No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 246 (เล่ม 51)

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าให้พระมหาวีรสรรเพชญ์ นายกโลก
ผู้เสด็จเข้ามาแล้ว ให้พอพระทัยด้วยโอสถทุกอย่าง ขอ
พระองค์จงทรงพอพระทัยด้วยมือ (ของข้าพระองค์)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมดีแด่พระองค์ไว้ ความสมบูรณ์แห่ง
พืช ข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้วในบุญเขตที่ดี ข้าพเจ้าไม่อาจ
จะให้หมดสิ้นไปได้เลย เพราะในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้
ทำกรรมไว้ดีแล้ว เป็นลาภของเรา เป็นโชคดีของเรา
ที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นนายก ด้วยผล
กรรมที่เหลือ ข้าพเจ้าจึงได้ลุถึงทางที่ไม่หวั่นไหว
พระสมณโคดมผู้สูงสุดแห่งศากยวงศ์ ได้ทรงทราบ
เรื่องทั้งหมดนี้แล้ว ได้ประทัปนั่งในหมู่สงฆ์ ทรงตั้ง
ข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตัคคะ ข้าพเจ้าได้ทำกรรม
อันใดไว้ในครั้งนั้น เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่
รู้จักทุคติตลอดกัป นับไม่ถ้วนนับถอยหลังแต่กัปนี้ไป
นี้เป็นผลแห่งเภสัช. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.
อนึ่ง ครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเป็นผู้อัน
พระศาสดา ผู้กำลังทรงตั้งพระสาวกทั้งหลายของพระองค์ไว้ในฐานันดร ตาม
ลำดับได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย เมื่อจะ
พยากรณ์อรหัตผล ด้วยโอวาทที่สำคัญแก่ภิกษุทั้งหลาย ท่ามกลางสงฆ์ ใน
สมัยปรินิพพาน จึงได้กล่าวคาถาไว้ ๓ คาถา ว่า

246
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 247 (เล่ม 51)

ผู้ใดไม่ทำงานที่จะต้องทำก่อน แต่มุ่งจะทำใน
ภายหลัง ผู้นั้นจะพลาดจากเหตุที่จะให้เกิดสุข และจะ
เดือดร้อนภายหลัง เพราะว่า ข้าพเจ้าบอกงานที่บุคคล
ควรทำ ไม่บอกงานที่ไม่ควรทำ เมื่อคนทั้งหลาย
บอกงานที่ไม่ใช่กำลังทำ บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระ-
นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว เป็น
ธรรมไม่มีความโศก สำรอกแล้ว เป็นแดนเกษม เป็น
ที่ดับทุกข์ แสนจะเป็นสุขหนอ.
บรรดบทเหล่านั้น บทว่า โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส
กาตุมิจฺฉติ (ผู้ไม่ทำงานที่จะต้องทำในตอนต้น ภายหลังประสงค์จะทำ)
ความว่า ผู้ใดเมื่อก่อน คือ เมื่อเวลาก่อนแต่ที่ชราและโรคเป็นต้น จะครอบงำ
นั่นเอง ไม่ทำงานที่ควรทำ ที่จะนำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ตน
ภายหลังแล คือ เลยเวลาที่จะต้องทำไปแล้วจึงอยากทำ. คำว่า โส เป็นเพียง
นิบาต. แต่ในกาลนั้น เขาไม่อาจจะทำได้ ไม่อาจทำได้ เพราะว่าเขาถูก
ชราและโรคเป็นต้น ครอบงำแล้ว.
บทว่า สุขา โส ธํสเต ฐานา ปจฺฉา จ มนุตปฺปติ (ผู้นั้น
จะพลาดจากที่ที่จะให้เกิดความสุขและจะเดือดร้อนภายหลัง) ความว่า บุคคล
นั้นจะเสื่อมจากที่ที่เป็นสุข คือจากสวรรค์ และจากนิพพาน เพราะอุบายที่จะ
ให้ถึงสถานที่นั้น ตนยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น ทั้งจะเดือดร้อน คือถึงความวิปฏิสาร
ภายหลัง โดยนัยมีอาทิว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีไว้.
ม อักษรทำการเชื่อมบท. ก็พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ข้าพเจ้าทำกิจ
ที่ควรจะทำแล้วนั่นแหละ จึงบอกท่านทั้งหลายอย่างนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า ยญฺหิ กยิรา เป็นต้นไว้.

