No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 268 (เล่ม 55)

๘. อรรถกถามตกภัตตชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภมตกภัตจึง
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุํ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลาย ฆ่าแพะเเป็นต้น เป็น
อันมาก ให้มตกภัตอุทิศญาติทั่งหลายที่ตายไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายเห็นมนุษย์
เหล่านั้นการทำอย่างนั้น จึงทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้
มนุษย์ทั้งหลายทำสัตว์มีชีวิตเป็นอันมากให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วให้ชื่อว่า
มตกภัต ความเจริญในการให้มตกภัตนี้มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความเจริญอะไร ๆ ในปาณาติบาต แม้ที่เขากระทำ
ด้วยคิดว่า พวกเราจักให้มตกภัต ดังนี้ ย่อมไม่มี แม้ในกาลก่อน บัณฑิต
ทั้งหลายนั่งในอากาศ แสดงธรรมกล่าวโทษในการทำปาณาติบาตนี้ ให้ชนชาว
ชมพูทวีปทั้งสิ้นละกรรมนั่น แต่บัดนี้ กรรมนั่นกลับปรากฏขึ้นอีก เพราะสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อยู่ในสังเขปแห่งภพ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อ
ไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี
มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้สำเร็จไตรเพทคนหนึ่ง คิดว่าจักให้มตกภัต จึงให้จับ
แพะมาตัวหนึ่ง กล่าวกะอันเตวาสิกทั้งหลายว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงนำ
แพะตัวนี้ไปยังแม่น้ำ เอาระเบียบดอกไม้สวมคอ เจิมประดับประดาแล้วนำมา
อันเตวาสิกทั้งหลายรับคำแล้ว พาแพะนั้นไปยังแม่น้ำ ให้อาบน้ำ ประดับแล้ว
พักไว้ที่ฝั่งแม่น้ำ แพะนั้นเห็นกรรมเก่าของตนเกิดความโสมนัสว่า เราจักพ้น
จากทุกข์ชื่อเห็นปานนี้ในวันนี้ จึงหัวเราะลั่น ประดุจต่อยหม้อดิน กลับคิดว่า

268
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 269 (เล่ม 55)

พราหมณ์นี้ฆ่าเราแล้วจักได้ความทุกข์ที่เราได้แล้ว เกิดความกรุณาพราหมณ์
จึงร้องไห้ด้วยเสียงอันดัง ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นจึงถามแพะนั้นว่า ดูก่อน
แพะผู้สหาย ท่านหัวเราะและร้องไห้เสียงดังลั่น เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึง
หัวเราะ และเพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ ? แพะกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพึงถาม
เหตุนี้กะเรา ในสำนักแห่งอาจารย์ของท่าน. มาณพเหล่านั้นจึงพาแพะนั้นไป
แล้วบอกเหตุนี้แก่อาจารย์ อาจารย์ได้ฟังคำของมาณพเหล่านั้นแล้วถามแพะว่า
ดูก่อนแพะ เพราะเหตุไร ทานจึงหัวเราะ เพราะเหตุไรท่านจึงร้องไห้ ? แพะ
หวนระลึกถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยญาณเครื่องระลึกชาติได้กล่าวแก่พราหมณ์ว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ผู้สาธยายมนต์เช่นท่านนั่นแหละ
คิดว่าจักให้มตกภัต จึงได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งแล้วให้มตกภัต เพราะเราฆ่าแพะตัว
หนึ่ง เรานั้นจึงถึงการถูกตัดศีรษะใน ๔๙๙ อัตภาพ นี้เป็นอัตภาพที่ ๕๐๐ ของ
เราซึ่งตั้งอยู่ในที่สุด เรานั้นเกิดความโสมนัสว่า วันนี้ เราจักพ้นจากทุกข์เห็น
ปานนี้ ด้วยเห็นจึงหัวเราะ แต่เราเมื่อร้องไห้ ได้ร้องไห้เพราะความกรุณา
ท่าน ด้วยคิดว่าเบื้องต้น เราฆ่าแพะตัวหนึ่ง ถึงความทุกข์คือการถูกตัดศีรษะ
ถึง ๕๐๐ ชาติ จักพ้นจากทุกข์นั้น ในวันนี้ ส่วนพราหมณ์ฆ่าเราแล้วจักได้
ทุกข์คือการถูกตัดศีรษะถึง ๕๐๐ ชาติ เหมือนเรา. พราหมณ์กล่าวว่า ดูก่อนแพะ
ท่านอย่ากลัวเลย เราจักไม่ฆ่าท่าน. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านพูดอะไร
เมื่อท่านจะฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดี วันนี้เราไม่อาจพ้นจากความตายไปได้. พราหมณ์
กล่าวว่า ดูก่อนแพะ ท่านอย่ากลัว เราจักถือการอารักขาท่าน เที่ยวไปกับท่าน
เท่านั้น. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ อารักขาของท่านมีประมาณน้อย ส่วนบาปที่
เรากระทำมีกำลังมาก. พราหมณ์ให้ปล่อยแพะแล้วกล่าวว่า เราจักไม่ให้แม้
ใครๆ ฆ่าแพะตัวนี้ จึงพาพวกอันเตวาสิกเที่ยวไปกับแพะนั่นแหละ แพะพอ
เขาปล่อยเท่านั้น ก็ชะเง้อคอเริ่มจะกินใบไม้ ซึ่งอาศัยหลังแผ่นหินแห่งหนึ่ง

