No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 256 (เล่ม 51)

ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนทั้งหลาย ผู้ทอดทิ้ง
การงาน โดยอ้างเลศว่า เวลานี้ นาวนัก ร้อนนัก
เย็นมากแล้ว ส่วนผู้ใดไม่สำคัญหนาวและร้อนให้ยิ่ง
ไปกว่าหญ้า ผู้นั้นจะทำงานอยู่อย่างลูกผู้ชาย ไม่พลาด
ไปจากความสุข ข้าพเจ้าเมื่อจะเพิ่มพูนวิเวก จักแหวก
แฝกคา หญ้าดอกเลา หญ้าปล้อง และหญ้ามุงกระต่าย
ด้วยอุระ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติสีตํ ความว่า นำความมาเชื่อมกันว่า
หนาวเหลือเกิน เพราะหิมะตกและฝนพรำเป็นต้น คนเกียจคร้านอ้างข้อนี้.
บทว่า อติอุณฺหํ ความว่า ร้อนเหลือเกิน เพราะแดดแผดเผาใน
ฤดูร้อนเป็นต้น. แม้ด้วยคำทั้ง ๒ นี้ พระเถระได้กล่าวถึงเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง
ความเกียจคร้าน ด้วยอำนาจฤดู.
บทว่า อติสายํ ความว่า เย็นมากแล้ว เพราะกลางวันผ่านพ้นไป
ก็ด้วยว่าสายนั้นเทียว แม้เวลาเช้า ก็เป็นอันสงเคราะห์เข้าในคาถานี้ด้วย ด้วย
คำทั้งสองนั้น (สายํ และ ปาโต) พระเถระได้กล่าวถึงเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ
เกียจคร้าน ด้วยอำนาจกาลเวลา.
บทว่า อิติ ความว่า ด้วยประการฉะนี้. ด้วยอิติศัพท์นี้ พระเถระ
สงเคราะห์เอาเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านเข้าไว้ด้วย ที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ได้ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม (การงาน)
เป็นสิ่งที่ภิกษุ ในพระศาสนานี้ควรทำ.

256
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 257 (เล่ม 51)

บทว่า วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต ได้แก่ ผู้สลัดทิ้งซึ่งการงานที่ประกอบ.
บทว่า ขณา ได้แก่ โอกาสแห่งการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีโอกาสเกิด
ขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า มาณเว ได้แก่ สัตวโลกทั้งหลาย.
บทว่า ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ ความว่า ไม่สำคัญเหนือไปกว่าหญ้า
คือสำคัญ (หนาว,ร้อน) เหมือนหญ้า ได้แก่ ข่มหนาวและร้อนไว้ ทำ
งานที่ตนจะต้องทำไป. บทว่า กรํ ได้แก่ กโรนฺโต แปลว่า ทำอยู่. บทว่า
ปุริสกิจฺจานิ ได้แก่ ประโยชน์ของตนและของผู้อื่น อันวีรบุรุษจะต้องทำ.
บทว่า สุขา ได้แก่ จากความสุข อธิบายว่า จากนิพพานสุข. เนื้อความ
ของคาถาที่ ๓ ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถามาตังคบุตรเถรคาถา
๖. ขุชชโสภิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ
[๓๑๒] ได้ยินว่า พระขุชชโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
สมณะเหล่าใดกล่าวธรรมอันวิจิตร เป็นปกติ
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านขุชชโสภิตะ
ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ นี้เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะ
เหล่านั้น. สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรม อันวิจิตร
เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่าน
รูปนี้ ผู้มากด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็น

257
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 258 (เล่ม 51)

ผู้หนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น. ท่านผู้นี้ประสบความ
สุข ด้วยอาการอย่างนี้คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วย
ความปรารถนาดี (ของกัลยาณมิตร) ด้วยชัยชนะใน
สงคราม และด้วยพรหมจรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว
ตามลำดับ.
อรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระขุชชโสภิตเถระ มีคำขึ้นต้นว่า เย จิตฺตกถี
พหุสฺสุตา. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ทราบว่า ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ในกาลของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทรงนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล รู้เดียงสาแล้ว
วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปกับภิกษุสงฆ์จำนวนมาก มีใจ
เลื่อมใสได้กล่าวชมเชยด้วยคาถา ๑๐ คาถา.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก
มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในนครปาฏลีบุตร ได้
มีนามว่าโสภิตะ. แต่เพราะเป็นผู้ค่อมเล็กน้อย จึงปรากฏ ชื่อว่าขุชชโสภิตะ
นั่นเทียว. ท่านเจริญวัยแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้บวช
ในสำนักของท่านพระอานนทเถระ ได้อภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้นใน
อปทาน ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