247
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 248 (เล่ม 51)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริชานนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
รู้เด็ดขาดว่า คนนี้มีเท่านี้ อธิบายว่า ไม่รู้มากไปกว่านี้. ด้วยว่า คนพูด
อย่างใด ทำอย่างนั้นเท่านั้น ย่อมงดงามโดยอำนาจสัมมาปฏิบัติ ไม่ใช่งาม
โดยอย่างอื่นจากสัมมาปฏิบัตินั้น บัดนี้ เพื่อจะแสดงเนื้อความที่ท่านได้กล่าว
มาแล้ว โดยตรงคือกิจที่จะต้องทำโดยทั่วไปไว้โดยสรุป พระเถระจึงได้กล่าว
คาถาที่ ๓ ไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สุสุขํ วต ดังนี้.
คาถาที่ ๓ นั้น มีเนื้อความว่า พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนานว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้พระธรรมทั้งมวล ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ ทรงแสดงไว้แล้ว ชื่อว่าไม่มีความเศร้าโศก เพราะไม่มีเหตุแห่ง
ความเศร้าโศก โดยประการทั้งปวง ชื่อว่าสำรอกแล้ว เพราะสำรอกราคะ
เป็นต้นออกไปแล้ว เป็นสุขดีจริงหนอ เพราะเหตุไร ? เพราะพระนิพพาน
เป็นที่ดับไปโดยไม่มีเหลือ คือ เป็นที่สงบระงับไป โดยส่วนเดียวนั่นเอง แห่ง
วัฏทุกข์ทั้งสิ้น.
จบอรรถกถาพากุลเถรคาถา

248
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 249 (เล่ม 51)

๔. ธนิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระธนิยเถระ
[๓๑๐] ได้ยินว่า พระธนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ถ้าภิกษุมุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อ
ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ปานะและ
โภชนะที่เขาถวายเป็นของสงฆ์ ถ้าหากภิกษุมุ่งความ
เป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
ควรใช้ที่นอนและที่นั่ง (ง่าย ๆ) เหมือนงูอาศัยรูหนู
ฉะนั้น ถ้ามุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรง
ชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ พอใจด้วยปัจจัยตามมีตามได้ และ
ควรเจริญธรรมอย่างเอกด้วย.
อรรถกถาธนิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระธนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุขญฺจ ชีวิตุํ อิจฺเฉ.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้ท่านพระธนิยเถระ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
เมื่อสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ได้บังเกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี มีนามว่า ธนิยะ เจริญวัย
แล้ว เลี้ยงชีพด้วยการเป็นช่างหม้อ. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งที่ศาลา

249
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 250 (เล่ม 51)

