No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 202 (เล่ม 52)

อรรถกถาปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถาที่ ๙
คาถาของท่านพระเชนตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติมเทน มตฺโตหํ
ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร .
แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน
ทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถี. ท่านมีนามว่า
เชนตะ. พอท่านเจริญวัยก็มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติและเมาในโภคะ
ความเป็นใหญ่ และรูป ดูหมิ่นคนอื่น ไม่ทำความยำเกรงแม้แก่ท่านผู้ตั้ง
อยู่ในฐานะที่ควรเคารพ มีมานะจัดเที่ยวไป. วันหนึ่ง นายเชนตะนั้นได้
เห็นพระศาสดา อันบริษัทหมู่ใหญ่ห้อมล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่ เมื่อจะ
เข้าไปเฝ้า จึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า ถ้าพระสมณโคดมนี้จักตรัสทักเรา
ก่อน แม้เราก็จักทักทายด้วย ถ้าไม่ตรัสทักเราก็จักไม่ทัก ดังนี้แล้วจึงเข้า
ไปเฝ้ายืนอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสทักก่อน แม้ตนเองก็ไม่ทักทาย
เพราะถือตัว แสดงอาการจะเดินไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขา
ด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ใครในโลกนี้มีมานะ ไม่ดีเลย ผู้ใด
มาด้วยประโยชน์ใด ผู้นั้นพึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้น.
เขาคิดว่า พระสมณโคดมรู้จิตใจของเรา มีความเลื่อมใสยิ่ง จึงซบ
ศีรษะลงที่พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำอาการเคารพ
ยำเกรงอย่างยิ่ง แล้วทูลถามว่า
พราหมณ์ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพ
ในใคร พึงยำเกรงใคร บูชาใครด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี.

202
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 203 (เล่ม 52)

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงตอบปัญหาของเขา จึงทรงแสดง
ธรรมว่า
ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์
เป็นที่ ๔ พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรง
บุคคลเหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้น ด้วยดีแล้วจึงเป็น
การดี บุคคลพึงทำลายมานะเสีย ไม่ควรมีความกระด้าง
ในพระอรหันต์ผู้เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะ
มิได้ พึงนอบน้อมท่านเหล่านั้นผู้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า.
เขาได้เป็นพระโสดาบันด้วยเทศนานั้น บวชแล้วบำเพ็ญวิปัสสนา
จึงได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผลโดยมุ่งระบุข้อปฏิบัติ
ของตน จึงได้กล่าวคาถา๑เหล่านี้ ความว่า
เราเป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล ด้วยโภคะ
และอิสริยยศ ด้วยทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง และ
เป็นผู้เมาด้วยความเมาอย่างอื่น เราจึงไม่สำคัญใคร ๆ
ว่าเสมอตนและยิ่งกว่าตน เราเป็นผู้มีกุศลอันอตินานะ
กำจัดแล้ว เป็นคนโง่เขลา มีใจกระด้าง ถือตัว มีมานะ
จัด ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่กราบไหว้ใคร แม้เป็นมารดาหรือ
บิดา แม้พี่ชายหรือพี่สาว และแม้สมณพราหมณ์เหล่าอื่น
ที่โลกสมมติว่าเป็นครูบาอาจารย์ เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้
เป็นนายกของโลก ผู้เลิศประเสริฐสูงสุดกว่าสารถีทั้งหลาย
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๓๕.

203
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 204 (เล่ม 52)