258
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 259 (เล่ม 51)

พระนราสภ ผู้ทรงเป็นเทพเจ้าของเทพทั้งหลาย
เสด็จดำเนินไปบนถนน งดงามเหมือนเครื่องราชกกุธ-
ภัณฑ์ ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส พระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ผู้ทรงยังความมืดมนอนธการให้พินาศไป
ให้คนจำนวนมากข้ามฟากได้ ทรงโชติช่วงอยู่ด้วยแสง
สว่าง คือ พระญาณ ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายกโลก ทรงนำ
สัตวโลกไป ทรงยกสัตวโลกจำนวนมากขึ้นด้วย (พระ
ปรีชาญาณ) จำนวนแสน ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อม
ใส พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงย่ำกลอง คือ พระธรรม
บดขยี้หมู่เดียรถีย์ บันลือสีหนาทอยู่ ใครเล่าเห็นแล้ว
จะไม่เลื่อมใส ทวยเทพพร้อมทั้งพระพรหม ตั้งแต่
พรหมโลก พากันมาทูลถามปัญหาที่ละเอียด ใครเล่า
เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส เหล่ามนุษย์พร้อมทั้งเทวดาพา
กันมาประนมมือทูลวิงวอนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ
องค์ใด ก็ได้บุญ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ
องค์นั้น ใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ปวงชนพากัน
มาชุมนุม ห้อมล้อมพระองค์ผู้มีพุทธจักษุ พระองค์ผู้
อันเขาทูลเชิญแล้ว ก็ไม่ทรงสะทกสะท้าน ใครเล่า
เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ
องค์ใด เสด็จเข้าพระนคร กลองจะดังขึ้นมากมาย
ช้างพลายที่เมามัน ก็พากันบันลือ ใครเล่าเห็นพระสัม-
มาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแล้ว จะไม่เลื่อมใส เมื่อ

259
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 260 (เล่ม 51)

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด เสด็จดำเนินไปตาม
ถนน พระรัศมีของพระองค์ จะพวยพุ่งขึ้นสูง สม่ำ
เสมอทุกเมื่อ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ
องค์นั้น แล้วจะไม่เลื่อมใส เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสออก
ไป จะได้ยินกันทั้งจักรวาล ให้สรรพสัตว์เข้าใจกัน
ทั่ว ใครเล่าเห็นพระองค์แล้วจะไม่เลื่อมใส ในกัปที่
แสน แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้สรรเสริญพระพุทธเจ้า
พระองค์ใดไว้ ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติเลย นี้คือผลแห่ง
การสรรเสริญพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น. กิเลสทั้งหลาย
ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.
อนึ่ง ท่านเป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในสมัยมหาสังคายนาครั้งแรก ท่าน
ถูกพระสงฆ์ ผู้ประชุมกันที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ มีบัญชาว่า ท่าน
จงไปนิมนต์ท่านพระอานนทเถระมา จึงได้ดำดินลงไป โผล่ขึ้นตรงหน้าพระ
เถระ กราบเรียนให้ทราบแล้ว ตนเองได้ล่วงหน้าไปทางอากาศถึงประตูถ้ำ
สัตตบรรณคูหาก่อน. ก็สมัยนั้น เทวดาบางองค์ ที่หมู่เทวดาส่งไปเพื่อห้าม
พญามาร และพรรคพวกของพญามาร ได้ยืนที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา พระ
ขุชชโสภิตเถระ เมื่อจะบอกการมาของตนแก่เทวดาองค์นั้นได้กล่าวคาถาแรก
ไว้ว่า
สมณะเหล่าใดกล่าวถ้อยคำไพเราะ เป็นปกติ
เป็นพหสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านพระขุชช-
โสภิตะ ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำนี้ เป็นรูปหนึ่งในจำนวน
สมณะเหล่านั้น.