ของนายธนิยะช่างหม้อ ทรงแสดงฉธาตุวิภังคสูตร แก่กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ.
เขาได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว ได้สำเร็จกิจ. (ส่วน) นายธนิยะได้ทราบว่า ท่าน
ปุกกุสาตินั้นปรินิพพานแล้ว กลับได้ศรัทธา ด้วยคิดว่า พระพุทธศาสนานี้
นำออกไป (จากวัฏฎะ) จริงหนอ ถึงแม้ด้วยการอบรมคืนเดียว ก็สามารถ
พ้นจากวัฏทุกข์ได้ ดังนี้ บวชแล้ว ขยันแต่งกุฎีอยู่ ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตำหนิ เพราะอาศัยการสร้างกุฏี จึงอยู่ที่กุฏีของสงฆ์ เจริญวิปัสสนาแล้ว
ได้บรรลุพระอรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า
ข้าพเจ้าได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระ-
ฉวีวรรณประดุจสีทอง ทรงรับสิ่งของที่เขาบูชาอยู่
ผู้ทรงเป็นนายกโลก กำลังเสด็จไปทางปลายป่าใหญ่
และข้าพเจ้าได้ถือเอาดอกเลา เดินออกไป ทันใดนั้น
ได้เห็นพระสัมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว
หาอาสวะมิได้ ณ ที่นั้น ได้มีจิตเลื่อมใสดีใจ จึงได้
บูชาพระองค์ผู้มหาวีระ ผู้ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล
ทรงอนุเคราะห์สัตวโลกทุกถ้วนหน้า ในกัปที่ ๓๑
แต่กัปนี้ ข้าพเจ้าได้ร้อยดอกไม้ใด (บูชา) ด้วยผล
ของการร้อยดอกไม้นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลของพุทธบูชา.กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว
ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.
อนึ่ง ครั้นได้บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ท่านเมื่อจะพยากรณ์พระ-
อรหัตผล โดยตรงคือการให้โอวาทแก่เหล่าภิกษุ ผู้ยกตนขึ้นข่มภิกษุเหล่าอื่น
ผู้ยินดีสังฆภัตเป็นต้น ด้วยการสมาทานธุดงค์ จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า

250
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 251 (เล่ม 51)

ถ้าภิกษุมุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อ
ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ปานะและ
โภชนะที่เขาถวายเป็นของสงฆ์ ถ้าหากภิกษุมุ่งความ
เป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
ควรใช้ที่นอนและที่นั่งง่าย ๆ เหมือนงูอาศัยรูหนู
ฉะนั้น ถ้ามุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรง
ชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ พอใจด้วยปัจจัยตามมีตามได้ และ
ควรเจริญธรรมอย่างเอกด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขญฺจ ชีวิตุํ อิจฺเฉ สามญฺญสฺมึ
อเปกฺขวา (ผู้มุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
ด้วย) ความว่า ภิกษุเป็นผู้มุ่งความเป็นสมณะ คือสมณภาวะ ได้แก่เป็นผู้มี
ความเคารพแรงกล้าในสิกขา ถ้าหากปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
ไซร้ อธิบายว่า ถ้าหากต้องการจะละอเนสนามีชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ ตามสามัญ
ไซร้.
บทว่า สงฺฆิกํ นาติมญฺญเญยฺย จีวรํ ปานโภชนํ (ไม่ควรดูหมิ่นจีวร
ปานะและโภชนะที่เขาถวายเป็นของสงฆ์) ความว่า ไม่ควรดูหมิ่นจีวร อาหาร
ที่นำมาจากสงฆ์ อธิบายว่า ธรรมดาว่าลาภที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ เป็นการเกิดขึ้น
โดยบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะบริโภคลาภนั้น ความสุขอย่างสามัญก็เป็น
อันอยู่ในเงื้อมมือทีเดียว เพราะเกิดจากอาชีวปาริสุทธิศีล.
บทว่า อหิ มูลิกโสพฺภํว ความว่า ควรเสพคือใช้สอยเสนาสนะ
เหมือนงูใช้รูที่หนูขุดไว้. อธิบายว่า อุปมาเสมือนว่างูไม่ทำที่อยู่อาศัยเอง
สำหรับตน แต่อาศัยที่อยู่ที่หนูหรือสัตว์อื่นทำไว้แล้ว ต้องการอย่างใดก็หลีก
ไปได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควรต้องความเศร้าหมอง เพราะ
การสร้างเสนาสนะอยู่เอง อยู่ได้ทุกแห่งแล้วก็หลีกไป.