ผู้รุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ อันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมแล้ว
จึงละทิ้งมานะและความมัวเมา มีใจผ่องใส ถวายบังคม
พระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า การ
ถือตัวว่าดีกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา และว่าเสมอเขา เราละ
แล้ว ถอนขึ้นแล้วด้วยดี การถือตัวว่าเป็นเราเป็นเขา เรา
ตัดขาดแล้ว การถือตัวต่าง ๆ ทั้งหมด เรากำจัดได้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติทเมน มตฺโตหํ มีวาจาประกอบ
ความว่า เราบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง จึงเมาด้วยความถือ
ตระกูลว่า ไม่มีตนอื่นผู้เกิดดีแล้วจากบิดามารดาทั้งสองฝ่ายเช่นกับเรา จึง
ได้ถือตัวจัดเที่ยวไป.
บทว่า โภคอิสฺสริเยน จ ประกอบความว่า เราได้เป็นผู้เมาด้วย
ทรัพย์สมบัติ และด้วยความเป็นใหญ่ คือด้วยความเมาอันเกิดขึ้น เพราะ
อาศัยโภคสมบัติ และอิสริยสมบัติอันเป็นตัวเหตุเที่ยวไป.
บทว่า สณฺฐานวณฺณรูเปน ความว่า ทรวดทรง ได้แก่ ความ
สมบูรณ์ด้วยส่วนสูงและส่วนใหญ่. วรรณะ ได้แก่ ความสมบูรณ์ด้วยผิว
พรรณ มีผิวขาวและผิวคล้ำเป็นต้น, รูป ได้แก่ ความงามแห่งอวัยวะน้อย
ใหญ่. แม้ในบทว่า สณฺฐานวณฺณรูเปน นี้ ก็พึงทราบวาจาประกอบ
ความโดยนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า มทมตฺโต ได้แก่ ผู้เมาด้วยความเมาแม้อื่นจากประการที่
กล่าวแล้ว.
บทว่า นาตฺตโน สมกํ กญฺจิ ความว่า เราจึงไม่สำคัญ คือไม่รับรู้
ใครๆว่าเสมอ คือเช่นกับตน ได้แก่เสมอด้วยชาติเป็นต้น หรือว่ายิ่ง

204
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 205 (เล่ม 52)

กว่าตน อธิบายว่า แม้คนผู้เสมอกับตนเราก็ยังไม่สำคัญ (ว่าจะมี) คนที่
ยิ่งกว่านั้น เราจะสำคัญ (ว่าจะมี) มาแต่ไหน.
บทว่า อติมานหโต พาโล ความว่า เราเป็นคนพาล เพราะความ
เป็นคนพาลนั้น จึงเป็นผู้ถูกอติมานะกำจัดการบำเพ็ญกุศลเสีย เพราะเหตุ
นั้นนั่นแหละ เราจึงมีใจกระด้าง ถือตัว คือเป็นผู้กระด้างจัด ได้แก่
เกิดเป็นผู้กระด้าง โดยไม่ถ่อมตน เป็นคนถือตัวโดยไม่ทำการนอบน้อม
แม้แก่ครูทั้งหลายด้วยความหัวดื้อ.
เพื่อจะทำเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแลให้ปรากฏชัดขึ้น จึงกล่าวคำว่า
มาตรํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเญ ได้แก่ พี่ชายเป็นต้น และ
สมณพราหมณ์.
บทว่า ครุสมฺมเต ได้แก่ ที่สมมติกันว่า ครู คือผู้ตั้งอยู่ในฐานะ
ครู.
บทว่า อนาทโร แปลว่า เว้นจากความเอื้อเฟื้อ.
บทว่า ทิสฺวา วินายกํ อคฺคํ มีวาจาประกอบความว่า เราเป็นผู้มี
มานะจัดอย่างนี้เที่ยวไป ได้เห็นพระศาสดาผู้ชื่อว่า ผู้แนะนำโดยวิเศษ
เพราะแนะนำเหล่าเวไนยสัตว์ด้วยทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกัตถ-
ประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ และเพราะภาวะเป็นผู้นำโดยความเป็น
พระสยัมภู ชื่อว่าผู้เลิศเพราะความเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลกด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่าผู้สูงสุดคือสูงสุดยิ่งแห่งสารถี เพราะ
ฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้โดยเด็ดขาด ผู้รุ่งเรืองคือสว่างไสวด้วยแสงสว่างด้วย
พระรัศมีด้านละวาเป็นต้น ดุจพระอาทิตย์ ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ อันหมู่

205
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 206 (เล่ม 52)

