No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 127 (เล่ม 53)

บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ประกอบ
ด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์
ใช้แต่ผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ
เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเที่ยวบิณฑบาตตาม
ลำดับตรอกเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯลฯ
เพ่งฌานอยู่. บัดนี้. ข้าพระองค์ถือการนั่งฉันบนอาสนะ
แห่งเดียวเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่ง
ฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการฉันอาหารเฉพาะในบาตร
เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่.
บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการฉันอาหารที่เขานำมาถวายภาย-
หลังเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่.
บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ประกอบด้วย
ความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือ
การอยู่โคนไม้เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ
เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้
ข้าพระองค์ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร ประกอบด้วยความ
เพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการอยู่
ในเสนาสนะตามที่จัดให้เป็นวัตร ประกอบด้วยความ
เพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการไม่
นอนเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯลฯ เพ่งฌานอยู่.
บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเป็นผู้มักน้อยเป็นวัตร ประกอบ

127
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 128 (เล่ม 53)

ด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์
ถือการเป็นผู้สันโดษเป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯลฯ
เพ่งฌานอยู่. บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการเป็นผู้ชอบความสงัด
เป็นวัตร ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่.
บัดนี้ ข้าพระองค์ถือการไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นวัตร
ประกอบด้วยความเพียร ฯ ล ฯ เพ่งฌานอยู่. บัดนี้
ข้าพระองค์นามว่าภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาลิโคธา
เป็นผู้ปรารภความเพียร ประกอบด้วยความเพียร ยินดี
แต่อาหารที่ได้มาด้วยการเที่ยวบิณฑบาต ไม่ถือมั่นในสิ่ง
ใด ๆ เพ่งฌานอยู่. ข้าพระองค์ละทิ้งเครื่องราชูปโภค
คือจานทองคำอันมีค่า ๑๐๐ ตำลึง ซึ่งประกอบด้วยลวดลาย
งดงาม วิจิตรด้วยภาพทั้งภายในและภายนอกนับได้ตั้ง
๑๐๐ มาใช้บาตรดินใบนี้ นี้เป็นอภิเษกครั้งที่สอง. แต่ก่อน
ข้าพระองค์ มีหมู่ทหารถือดาบรักษาบนกำแพงที่ล้อมรอบ
ซึ่งสูง และที่ป้อมและซุ้มประตูพระนครอย่างเป็นหนา
ก็ยังมีความหวาดเสียวอยู่เป็นนิจ บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้ชื่อว่า
ภัททิยะ เป็นโอรสของพระนางกาลิโคธา เป็นผู้เจริญ
ไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ละความขลาดกลัวภัยได้แล้ว
ได้หยั่งลงสู่ป่า เพ่งฌานอยู่. ข้าพระองค์ตั้งมั่นอยู่ใน
ศีลขันธ์ อบรมสติปัญญา ได้บรรลุถึงความสิ้นสังโยชน์
ทั้งปวงโดยลำดับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาตํ เม หตฺถิคีวาย ดังนี้เป็นต้น

128
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 129 (เล่ม 53)

ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพระองค์แม้เมื่อจะไปก็นั่งบน
คอช้างไป คือเที่ยวไป. แม้เมื่อจะนุ่งห่มผ้า ก็นุ่งห่มผ้าพิเศษที่ทอใน
แคว้นกาสีมีเนื้อละเอียด คือสัมผัสสบาย. แม้เมื่อจะบริโภคข้าวสุก ก็บริโภค
ข้าวสาลีทั้งเก่าและหอมอันเก็บไว้ ๓ ปี ชื่อว่าลาดข้าวกับเนื้ออันสะอาด
เพราะเป็นข้าวลาดด้วยเนื้อสะอาดมีเนื้อนกกระทาและนกยูงเป็นต้น. ความ
สุขนั้นไม่ได้กระทำจิตของข้าพระองค์ให้ยินดี เหมือนดังที่พระเถระแสดง
วิเวกสุขในบัดนี้ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่าบัดนี้ ภัททิยะนั้น เป็นผู้เจริญดังนี้.
ก็ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านถือเอายานคือม้าและรถด้วยศัพท์ว่า ช้าง ถือเอา
เครื่องราชอลังการทุกอย่างด้วยศัพท์ว่า ผ้า ถือโภชนะทุกชนิดด้วยศัพท์
ว่า ข้าวสุก.
บทว่า โสชฺช ความว่า วันนี้ คือบัดนี้ พระภัททิยะนั้นดำรงอยู่
ในบรรพชา.
บทว่า ภทฺโท ความว่า ชื่อว่าผู้เจริญ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วย
ศีลคุณเป็นต้น.
บทว่า สาตติโก ได้แก่ ผู้ประกอบในความเพียรติดต่อกันในธรรม
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
บทว่า อุญฺฉาปตฺตาคเต รโต ได้แก่ เป็นผู้ยินดียิ่งในอาหารที่
อยู่ในบาตรคือที่นับเนื่องในบาตร ด้วยการเที่ยวแสวงหา อธิบายว่า เป็น
ผู้สันโดษด้วยอาหารที่อยู่ในบาตรนั้นเท่านั้น.
บทว่า ฌายติ ได้แก่ เพ่งอยู่ด้วยฌาน อันสัมปยุตด้วยผล
สมาบัติ.

