No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 192 (เล่ม 52)

ที่ผูกพันไว้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ อธิบายว่า จงอย่าอาลัยในเครื่องผูกคือ
กามคุณนั้น.
บทว่า สงฺฆาฏิขุรมุณฺฑภิกฺขโภชี ได้แก่ เป็นผู้ครองผ้าสังฆาฏิ มี
ศีรษะโล้นที่เอามีดโกนปลงผม บริโภคอาหารที่ได้ด้วยการขอ คำแม้ทั้ง
๓ นี้เป็นคำกล่าวเหตุแห่งการปลดเปลื้องเครื่องผูกที่มีอยู่ในกาลก่อน และ
แห่งการไม่ประกอบตามความยินดีในการเล่นและการนอนหลับ. ประกอบ
ความว่า เพราะเหตุที่ท่านห่มผ้าสังฆาฏิ ศีรษะโล้น มีอาหารที่ได้ด้วย
การขอเขาเลี้ยงชีพ เพราะฉะนั้น การประกอบกามสุข และการประกอบ
ความยินดีในการเล่นและการนอนหลับ จึงไม่ควรแก่ท่าน ด้วยเหตุนั้น
ท่านจงปล่อยวางเครื่องผูกที่มีในกาลก่อนเสีย อย่าเห็นแก่การเล่นและการ
นอนหลับ.
บทว่า ฌาย ได้แก่ จงเพ่ง คือจงหมันประกอบอารัมมณูปนิชฌาน
เพ่งอารมณ์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงว่า ก็เธอเมื่อจะประกอบตามฌานนั้น
จงประกอบตามลักขณูปนิชฌาน อันเป็นเหตุให้ชนะกิเลสอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมี
การเข้าไปเพ่งลักษณะเป็นอารมณ์ จึงตรัสว่า เธอจงเพ่ง จงชนะ.
บทว่า โยคกฺเขมปเถสุ โกวิโทสิ ความว่า เธอจงเป็นผู้ฉลาด คือ
เฉลียวฉลาดในโพธิปักขิยธรรม อันเป็นทางแห่งพระนิพพานซึ่งปลอด
โปร่งจากโยคะทั้ง ๔ ก็เพราะฉะนั้น เธอเมื่อบำเพ็ญภาวนาจักบรรลุถึง
ความบริสุทธิ์อันยอดเยี่ยม คือปราศจากสิ่งที่เหนือกว่า ได้แก่พระนิพพาน
และพระอรหัตแล้วปรินิพพาน.

192
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 193 (เล่ม 52)

บทว่า วารินาว โชติ ความว่า จักดับกิเลสด้วยการตกลงแห่งฝน
คืออริยมรรค เหมือนกองไฟดับด้วยการตกลงแห่งน้ำฝนมากมายฉะนั้น.
บทว่า ปชฺโชตกโร ได้แก่ประทีปอันกระทำความสว่างโชติช่วง.
บทว่า ปริตฺตรํโส แปลว่า มีเปลวน้อย.
บทว่า วินมฺยเต แปลว่า ย่อมดับไป คือปราศจากไป.
บทว่า ลตาว แปลว่า เหมือนเครือเถา. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า :-
ประทีปที่แสงน้อย คือมีรัศมีน้อย โดนขาดแคลนปัจจัยมีไส้เป็นต้น หรือ
เครือเถาอันเล็ก ๆ ถูกลมขจัด คือทำลายเสีย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้ชื่อว่า
มีโคตรเสมอกับพระอินทร์ เพราะเป็นโกสิยโคตร แม้เธอก็ฉันนั้น ชื่อว่า
ผู้ไม่ถือมั่น เพราะไม่ตกอยู่ในอำนาจของมารนั้น และเพราะไม่ถือมั่น จง
ขจัดคือจงทำลายมารเสียเถิด ก็เธอนั้นเมื่อกำจัดได้อย่างนี้ เป็นผู้ปราศจาก
ฉันทราคะในเวทนาทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้มีความเย็น คือดับร้อนแล้ว
เพราะไม่มีความเร่าร้อนคือความกระวนกระวาย เพราะกิเลสทั้งปวงใน
อัตภาพนี้ทีเดียว จงหวังได้คือจงรอคอยเวลาปรินิพพานของตน. พระ-
ศาสดาตรัสเทศนาให้ถึงอนุปาทิเสสนิพพานด้วยประการอย่างนี้ ในเวลา
จบเทศนา พระเถระเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ก็ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ตามนิยามที่
พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั่นแล และคาถาเหล่านี้นั้นแลเป็นการพยากรณ์
พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถากาติยานเถรคาถาที่ ๗

193
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 194 (เล่ม 52)

๘. มิคชาลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมิคชาลเถระ
[๓๕๔] ธรรมอันก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เป็นธรรมยังวัฏฏะ
ให้พินาศหมดสิ้น เป็นเครื่องนำออกไปจากสงสาร เป็น
เครื่องข้ามพ้นสงสาร ทำรากตัณหาให้เหี่ยวแห้ง อันพระ-
พุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้มีพระจักษุ ทรง
แสดงดีแล้ว ทำลายกรรมกิเลสเครื่องก่อภพก่อชาติ อันมี
รากเป็นพิษแล้ว ทำให้เราถึงความดับสนิท ธรรมอันเป็น
เครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
เพื่อทำลายรากเหง้าแห่งอวิชชา ญาณเพียงดังแก้ววิเชียร
ตกไป ในเมื่อกำหนดถือวิญญาณทั้งหลายปรากฏขึ้น
ธรรมเครื่องประกาศเวทนา ปลดเปลื้องอุปาทาน เป็น
เครื่องพิจารณาเห็นภพดุจหลุมถ่านเพลิงด้วยญาณ มีรส
มาก ลึกซึ้ง เป็นธรรมห้ามความแก่ความตาย อริยมรรค
อันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางสงบสุข ปลอดโปร่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมอันเป็นเครื่อง
เห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง ถึงความปลอดโปร่งเป็น
อันมาก สงบระงับ เจริญในที่สุด พระพุทธเจ้าผู้มี-
พระจักษุ ทรงแสดงดีแล้ว เพราะทรงรู้กรรมว่าเป็นธรรม

194
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 195 (เล่ม 52)

ทรงรู้จักวิบากโดยความเป็นวิบากแห่งธรรมอันอาศัยกันและ
กันเกิดขึ้น.
จบมิคชาลเถรคาถา
อรรถกถามิคชาลเถรคาถาที่ ๘
คาถาของท่านพระมิคชาลเถระ มีค่าเริ่มต้นว่า สุเทสิโต ดังนี้.
เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน
ทั้งหลาย สั่งสมบุญอยู่ในภพนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตรของ
นางวิสาขามหาอุบาสิกา ในนครสาวัตถี ได้มีนามว่า มิคชาละ.
มิคชาละนั้นไปวิหาร เพราะได้ฟังธรรมเนือง ๆ จึงเกิดศรัทธาบวช
แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
จึงได้กล่าวคาถา๑เหล่านี้ ความว่า
ธรรมอันล่วงพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวง เป็นธรรมยัง
วัฏฏะให้พินาศหมดสิ้น เป็นเครื่องนำออกจากสงสาร
เป็นเครื่องข้ามพ้นสงสาร ทำรากตัณหาให้เหี่ยวแห้ง อัน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้มีพระจักษุ
ทรงแสดงดีแล้ว ทำลายธรรมและกิเลสเครื่องก่อภพ
ก่อชาติอันมีรากเป็นพิษ ทำให้เราถึงความดับสนิท ธรรม
อันเป็นเครื่องกำจัดกรรมให้สิ้นสุด อันพระพุทธเจ้าทรง
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๕๔.

