระองค์
ทรงสำคัญอย่างนี้ว่า บิดาประเสริฐกว่าบุตรไซร้
ผิฉะนั้น ลาตัวนี้ ก็ประเสริฐกว่าม้าอัสดรของ
พระองค์ เพราะลาเป็นพ่อของม้าอัสดร"
จบ คัทรภปัญหาที่ ๑
อรรถกถาหังสิวรรคที่ ๑๒
อรรถกถาคัทรภปัญหาที่ ๑
คัทรภปัญหาแม้นี้ มีคำเริ่มต้นว่า หํสิ ตุวํ เอวํ มญฺญสิ
ดังนี้ ก็จักแจ่มแจ้งในอุมมัคคชาดก๑ เหมือนกัน.
จบ อรรถกถาคัทรภปัญหาที่ ๑
๑. ในมหานิบาต

425
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 426 (เล่ม 56)

๒. อมราเทวีปัญหา
บอกใบ้หนทางไปบ้าน
[๑๑๒ ] "ร้านขายข้าวสัตตู ร้านขายน้ำส้มพะอูม
และต้นทองหลางใบมน ซึ่งมีดอกบานแล้ว มีอยู่
ณ ที่ใด ท่านจงไป ณ ที่นั้นเถิด ฉันให้ของด้วย
มือใด ฉันย่อมกล่าวด้วยมือนั้น ฉันไม่ได้ให้ของ
ด้วยมือใด ฉันไม่กล่าวด้วยมือนั้น นี่เป็นหนทาง
ของบ้าน ชื่อว่า ยวมัชฌกคาม ท่านจงรู้ทางที่ฉัน
กล่าวปกปิดนี้เองเถิด".
จบ อมราเทวีปัญหาที่ ๒
อรรถกถาอมราเทวีปัญหาที่ ๒
อมราเทวีปัญหาแม้นี้ มีคำเริ่มต้นว่า เยน สตฺตุวิลงฺคา จ
ดังนี้ ก็จักแจ่มแจ้งในอุมมัคคชาดกนั้นแล.
จบ อรรถกถาอมราเทวีปัญหาที่ ๒

426
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 427 (เล่ม 56)

๓. สิคาลชาดก
ว่าด้วยพราหมณ์เชื่อสุนัข
[๑๑๓] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเชื่อสุนัขผู้ดื่มสุรา
หรือ เพียง ๑๐๐ เบี้ยก็ไม่มี อย่าว่าถึง ๒๐๐
กหาปณะเลย".
จบ สิคาลชาดกที่ ๓
อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๓
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สทฺทหาสิ สิคาลสฺส ดังนี้ :-
ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรม นั่ง
สนทนากันถึงโทษของพระเทวทัตว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัต
ชักชวนภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ไปสู่คยาสีสประเทศ ให้ภิกษุ
เหล่านั้น ยึดถือลัทธิของตนว่า พระสมณโคดมตรัสข้อใด ข้อนั้น
มิใช่ธรรม เรากล่าวข้อใด ข้อนี้เท่านั้นเป็นธรรม ดังนี้แล้ว
กระทำมุสาวาท อันถึงฐานะวิบัติ ทำลายสงฆ์ ทำอุโบสถสองครั้ง
ในสีมาเดียวกัน. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?

427
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 428 (เล่ม 56)

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เทวทัตมักกล่าวมุสาวาท
แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้มีปกติกล่าวมุสาเหมือนกัน ทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา
อยู่ข้างป่าช้า ในครั้งนั้น ในพระนครพาราณสี มีงานนักขัตฤกษ์
ครึกครื้น พวกมนุษย์คิดกันว่า พวกเราจะกระทำพลีกรรม
แก่ยักษ์ แล้วจัดปลาและเนื้อเป็นต้นเรียงราย รินสุราเป็นอันมาก
ใส่กระบาล๑ทั้งหลายวางไว้ในที่นั้น ๆ มีตรอกและทางแพร่งเป็นต้น
ครั้งนั้น หมาจิ้งจอกตัวหนึ่ง เข้าไปสู่พระนครทางท่อระบายน้ำ
ในเวลาเที่ยงคืน เคี้ยวกินปลาและเนื้อเป็นต้น ดื่มสุราแล้วเข้าไป
สู่ระหว่างกอบุนนาค นอนหลับไปจนอรุณขึ้น มันตื่นขึ้น เห็น
สว่างแล้ว คิดว่า เราไม่อาจออกไปในเวลานี้ได้ แล้วไปที่ใกล้
ทางนอนซ่อนตัวอยู่ ถึงเห็นคนอื่น ๆ ก็ไม่พูดอะไร ๆ ต่อเห็น
พราหมณ์ผู้หนึ่งกำลังเดินไปล้างหน้า ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าพราหมณ์
แล้ว ย่อมเป็นผู้มีความโลภอยากได้ทรัพย์ เราต้องเอาทรัพย์
ล่อพราหมณ์นี้ ทำให้แกสะพายเราออกจากเมืองให้จงได้ มัน
กล่าวด้วยภาษามนุษย์ว่า ท่านพราหมณ์ พราหมณ์หันกลับไป
พูดว่า ใครเรียกเรา ? มันตอบว่า ฉันเองท่านพราหมณ์ พราหมณ์
ถามว่า เรียกเราทำไม ? มันตอบว่า ท่านพราหมณ์ ฉันมีทรัพย์
๑. กระบาล = กระเบื้อง, ฮินดูเรียก ปูรว่า = ถ้วยดินเผา