251
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 252 (เล่ม 51)

บัดนี้ ท่านพระธนิยเถระเมื่อจะแสดงว่า ความสุขอย่างสามัญย่อมมี
โดยความพอใจปัจจัยตามที่ได้มา ทั้งที่กล่าวมาแล้วและไม่ได้กล่าวถึงเท่านั้น
ไม่ใช่มีโดยประการอื่นดังนี้ จึงได้กล่าวไว้ว่า อิตเรน อิจฺเฉยฺย อธิบายว่า
ภิกษุควรถึงความพอใจ (สันโดษ) ด้วยปัจจัยทุกอย่างตามที่ได้มา ไม่ว่าเลว
หรือประณีต.
บทว่า เอกธมฺมํ ได้แก่ความไม่ประมาท. เพราะว่าความไม่ประมาท
นั้น ไม่มีโทษสำหรับผู้หมั่นประกอบ และทั้งโลกิยสุขและโลกุตรสุขทั้งหมด
เป็นอันอยู่ในเงื้อมมือทีเดียว. เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า
เพราะผู้ไม่ประมาทเพ่งอยู่ ย่อมประสบความสุขอันไพบูลย์.
จบอรรถกถาธนิยเถรคาถา
๕. มาตังคปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมาตังคบุตรเถระ
[๓๑๑] ได้ยินว่า พระมาตังคบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนทั้งหลาย ผู้ทอดทิ้ง
การงาน โดยอ้างเลศว่า เวลานี้ หนาวนัก ร้อนนัก
เย็นมากแล้ว ส่วนผู้ใดไม่สำคัญหนาวและร้อนให้ยิ่ง
ไปกว่าหญ้า ผู้นั้นจะทำงานอยู่อย่างลูกผู้ชาย จะไม่
พลาดไปจากความสุข ข้าพเจ้าเมื่อจะเพิ่มพูนวิเวก
จักแหวกแฝกคา หญ้าดอกเลา หญ้าปล้อง และหญ้ามุง
กระต่ายด้วยอุระ.

252
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 253 (เล่ม 51)

อรรถกถามาตังคปุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระมาตังคบุตรเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อติสีตํ. มีเรื่อง
เกิดขึ้นอย่างไร ?
เล่ากันมาว่า ท่านพระมาตังคบุตรเถระนี้ ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดเป็นพญานาค ผู้มีอานุภาพ
มากในนาคพิภพใหญ่ ภายใต้ชาตสระใหญ่ ใกล้ป่าหิมพานต์ อยู่มาวันหนึ่ง
ออกจากนาคพิภพไปเที่ยว (หากิน) เห็นพระศาสดาผู้เสด็จมาทางอากาศ มีใจ
เลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยแก้วมณีที่หงอนของตน.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดเป็นบุตรของกุฎุมพี ชื่อ มาตังคะ ในโกศลรัฐ
จึงปรากฏนามว่า มาตังคบุตรนั่นเอง. ท่านรู้เดียงสาแล้ว กลายเป็นคน
เกียจคร้าน ไม่ทำการงานอะไร ถูกญาติและคนเหล่าอื่นพากันตำหนิ คิดเห็นว่า
สมณศากยบุตรเหล่านี้ เป็นอยู่อย่างง่าย ๆ มุ่งหวังจะเป็นอยู่ง่าย ๆ เป็นผู้ที่
ภิกษุทั้งหลายทำการอบรมแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาฟังพระธรรมเทศนา
มีศรัทธาแล้วบวช เห็นภิกษุอื่น ๆ มีฤทธิ์ ปรารถนาพลังฤทธิ์ จึงเรียน
กรรมฐานในสำนักของพระศาสดา หมั่นประกอบภาวนา แล้วได้อภิญญา ๖.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า
พระชินศรีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระ ทรงถึงฝั่งแห่งพระธรรมทั้งหมด ทรง
ประสงค์วิเวก กำลังเสด็จไปในอากาศ ภพที่อยู่ของ
ข้าพเจ้าที่ประกอบพร้อมด้วยบุญกรรม ได้มีอยู่ที่ชาต

253
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 254 (เล่ม 51)