129
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 130 (เล่ม 53)

บทว่า ปุตฺโต โคธาย ได้แก่ เป็นโอรสของพระนางกษัตริย์
พระนามว่ากาลิโคธา.
บทว่า ภทฺทิโธ ความว่า พระเถระผู้มีนามอย่างนี้กล่าว กระทำ
ตนเองให้เป็นดุจคนอื่น.
ชื่อว่าผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เพราะห้ามคหบดีจีวร แล้วสมาทาน
องค์แห่งภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร. ชื่อว่าผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็น
วัตร เพราะห้ามสังฆภัต แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร เพราะห้ามอดิเรกจีวร
แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร. ชื่อว่าผู้ถือการเที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร เพราะห้ามการเที่ยวบิณฑบาตโลเล แล้ว
สมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร,
ชื่อว่าผู้ถือการนั่งฉันบนอาสนะเดียวเป็นวัตร เพราะห้ามการฉันบนอาสนะ
ต่าง ๆ แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งฉันบนอาสนะแห่งเดียวเป็น
วัตร, ชื่อว่าผู้ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร เพราะห้ามภาชนะใบที่สอง
แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการ
ห้ามอาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร เพราะห้ามโภชนะที่เหลือเพื่อ
แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการห้ามอาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็น
วัตร, ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เพราะห้ามเสนาสนะใกล้บ้าน แล้ว
สมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็น
วัตร เพราะห้ามการอยู่ที่มุงบัง แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่
โคนไม้เป็นวัตร. ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร เพราะห้ามการอยู่ที่
มุงบังและโคนไม้ แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร

130
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 131 (เล่ม 53)

ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะห้ามที่ซึ่งมิใช่ป่าช้า แล้วสมาทาน
องค์แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตาม
ที่เขาจัดให้เป็นวัตร เพราะห้ามความโลเลในเสนาสนะ แล้วสมาทานองค์
แห่งภิกษุผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร, ชื่อว่าผู้ถือการ
นั่งเป็นวัตร เพราะห้ามการนอน แล้วสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่ง
เป็นวัตร, ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดารพึงถือเอา
ธุดงค์กถา โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคนั่นเถิด.
บทว่า อุจฺเจ ได้แก่ ในที่สูงเป็นต้น หรือชื่อว่าสูง เพราะเป็น
ปราสาทชั้นบน.
บทว่า มณฺฑลิปากาเร ได้แก่ ล้อมด้วยกำแพง โดยอาการเป็น
วงกลม.
บทว่า ทฬฺหมฏฺฏาลโกฏฺฐเก ได้แก่ ประกอบด้วยป้อมและซุ้มประตู
อันมั่นคง อธิบายว่า ในเมือง.
ในบทว่า สตึ ปญฺญญฺจ นี้ พระเถระกล่าวถึงสมาธิ โดยหัวข้อ
คือสติ ซึ่งท่านหมายเอาผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติ กล่าวไว้ว่า อบรมสติ
และปัญญา ดังนี้. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวไว้ในที่นั้น ๆ
แล้วทั้งนั้น.
พระเถระบันลือสีหนาท ณ เบื้องพระพักตร์ของพระศาสดาด้วยประ-
การฉะนี้. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้น ได้พากันเลื่อมใสยิ่งแล้ว.
จบอรรถกถากาลิโคธาปุตตภัททิยเถรคาถาที่ ๗

131
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 132 (เล่ม 53)