269
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 270 (เล่ม 55)

เกิดอยู่ ทันใดนั้นเอง ฟ้าก็ผ่าลงที่หลังแผ่นหินนั้น สะเก็ดหินชิ้นหนึ่งแตกตก
ลงที่คอแพะซึ่งชะเง้ออยู่ ตัดศีรษะขาดไป มหาชนประชุมกัน ในกาลนั้น
พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในที่นั้น พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อมหาชนเห็น
อยู่นั่นแล นั่งขัดสมาธิในอากาศด้วยเทวานุภาพกล่าวว่า สัตว์เหล่านั้นรู้ผล
ของบาปอยู่อย่างนี้ชื่อแม้ไฉนไม่ควรกระทำปาณาติบาต เมื่อจะแสดงธรรมด้วย
เสียงอันไพเราะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติสมภพนี้เป็น
ทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้มีปกติฆ่าสัตว์
ย่อมเศร้าโศก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวญฺเจ สตฺตา ขาเนยฺยํ ความว่า
สัตว์เหล่านี้ พึงรู้อย่างนี้. พึงรู้อย่างไร ? พึงรู้ว่า ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์
อธิบายว่า ถ้าว่า พึงรู้ว่าความเกิดในภพนั้น ๆ และความสมภพกล่าวคือความ
เจริญของผู้ที่เกิดโดยลำดับนี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์
ทั้งหลายมีชรา พยาธิ มรณะ ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความพลัด
พรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และการถูกตัดมือตัดเท้าเป็นต้น. บทว่า น ปาโณ
ปาณินํ หญฺเญ ความว่า สัตว์ไร ๆ รู้อยู่ว่าชาติสมภพชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ว่า ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ
เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น ย่อมได้รับการเบียดเบียนดังนี้ จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น
อธิบายว่า สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์เพราะเหตุไร ? เพราะผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้า
โศก อธิบายว่า เพราะบุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ด้วยการเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ของ
สัตว์อื่น ด้วยประโยคอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาประโยคทั้ง ๖ มีสาหัตถิก-
ประโยคเป็นต้น เสวยมหันตทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ นี้ คือในมหานรก ๘ ขุม ใน

270
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 271 (เล่ม 55)

อุสสทนรก ๑๖ ขุม ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานมีประการต่าง ๆ ในเปรตวิสัย
และในอสูรกาย ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกอันมีความเผาไหม้ใน
ภายในเป็นลักษณะ ตลอดกาลนาน อีกอย่างหนึ่ง สัตว์รู้ว่า แพะนี้เศร้าโศก
แล้ว เพราะมรณภัย ฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานี้แม้
ฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ควรฆ่าสัตว์ อธิบายว่าใคร ๆ ไม่ควรกระทำกรรมคือ
ปาณาติบาต ก็บุคคลผู้หลงเพราะโมหะ เมื่ออวิชชากระทำให้เป็นคนบอดแล้ว
ไม่เห็นโทษนี้ย่อมกระทำปาณาติบาต.
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมโดยเอาภัยในนรกมาขู่ด้วยประการอย่างนี้.
มนุษย์ทั้งหลายพึงธรรมเทศนานั้นแล้ว กลัวภัยในนรก พากันงดเว้นจาก
ปาณาติบาต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแล้ว ยังมหาชนให้ตั้งอยู่ใน
เบญจศีลแล้วไปตามยถากรรม ฝ่ายมหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์
กระทำบุญมีทานเป็นต้น ทำเทพนครให้เต็มแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบต่ออนุสนธิ
ทรงประชุมชาดกว่า ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.
จบมตกภัตตชาดกที่ ๘