260
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 261 (เล่ม 51)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตกถี คือเป็นผู้แสดงธรรมไพเราะ
เป็นปกติ อธิบายว่า เป็นผู้มีปกติพูดธรรม เหมาะกับอัธยาศัยของผู้อื่น
โดยนัยต่าง ๆ มีอาทิอย่างนี้คือ ย่อ พิสดาร ทำให้ลึกซึ้ง ทำให้ตื้น (ง่าย)
บรรเทาความสงสัยได้ ให้ผู้ฟังตั้งมั่นอยู่ในธรรมได้.
บทว่า พหุสฺสุตา ความว่า ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะบริบูรณ์ด้วย
ความเป็นพหูสูต ทั้งทางปริยัติและปฏิเวธ ชื่อว่า เป็นสมณะ เพราะระงับบาป
ได้ โดยประการทั้งปวง.
บทว่า ปาฏลิปุตฺตวาสิโน เตสญฺญตฺโร ความว่า ภิกษุทั้งหลาย
ชื่อว่าอยู่ประจำกรุงปาฏลีบุตร เพราะอยู่ที่นครปาฏลีบุตร เป็นปกติ บรรดา
ภิกษุเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุ คือท่านผู้มีอายุยืนนี้ เป็นรูปใดรูปหนึ่ง.
บทว่า ทฺวาเร ติฏฺฐิ ความว่า ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหา
อธิบายว่า เพื่อจะเข้าไปตามอนุมัติของสงฆ์. เทวดาครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว จึง
ประกาศการมาของพระเถระให้พระสงฆ์ทราบ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
สมณะเหล่าใด เป็นผู้กล่าวธรรมวิจิตร เป็น
เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่าน
รูปนี้มาด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็นรูป
หนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลุเตริโต ความว่า ผู้มาแล้ว ด้วย
ลมที่เกิดจากฤทธิ์ของจิต อธิบายว่า มาแล้วด้วยกำลังฤทธิ์.
พระเถระผู้ที่พระสงฆ์ให้โอกาสแล้ว ตามที่เทวดาองค์นั้น ได้ประกาศ
ให้ทราบอย่างนี้แล้ว เมื่อไปสำนักสงฆ์ ได้พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยคาถา
ที่ ๓ นี้ว่า

261
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 262 (เล่ม 51)

ท่านผู้นี้ ประสบความสุข ด้วยอาการอย่างนี้
คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วยความปรารถนา (ของกัล
ยาณมิตร) ด้วยชัยชนะในสงคราม และด้วยพรหม
จรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว ตามลำดับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุยุทฺเธน ความว่า ด้วยการรบอย่างดี
กับกิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งตทังคปหาน (การละได้ด้วยองค์นั้น)
และวิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้).
บทว่า สุยิฏฺเฐน ความว่า ด้วยธรรมทานเป็นที่สบาย ที่กัลยาณมิตร
ทั้งหลายให้แล้ว ในระหว่าง ๆ. บทว่า สงฺคามวิชเยน จ ความว่า และ
ด้วยชัยชนะในสงความที่ได้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทปหาน (การละได้โดย
เด็ดขาด). บทว่า พฺรหฺมจริยานุจิณฺเณน ความว่า ด้วยมรรคพรหมจรรย์
ชั้นยอด ที่พระพฤติมาแล้วตามลำดับ. บทว่า เอวายํ สุขเมธติ ความว่า
ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ย่อมประสบ อธิบายว่า เสวยอยู่ซึ่งความสุขคือพระ
นิพพานและความสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ด้วยประการอย่างนี้ คือ ด้วยประการ
ดังที่กล่าวมาแล้ว.
จบอรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา

262
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 263 (เล่ม 51)

๗. วารณเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวารณเถระ
[๓๑๓] ได้ยินว่า พระวารณเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บรรดามนุษย์ในโลกนี้ นรชนใดเบียดเบียน
สัตว์เหล่าอื่น นรชนนั้นจะกำจัดหิตสุขในโลกทั้ง ๒
คือ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนนรชนใด มีเมตตาจิต
อนุเคราะห์สัตว์ทั้งมวล นรชนนั้นผู้เช่นนั้น จะประสบ
บุญตั้งมากมาย เขาควรศึกษาธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัส
ไว้ดีแล้ว การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ การอยู่แต่ผู้เดียว
ในที่ลับ และธรรมเครื่องสงบระงับจิต.
อรรถกถาวารณเถรคาถา
คาถาของพระวารณเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โยธ โกจิ มนุสฺเสสุ.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้ท่านพระวารณเถระนี้ มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้แล้ว ในพระ-
พุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๒ (นับถอยหลัง)
แต่กัปนี้ไป ก่อนแต่การเสด็จอุบัติขึ้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
ติสสะนั่นเอง ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เป็นผู้ถึงฝั่งในวิชาและศิลปะ

