No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 236 (เล่ม 51)

๒. ปัจจยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปัจจยเถระ
[๓๐๘] ได้ยินว่า พระปัจจยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าบวชได้ ๕ วัน ได้เป็นพระเสขะ แต่
ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตผล ข้าพเจ้าได้เข้าไปวิหาร
แล้ว ได้มีความตั้งใจไว้ว่า ในเมื่อถอนลูกศรคือตัณหา
ออกยังไม่ได้ ข้าพเจ้าก็จักไม่ฉัน ไม่ดื่ม ไม่ออกไป
จากวิหาร จักไม่ให้แม้แต่สีข้างตกถึงพื้น ไม่เอน
หลัง เมื่อข้าพเจ้าพักอยู่อย่างนี้ คนจะเห็นความเพียร
และความก้าวหน้า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.
อรรถกถาปัจจยเถรคาถา
คาถาของท่านพระปัจจยเถระมีคำเริ่มต้นว่า ปญฺจาหาหํ ปพฺพ-
ชิโต ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้น อย่างไร ?
แม้ท่านพระปัจจยเถระ นี้ ก็มีบุญญาธิการที่ทำไว้แล้วในพระพุทธ-
เจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้น ๆ ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้
ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี รู้เดียงสาแล้ว อยู่มาวันหนึ่งได้เห็นพระศาสดากำลัง

236
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 237 (เล่ม 51)

เสด็จไปที่ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า วินตา มีใจเลื่อมใส ได้เลือกเก็บผลมะเดื่อผลใหญ่ ๆ
มีรสชื่นใจ น้อมเข้าไปถวาย.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในสุคติเท่านั้น ในภัทรกัปที่มี
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
กัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร ทรงทำการ
อนุเคราะห์เวไนยชน ได้บวชในพระศาสนาของพระองค์ เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา
ประกอบการภาวนาเนือง ๆ อยู่มาวันหนึ่ง คิดถึงทุกข์ในสงสาร เกิดความ
สังเวชอย่างยิ่ง นั่งอยู่ในวิหารอธิษฐานจิตว่า เราไม่ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว
จักไม่ออกไปจากที่นี้ พยายามอยู่ ก็ไม่สามารถให้วิปัสสนาเลื่อนสูงขึ้นได้
เพราะญาณยังไม่แก่กล้า. ท่านมรณภาพแล้ว ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและ
มนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือกำเนิดในขัตติยสกุล ในพระนคร-
โรหินี ได้รับพระนามว่า ปัจจยะ ทรงเจริญวัยแล้ว สิ้นรัชสมัยของพระ
ชนก ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ อยู่มาวันหนึ่ง ได้ทรงปรารภจะทรง
ประกอบพลีกรรมเพื่อเป็นมหาราช. มหาชนได้มาชุมนุมกัน ณ สถานที่นั้น.
เพื่อจะให้เกิดความเลื่อมใส แก่มหาชนนั้น ในสมาคมนั้น พระศาสดา
ประทับนั่งบนรัตนสิงหาสน์ ในรัตนกูฎาคาร ที่ท้าวเวสวัณ เนรมิตถวายแล้ว
ได้ทรงแสดงธรรมแก่มหาซน ผู้เฝ้ามองอยู่นั่นแหละ. การบรรลุธรรมได้มีแก่
ชุมนุมชนหมู่ใหญ่.
แม้พระเจ้าปัจจยราช ครั้นทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว ได้ทรง
สละราชสมบัติ ถูกเหตุเก่าก่อนกระตุ้นเตือน จึงได้ทรงผนวช. พระองค์ได้
ทรงทำปฏิญญา เหมือนที่ได้กระทำไว้แล้ว ในครั้งกาลของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ เสด็จเข้าพระวิหาร เจริญวิปัสสนา

237
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 238 (เล่ม 51)