271
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 272 (เล่ม 55)

๙. อายาจิตภัตตชาดก
ว่าด้วยการเปลื้องตน
[๑๙] ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น ท่าน
ละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้
กลับจะติดหนักเข้า เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตน
ด้วยอาการอย่างนี้ไม่ การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่อง
ติดของคนพาล.
จบอายาจิตภัตตชาดกที่ ๙
๙. อรรถกถาอายาจิตภัตตชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพลีกรรม
อ้อนวอนเทวดาทั้งหลาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สเจ มุญฺเจ
ดังนี้
ได้ยินว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะไปค้าขาย ได้ฆ่าสัตว์ทำพลี
กรรมแก่เทวดาทั้งหลาย อ้อนวอนว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถึงความสำเร็จประโยชน์
โดยไม่ขัดข้องมาแล้ว จักกระทำพลีกรรมแก่ท่านทั้งหลายอีก ดังนี้แล้ว จึงพา
กันไป. ในกาลนั้นพวกมนุษย์ได้ถึงความสำเร็จประโยชน์โดยไม่มีอันตรายมา
แล้ว สำคัญว่า ผลนี้เกิดด้วยอานิภาพของเทวดา จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมากกระทำ
พลีกรรมเพื่อปลดเปลื้องการอ้อนวอน ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ในการอ้อนวอนนี้มีอยู่
หรือ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

272
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 273 (เล่ม 55)

ในอดีตกาล มีกุฎุมพีคนหนึ่งในบ้านแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี ปฏิญญา
การพลีกรรมแก่เทวดา ผู้สิงอยู่ที่ต้นไทรซึ่งตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้าน แล้วกลับมา
โดยไม่มีอันตราย จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมาก แล้วไปยังโคนต้นไทรด้วยตั้งใจว่า
จักเปลื้องการอ้อนวอน รุกขเทวดายืนอยู่ที่ค่าคบของต้นไม้กล่าวคาถานี้ว่า
ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น ท่านละ
โลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้
กลับจะติดหนักเข้า เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตน
ด้วยอาการอย่างนี้ไม่การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่อง
ติดของคนพาล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ มุญฺเจ เปจฺจ มุญฺเจ ความว่า
ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ถ้าท่านจะเปลื้องตน คือท่านปรารถนาจะเปลื้องตน ท่าน
ละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ คือจงพ้นโดยประการที่ติดพ้นโลกหน้า. บทว่า
มุจฺจมาโน หิ พชฺฌสิ ความว่า ก็ท่านเมื่อปลดเปลื้องโดยประการที่ปรารถนา
เพื่อฆ่าสัตว์ปลดเปลื้อง ชื่อว่ายังติดพ้นด้วยกรรมอันลามก เพราะเหตุไร ?
เพราะนักปราชญ์ทั้งหลาย หาได้เปลื้องคนด้วยอาการอย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ก็
บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น ย่อมไม่ปลดเปลื้องตนด้วยคำมั่นสัญญาอย่างนี้
เพราะเหตุไร ? เพราะการเปลื้องตนเห็นปานนี้ เป็นเหตุติดพ้นของคนพาล
คือธรรมดาการเปลื้องคนเพราะกระทำปาณาติบาตนี้ ย่อมเป็นเหตุติดหนักของ
คนพาล. รุกขเทวดาแสดงธรรมด้วยประการดังกล่าวนี้.
ตั้งแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายงดเว้นจากกรรมคือปาณาติบาตเห็นปานนั้น
พากันประพฤติธรรม ยังเทพนครให้เต็มแล้ว.
พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.
จบอายาจิตชาดกที่ ๙

273
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 274 (เล่ม 55)