428
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 429 (เล่ม 56)

อยู่ ๒๐๐ กหาปณะ ถ้าท่านสามารถกระเดียดฉัน คลุมมิดชิด
ด้วยผ้าสะไบเฉียง ไม่ให้ใคร ๆ เห็น พาฉันออกจากเมืองได้
ฉันจักให้เหรียญกษาปณ์เหล่านั้นแก่ท่าน ด้วยความโลภอยากได้
ทรัพย์ พราหมณ์จึงรับคำ กระทำตามคำของมัน พาออกจาก
เมืองไปได้หน่อยหนึ่ง ลำดับนั้น หมาจิ้งจอกถามพราหมณ์ว่า
ท่านพราหมณ์ ถึงไหนแล้ว ? พราหมณ์ตอบว่า ถึงที่โน้นแล้ว
มันบอกว่า ไปต่อไปอีกหน่อยเถิด สุนัขจิ้งจอกพูดไปเรื่อย ๆ
อย่างนั้น จนลุถึงป่าช้าใหญ่ จึงบอกว่า วางเราลงที่นี่เถิด ครั้น
พราหมณ์ปล่อยมันลงแล้ว หมาจิ้งจอกบอกต่อไปว่า ท่านพราหมณ์
ถ้ากระนั้น ท่านจงปูผ้าสะไบเฉียงลงเถิด พราหมณ์ก็ปูผ้าสะไบ-
เฉียงของตนลงด้วยความละโมภในทรัพย์ ครั้งนั้นมันก็บอกแกว่า
จงขุดโคนต้นไม้นี้เถิด ให้พราหมณ์ขุดดินลงไป พลางก็ขึ้นไปสู่
ผ้าสะไบเฉียงของพราหมณ์ ถ่ายมูตร คูถลงไว้ ๕ แห่ง คือที่มุม
ทั้ง ๔ และตรงกลาง เช็ดเสียด้วย ทำให้เปียกด้วย แล้วโดด
เข้าป่าช้าไป พระโพธิสัตว์สถิตเหนือค่าคบไม้ กล่าวคาถานี้
ความว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเธอสุนัขผู้ดื่มสุรา
หรือ เพียงร้อยเบี้ยก็ไม่มี อย่าว่าถึง ๒๐๐ กหาปณะ
เลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺทหาสิ แปลว่า หลงเชื่อ.
อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะอย่างนี้แหละ แต่มีความว่า เชื่อถือ.

429
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 430 (เล่ม 56)

บทว่า สิปฺปิกานํ สตํ นตฺถิ ความว่า เพราะว่า เงินร้อยเบี้ย
ของมันก็ยังไม่มี.
บทว่า กุโต กํสสตา ทุเว ความว่า แล้วมันจะมีเงินสองร้อย
กษาปณ์มาแต่ไหนเล่า ?
พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้วบอกว่า ไปเถิดพราหมณ์
จงไปซักผ้าของท่านเสีย อาบน้ำทำกิจของตนไปเถิด ดังนี้ แล้วก็
อันตรธานไป พราหมณ์ทำตามอย่างนั้น ถึงความโทมนัสว่า โธ่เอ๋ย
เราถูกหมาจิ้งจอกตัวนี้ลวงเสียแล้วเดินหลีกไป.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระเทวทัต
ส่วนรุกขเทวดาได้มาเป็นตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๓

430
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 431 (เล่ม 56)

๔. มิตจินติชาฯดก
ว่าด้วยปลาช่วยปลาให้พ้นข่าย
[๑๑๔] "ปลา ๒ ตัว คือปลาพหุจินตีและปลา-
อัปปจินตี ติดอยู่ในข่าย ปลามิตจินตีได้ช่วยให้พ้น
จากข่าย ปลาทั้งสองตัว จึงได้มาพร้อมกับปลา-
มิตจินตี ในแม่น้ำนั้น".
จบ มิตจินติชาดกที่ ๔
อรรถกถามิตจินติชาดกที่ ๔
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพระเถระผู้เฒ่า ๒ องค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า พหุจินฺตี อปฺปจินฺตี จ ดังนี้ :-
ได้ยินว่า พระเถระผู้เฒ่า ๒ องค์นั้น อยู่จำพรรษาใน
อรัญญาวาสแห่งหนึ่งในชนบท คิดกันว่า เราทั้งสองจักไปเฝ้า
พระศาสดา แล้วเตรียมเสบียงไว้ มัวผลัดอยู่ว่า ไปวันนี้เถิด
ไปพรุ่งนี้เถิด จนล่วงไปเดือนหนึ่ง แล้วก็อีกเดือนหนึ่ง ทั้งนี้
เพราะตนเป็นคนเกียจคร้าน และเพราะความเป็นห่วงที่อยู่
ต่อ ๓ เดือนล่วงไปแล้ว จึงได้ออกจากที่นั้นไปสู่พระเชตวัน
เก็บบาตรจีวรไว้ในที่อยู่ของภิกษุผู้ชอบพอกัน แล้วพากันไปเฝ้า

431