195
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 196 (เล่ม 52)

แสดงแล้ว เพื่อทำลายรากเหง้าแห่งอวิชชา ญาณเพียง
ดังแก้ววิเชียรตกไป ในเมื่อกำหนดถือเอาวิญญาณทั้งหลาย
ปรากฏขึ้น ธรรมเครื่องประกาศเวทนา ปลดเปลื้อง
อุปาทาน เป็นเครื่องพิจารณาเห็นภพเป็นดุจหลุมถ่านเพลิง
ด้วยญาณ มีรสมาก ลึกซึ้ง เป็นธรรมห้ามความแก่ความ
ตาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางสงบทุกข์
ปลอดโปร่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว. ธรรม
อันเป็นเครื่องเห็นแสงสว่างตามความเป็นจริง ถึงความ
ปลอดโปร่งมาก สงบระงับ เจริญในที่สุด อันพระพุทธ-
เจ้าผู้มีพระจักษุทรงแสดงไว้ดีแล้ว เพราะทรงทราบกรรม
ว่าเป็นกรรม และทรงทราบวิบากโดยความเป็นวิบากแห่ง
ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเทสิโต แปลว่า ทรงแสดงดีแล้ว
อธิบายว่า ทรงแสดงโดยการประกาศตามเป็นจริงถึงประโยชน์ปัจจุบัน
ประโยชน์ในสัมปรายภพ และประโยชน์อย่างยิ่ง อันสมควรแก่อัธยาศัย
แห่งเวไนยสัตว์.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุเทสิโต ได้แก่ ทรงแสดงไว้โดยชอบ
อธิบายว่า ทรงภาษิต คือตรัสไว้ดีแล้ว โดยการประกาศทุกขสัจและ
นิโรธสัจ และเหตุของสัจจะทั้งสองนั้น โดยไม่ผิดแผกกัน.
บทว่า จกฺขุมตา ได้แก่ทรงมีพระจักษุด้วยจักษุ ๕ ประการนี้ คือ
มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ และสมันตจักษุ.
บทว่า พุทฺเธน ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

196
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 197 (เล่ม 52)

บทว่า อาทิจฺจพนฺธุนา ได้แก่ ผู้เป็นอาทิตยโคตร. จริงอยู่ วงศ์-
กษัตริย์ในโลกมี ๒ วงศ์ คือ อาทิตย์วงศ์ ๑. โสมวงศ์ ๑. ใน ๒ วงศ์นั้น
พึงทราบว่า วงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช เป็นอาทิตยวงศ์ เจ้าศากยะ
ทั้งหลายชื่อว่าอาทิตยโคตร เพราะมีสัญชาติมาจากวงศ์ของพระเจ้าโอก-
กากราชนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า อันชาวโลกเรียกกันว่า
อาทิจจพันธุ เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า อาทิจจพันธุ เพราะเป็น
เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ดังนี้ก็มี, เนื้อความนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหน
หลังนั่นแล.
ธรรมชื่อว่าเป็นไปล่วงสังโยชน์ทั้งปวง เพราะก้าวล่วงสังโยชน์
ทั้งมวล มีกามราคะสังโยชน์เป็นต้น ชื่อว่าทำวัฏฏะทั้งปวงให้พินาศ เพราะ
ทำให้พินาศ คือกำจัดกิเลส วัฏกรรม วัฏและวิปากวัฏนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า
นำออกจากทุกข์ เพราะนำออกไปจากการระหกระเหินไปในสังสาร ชื่อว่า
เป็นเครื่องข้ามพ้น เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นจากโอฆะใหญ่คือสงสาร ชื่อว่า
ทำรากเหง้าของตัณหาให้เหี่ยวแห้ง เพราะทำรากเหง้าแห่งตัณหาทั้งปวง
มีกามตัณหาเป็นต้น อันได้แก่อวิชชาและอโยนิโสมนสิการ ให้เหี่ยวแห้ง
คือให้เหือดแห้ง. ตัด คือตัดอย่างเด็ดขาดซึ่งกรรมหรือกิเลส อันชื่อว่า
เป็นเครื่องต่อภพต่อชาติ เพราะเป็นสถานที่อุบัติขึ้นแห่งความพินาศของ
เหล่าสัตว์ ชื่อว่ามีรากเหง้าเป็นพิษ เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์อันเป็นพิษ
โดยกำจัดการรู้แจ้งเวทนาแม้ทั้ง ๓ ให้ถึงความดับ คือพระนิพพาน.
รากเหง้าของอวิชชา ได้แก่ อโยนิโสมนสิการและอาสวะทั้งหลาย.