๑๐. นฬปานชาดก
ว่าด้วยการพิจารณา
[๒๐] พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้า
ลง จึงกล่าวว่า เราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านก็จักฆ่า
เราไม่ได้.
จบนฬปานชาดกที่ ๑๐
จบศีลวรรคที่ ๒
๑๐. อรรถกถานฬปานชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท ถึงบ้าน นฬกปานคาม
ประทับ อยู่ในเกตกวัน ใกล้นฬกปานโบกขรณี ทรงปรารภท่อนไม้อ้อทั้งหลาย
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา ปทมนุตฺติณฺณํ ดังนี้.
ได้ยินว่า ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอาบน้ำในสระโบกขรณีชื่อว่า
นฬกปานะ แล้วให้พวกสามเณรเอาท่อนไม้อ้อนาเพื่อต้องการทำกล่องเข็ม
เห็นท่อนไม้อ้อเหล่านั้นทะลุตลอด จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ให้ถือเอาท่อนไม้อ้อทั้งหลายมา เพื่อ
ต้องการทำกล่องเข็ม ท่อนไม้อ้อเหล่านั้นเป็นรูทะลุตลอด ตั้งแต่โคนจนถึง
ปลาย นี่เหตุอะไรหนอ พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นการอธิษฐานเดิมของเรา แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

274
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 275 (เล่ม 55)

ได้ยินว่า โนอดีตกาลแม้ในกาลก่อน ป่าชัฏนั้นเป็นป่า มีผีเสื้อน้ำ
คนหนึ่งเคี้ยวกินคนผู้ลงไป ๆ ในสระโบกขรณีแม้นั้น ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์
เป็นพระยากระบี่มีขนาดเท่าเนื้อละมั่ง แวดล้อมด้วยหมู่วานรแปดหมื่นตัว บริหาร
ฝูงอยู่ในป่านั้น พระยากระบี่นั้น ได้ให้โอวาทแก่หมู่วานรว่า พ่อทั้งหลายในป่า
นี้มีต้นไม้พิษบ้าง สระโบกขรณีที่เกิดเองอันอมนุษย์หวงแหนบ้าง มีอยู่ในป่า
นั้นนั่นแหละ ท่านทั้งหลายเมื่อจะเคี้ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ที่ยังไม่เคยเคี้ยวกิน
หรือเมื่อจะดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ต้องสอบถามเราก่อน หมู่วานรเหล่านั้น
คำแล้ว วันหนึ่งไปถึงที่ที่ไม่เคยไป เที่ยวไปในที่นั้นหลายวันทีเดียวเมื่อจะ
แสวงหาน้ำดื่มเห็นสระโบกขรณีสระหนึ่ง ยังไม่ดื่มน้ำ นั่งคอยการมาของพระ-
โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มาถึงแล้วจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงยังไม่ดื่ม
น้ำ พวกวานรกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าคอยการมาของท่าน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
พ่อทั้งหลาย พวกท่านทำดีแล้ว จึงเดินวนเวียนสระโบกขรณีนั้น กำหนด
รอยเท้า เห็นแต่รอยเท้าลงไม่เห็นรอยเท้าขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่า สระ
โบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแหนโดยไม่ต้องสงสัยจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ที่
ทั้งหลายไม่ดื่มน้ำ ทำดีแล้ว สระโบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแล้ว. ฝ่ายผีเสื้อน้ำรู้ว่า
วานรเหล่านั้นไม่ลง จึงแปลงเป็นผู้มีท้องเขียว หน้าเหลือง มือเท้าแดงเข็ม รูป
ร่างน่ากลัว ดูน่าเกลียด แยกน้ำออกมากล่าวว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึง
นั่งอยู่ จงลงสระโบกขรณีนี้ดื่มน้ำเถิด. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ถามผีเสื้อน้ำ
นั้นว่า ท่านเป็นผีเสื้อน้ำเกิดอยู่ในสระนี้หรือ ? ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออ เราเป็น
ผู้เกิดแล้ว พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านย่อมได้คนที่ลงไปๆ ยังสระโบกขรณีหรือ ?
ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออ เราได้ เราไม่ปล่อยใคร ๆ จนชั้นที่สุดนกที่ลงในสระ
โบกขรณีนี้ แม้ท่านทั้งหมดเราก็จักกิน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกเราจักไม่
ให้ท่านกินตัวเรา. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า ก็ท่านทั้งหลายจักดื่มน้ำมิใช่หรือ ? พระ-

275
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 276 (เล่ม 55)

