No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 402 (เล่ม 56)

๕. ทุพพลกัฏฐชาดก
ว่าด้วยช้างกลัวไม้แห้ง
[๑๐๕] "ลมย่อมพัดไม้แห้งที่ทุรพลในป่านี้ แม้
มีจำนวนมากมายให้หักลง แน่ะ ช้างตัวประเสริฐ
ถ้าท่านมัวกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจักซูบผอม
เป็นแน่".
จบ ทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕
อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุขลาดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า พหุมฺเปตํ วเน กฏฺฐํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถีผู้หนึ่ง
ฟังธรรมของพระศาสดาแล้วบรรพชา ได้เป็นผู้กลัวตายยิ่งนัก
เธอได้ยินเสียงลมพัด เสียงไม้แห้งตก หรือเสียงนก เสียงจตุบท
ก็สะดุ้งกลัวจะตาย ร้องเสียงลั่นวิ่งหนีไป เพราะด้วยเหตุเพียง
ความระลึกว่า เราต้องตาย ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอเสียเลย ก็ถ้าเธอ
พอจะรู้ว่า เราต้องตายดังนี้ ก็จะไม่กลัวตาย แต่เพราะเธอไม่เคย
เจริญมรหณัสสติกัมมัฏฐานเลย จึงกลัว ความกลัวตายของเธอ

402
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 403 (เล่ม 56)

แพร่หลายไปในหมู่ภิกษุ ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายยกเอา
เรื่องนี้ขึ้นพูดกันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้น
ขลาดต่อความตาย กลัวตาย ธรรมดาภิกษุควรจะเจริญมรณัสสติ-
กัมมัฏฐานว่า เราต้องตายแน่นอน ดังนี้. พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไรเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว มีรับสั่งให้หาภิกษุนั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า จริงหรือ ที่เขาว่า
เธอเป็นคนกลัวตาย เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเสียใจต่อภิกษุนี้เลย
มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้เป็นผู้กลัวตาย แม้ในกาลก่อน
เธอก็เป็นผู้กลัวตายเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา
ในป่าหิมพานต์ ในครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงมอบมงคลหัตถี
ของพระองค์ให้แก่พวกนายหัตถาจารย์ เพื่อให้ฝึกหัตถึงเหตุ
แห่งความไม่พรั่นพรึง พวกนายหัตถาจารย์จึงมัดช้างนั้นที่เสา-
ตะลุง อย่างกระดุกกระดิกไม่ได้ พวกมนุษย์พากันถือหอกซัด
พากันเข้าล้อม กระทำให้เกิดความพรั่นพรึง ช้างถูกเขาบังคับ
ดังนั้น ไม่อาจอดกลั้นเวทนาความหวั่นไหวได้ ทำลายเสาตะลุง
เสีย ไล่กวดมนุษย์ให้หนีไป แล้วเข้าป่าหิมพานต์ พวกมนุษย์

403
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 404 (เล่ม 56)

ไม่อาจจะจับช้างนั้นได้ก็พากันกลับ ช้างนั้นได้เป็นสัตว์กลัวตาย
เพราะเรื่องนั้น ได้ยินเสียงลมเป็นต้น ก็ตัวสั่น กลัวตาย ทิ้งงวง
วิ่งหนีไปโดยเร็ว เป็นเหมือนเวลาที่ถูกมัดติดเสาตะลุง ถูกบังคับ
ไม่ให้พรั่นพรึงฉะนั้น ไม่ได้ความสบายกาย หรือความสบายใจ
มีแต่ความหวั่นระแวงเที่ยวไป รุกขเทวดาเห็นช้างนั้นแล้ว ยืน
บนค่าคบไม้ กล่าวคาถานี้ความว่า :-
" ลมย่อมพัดไม้แห้ง ที่ทุรพลในป่านี้
แม้มีจำนวนมากมาย ให้หักลง แน่ะ ช้างตัว
ประเสริฐ ถ้าท่านยังกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจัก
ซูบผอมเป็นแน่" ดังนี้.
ในคาถานั้น ประมวลอรรถาธิบายได้ดังนี้ :- ลมต่างด้วย
ลมที่มาแต่ทิศบูรพาเป็นต้น ย่อมระรานต้นไม้ที่ทุรพลใดเล่า
ต้นไม้นั้นมีมากมายในป่านี้ คือหาได้ง่าย มีอยู่ในป่านั้น ๆ ถ้า
เจ้ากลัวลมนั้น ก็จำต้องกลัวอยู่เป็นนิจ จักต้องถึงความสิ้นเนื้อ
และเลือด เหตุนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป อย่ากลัวเลย.
เทวดาให้โอวาทแก่ช้างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมา
แม้ช้างนั้น ก็หายกลัว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประกาศสัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดกนี้ว่า ช้างในครั้งนั้น
ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนรุกขเทวดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕

404
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 405 (เล่ม 56)

๖. อุทัญจนีชาดก
ว่าด้วยหญิงโฉด
[๑๐๖] "หญิงโฉดผู้นำของไปด้วยหม้อน้ำ เบียด-
เบียนฉัน ผู้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จะขอน้ำมัน
หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวาน ฐาน
ภรรยา"
จบ อุทัญจนีชาดกที่ ๖
อรรถกถาอุทัญจนีชาดกที่ ๖
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการเล้าโลมของถุลกุมาริกา (หญิงสาวเจ้าเนื้อ) ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุขํ วต มํ ชีวนฺตํ ดังนี้.
เนื้อเรื่องจักแจ่มแจ้งในจูฬนารทกัสสปชาดก เตรสนิบาต
นั่นแล ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า
เธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสถามต่อไปว่า จิตของเธอปฏิพัทธ์ใน
อะไรเล่า ? เธอกราบทูลว่า ในหญิงสาวเจ้าเนื้อนางหนึ่ง พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
นางนี้ เคยทำความฉิบหายให้เธอ แม้ในกาลก่อนเธออาศัยนางนี่

405
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 406 (เล่ม 56)

ถึงความเสื่อมจากศีล เที่ยวซบเซาไป ต่ออาศัยบัณฑิตจึงได้
ความสุข แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
เมื่อเรื่องในอดีต ตั้งแต่คำว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้า-
พรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน พระนครพาราณสี เป็นต้น
ก็จักแจ่มแจ้ง ในจูพนารทกัสสปชาดกเหมือนกัน ก็ในครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ ถือผลาผลมาในเวลาเย็น เปิดประตูบรรณศาลา
เข้าไป ได้พูดคำนี้กะดาบสน้อยผู้บุตรว่า พ่อเอ๋ย ในวันอื่น ๆ
เจ้าหักฟืน ตักน้ำดื่มไว้ ก่อไฟไว้ แต่วันนี้ไม่ทำแม้สักอย่างเดียว
เหตุไรเล่าเจ้าจึงมีหน้าเศร้า นั่งซบเซาอยู่ ดาบสน้อย ตอบว่า
ข้าแต่พ่อ เมื่อท่านพ่อไปหาผลาผล หญิงคนหนึ่ง มาเล้าโล้ม
กระผมชวนให้ไปด้วย แต่กระผมผัดไว้ว่า ต่อท่านพ่ออนุญาต
แล้วจึงจักไป จึงยังไม่ได้ไป กระผมให้นางนั่งรออยู่ที่ตรงโน้น
แล้วกลับมา คราวนี้กระผมจักไปละครับ ท่านพ่อ พระโพธิสัตว์
ทราบว่า เราไม่อาจเหนี่ยวรั้งเขาไว้ได้ จึงอนุญาต โดยสั่งว่า
ถ้าเช่นนั้นจงไปเถิดพ่อ แต่เขาพาเจ้าไปแล้ว เมื่อใด นางอยาก
กินปลา กินเนื้อ หรือมีความต้องการเนย เกลือ และข้าวสาร
เป็นต้น เมื่อนั้น นางจักเคี่ยวเข็ญเจ้าว่า จงไปหาสิ่งนี้ ๆ มาให้
ตอนนั้น เจ้าจงนึกถึงคุณของพ่อ แล้วพึงหนีมาที่นี่เถิด. ดาบส
ได้ไปถิ่นมนุษย์กับนาง ครั้งนั้นนางก็ให้เขาตกอยู่ในอำนาจของตน
ต้องการสิ่งใด ๆ ก็ใช้ให้ไปหาสิ่งนั้น ๆ มา เช่นสั่งว่า จงไปหา
เนื้อมา จงไปหาปลามา คราวนั้น เขาก็ได้คิดว่า นางนี่เคี่ยวเข็ญ

406
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 407 (เล่ม 56)

