No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 412 (เล่ม 56)

ขับบริษัทไปเสีย ตรัสถามว่า ในสำนักของเรามีพราหมณ์ปาก
กล้าอยู่คนหนึ่ง เจ้าจักอาจทำให้เขาหมดเสียงได้ไหม ? บุรุษง่อย
กราบทูลว่า เมื่อได้ขี้แพะประมาณทะนานหนึ่ง ข้าพระองค์ก็
อาจจะกระทำได้พระเจ้าข้า พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษพา
บุรุษง่อยเข้าไปสู่พระราชวัง ให้นั่งอยู่ภายในม่านเจาะช่อง
ที่ม่าน รับสั่งให้จัดที่นั่งของพราหมณ์ตรงช่อง แล้วให้วางขี้แพะ
แห้งประมาณหนึ่งทะนานไว้ใกล้ ๆ บุรุษง่อย เวลาพราหมณ์
มาเฝ้า รับสั่งให้นั่งเหนืออาสนะนั้น พลางทรงตั้งเรื่องสนทนาขึ้น.
พราหมณ์ไม่ยอมให้โอกาสแก่คนอื่น ๆ เริ่มกราบทูลแก่พระราชา
ครั้งนั้นบุรุษง่อยก็ดีดขี้แพะไปทีละก้อน ๆ ทางช่องม่าน กะให้ตก
ลงที่พื้นเพดานปากของพราหมณ์นั้นทุกที เหมือนกับโยนใส่กระเช้า
ฉะนั้น พราหมณ์ก็กลืนขี้แพะที่ดีดมาแล้ว ๆ เหมือนกรอกน้ำมัน
ใส่ทะนาน. ขี้แพะถึงความสิ้นไปหมดทั้งทะนาน ขี้แพะประมาณ
ทะนานหนึ่งนั้น เข้าท้องของพราหมณ์ไปได้ประมาณกึ่งอาฬหกะ
พระราชาทรงทราบความที่ขี้แพะหมดสิ้นแล้ว จึงตรัสว่า ท่าน-
อาจารย์ ท่านกลืนขี้แพะเข้าไปตั้งทะนาน เพราะเป็นคนปากมาก
ท่านยังไม่รู้อะไรเลย บัดนี้ท่านจักไม่สามารถให้ขี้แพะมากกว่านี้
ย่อยได้ ไปเถิด จงดื่มน้ำประยงค์ ถ่ายทิ้ง ทำตนให้ปราศจาก
โรคเถิด จำเดิมแต่นั้น พราหมณ์ เหมือนมีปากถูกปิดสนิท แม้
ใครจะพูดก็ไม่ค่อยจะพูดด้วย พระราชาทรงพระดำริว่า บุรุษนี้
ทำความสบายหูให้แก่เรา พระราชทานบ้าน ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔

412
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 413 (เล่ม 56)

มีส่วยขึ้นประมาณแสนกษาปณ์ พระโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาศิลปะในโลก บัณฑิต
ทั้งหลายพึงเรียน แม้เพียงดีดก้อนกรวด ก็ยังช่วยให้บุรุษง่อย
ได้สมบัตินี้ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ขอเชิญ
พระองค์ทรงทอดพระเนตรบุรุษง่อย ได้บ้านส่วย
ทั้ง ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดมูลแพะ" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺส ขญฺชปฺปหาเรน ความว่า
พระโพธิสัตว์ กล่าวสรรเสริญคุณของศิลปะว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอเชิญทรงทอดพระเนตรเถิด บุรุษง่อยผู้นี้ได้รับพระราชทาน
บ้าน ๔ หลัง ใน ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดขี้แพะ อะไรเป็นข้อขีดคั่น
อานิสงส์แห่งศิลปะอื่น ๆ เล่า ?
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ตรัสประชุม
ชาดกว่า บุรุษง่อยในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ พระราชาได้
มาเป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสาลิตตชาดกที่ ๗

413
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 414 (เล่ม 56)