๘. องคุลิมาลเถรคาถา
ว่าด้วยการหยุดแล้วจากการทำความชั่ว
[๓๙๒] พระองคุลิมาลเถระ สมัยเมื่อยังเป็นโจร ได้กล่าวคาถา
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ดูก่อนสมณะ ท่านสิกำลังเดินอยู่ กลับกล่าวว่า เรา
หยุดแล้ว ส่วนข้าพเจ้าหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่
หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามความข้อนี้กะท่าน
ท่านกำลังเดินอยู่ เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่าหยุดแล้ว
ข้าพเจ้าสิหยุดแล้ว ท่านกลับกล่าวว่าไม่หยุด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว
ส่วนท่านสิยังไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น เราจึงชื่อ
ว่าหยุดแล้ว ส่วนท่านชื่อว่ายังไม่หยุด.
องคุลิมาลโจรกราบทูลว่า
พระองค์เป็นสมณะที่ชาวโลกกับทั้งเทวโลกบูชาด้วย
เครื่องบูชามากมาย ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพิ่ง
จะเสด็จมาถึงป่าใหญ่เพื่อโปรดข้าพระองค์โดยกาลนาน
หนอ ข้าพระองค์ได้สดับพระคาถา ซึ่งประกอบด้วย
เหตุผลของพระองค์แล้ว จักละเลิกบาปกรรมตั้งพันเสีย.
พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวคาถาไว้ ๒ คาถา ความว่า
ครั้นองคุลิมาลโจรกราบทูลดังนี้แล้ว ก็โยนดาบและ
อาวุธทั้งหมดหญิงลงในหนองน้ำ บ่อน้ำ และในเหว ได้

132
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 133 (เล่ม 53)

ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระสุคตเจ้า แล้วทูลขอ
บรรพชากะพระพุทธเจ้า ณ ที่นั้นเอง ทันใดนั้นแล พระ-
พุทธเจ้าประกอบไปด้วยพระมหากรุณา ทรงแสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับทั้งเทวโลก ได้ตรัสว่า
จงเป็นภิกษุมาเถิด เท่านี้ความเป็นภิกษุได้มีแก่องคุลิมาล
โจรนั้น ในขณะนั้นทีเดียว.
เมื่อท่านพระองคุลิมาลได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้บรรลุอรหัต
แล้วเสวยวิมุตติสุขอยู่ เกิดปีติโสมนัส ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถอุทานนี้
ความว่า
ผู้ใดเคยประมาทในตอนต้น ภายหลังเขาไม่ประมาท
ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว
จากหมอกฉะนั้น บาปกรรมที่ทำไร้แล้ว อันผู้ใดย่อมปิด
กั้นไว้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือน
พระจันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น ภิกษุใดแล แม้จะ
ยังหนุ่ม ประกอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ภิกษุ
นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว
จากหมอกฉะนั้น ก็ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อเรา ขอจงพึงธรรม-
กถาที่เราได้ฟังแล้วในสำนักของพระศาสดา ขอจงประ-
กอบความขวนขวายในพระพุทธศาสนา ขอจงคบหากับ
มนุษย์ผู้เป็นสัตบุรุษ ซึ่งถือมั่นแต่ธรรมอย่างเดียว ก็ผู้ที่
เป็นข้าศึกต่อเรา ขอเชิญฟังธรรมของท่านผู้กล่าวสรร-
เสริญความอดทน ผู้มีปกติสรรเสริญความไม่โกรธ ตาม

133
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 134 (เล่ม 53)

เวลาอันสมควร และขอจงปฏิบัติตามธรรมอันสมควรแก่
ธรรมนั้นเถิด ขออย่าเบียดเบียนเราและชาวประชาหรือ
ว่าสัตว์อื่นใดเลย พึงบรรลุความสงบอย่างเยี่ยม และพึง
รักษาสัตว์ทั้งปวงให้เป็นเหมือนบุตรที่รักเถิด ก็ชาวนาที่
ต้องการน้ำย่อมไขน้ำไป ช่างศรย่อมดัดลูกศร ช่างไม้ย่อม
ถากไม้ บัณฑิตย่อมฝึกตน คนบางพวกฝึกช้างและม้า
เป็นต้น ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บาง ส่วน
เราเป็นผู้อันพระศาสดาผู้คงที่ทรงฝึกแล้ว โดยไม่ได้ทรง
ใช้อาชญาและศาสตรา, เมื่อก่อนเรามีชื่อว่า อหิงสกะ ผู้
ไม่เบียดเบียน แต่เรายังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ วันนี้เราเป็น
ผู้มีชื่อจริง ไม่เบียดเบียนใคร แต่ก่อนเราเป็นโจรลือชา
ทั่วไปว่าองคุลิมาล ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปจนได้มาพบพระ-
พุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้า ครั้งก่อนเรามีมือเปื้อนด้วยโลหิต
ลือชื่อไปทุกทิศว่าองคุลิมาล แต่บัดนี้ องคุลิมาลได้มาพบ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งเข้าแล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่
ภพน้อยภพใหญ่ขึ้นได้แล้ว เราได้ทำกรรมเช่นนั้นอันเป็น
เหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมาก จึงต้องมารับผลกรรมที่ทำไว้
แต่บัดนี้ เราบริโภคโภชนะโดยไม่เป็นหนี้ คนพาลผู้มี
ปัญญาทราม ย่อมประกอบตามความประมาท ส่วนนัก
ปราชญ์ ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์
อันประเสริฐสุดฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าประกอบตาม
ความประมาท อย่าประกอบความสนิทสนมด้วยความ

