No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 431 (เล่ม 4)

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๕๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ชักชวนกัน แล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณี ประชาชน
เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พวกเราพร้อมด้วยภรรยาเล่นเรือลำเดียวกันฉันใด
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ชักชวนกันแล้ว เล่นเรือลำเดียวกับพวก
ภิกษุณี ก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่
บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย. . .ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์
จึงได้ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับพวกภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูล
เนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณี
ทั้งหลาย จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ชักชวนกันแล้วโดยสารเรือลำเดียวกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า การ
กระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .

431
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 432 (เล่ม 4)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น
ว่าดังนี้
พระบัญญัติ
๗๗. ๘. ก. อนึ่งภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว
กับภิกษุณี ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๔๕๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุและภิกษุณีหลายรูปด้วยกันจะเดิน
ทางไกลจากเมืองสาเกต ไปพระนครสาวัตถี ระหว่างทางมีแม่น้ำที่จะต้องข้าม
จึงภิกษุณีพวกนั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุพวกนั้นว่า แม้พวกดิฉันก็จักข้ามไปกับ
ด้วยพระคุณเจ้า.
ภิกษุพวกนั้นพูดว่า ดูก่อนน้องหญิง การชักชวนกันแล้วโดยสารเรือ
ลำเดียวกันกับภิกษุณี ไม่สมควร พวกเธอจักข้ามไปก่อน หรือพวกฉันจัก
ข้ามไป.
ภิกษุณีพวกนั้น ตอบว่า พวกพระคุณเจ้าเป็นชายผู้ล้ำเลิศ พระคุณเจ้า
นั่นแหละจงข้ามไปก่อน.
เมื่อภิกษุณีพวกนั้นข้ามไปภายหลัง พวกโจรได้พากันแย่งชิงและประ-
ทุษร้าย ครั้นภิกษุณีพวกนั้น ไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุ ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า.

432
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 433 (เล่ม 4)

ทรงอนุญาตให้โดยสารเรือลำเดียวกันข้ามฟาก
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูล
นั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ในการข้ามฟาก เราอนุญาตให้ชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว
กับภิกษุณีได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้
พระอนุบัญญัติ
๗๗.๘. ข. อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือลำเดียว
กับภิกษุณี ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก เป็น
ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๕๘] บทว่า อนึ่ง . . .ใด ความว่า ผู้ใด ผู้เช่นใด. . .
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ. . .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.
บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.
บทว่า ชักชวนวนกันแล้ว คือ ชักชวนกันว่า ไปโดยสารเรือกันเถิด
น้องหญิง ไปโดยสารเรือกันเถิดพระคุณเจ้า ไปโดยสารเรือกันเถิดเจ้าค่ะ
ไปโดยสารเรือกันเถิดจ้ะ พวกเราไปโดยสารเรือกันในวันนี้ ไปโดยสารเรือกัน
ในวันพรุ่งนี้ หรือไปโดยสารเรือกันในวันมะรืนนี้ ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

433
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 434 (เล่ม 4)

เมื่อภิกษุณีโดยสารแล้ว ภิกษุจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เมื่อภิกษุโดยสารแล้ว ภิกษุณีจึงโดยสาร ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
หรือ โดยสารทั้งสอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทว่า ขึ้นน้ำไป คือ แล่นขึ้นทวนน้ำ.
บทว่า ล่องน้ำไป คือ แล่นลงตามน้ำ.
บทว่า เว้นไว้แต่ข้ามฟาก คือ ยกเว้นแต่ข้ามฟาก.
ในหมู่บ้านกำหนดชั่วไก่บินตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ ระยะบ้าน
ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ กึ่งโยชน์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๕๙] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว โดยสารเรือ
ลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสงสัย โดยสารเรือลำเดียวกัน ขึ้นน้ำไปก็ดี
ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ชักชวนกัน แล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวนกัน โดยสารเรือลำเดียว
กัน ขึ้นน้ำไปก็ดี ล่องน้ำไปก็ดี เว้นไว้แต่ข้ามฟาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน. . .ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญ ว่าชักชวน. . . ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสงสัย . . .ต้องอาบัติทุกกฏ

434
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 435 (เล่ม 4)

ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน. . .ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๖๐] ข้ามฟาก ๑ ไม่ได้ชักชวนกันโดยสาร ๑ ภิกษุณีชักชวน
ภิกษุไม่ได้ชักชวน ๑ โดยสารเรือผิดนัด ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมนิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ
ภิกขุนีวรรค นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
[ว่าด้วยการชักชวนกันโดยสารเรือลำเดียวกัน]
บทว่า สํวิธาย ได้แก่ ชักชวนกันมุ่งการเล่นเป็นเบื้องหน้า ด้วย
อำนาจมิตรสันถวะซึ่งเป็นความยินดีของชาวโลก.
บทว่า อุทฺธคามินึ คือ แล่นทวนกระแสของแน่น้ำขึ้นไป. ก็เพราะ
ผู้ซึ่งเล่นกีฬาทางเรือที่แล่นขึ้นทวนน้ำ โดยวิ่งทวนขึ้นไป ท่านเรียกว่า โดยสาร
เรือขึ้นน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุทฺธคามินึ นั้น เพื่อ
แสดงเฉพาะอรรถเท่านั้น จึงตรัสว่า อุชฺชวนิกาย (แล่นขึ้นทวนน้ำ) ดังนี้.
บทว่า อุโธคามินึ คือ แล่นตามกระแสน้ำลงไป. ก็เพราะผู้ซึ่ง
เล่นกีฬาทางเรือที่แล่นลงตามน้ำ โดยแล่นลงไปทางได้ ท่านเรียกว่าโดยสาร
เรือล่องน้ำไป. ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแม้แห่งบทว่า อโธคามินึ นั้น

435
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 436 (เล่ม 4)

เพื่อแสดงแต่อรรถเหมือนกัน จึงตรัสว่า โอชวนิกาย (แล่นลงตามน้ำ) ดังนี้.
ในเรือนั้น ชนทั้งหลาย ย่อมแล่นเรือใดไปเหนือ หรือใต้เพื่อให้ถึงท่าจอดเรือ,
ไม่เป็นอาบัติในการแล่นเรือนั้นไปที่นั่น.
คำว่า ติริยนฺตรณาย นี้ เป็นปัญจมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยา-
วิภัตติ.
ในคำว่า คามนฺตเร คามนฺตเร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. แม่น้ำใด
มีฝั่งข้างหนึ่งต่อเนื่องกันด้วยหมู่บ้าน กำหนดชั่วไก่บินตก, ฝั่งข้างหนึ่งเป็นป่า
ไม่มีบ้าน, ในเวลาไปทางริมฝั่งที่มีหมู่บ้านแห่งแม่น้ำนั้น เป็นปาจิตตีย์หลายตัว
ด้วยจำนวนละแวกบ้าน. ในเวลาไปทางข้างริมฝั่งที่ไม่มีบ้าน เป็นปาจิตตีย์มาก
ตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์. แต่แม่น้ำใดมีความกว้าง ๑ โยชน์ แม้ในการไป
โดยท่ามกลางแห่งแม่น้ำนั้น ก็พึงทราบปาจิตตีย์หลายตัว ด้วยการนับกึ่งโยชน์.
ในคำว่า อนาปตฺติ ติรยนฺตรณาย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ไม่ใช่
ในแม่น้ำอย่างเดียว. แม้ภิกษุใดออกจากท่าชื่อมหาดิษฐ์ ไปสู่ท่าชื่อตามพลิตติ
ก็ดี ชื่อสุวรรณภูมิ ก็ดี ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. จริงอยู่ ในทุก ๆ
อรรถกถา ท่านวิจารณ์อาบัติไว้ในแม่น้ำเท่านั้น ไม่ใช่ในทะเล.
ในคำว่า วิสงฺเกเตน แม้น้ำ ก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะผิดนัดเวลา
เท่านั้น แต่เมื่อไปโดยผิดนัดท่าเรือโดยผิดนัดเรือเป็นอาบัติทีเดียว. คำที่เหลือ
พร้อมด้วยสมุฏฐานเป็นต้น เป็นเช่นกับปฐมสิกขาบททั้งนั้นแล.
นาวาภิรุหนสิกขาบทที่ ๘ จบ

436
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 437 (เล่ม 4)

โอวาทวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๔๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้ง
นั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นกุลุปิกาของตระกูลแห่งหนึ่ง เป็นผู้รับภัตตาหาร
ประจำอยู่ ก็แลคหบดีนั้นได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุณี
ถุลลนันทาครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ครั้นแล้ว
ไต่ถามคหบดีนั้นว่า ดูก่อนท่านคหบดี ท่านจัดของเคี้ยวของฉันนี้ไว้มากมาย
ทำไม.
ค. กระผมได้นิมนต์พระเถระทั้งหลายไว้ ขอรับ
ถุ. ดูก่อนคหบดี พระเถระเหล่านั้นคือใครบ้าง.
ค. คือพระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้ามหาโมคคัลลานะ พระคุณเจ้า
มหากัจจานะ พระคุณเจ้ามหาโกฏฐิตะ พระคุณเจ้ามหากัปปินะ พระคุณเจ้า
มหาจุนทะ พระคุณเจ้าอนุรุทธะ พระคุณเจ้าเรวตะ พระคุณเจ้าอุบาลี พระคุณ
เจ้าอานนท์ พระคุณเจ้าราหุล.
ถุ. ดูก่อนคหบดี ก็เมื่อพระเถระผู้ใหญ่มีปรากฏอยู่ ทำไมท่านจึง
นิมนต์พระเล็ก ๆ เล่า.
ค. พระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้น คือใครบ้าง ขอรับ.
ถุ. คือพระคุณเจ้าเทวทัต พระคุณเจ้าโกกาลิกะ พระคุณเจ้ากฏโมรก-
ติสสกะ พระคุณเจ้าขัณฑเทวีบุตร พระคุณเจ้าสมุทททัต.