197
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 198 (เล่ม 52)

จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด ดังนี้ เพื่อทำลาย
คือเพื่อต้องการทำลายรากเหง้าของอวิชชานั้น ด้วยญาณอันเปรียบเพชร.
อีกอย่างหนึ่ง เชื่อมความว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อ
ทำลายภวจักรอันชื่อว่า มีอวิชชาเป็นรากเหง้า เพราะมีอวิชชาเป็นมูลราก
โดยพระดำรัสว่า สังขารทั้งหลายเกิดมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นต้นนั้น
ด้วยเพชรคือมรรคญาณ.
บทว่า กมฺมยนฺตวิฆาฏโน ได้แก่ เป็นเครื่องกำจัดยนต์คืออัตภาพ
ซึ่งสืบต่อด้วยกรรม.
ในบทว่า วิญฺญาณานํ ปริคฺคเห นี้ พึงเชื่อมคำที่เหลือว่า เมื่อการ
ยึดถือวิญญาณปรากฏขึ้นตามกรรมของตนในกามภพเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อ
ถือปฏิสนธิในภพนั้นๆ แม้วิญญาณที่อาศัยภพนั้นๆ ก็ย่อมเป็นอันถือเอา
เหมือนกัน.
บทว่า ญาณวชิรนิปาตโน ได้แก่ ทำเพชรคือญาณให้ตกลง (ให้
สำเร็จ) คือทำเพชรคือญาณให้สำเร็จแล้วทำลายวิญญาณเหล่านั้น. จริงอยู่
โลกุตรธรรมเมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นทำลายวิญญาณอันควรแก่การเกิด
ในภพที่ ๗. เป็นต้นเท่านั้น.
บทว่า เวทนานํ วิญฺญาปโน ความว่า ประกาศเวทนา ๓ มีสุข-
เวทนาเป็นต้น ตามความเป็นจริง ด้วยอำนาจเป็นทุกข์ เป็นดังลูกศร
และความไม่เที่ยง ตามลำดับ.
บทว่า อุปาทานปฺปโมจโน ความว่า ปลดเปลื้องจิตสันดานจาก
อุปาทานทั้ง ๔ มีกามุปาทานเป็นต้น.

198
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 199 (เล่ม 52)

บทว่า ภวํ องฺคารกาสุํว ญาเณน อนุปสฺสโน ความว่า แสดงภพ
ทั้ง ๙ อย่าง มีกามภพเป็นต้น โดยประจักษ์เนืองๆด้วยมรรคญาณ ให้
เป็นดุจหลุมถ่านเพลิงลึกชั่วบุรุษ โดยถูกไฟ ๑๑ กองติดโชนแล้ว.
ชื่อว่า มีรสมาก เพราะอรรถว่า กระทำความไม่เบื่อโดยความเป็น
ธรรมละเอียดและประณีต อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีรสคือกิจมาก เพราะ
เป็นธรรมมีกิจมากด้วยปริญญากิจเป็นต้น และเพราะเป็นธรรมมีสมบัติ
มากด้วยสามัญผลเป็นต้น ชื่อว่าเป็นธรรมลึกซึ้งมาก เพราะเป็นธรรมที่
หยั่งได้ยากด้วยสัมภาระที่ไม่ได้ก่อสร้างไว้ และเพราะเป็นที่พึ่งอันไม่ควร
จะได้ เป็นธรรมห้ามความแก่และความตาย คือเป็นธรรมปฏิเสธชราและ
มัจจุ โดยห้ามเกิดเฉพาะในภพต่อไป. บัดนี้ พระเถระเมื่อจะแสดงธรรม
อันประกอบด้วยคุณวิเศษตามที่กล่าวแล้วโดยสรุป จึงกล่าวว่า ประกอบ
ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ เพื่อจะประกาศซ้ำถึงคุณอันนิดหน่อยของธรรม
นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เป็นทางสงบทุกข์ ปลอดโปร่ง.
คำนั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าบริสุทธิ์
ชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะเป็นที่ประชุมธรรม ๘ ประการมีสัมมา-
ทิฏฐิเป็นต้น. ชื่อว่า มรรค เพราะอรรถว่าแสวงหาพระนิพพาน ชื่อว่า
เป็นทางสงบทุกข์ เพราะอรรถว่าสงบระงับวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปลอด
โปร่ง เพราะปลอดภัย. เพราะรู้กรรมว่าเป็นกรรม และรู้วิบากโดยความ
เป็นวิบากแห่งธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น โดยไม่คลาดเคลื่อน เหมือนใน
ลัทธิภายนอกจากพระศาสนานี้ ปรากฏว่ากรรมและวิบากของกรรมปรากฏ
ว่าคลาดเคลื่อน เพราะผู้ที่ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศ คือเพราะ
เหตุที่รู้ด้วยญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้น จึงเป็นเครื่องเห็นแสงสว่างตามที่