ให้เราทำอย่างกับเป็นทาสกรรมกรของตน แล้วหนีมาสู่สำนัก
ของบิดา ไหว้บิดาแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่นั่นแหละ กล่าวคาถานี้
ความว่า :-
"หญิงโฉดผู้นำของไปด้วยหม้อนำ เบียด-
เบียนฉัน ผู้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จะขอน้ำมัน
หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวาน ฐาน
ภรรยา" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ วต มํ ชีวนฺตํ ความว่า
ท่านพ่อขอรับ หญิงนั้น ทำผมผู้เคยเป็นอยู่สบายในสำนักของ
ท่านพ่อ ให้เดือดร้อน.
บทว่า ปจมานา ความว่า ถูกมันทำให้เดือดร้อน บังคับ
เคี่ยวเข็ญ ต้องการจะกินสิ่งใด ๆ ก็เคี่ยวเข็ญเอาสิ่งนั้น. หญิง
ชื่อว่า อุทัญจนี เพราะนำไปด้วยหม้อ. บทว่า อุทญฺจนี นี้ เป็นชื่อ
ของหญิงผู้ตักตวงน้ำจากตุ่ม หรือจากบ่อ ก็หญิงประเภทอุทัญจนี
นั้น ต้องการสิ่งใด ๆ ก็จะใช้ให้หาสิ่งนั้น ๆ มาให้จงได้ ดุจตักตวง
เอาน้ำด้วยหม้อ.
บทว่า โจรึ ชายปฺปวาเทน ความว่า หญิงโฉดนางหนึ่ง
อ้างตนเป็นภรรยา โอ้โลมกระผมด้วยคำอันอ่อนหวาน พาไป
ในถิ่นมนุษย์ มันต้องการน้ำมัน หรือเกลืออย่างหนึ่งอย่างใด จะ
เคี่ยวเข็ญขอสิ่งนั้น ๆ ทุกอย่าง ให้นำมาให้ เหมือนเป็นทาส
เป็นกรรมกร เหตุนั้น กระผมจึงบอกเล่ากล่าวโทษของมันไว้.

407
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 408 (เล่ม 56)

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ก็ปลอบดาบสน้อยนั้นว่า ช่างมันเถิด
พ่อ มาเถิด เจ้าจงเจริญ เมตตากรุณาไว้เถิด แล้วบอกพรหมวิหาร
๔ ให้ บอกกสิณบริกรรมให้ ไม่นานนักดาบสน้อยนั้น ก็ยัง
อภิญญาและสมาบัติให้เกิดได้ เจริญพรหมวิหาร แล้วไปบังเกิดใน
พรหมโลก พร้อมด้วยบิดา.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงในโสดาปัตติผล ทรงประชุม
ชาดกว่า ถุลกุมาริกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นถุลกุมาริกาใน
บัดนี้ ดาบสน้อยได้มาเป็นภิกษุผู้กระสัน ส่วนดาบสผู้บิดา ได้
เราเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุทัญจนีชาดกที่ ๖

408
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 409 (เล่ม 56)

๗. สาลิตตกชาดก
ว่าด้วยคนมีศิลปะ
[๑๐๗] ขึ้นชื่อว่า ศิลปะแม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ขอเชิญ
พระองค์ทรงทอดพระเนตรบุรุษง่อยได้บ้านส่วย
ทั้ง ๔ ทิศ ก็เพราะการดีดมูลแพะ.
จบ สาลิตตกชาดกที่ ๗
อรรถกถาสาลิตตกชาดกที่ ๗
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า สาธุ โข สิปฺปกํ นาม ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้น เป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง
ถึงความสำเร็จในสาลิตตกศิลป์ ที่เรียกว่า สาสิตตกศิลป์ ได้แก่
ศิลปะในการดีดก้อนกรวด วันหนึ่งเขาฟังธรรมแล้วบวชถวาย
ชีวิตในพระศาสนา ได้อุปสมบทแล้ว แต่มิได้เป็นผู้มุ่งการศึกษา
มิได้เป็นผู้ยังการปฏิบัติให้สำเร็จ วันหนึ่งเธอชวนภิกษุหนุ่ม
รูปหนึ่ง ไปสู่แม่น้ำอจิรวดี อาบน้ำแล้วพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ ครั้งนั้น
หงส์ขาว ๒ ตัวพากันบินมาทางอากาศ เธอจงกล่าวกะภิกษุหนุ่ม

409
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 410 (เล่ม 56)