๘. พาหิยชาดก
เป็นคนควรศึกษาศิลปะ
[๑๐๘] บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชน
ทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้น ก็มีอยู่ แม้แต่หญิง
ที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชา
ทรงโปรดปรานได้ ด้วยการกระมิดกระเมี้ยน
ของเธอ.
จบ พาหิยชาดกที่ ๘
อรรถกถาพาหิยชาดกที่ ๘
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครเวสาลี ประทับอยู่ ณ
กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ทรงปรารภเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ ดังนี้.
ได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีองค์นั้น ทรงมีศรัทธาเลื่อมใส นิมนต์
พระภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงยังมหาทานให้เป็นไป
ในวังของพระองค์ แต่เทวีของพระองค์มีอวัยวะทุกส่วนอ้วนพี
ดูคล้ายนิมิตแห่งซากศพที่ขึ้นพอง ไม่สมบูรณ์ด้วยมารยาท
พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตรกิจแล้วเสด็จไป
พระวิหาร ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เสด็จเข้าพระคันธกุฎี

414
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 415 (เล่ม 56)

ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งเรื่องสนทนากันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีพระองค์นั้น มีพระรูปงามปานนั้น มีเทวี
ลักษณะตรงกันข้าม มีอวัยวะน้อยใหญ่อ้วนพี ไม่มีกิริยามารยาท
ท้าวเธอจะทรงอภิรมย์กับเทวีได้อย่างไรกันนะ ? พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุม
สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว ตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีองค์นี้ มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน ก็ทรงอภิรมย์กับหญิงที่มีร่างกายอ้วน
เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของ
พระองค์ ครั้งนั้น หญิงชนบทคนหนึ่งมีอวัยวะอ้วนพี ไม่มีกิริยา
มารยาท ทำการรับจ้าง เดินผ่านไปไม่ไกลท้องพระลานหลวง
เกิดปวดอุจจาระ ก็เอาผ้านุ่งคลุมหัว นั่งถ่ายอุจจาระแล้วรีบ
ลุกขึ้น ขณะนั้นพระเจ้าพาราณสี ทอดพระเนตรท้องพระลานหลวง
ทางช่องพระแกล ทรงเห็นนางแล้ว ทรงดำริว่า หญิงผู้นี้ ถ่าย
อุจจาระไว้ที่พระลานอย่างนี้ มิได้ละหิริโอตตัปปะ เอาผ้านุ่ง
นั่นแหละปิด ถ่ายอุจจาระแล้วก็รีบลุกขึ้น ชะรอยนางจักเป็นหญิง
ไม่มีโรค วัตถุของนางจักต้องบริสุทธิ์ ลูกคนหนึ่งที่ได้ในวัตถุ
บริสุทธิ์ จักเป็นผู้บริสุทธิ์ มีบุญ เราควรตั้งนางไว้เป็นอัครมเหสี
ท้าวเธอทรงทราบความที่นางยังไม่มีคู่ครอง ก็ตรัสสั่งพระราชทาน

415
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 416 (เล่ม 56)

ตำแหน่งอัครมเหสี นางได้เป็นที่โปรดปราน ต้องพระทัยของ
ท้าวเธอ ไม่นานนักก็ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง และโอรสของ
พระนางก็ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระโพธิสัตว์เห็นความถึง
พร้อมด้วยยศของพระนาง ได้โอกาสที่จะกราบทูลเช่นนั้นได้
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ศิลปะชื่อว่าควรศึกษา
เหตุไรจะไม่น่าศึกษาเล่า แต่พระมเหสีผู้มีบุญหนักพระองค์นี้
ไม่ทรงละหิริโอตตัปปะ ทรงกระทำสรีรวลัญชะ ด้วยอาการ
มิดเม้น ยังทำให้พระองค์โปรดปราน ทรงบรรลุสมบัติเห็นปานนี้
ได้นะ พระเจ้าข้า เมื่อจะกราบทูลคุณแห่งศิลปะที่ควรศึกษา
ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชน
ทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้นก็มีอยู่ แม้แต่หญิง
ที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชา
ทรงโปรดปรานได้ ด้วยความกระมิดกระเมี้ยน
ของเธอ " ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ตจฺฉนฺทิโน ความว่า หมู่ชน
ที่มีความพอใจในศิลปะเหล่านั้น คงมีแน่นอน.
บทว่า พาหิยา ได้แก่หญิงที่เกิดเจริญเติบโต ในชนบท
ที่มีในภายนอก.
บทว่า สุหนฺเนน ความว่า ไม่ละหิริโอตตัปปะ ขับถ่าย
ด้วยอาการอันปกปิด ชื่อว่า อาการอันกระมิดกระเมี้ยน ถ่าย