สระใหญ่ ที่อยู่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ ข้าพเจ้าออกจาก
ที่อยู่ไปได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายกโลก
เหมือนดวงไฟที่ลุกโชน โชติช่วงดังแก้ววิเชียรของ
พระอินทร์ ข้าพเจ้าเมื่อไม่เห็นดอกไม้ที่จะเลือกเก็บ
จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส ในพระองค์ผู้ทรงเป็นนายก
แล้วได้ไหว้พระศาสดา ด้วยคิดว่า เราจักบูชา ข้าพเจ้า
จึงหยิบเอาแก้วมณีบนหงอนของข้าพเจ้าแล้ว บูชา
พระองค์ผู้ทรงเป็นนายกโลก ผลของการบูชาด้วย
แก้วมณีนี้ เป็นผลที่จำเริญ พระปทุมุตตระ ศาสดา
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา ประทับบนอากาศ
ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ขอให้ความดำริของเธอจงสำเร็จ
ขอจงได้รับความสุขอันไพบูลย์ ขอจงเสวยยศยิ่งใหญ่
ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น
ตรัสพระคาถานี้แล้ว ทรงมีพระนามว่า ชลชุตตมะ
(ผู้สูงสุดกว่าสัตว์น้ำพญานาค) ทรงเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด ได้เสด็จไปยังที่ ๆ ตั้งพระทัยจะทรง
วางแก้วมณีไว้ ข้าพเจ้าได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ
เสวยเทวราชสมบัติเป็นเวลา ๖๐ กัป และได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติเมื่อข้าพเจ้าเป็นเทวดา
ระลึกถึงบุรพกรรม แก้วมณีเกิดแก่ข้าพเจ้า ส่องแสง
สว่างให้ข้าพเจ้า สนมนารี ๘๖,๐๐๐ นางที่ห้อมล้อม
ข้าพเจ้า มีวัตถาภรณ์แพรวพราวประดับแก้วมณีและ
แก้วกุณฑล มีขนตางอน, ยิ้มแย้ม, เอวบางร่างน้อย,

254
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 255 (เล่ม 51)

ตะโพกผาย, ห้อมล้อมข้าพเจ้าเนืองนิจ นี้เป็นผลของ
การบูชาด้วยแก้วมณี อนึ่ง สิ่งของเครื่องประดับของ
ข้าพเจ้า ตามที่ข้าพเจ้าต้องประสงค์ ทำด้วยทอง
ประดับด้วยแก้วมณีและทับทิม เป็นสิ่งที่ช่างประดิษฐ์
ดีแล้ว ปราสาทเรือนที่รื่นรมย์ และที่นอนที่ควรค่า
มาก รู้ความดำริของข้าพเจ้าแล้ว เกิดขึ้นตามที่ต้องการ
ชนเหล่าใด ได้รับการสดับตรับฟัง เป็นลาภ และเป็น
การได้อย่างดีของชนเหล่านั้น การได้นั้นเป็นบุญเขต
ของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นโอสถของปวงปาณชาติ แม้
ข้าพเจ้าก็มีกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว ที่ได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นนายก ข้าพเจ้าพ้นแล้วจากวินิบาต ได้บรรลุ
พระนิพพานที่ไม่หวั่นไหว ข้าพเจ้าเข้าถึงกำเนิดใด ๆ
จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม แสงสว่างของข้าพเจ้า
จะมีอยู่ทุกเมื่อในภพนั้น ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนั้นนั่นเอง ข้าพเจ้าจึงได้เสวย
สมบัติ แล้วได้เห็นแสงสว่างคือญาณ และได้บรรลุ
พระนิพพานที่ไม่หวั่นไหว ในกัปที่แสน แต่กัปนี้
เพราะข้าพเจ้าได้บูชาด้วยแก้วมณีไว้ จึงไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี. กิเลส
ทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระ-
พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา เมื่อจะตำหนิความเกียจคร้าน สรรเสริญ
การปรารภความเพียรของตนด้วยบุคลาธิษฐาน จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาไว้ว่า

255