263
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 264 (เล่ม 51)

ของพราหมณ์ บวชเป็นฤาษี บอกมนต์แก่อันเตวาสิก ประมาณ ๕๔,๐๐๐ คน
อยู่.
ก็สมัยนั้น ได้มีการไหวแห่งมหาปฐพี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า ติสสะ ผู้ยังเป็นพระโพธิสัตว์ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงสู่
คัพโภทรของพระพุทธมารดาในภพสุดท้าย. มหาชนเห็นเหตุการณ์นั้นแล้ว
ตกใจกลัว จึงพากันไปหาฤาษี ถามถึงเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว. ท่านบอกถึง
บุรพนิมิตแห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าว่า พระมหาโพธิสัตว์ก้าวลงสู่
คัพโภทรของพระพุทธมารดา แผ่นดินไหวนี้มีด้วยเหตุนั้น เพราะฉะนั้น อย่าพา
กันกลัว แล้วให้เขาเบาใจกัน และได้ประกาศให้ทราบถึงปีติ มีพระพุทธเจ้า
เป็นอารมณ์.
เขา ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ด้วยบุญกรรมนั้น มา
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นโกศล มีชื่อว่า
วารณะ เจริญวัยแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักของพระเถระผู้อยู่ป่ารูปหนึ่ง ได้
ความเลื่อมใส บวชบำเพ็ญสมณธรรม. อยู่มาวันหนึ่ง ท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
เห็นงูเห่ากับพังพอนต่อสู้กัน ตายที่ระหว่างทาง สังเวชสลดใจว่า สัตว์เหล่านี้
ถึงความสิ้นชีวิต เพราะโกรธกันดังนี้แล้ว ได้ไปถึงสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงทราบอาจาระอันงามของท่านแล้ว
เมื่อจะทรงประทานพระโอวาทให้ เหมาะกับอาจาระนั้นนั่นแหละ จึงได้ทรง
ภาษิตพระคาถา ๓ คาถาว่า
บรรดามนุษย์ในโลกนี้ นรชนใดเบียดเบียน
สัตว์เหล่าอื่น นรชนนั้นย่อมกำจัดหิตสุขในโลกทั้ง ๒
คือ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนนรชนใดมี

264
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 265 (เล่ม 51)

เมตตาจิต อนุเคราะห์สัตว์ทั้งมวล นรชนนั้นผู้เช่น
นั้น ย่อมประสบบุญตั้งมากมาย เขาควรศึกษาธรรม
ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ
การอยู่แต่ผู้เดียวในที่ลับ และธรรมเครื่องสงบระงับ
จิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยธ โกจิ มนุสฺเสสุ ความว่า บรรดา
มนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ คนใดคนหนึ่งจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม
แพศย์ก็ตาม ศูทรก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม. ศัพท์ว่า มนุสฺส
ในคำว่า โยธ มนุสฺเสสุ นี้ พึงทราบว่า เป็นตัวอย่างของสัตว์ชั้นอุกฤษฎ์.
บทว่า ปรปาณานิ หึสติ ความว่า ฆ่าและเบียดเบียนสัตว์อื่น. บทว่า
อสฺมา โลกา ความว่า ในโลกนี้. บทว่า ปรมฺหา ความว่า ในโลกหน้า.
บทว่า อุภยา ธํสเต ความว่า ย่อมกำจัด (หิตสุข) ในโลกทั้ง ๒
อธิบายว่า ย่อมเสื่อมจากความเกื้อกูลและความสุขที่นับเนื่องในโลกทั้ง ๒.
บทว่า นโร ได้แก่ สัตว์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงบาปธรรมที่มีลักษณะเบียดเบียน
ผู้อื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงกุศลธรรม ที่มีลักษณะห้ามการ
เบียดเบียนผู้อื่น จึงได้ตรัสคาถาที่ ๒ ไว้โดยนัยมีอาทิว่า โย จ เมตฺเตน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺเตน จิตฺเตน ความว่า มีจิตที่
ประกอบด้วยเมตตา หรือมีจิตนอกจากนี้ ที่ถึงอัปปนา.
บทว่า สพฺพปาณานุกมฺปติ ความว่า เมตตาสัตว์ทั้งหมดเหมือน
บุตรเกิดแต่อกของตน.

265