416
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 417 (เล่ม 56)

ด้วยอาการอันกระมิดกระเมี้ยนนั้น.
บทว่า ราชานํ อภิราธยิ ความว่า ยังทำให้สมมติเทพ
ทรงโปรดปราน ลุถึงสมบัตินี้ได้.
พระโพธิสัตว์กล่าวคุณของศิลปะทั้งหลาย อันสมควรแก่
คุณค่าของการศึกษา ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพาหิยชาดกที่ ๘

417
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 418 (เล่ม 56)

๙. กุณฑกปูวชาดก
ว่าด้วยมีอย่างไรก็กินอย่างนั้น
[๑๐๙] บุรุษกินอย่างไร เทวดาของบุรุษก็กิน
อย่างนั้น ท่านจงเอาขนมรำนั้นมา อย่าให้ส่วน
ของเราเสียไปเลย.
จบ กุณฑกปูวชาดกที่ ๙
อรรถกถากุณฑกปูวชาดกที่ ๙
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถี
ทรงปรารภบุรุษผู้เข็ญใจอย่างหนัก ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า ยถนฺโน ปุริโส โหติ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในพระนครสาวัตถี บางครั้งสกุลเพียง
สกุลเดียวเท่านั้น ถวายทานแต่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข บางครั้งสาม - สี่ตระกูลรวมกัน บางครั้งด้วยความ
ร่วมมือกันเป็นคณะ บางครั้งด้วยความร่วมใจกันของผู้ที่อยู่
ร่วมถนน บางครั้งรวมคนที่มีฉันทะความพอใจหมดทั้งเมือง ถวาย
ทานแต่พระสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุข ก็ในครั้งนั้น มีภัตร
ที่ชื่อว่า วิถีภัตร (คือการถวายภัตตาหารของผู้ที่อยู่ร่วมถนนกัน)
ได้มีขึ้น. ครั้งนั้นพวกมนุษย์ กล่าวเชิญชวนกันว่า เชิญท่าน

418
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 419 (เล่ม 56)

ทั้งหลายถวายข้าวยาคู นำของขบเคี้ยวมาถวายแด่ภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธองค์เป็นประมุขกันเถิด. ในกาลนั้น ยังมีลูกจ้างของ
คนเหล่าอื่นผู้หนึ่ง เป็นคนยากจนอยู่ในถนนนั้น คิดว่า เราไม่อาจ
ถวายข้าวยาคูได้ ของขบเคี้ยวพอจัดถวายได้ แล้วนวดรำชนิด
ละเอียด ให้ชุ่มด้วยน้ำ ห่อด้วยใบรัก เผาในกองเถ้า คิดว่า เราจัก
ถวายขนมนี้แด่พระพุทธเจ้า ถือขนมนั้นไปยืนอยู่ในสำนักพระ-
ศาสดา พอพระศาสดาตรัสครั้งเดียวว่า พวกท่านจงนำของขบเคี้ยว
มาเถิด ก็ไปก่อนคนทั้งปวง ใส่ขนมนั้นในบาตรของพระศาสดา
แล้วยืนอยู่ พระศาสดาไม่ทรงรับของขบเคี้ยวที่คนอื่น ๆ ถวาย
ทรงเสวยของขบเคี้ยว คือขนมนั้นเท่านั้น.
ในขณะนั้นเองทั่วทั้งพระนคร ก็ได้มีเสียงลือตลอดไปว่า
ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรังเกียจของขบเคี้ยว
ทำด้วยรำ ของมหาทุคคตบุรุษ ทรงเสวยเหมือนเสวยอมฤต ฉะนั้น
อิสสรชนมีพระราชา และมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเป็นต้น
โดยที่สุดตลอดถึงคนเฝ้าประตู ประชุมกันทั้งหมดทีเดียว ถวาย
บังคมพระศาสดาแล้ว เข้าไปหามหาทุคคตบุรุษ พากันกล่าวว่า
พ่อมหาจำเริญ เชิญพ่อรับเอาทรัพย์ร้อยหนึ่ง สองร้อย ห้าร้อย
แล้วให้ส่วนบุญแก่พวกเราเถิด. เขาตอบว่า ต้องกราบทูลสอบถาม
แล้วถึงจะรู้ แล้วไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความ
นั้น พระศาสดาตรัสว่า ท่านจงรับทรัพย์แล้วให้ส่วนบุญ แก่
สรรพสัตว์เถิด เขาเริ่มรับทรัพย์ พวกมนุษย์พากันให้ด้วยการ