ภิกษุแวดล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่ ถูกพุทธานุภาพคุกคาม จึงละคือทิ้ง
มานะที่เกิดขึ้นว่า เราเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ คนอื่นเลว และความเมา
มีเมาในโภคะเป็นต้น มีใจเลื่อมใส จึงอภิวาทด้วยเศียรเกล้า. ถามว่า
ก็นายเชนตะนี้เป็นผู้มีมานะจัด อย่างไรจึงละมานะด้วยเหตุสักว่าได้เห็นพระ-
ศาสดา ? ตอบว่า ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้น. เขาไม่ได้ละมานะด้วยสักว่า
เห็นพระศาสดา แต่ละมานะได้ด้วยเทศนา มีอาทิว่า ดูก่อนพราหมณ์
มานะไม่ดีเลย ดังนี้ ซึ่งท่านหมายกล่าวว่า เราละมานะและความมัวเมา
มีใจเลื่อมใส จึงอภิวาทด้วยเศียรเกล้า.
ก็ในบทว่า วิปฺปสนฺเนน เจตสา นี้ พึงเห็นว่าใช้ตติยาวิภัตติใน
อรรถว่า อิตถัมภูตะ แปลว่า มี.
บางอาจารย์กล่าวว่า มานะที่เกิดขึ้นว่า เราเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ
สุด ดังนี้ เป็นอติมานะ สำคัญตัวว่ายิ่งกว่าเขา มานะของคนผู้ตั้งคนอื่น
ไว้โดยความเป็นคนเลวว่า ส่วนคนอื่นเป็นคนเลว ดังนี้เป็นโอมานะ
สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา. อนึ่ง มานะว่าดีกว่าเขา ที่เกิดแก่บุคคลผู้ล่วงเลย
คนอื่น แล้วตั้งตนว่าประเสริฐกว่าเขา เราเป็นผู้ประเสริฐกว่า ดังนี้ เป็น
อติมานะ. มานะว่าเลวกว่าเขาที่เกิดขึ้นว่า เราเป็นคนเลวกว่าเขา ดังนี้
เป็นโอมานะ.
บทว่า ปหีนา สุสมูหตา ความว่า เป็นผู้ละด้วยมรรคเบื้องต่ำ ถอน
ขึ้นได้เด็ดขาดด้วยอรหัตมรรค.
บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่ มานะที่เกิดด้วยอำนาจการยึดถือว่า
"เรา" ในขันธ์ว่า "เราเป็นนั่น. "

206
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 207 (เล่ม 52)

บทว่า สพฺเพ ความว่า มิใช่อติมานะ โอมานะ และอัสมิมานะ
อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ประเภทของมานะ คือส่วนแห่งมานะทั้งหมด
มีประเภทมานะ ๙ มีมานะว่าประเสริฐกว่าเขา แห่งคนผู้ประเสริฐกว่าเขา
และมานะหลายประเภท โดยประเภทอื่น ๆ เรากำจัดแล้ว คือถอนได้
เด็ดขาดแล้วด้วยอรหัตมรรค.
จบอรรถกถาปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถาที่ ๙

207
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 208 (เล่ม 52)

๑๐. สุมนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุมนเถระ
[๓๕๖] เมื่อครั้งเราบวชใหม่ มีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้
ชนะพระยานาคผู้มีมหิทธิฤทธิ์ด้วยฤทธิ์ ได้ตักน้ำจาก
สระใหญ่ ชื่อว่าอโนดาต มาถวายพระอุปัชฌาย์ ลำดับนั้น
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเราแล้วตรัสว่า ดูก่อน
สารีบุตร เธอจงดูกุมารผู้ถือหม้อน้ำมานี้ มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ในภายใน สามเณรนี้มีวัตรอันน่าเลื่อมใส มีอิริยาบถ
งดงาม เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธะ แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์
เป็นผู้อันพระอนุรุทธะ ผู้เป็นบุรุษอาชาไนยฝึกให้รู้ได้
รวดเร็ว ผู้อันพระอนุรุทธะผู้เป็นคนดี ฝึกให้ดีแล้ว เป็น
ผู้อันพระอนุรุทธะผู้ทำกิจเสร็จแล้ว แนะนำแล้ว ให้ศึกษา
แล้ว สุมนสามเณรนั้น ได้บรรลุสันติธรรมอันยอดเยี่ยม
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันไม่กำเริบ ปรารถนาอยู่ว่า ใคร ๆ
อย่าพึงรู้จักเรา.
จบสุมนเถรคาถา
อรรถกถาสุมนเถรคาถาที่ ๑๐
คาถาของท่านพระสุมนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา นโว ปพฺพชิโต.
เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน
ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