199
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 200 (เล่ม 52)

เป็นจริง คือเป็นเครื่องเห็นแสงสว่าง คือโลกุตรญาณอันทำความรู้เห็นนั้น
เพราะกำจัดการยึดถือด้วยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิเสียได้. ชื่อว่าถึงความ
ปลอดโปร่งเป็นอันมาก เพราะถึงและยังสัตว์ทั้งหลายให้ถึงพระนิพพาน
อันชื่อว่าปลอดโปร่งมาก เพราะใคร ๆ ไม่ประทุษร้ายใครๆ ทั้งในกาล
ไหนๆ.
มีวาจาประกอบความว่า ธรรมชื่อว่า สงบระงับ เพราะสงบระงับ
ความกระวนกระวาย และความเร่าร้อนอันเกิดจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า
เจริญในที่สุด เพราะให้ถึงเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ และอนุปาทิเสส-
นิพพานธาตุ อันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงแสดงไว้แล้ว.
พระเถระเมื่อได้สรรเสริญอริยธรรมโดยนัยต่างๆด้วยประการอย่างนี้
จึงได้ประกาศความที่ตนได้บรรลุธรรมนั้น โดยอ้างถึงพระอรหัตผล.
จบอรรถกถามิคชาลเถรคาถาที่ ๘

200
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ – หน้าที่ 201 (เล่ม 52)

๙. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา๑
ว่าด้วยคาถาของพระเชนตปุโรหิตปุตตเถระ
[๓๕๕] เราเป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล ด้วยโภคะ
และอิสริยยศ ด้วยทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง และ
เป็นผู้เมาแล้วด้วยความเมาอย่างอื่น เราจึงไม่สำคัญ
ใคร ๆ ว่าเสมอตน และยิ่งกว่าตน เราเป็นผู้มีกุศลอัน
อติมานะกำจัดแล้ว เป็นคนโง่เขลา มีใจกระด้าง ถือตัว
มีมานะจัด ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่กราบไหว้ใคร แม้เป็นมารดา
หรือบิดา แม้พี่ชายหรือพี่สาว และแม้สมณพราหมณ์
เหล่าอื่นที่โลกสมมติว่าเป็นครูบาอาจารย์ เราเห็นพระ-
พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เลิศประเสริฐสุดกว่าสารถี
ทั้งหลาย ผู้รุ่งเรื่องดุจพระอาทิตย์ อันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อม
ล้อมแล้ว จึงละทิ้งมานะและความมัวเมา มีใจผ่องใส
ถวายบังคมพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเศียร-
เกล้า การถือตัวว่าดีกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา และว่าเสมอ
เขา เราละแล้ว ถอนขึ้นแล้วด้วยดี การถือตัวว่าเป็นเรา
เป็นเขา เราตัดขาดแล้ว การถือตัวต่าง ๆ ทั้งหมด เรา
กำจัดแล้ว.
จบเชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา
๑. อรรถกถาเป็นปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถา.

201