โพธิสัตว์กล่าวว่า เออ พวกเราจักดื่มน้ำ และจักไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่าน
ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านจักดื่มน้ำอย่างไร พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ก็ท่านย่อมสำคัญหรือว่า จักลงไปดื่ม ด้วยว่าพวกเราจะไม่ลงไป เป็น
วานรทั้งแปดหมื่น ถือท่อนไม้อ้อคนละท่อน จักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของ
ท่านเหมือนดื่มน้ำด้วยก้านบัว เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจักไม่อาจกินพวกเรา.
พระศาสดาครั้นทรงรู้แจ้งความนี้ เป็นพระอภิสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้พร้อมยิ่ง
ได้ตรัส ๒ บทแรกแห่งคาถานี้ว่า
พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้า
ลง จึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านจัก
ฆ่าเราไม่ได้.
เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยา
กระบี่นั้นเป็นมหาบุรุษไม่ได้เห็นรอยเท้าขึ้นแม้แต่รอยเดียวในลระโบกขรณีนั้น
ได้เห็นแต่รอยเท้าลงเท่านั้น ครั้นเห็นอย่างนั้นคือไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่
รอยเท้าลง จึงรู้ว่า สระโบกขรณีนี้ อมนุษย์หวงแหนแน่แท้ เมื่อจะเจรจากัน
ผีเสื้อน้ำนั้นจึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ อธิบายความตองคำนั้นว่า
พวกเราจักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของท่านด้วยไม้อ้อ พระมหาสัตว์กล่าวสืบไป
ว่า ท่านจักฆ่าเราไม่ได้ อธิบายว่า เราพร้อมทั้งบริษัทดื่มน้ำด้วยไม้อ้ออย่างนี้
แม้ท่านก็จักฆ่าไม่ได้.
ก็พระโพธิสัตว์ครั้น กล่าวอย่างนี้แล้วจึงให้นำท่อนไม้อ้อมาท่อนหนึ่ง
รำพึงถึงบารมีทั้งหลายแล้วกระทำสัจกิริยาเอาปากเป่า ไม้อ้อได้เป็นโพรงตลอด
ไป ไม่เหลือปล้องอะไร ๆ ไว้ภายใน พระโพธิสัตว์ให้นำท่อนไม้อ้อแม้ท่อน
อื่นมาแล้วได้เป่าให้ไปโดยทำนองนี้ ก็เมื่อเป็นดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่อาจให้เสร็จ
ลงได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรเธออย่างนั้น ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานว่า

276
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 277 (เล่ม 55)

ไม้อ้อแม้ทั้งหมดที่เกิดรอบสระโบกขรณีนี้ จงเป็นระตลอด ก็เพราะอุปจารแห่ง
ประโยชน์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพยิ่งใหญ่ การอธิษฐานย่อมสำเร็จ
ตั้งแต่นั้นมา ไม้อ้อที่เกิดรอบสระโบกขรณีแม้ทุกต้นเกิดเป็นรูเดียวตลอด.
จริงอยู่ ในกัปนี้ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อันตั้งอยู่ตลอดกัปมี ๔ ประการเป็น
ไฉน ? เครื่องหมายกระต่ายบนดวงจันทร์จักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ที่ที่ไฟดับ
ในวัฏฏกชาดกไฟจักไม่ไหม้ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น. สถานที่เป็นที่อยู่ของฆฏีการ
ช่างหม้อ ฝนไม่รั่วรดจักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ไม้อ้อที่ดังอยู่รอบสระ
โบกขรณีนี้จักเป็นรูเดียว (ไม่มีข้อ) ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อัน
ตั้งอยู่ชั่วกัป ๔ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระโพธิสัตว์ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้ว จึงนั่งถือไม้อ้อลำหนึ่ง ฝ่าย
วานรแปดหมื่นตัวแม้เหล่านั้น ก็ถือไม้อ้อลำหนึ่ง ๆ นั่งล้อมสระโบกขรณี
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เอาไม้อ้อสูบน้ำมาดื่ม วานรแม้เหล่านั้น ทั้งหมดนั่งอยู่
ที่ฝั่งนั่นแล้วดื่มน้ำแล้ว เมื่อวานรเหล่านั้นดื่มน้ำอย่างนี้ ผีเสื้อน้ำไม่ได้วานร
ตัวไรๆ ก็เสียใจ จึงไปยังนิเวศน์ของตนนั่งเอง ฝ่ายพระโพธิสัตว์พร้อมทั้ง
บริวารก็เข้าป่าไปเหมือนกัน.
ส่วนพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความที่ไม้อ้อทั้ง
หลายเหล่านี้เป็นไม้มีรูเดียวนั้น เป็นการอธิษฐานอันมีในกาลก่อนของเราเอง
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า
ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ในบัดนี้วานรแปดหมื่นใน
ครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนพระยากระบี่ผู้ฉลาดใน
อุบายในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบนฬปานชาดกที่ ๑๐
จบศีลวรรคที่ ๒

277