134
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 135 (เล่ม 53)

ยินดีในกาม เพราะว่าผู้ไม่ประมาทเพ่งพินิจอยู่ ย่อมถึง
ความสุขอันไพบูลย์ การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดา
เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็นการมาไม่ดี การที่เราคิดจะ
บวชในสำนักของพระศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่
เลวเลย เพราะเป็นการเข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ในธรรม
ทั้งหลายที่พระศาสดาทรงจำแนกดีแล้ว การที่เรามาสู่
สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการมาดีแล้ว มิใช่ว่าเป็น
การมาไม่ดี การที่เราคิดจะมาบวชในสำนักของพระ-
ศาสดานี้ ก็ไม่ใช่เป็นความคิดที่เลวเลย เราได้บรรลุ
วิชชา ๓ ตามลำดับ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เสร็จแล้ว แต่ก่อนเราอยู่ในป่า โคนไม้ ภูเขา หรือใน
ถ้ำทุก ๆ แห่ง มีใจหวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ เราผู้อันพระ-
ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วไม่ไปในบ่วงมาร จะยืน เดิน
นั่ง นอนก็เป็นสุข เมื่อก่อนเรามีเชื้อชาติเป็นพราหมณ์
มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ทั้งหลายฝ่าย บัดนี้ เราเป็น
โอรสของพระสุคตศาสดา ผู้เป็นพระธรรมราชา เราเป็น
ผู้ปราศจากตัณหาแล้ว ไม่ถือมั่น คุ้มครองทวาร สำรวม
ดีแล้ว เราตัดรากเหง้าของทุกข์ได้แล้ว บรรลุถึงความสิ้น
อาสวะแล้ว เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดา ทำตามคำ
สอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลง
แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว.
จบองคุลิมาลเถรคาถา

135
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ – หน้าที่ 136 (เล่ม 53)

อรรถกถาองคุลิมาลเถรคาถาที่ ๘
คาถาของท่านพระองคุลิมาลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า คจฺฉํ วเทสิ สมณ
ฐิโตมฺหิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่
ปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้น ๆ ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์นามว่าภัคควะ ผู้เป็นปุโรหิต
ของพระเจ้าโกศลในเมืองสาวัตถี, ในวันที่ท่านเกิด อาวุธนานาชนิดทั่ว
ทั้งพระนครลุกโพลง และพระแสงมงคลของพระราชา ซึ่งวางอยู่บนตั่ง
ที่บรรทมก็ลุกโพลงด้วย พระราชาทรงเห็นดังนั้นทรงกลัวหวาดเสียว
บรรทมไม่หลับ.
ในเวลานั้น ปุโรหิตตรวจดูดาวนักษัตร จึงได้กระทำการตกลงว่า
มีทารกเกิดแล้วในโจโรฤกษ์ ฤกษ์โจร. เมื่อราตรีสว่าง ท่านปุโรหิตเข้า
ไปเฝ้าพระราชา ทูลถามถึงความบรรทมสบาย. พระราชาตรัสว่า จะนอน
สบายมาแต่ไหน อาจารย์ ตอนกลางคืน พระแสงมงคลของฉันลุกโพลง
ข้อนั้นจักมีผลเป็นอย่างไรหนอ. ปุโรหิตกราบทูลว่า อย่าทรงกลัวเลย
พระเจ้าข้า ทารกเกิดในเรือนของข้าพระองค์, ด้วยอานุภาพของทารก
นั้น แม้อาวุธนานาชนิด ทั่วทั้งพระนครก็ลุกโพลง. พระราชาตรัสถามว่า
จักเป็นอย่างไรล่ะ อาจารย์. ปุโรหิตทูลว่า ทารกจักเป็นโจร พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสถามว่า จักเป็นโจรเที่ยวไปคนเดียว หรือว่าเป็นหัวหน้าคณะ.
ปุโรหิตทูลว่า เป็นโจรเที่ยวไปผู้เดียว พระเจ้าข้า, จักให้พวกข้าพระองค์
ฆ่าเขาไหมพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าเป็นโจรเที่ยวไปคนเดียวไซร้
พวกท่านจงเลี้ยงเขาไว้ก่อน เมื่อจะตั้งชื่อเขา เพราะเหตุที่เขาเมื่อจะเกิด

136