208
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 209 (เล่ม 52)

พระนามว่าสิขี บังเกิดในตระกูลของนายมาลาการ รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิขี มีใจเลื่อมใสได้บูชาด้วยดอกมะลิ.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในเรือนของอุบาสกคนหนึ่ง และ
อุบาสกผู้นั้นได้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอนุรุทธเถระ ก็ในกาลก่อนแต่
นั้น พวกเด็กของเขาพอเกิดก็ตายไป ด้วยเหตุนั้น เขาจึงเกิดความคิด
ขึ้นว่า บัดนี้ ถ้าเราจักได้บุตรชายคนเดียว จักให้บวชในสำนักของ
พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธเถระ.
ก็เด็กในครรภ์นั้น พอล่วงไปได้ ๑๐ เดือนก็เกิด เป็นเด็กไม่ป่วยไข้
เจริญเติบโตมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๗ ขวบ บิดาให้เขาบวชในสำนักของ
พระเถระ ครั้นบวชแล้วแต่นั้น เพราะเป็นผู้มีญาณแก่กล้าท่านจึงบำเพ็ญ
วิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานนักเป็นผู้มีอภิญญา ๖ เมื่อจะบำรุงพระเถระ
คิดว่าจักตักน้ำดื่ม จึงได้ถือหม้อน้ำไปยังสระอโนดาตด้วยฤทธิ์.
ลำดับนั้น นาคราชตัวหนึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อจะปิดสระอโนดาต
จึงเอาขนดวง ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่ไว้เบื้องบน ไม่ให้โอกาสท่าน
สุมนะตักน้ำ. ท่านสุมนะแปลงรูปเป็นครุฑ ชนะนาคราชนั้น แล้วจึง
ตักน้ำเหาะมุ่งไปยังที่อยู่ของพระเถระ.
พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในพระเชตวัน ทรงเห็นพระสุมนะนั้นไป
โดยประการอย่างนั้น จึงตรัสเรียกพระธรรมเสนาบดีมาแล้ว ได้ตรัสคุณ
ของเธอด้วยคาถา ๖ คาถา โดยนัยมีอาทิว่า สารีบุตร เธอจงดูกุมารผู้นี้
ลำดับนั้น พระสุมนเถระได้กล่าวคาถา๑ ๖ คาถา ด้วยการพยากรณ์พระ-อรหัตผลว่า
ขุ. เถร ๒๖/ ข้อ ๓๕๖.

209
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 210 (เล่ม 52)