นั้นว่า ผมจะเอาก้อนกรวดประหารหงส์ตัวหลังนี้ที่นัยน์ตา ให้
ตกลงมาแทบเท้าของท่าน อีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านจะทำให้มันตก
ได้อย่างไร ท่านไม่อาจประหารมันได้ดอก เธอกล่าวว่า เรื่องนั้น
ยกไว้ก่อนเถิด เราจักประหารมันที่นัยน์ตาข้างโน้น ให้ทะลุถึง
ตาข้างนี้ ภิกษุหนุ่มจึงกล่าวแย้งว่า คราวนี้ ท่านพูดไม่จริงละ !
เธอบอกว่า ถ้าอย่างนั้น คุณคอยดู แล้วหยิบเอาก้อนกรวดคม ๆ
ได้ก้อนหนึ่ง คลึงด้วยนิ้วชี้ แล้วดีดไปข้างหลังของหงส์นั้น ก้อน-
กรวดนั้น ส่งเสียงหึ่ง ๆ หงส์คิดว่า น่าจะมีอันตราย เหลียวกลับมา
หมายจะฟังเสียง ภิกษุนอกนี้ ก็ถือก้อนกรวดก้อนหนึ่งไว้ใน
ขณะนั้น เมื่อมันยังเหลียวดูอยู่ ก็ดีดไปกระทบนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง
ก้อนกรวดเจาะทะลุถึงนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง หงส์ร้องดังสนั่น
ตกลงมาที่ใกล้เท้าทันที พวกภิกษุมาจากที่นั้น ๆ พากันติเตียน
กล่าวว่า คุณทำไม่สมควรเลย แล้วนำเธอไปสำนักพระศาสดา
กราบทูลเรื่องนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระทำ
กรรมชื่อนี้ พระศาสดาทรงตำหนิภิกษุนั้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้ฉลาดในศิลปะนั้น แม้
ครั้งก่อนก็ได้เป็นผู้ฉลาดแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของ
พระองค์ ครั้งนั้น ปุโรหิตของพระราชาเป็นคนปากกล้ายิ่งนัก

410
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 411 (เล่ม 56)

ชอบพูดมาก เมื่อตั้งต้นพูดแล้ว คนอื่น ๆ จะไม่มีโอกาสได้พูด
เลยทีเดียว ฝ่ายพระราชาก็ทรงพระดำริว่า เมื่อไรเล่าหนอ เรา
ถึงจักได้ใครช่วยสะกัดถ้อยคำของเขาเสียได้ ตั้งแต่นั้นท้าวเธอ
ก็ทรงใคร่ครวญหาคนอย่างนี้สักคนหนึ่ง ครั้งนั้น ในเมืองพาราณสี
มีบุรุษง่อยคนหนึ่ง ถึงความสำเร็จในศิลปะคือ การดีดก้อนกรวด
พวกเด็กชาวบ้านยกเขาขึ้นสู่รถช่วยกันลากมาไว้ที่ต้นไทรใหญ่
สมบูรณ์ด้วยคาคบต้นหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ใกล้ประตูพระนครพาราณสี
พากันห้อมล้อม ให้เงินมีกากณึกเป็นต้น ร้องบอกว่า จงทำรูปช้าง
จงทำรูปม้า เขาก็ดีดก้อนกรวด เสียงรูปต่าง ๆ ที่ใบไทรทั้งหลาย
ในไทรทั้งมวลล้วนเป็นช่องน้อย ช่องใหญ่ไปทั้งนั้น ครั้งนั้น
พระเจ้าพาราณสี เสด็จพระดำเนินไปสู่พระอุทยาน เสด็จถึง
ตรงนั้น พวกเด็กทั้งหมดพากันหนี เพราะกลัวจะถูกขับไล่ บุรุษง่อย
นอนอยู่ในที่นั้นเอง พระราชาเสด็จถึงโคนต้นไทร ประทับนั่ง
ในราชรถนั่นแล ทอดพระเนตรเห็นเงาต่าง ๆ เพราะใบไม้ทั้งหลาย
ขาดเป็นช่อง ก็ทรงจ้องดู ครั้นเห็นใบไม้ทั้งปวงปรุโปร่งไปหมด
ก็ตรัสถามว่า ใบไม้เหล่านี้ใครทำให้เป็นอย่างนี้ ? ราชบุรุษ
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรุษเปลี้ยกระทำพระเจ้าข้า
พระราชทรงพระดำริว่า อาศัยคนผู้นี้เราอาจสะกัดคำของ
พราหมณ์ได้ จึงมีพระดำรัสถามว่า พนาย เจ้าง่อยอยู่ไหนละ ?
ราชบุรุษเที่ยวค้น ก็พบเขานอนอยู่ที่โคนไม้ ก็พากันนำตัวมา
กราบทูลว่า นี่พระเจ้าข้า พระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า แล้วทรง

411