419
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 420 (เล่ม 56)

ประมูล เป็นทวีคูณ จตุรคูณ และอัฏฐคูณเป็นต้น ได้ให้ทรัพย์
กันถึงเก้าโกฏิ. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จไป
วิหาร เมื่อพวกภิกษุแสดงวัตตปฏิบัตติถวายแล้ว ประทานพระ-
สุคโตวาท เสด็จเข้าพระคันธกุฎี เวลาเย็นวันนั้น พระราชา
รับสั่งให้มหาทุคคตบุรุษเข้าเฝ้า ทรงบูชาด้วยตำแหน่งเศรษฐี.
พวกภิกษุตั้งเรื่องสนทนากันในโรงธรรมว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
พระศาสดามิได้ทรงรังเกียจขนมรำ ที่มหาทุคคตบุรุษถวายเลย
ทรงเสวยเหมือนอมฤต ฝ่ายมหาทุคคตบุรุษเล่า ได้ทั้งทรัพย์
จำนวนมาก ได้ทั้งตำแหน่งเศรษฐี ถึงสมบัติอันยิ่งใหญ่แล้ว.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
สนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรง
ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่เราไม่รังเกียจ บริโภคขนมรำของเขา ถึงครั้งที่เป็นรุกขเทวดา
ในกาลก่อน ก็เคยบริโภคเหมือนกัน แม้ในครั้งนั้นเล่า เขาก็อาศัย
เราได้ตำแหน่งเศรษฐีเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเทวดา สถิต
ณ ต้นละหุ่งต้นหนึ่ง ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในหมู่บ้านนั้น พากัน
ยึดเอารุกขเทวดาเป็นมงคล เมื่อถึงงานมหรสพคราวหนึ่ง พวก
มนุษย์ต่างพากันกระทำพลีกรรมแก่รุกขเทวดาของตน ๆ ครั้งนั้น

420
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 421 (เล่ม 56)

มีทุคคตมนุษย์ผู้หนึ่ง เห็นคนเหล่านั้น พากันปรนนิบัติรุกขเทวดา
ก็ปฏิบัติต้นละหุ่งต้นหนึ่ง ผู้คนทั้งหลายพากันถือเอาดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้และของขบเคี่ยวของบริโภคเป็นต้น
นานัปการไป เพื่อเทวดาทั้งหลายของตน ฝ่ายเขามีแต่ขนมรำ
ก็ถือไปพร้อมกระบวยใส่น้ำ หยุดยืนไม่ไกลต้นละหุ่ง คิดว่า
ธรรมดาย่อมเสวยแต่ของขบเคี้ยวอันเป็นทิพย์ เทวดาคงจักไม่เสวย
ขนมรำนี้ของเรา เราจะยอมให้ขนมเสียหายไปด้วยเหตุนี้ทำไม
เรานั่นแหละจักกินขนมนั้นเสียเอง แล้วก็หวลกลับไปจากที่นั้น.
พระโพธิสัตว์ สถิตเหนือค่าคบกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ หากท่าน
เป็นใหญ่เป็นโต ก็ต้องให้ของขบเคี้ยวที่อร่อยแก่เรา แต่ท่าน
เป็นทุคคตะ เราไม่กินขนมของท่านแล้ว จักกินขนมอื่นได้อย่างไร
อย่าให้ส่วนของเราต้องเสียหายไปเลย แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"บุรุษกินอย่างไร คนของบุรุษก็กิน
อย่างนั้น ท่านจงเอาขนมรำนั้นมา อย่าให้ส่วน
ของเราเสียไปเลย" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถนฺโน ความว่า คนบริโภค
อย่างใด.
บทว่า ตถนฺนา ความว่า แม้เทวดาของคนผู้นั้นก็บริโภค
อย่างนั้นเหมือนกัน.
บทว่า อาหเรตํ กุณฺฑปูวํ ความว่า ท่านจงนำเอาขนมที่
ทำด้วยรำนั้นมาเถิด อย่าทำลายส่วนได้ของเราเสียเลย.

421