เมื่อครั้งเราบวชใหม่ มีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้ชนะ
พระยานาคผู้มีมหิทธิฤทธิ์ด้วยฤทธิ์ ได้ตักน้ำจากสระใหญ่
ชื่อว่าอโนดาต มาถวายพระอุปัชฌาย์. ลำดับนั้น
พระศาสดาได้ทอดพระเนตรเห็นเราแล้วตรัสว่า ดูก่อน
สารีบุตร เธอจงดูกุมารผู้ถือหม้อน้ำมานี้ มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ในภายใน. สามเณรนี้มีวัตรน่าเลื่อมใส มีอิริยาบถงดงาม
เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธะ แกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ เป็นผู้อัน
พระอนุรุทธะผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ฝึกให้รู้ได้รวดเร็ว
ผู้อันพระอนุรุทธะผู้เป็นคนดี ฝึกให้ดีแล้ว เป็นผู้อัน
พระอนุรุทธะผู้ทำกิจเสร็จแล้ว แนะนำแล้ว ให้ศึกษาแล้ว
สุมนสามเณรนั้นได้บรรลุสันติธรรมอันยอดเยี่ยม ทำให้
แจ้งธรรมอันไม่กำเริบแล้ว ปรารถนาอยู่ว่า ใคร ๆ อย่า
พึงรู้จักเรา.
บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถา ๒ คาถาข้างต้น พระสุมนเถระนั่นแล
กล่าวไว้ อีก ๔ คาถา พระศาสดาเมื่อทรงเห็นดังนั้นจึงตรัสไว้. พระสุมนเถระ
รวมคาถาทั้งหมดนั้นเข้าไว้แห่งเดียวกัน แล้วได้กล่าวเนื่องด้วยการพยากรณ์
พระอรหัตผลในชั้นหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปนฺนคินฺทํ แปลว่า พระยานาค.
บทว่า ตโต ได้แก่ ในกาลนั้น อธิบายว่า ในคราวที่เรายังบวช
ใหม่ มีอายุได้ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้ชนะพระยานาคผู้มีฤทธิ์มาก ด้วย
พลังแห่งฤทธิ์ นำน้ำจากอโนดาตมาถวายพระอุปัชฌาย์.
พระเถระ เมื่อจะแสดงพระดำรัสที่พระศาสดาของเราตรัสเจาะจงเรา
จงกล่าวคำอาทิว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอจงดูกุมารนี้ ดังนี้.

210
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 211 (เล่ม 52)

บทว่า อชฺฌตฺตํ สุสมาหิตํ ความว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยสมาธิ
อันสัมปยุตด้วยพระอรหัตผลอันเป็นอารมณ์ภายใน.
บทว่า ปาสาทิเกน วตฺเตน ได้แก่ ด้วยอาจารวัตรอันนำความ
เลื่อมใสมาให้แก่ผู้เห็นอยู่. คำว่า ปาสาทิเกน วตฺเตน นี้ เป็นตติยา-
วิภัติใช้ในอรรถแห่งกรณะ แปลว่า ด้วย.
บทว่า กลฺยาณอิริยาปโถ แปลว่า ผู้มีอิริยาบถเรียบร้อย. อีก
อย่างหนึ่ง บทว่า ปาสาทิเกน วตฺเตน นี้ เป็นตติยาวิภัติใช้ในลักษณะ
อิตถัมภูตะ แปลว่า มี. ความเป็นสมณะ ชื่อว่าสามัณยะ อธิบายว่า สามัญญะ.
ชื่อว่าสามเณร ได้แก่ สมณุทเทส เพราะไปคือเป็นไปเพื่อสามัญญะ
ความเป็นสมณะนั้น.
บทว่า อิทฺธิยา จ วิสารโท ได้แก่ เป็นผู้ฉลาด คือฉลาดดี
แม้ในฤทธิ์.
บทว่า อาชานีเยน ได้แก่ บุรุษอาชาไนย. อธิบายว่า ผู้อัน
พระอนุรุทธะผู้กระทำกิจเสร็จแล้ว ผู้ชื่อว่าคนดี เพราะทำประโยชน์ตน
และประโยชน์คนอื่นให้สำเร็จ กระทำคือฝึกให้เป็นคนดี คือให้สำเร็จ
ประโยชน์ทั้งสอง อีกอย่างหนึ่ง ทำคือฝึกให้เป็นผู้รู้รวดเร็วด้วยดี แนะนำ
แล้วด้วยวิชชาอันเลิศ ให้ศึกษาแล้วด้วยการให้บรรลุความเป็นพระอเสกขะ.
สุมนสามเณรนั้น ได้รับความสงบอย่างยิ่ง คือพระนิพพาน บรรลุ
แล้วด้วยการบรรลุพระอรหัตมรรค กระทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์แก่ตน
ซึ่งความเป็นธรรมอันไม่กำเริบ ได้แก่พระอรหัตผล เพราะเป็นผู้ถึงความ

211