437
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 438 (เล่ม 4)

ในระหว่างที่ภิกษุณีถุลลนันทาพูดค้างอยู่เช่นนี้ พอดีพระเถระทั้งหลาย
เข้ามาถึง นางกลับพูดว่า ดูก่อนคหบดีถูกแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ทั้งนั้น ท่าน
นิมนต์มาแล้ว.
ค. เมื่อกี้นี้เองแท้ ๆ ท่านพูดว่าพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นพระเล็ก ๆ
เดี๋ยวนี้กลับพูดว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่ คหบดีนั้นพูดแล้วขับนางออกจากเรือน
และงดอาหารที่ถวายประจำ.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนพระเทวทัตรู้อยู่ จึงฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า
เธอรู้อยู่ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย จริงหรือ.
พระเทวทัตทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอรู้อยู่
จึงได้ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำให้ถวายเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ
ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว . . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า
ดังนี้:-

438
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 439 (เล่ม 4)

พระบัญญัติ
๗๘.๙. ก. อนึ่ง ภิกษุ รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณีแนะนำ
ให้ถวาย เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๔๖๒] สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งบวชมาจากพระนครราชคฤห์แล้ว
ได้เดินทางไปยังตระกูลญาติ คนทั้งหลายได้ตั้งใจจัดภัตตาหารถวาย ด้วยดีใจว่า
ต่อนาน ๆ ท่านาพึงได้มา ภิกษุณีกุลุปีกาของตระกูลนั้น ได้บอกแนะนำคน
พวกนั้นว่า ขอพวกท่านจงถวายภัตตาหารแก่พระคุณเจ้าเถิด ฝ่ายภิกษุรูปนั้น
รังเกียจว่า การที่ภิกษุรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้ถวาย พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงห้ามไว้แล้ว ดังนี้ จึงไม่รับประเคน และไม่สามารถจะเที่ยว
ไปบิณฑบาต ได้ขาดภัตตาหารแล้ว ครั้นเธอไปถึงพระอารามแล้วแจ้งความนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงอนุญาตให้ฉันบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในเพราะคฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เราอนุญาตให้ภิกษุ
ผู้รู้อยู่ ฉันบิณฑบาตที่ภิกษุณีแนะนำให้เขาถวายได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

439
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ – หน้าที่ 440 (เล่ม 4)

พระอนุบัญญัติ
๗๘. ๙. ข. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ ฉันบิณฑบาตอันภิกษุณี
แนะนำให้ถวาย เว้นแต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๓] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ .. .นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกเธอ หรือภิกษุณีนั้นบอก.
ผู้ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ สตรีผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย.
ที่ชื่อว่า แนะนำให้ถวาย คือ ภิกษุณีบอกแก่ผู้ไม่ประสงค์จะ
ถวายทาน ไม่ประสงค์จะทำบุญไว้แต่แรกว่า ท่านเป็นนักสวด ท่านเป็นผู้คง
แก่เรียน ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระสุตตันตปิฏก ท่านเป็นพระวินัยธร ท่าน
เป็นพระธรรมกถึก ขอท่านทั้งหลายจงถวายทานแก่ท่านเถิด ขอท่านทั้งหลาย
จงทำบุญแก่ท่านเถิด ดังนี้ นี้ชื่อว่า แนะนำให้ถวาย.
ที่ชื่อว่า บิณฑบาต ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน คือ ยกแค่คฤหัสถ์ปรารภ
ไว้ก่อน.
ที่ชื่อว่า คฤหัสถ์ปรารภไว้ คือ เขาเป็นญาติ เป็นผู้ปวารณา หรือ
เขาจัด แจงไว้ตามปรกติ.
เว้นจากบิณฑบาตที่คฤหัสถ์ปรารภไว้ก่อน ภิกษุรับประเคนไว้ด้วย
ตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก ๆ คำกลืน.

440