แล้ว ได้ทรงบรรลุพระอรหัต ในทันใดนั่นเอง เพราะทรงทำพระญาณให้
แก่กล้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์ อปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงเป็นอุดม
บุรุษ ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรง
เป็นเอกอัครบุรุษ มีพระทัยตั้งมั่นดีแล้ว ทรงคลาย
ความกำหนัดแล้ว ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใสในพระองค์ ผู้
ทรงชำระมลทินคือกิเลส ได้ถือผลมะเดื่อ ขอเป็นทาส
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด. ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
ข้าพเจ้าได้ถวายผลไม้อันใดไว้ในครั้งนั้น เพราะการ
ถวายผลไม้นั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลของการถวายผลไม้. ในภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้า
สังเวชสลดใจ ได้บวชในพระศาสนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ. อนึ่ง ข้าพเจ้า
บวชแล้วตั้งใจไว้ว่า จักไม่ออกจากวิหาร ได้พร่ำ
บำเพ็ญภาวนา ไม่ได้บรรลุประโยชน์สูงสุด ถึงจะไม่
ได้บรรลุในทันใดนั้น แต่บัดนี้ ข้าพเจ้าก็ดับกิเลสได้
แล้ว สัมผัสทางที่ไม่จุติ ได้ลุถึงสถานที่ที่ไม่หวั่นไหว
แล้ว. กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.
อนึ่ง ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยการสรรเสริญข้อปฏิบัติของตนเป็นหลัก จึงได้ภาษิตคาถา ๓ คาถาเหล่า
นี้ไว้ว่า

238
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 239 (เล่ม 51)

ข้าพเจ้าบวชได้ ๕ วัน ได้เป็นพระเสขะ แต่ยัง
ไม่ได้บรรลุพระอรหัตผล ข้าพเจ้าเข้าไปวิหารแล้ว
ได้มีความตั้งใจไว้ว่า ในเมื่อถอนลูกศรคือตัณหาออก
ยังไม่ได้ ข้าพเจ้าก็จักไม่ฉัน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจาก
วิหาร จักไม่ให้แม้แต่สีข้างตกถึงพื้น ไม่เอนหลังเมื่อ
ข้าพเจ้านั้นพักอยู่อย่างนี้ คนจะเห็นความเพียร และ
ความก้าวหน้า วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำ
สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจาหาหํ ปพฺพชิโต ความว่า ข้าพเจ้า
เป็นพระเสขะ ๕ วัน อธิบายว่า บวชแล้ว ๕ วัน ในวันที่ ๕ นับแต่
บวชแล้ว ก็ได้สำเร็จ.
บทว่า เสโข อปฺปตฺตมานโส ความว่า ชื่อว่าเป็นพระเสขะ
เพราะศึกษาอธิสีลสิกขาเป็นต้น. ธรรมใดสิ้นมานะ คือ ตัดมานะขาดออกไป
โดยไม่มีเหลือไว้ เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า มานโส ได้แก่ มรรค
ชั้นยอด (อรหัตมรรค) สิ่งที่มาจากธรรมที่สิ้นมานะ เพราะเกิดจากธรรมนั้น
ชื่อว่า มานัส ได้แก่พระอรหัตผล ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัตผลนั้น อีกอย่างหนึ่ง
มานัส (คืออรหัต) นั้น ข้าพเจ้านี้ยังไม่ได้บรรลุ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึง
ชื่อว่า อัปปัตตมานสะ (ผู้ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตผล).
บทว่า วิหารํ เม ปวิฏฺฐสฺส เจตโส ปณิธี อหุ (ข้าพเจ้าเข้าวิหาร
แล้วได้มีความตั้งใจไว้ว่า) ความว่า เมื่อข้าพเจ้าผู้เป็นพระเสขะ เข้าไปสู่วิหาร
อันเป็นที่อยู่คือกระท่อมอย่างนี้ ได้มีความตั้งใจ ที่มีอาการดังที่กำลังกล่าวอยู่
ในบัดนี้ อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้ตั้งใจไว้อย่างนี้.

239
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 240 (เล่ม 51)

ด้วยบทว่า นาสิสฺสํ เป็นต้นนี้ ท่านแสดงถึงความตั้งใจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสิสฺสํ ความว่า ข้าพเจ้าจักไม่ฉัน
คือจักไม่บริโภคโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อข้าพเจ้าถอนลูกศรคือกิเลส
ที่ปักใจข้าพเจ้า ยังไม่ออก คือ ถอนยังไม่ได้ ผู้ศึกษาควรประกอบคำดังที่ว่า
มานี้เข้าในทุก ๆ บท. บทว่า น ปิวิสฺสามิ ความว่า เราจักไม่ดื่มน้ำ
อย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรดื่ม. บทว่า วิหารโต น นิกฺขเม ความว่า
ข้าพเจ้าจะไม่ออกไปจากที่นี้ คือจากห้องที่ข้าพเจ้านั่งอยู่แล้วในขณะนี้.
บทว่า นปิ ปสฺสํ นิปาเตสฺสํ ความว่า บรรดาสีข้างทั้ง ๒
ของร่างกายข้าพเจ้า แม้ข้างเดียวข้าพเจ้าก็จักไม่เอน เพื่อบรรเทาความลำบาก
กาย อธิบายว่า จักไม่นอน แม้โดยข้าง ๆ เดียว. บทว่า ตสฺส เมวํ
วิหรโต ความว่า เมื่อข้าพเจ้านั้น ตั้งจิตไว้อย่างนี้แล้ว พักอยู่ด้วยอำนาจ
แห่งการตั้งวิริยาธิษฐานไว้อย่างมั่นคง แล้วพร่ำบำเพ็ญวิปัสสนา.
บทว่า ปสฺส วิริยปรกฺกมํ ความว่า คนจะเห็น คือจะรู้ความ
พยายามที่ได้นามว่า วิริยะ เพราะจะต้องให้เคลื่อนไหวไปตามวิธี และได้
นามว่า ปรักกมะ เพราะก้าวไปสู่ที่ข้างหน้า ที่เป็นความอุตสาหะ. แต่ว่า
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติ
แล้ว ด้วยอานุภาพความเพียรใด เพราะฉะนั้น ความเพียรนั้น มีเนื้อความ
ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาปัจจยเถรคาถา

240
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 241 (เล่ม 51)

๓. พากุลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระพากุลเถระ
[๓๐๙] ได้ยินว่า พระพากุลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ผู้ใดไม่ทำงานที่จะต้องทำก่อน แต่มุ่งจะทำใน
ภายหลัง ผู้นั้น จะพลาดจากที่ที่จะให้เกิดความสุข และ
จะเดือดร้อนในภายหลัง เพราะว่าข้าพเจ้าบอกงานที่
บุคคลควรทำ ไม่บอกงานที่ไม่ควรทำ เมื่อคนทั้งหลาย
บอกงานที่ไม่ใช่กำลังทำ บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระ-
นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้แล้ว
เป็นธรรมไม่มีความโศก สำรอกแล้ว เป็นแดนเกษม
เป็นที่ดับทุกข์ แสนจะเป็นสุขหนอ.
อรรถกถาพากุลเถรคาถา
คาถาของท่านพระพากุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กรณียานิ.
มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
เล่ากันมาว่า แม้ท่านพระพากุลเถระนี้ ในอดีตกาล สุดอสงไขย
แสนกัป ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อโนมทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นนั่นเอง
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ได้เรียนไตรเพทจบ ไม่เห็นสาระ
ในไตรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤๅษี ด้วยคิดว่า เราจักแสวงหาประโยชนภาย-

241
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 242 (เล่ม 51)

ภาคหน้า พักอยู่ที่เชิงเขาได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ อยู่มาได้ทราบการอุบัติ
ขึ้นของพระพุทธเจ้า ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนา
แล้วตั้งอยู่ในสรณะ เมื่อพระศาสดาเกิดประชวรพระนาภีขึ้น ได้นำยาจากป่า
มาถวาย ให้พระโรคสงบแล้ว ได้น้อมซึ่งบุญในการถวายยานั้นไป เพื่อ
ประโยชน์แก่ความไม่มีโรค จุติจากอัตภาพนั้น แล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก
ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก สิ้นเวลาอสงไขยหนึ่ง ในกาล
ของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ใน
พระนครหงสาวดี เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งผู้เลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย ตนเองต้องการตำแหน่งนั้น ได้ตั้งประณิธาน
ไว้ สั่งสมกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปมาในสุคติอย่างเดียว ก่อนแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นนั่นเอง ได้เกิดในสกุล
พราหมณ์ ในพระนครพันธุมดี บวชเป็นฤาษี ตามนัยก่อนนั่นแหละ ได้
ฌานและอภิญญา พำนักอยู่ที่เชิงเขา ได้ทราบ(ข่าว) พระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว
ได้ไปยังสำนักพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ เมื่อ
ภิกษุทั้งหลายเกิดอาพาธเพราะหญ้าและดอกไม้ (ไข้ป่า) เขารักษาโรคนั้นให้
สงบ แล้วอยู่ ณ ที่นั้นตลอดชีวิต จุติจากชาตินั้นไปเกิดในพรหมโลก ท่องเที่ยว
ไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก สิ้นเวลา ๙๑ กัป ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล
ในเมืองพาราณสี ครองเรือนอยู่เห็นวัดใหญ่เก่า ๆ วัดหนึ่งกำลังจะร้าง จึงได้
สร้างที่อยู่ทั้งหมด มีโรงอุโบสถเป็นต้น ปรุงยาทุกอย่างถวายพระสงฆ์ในวัด
นั้น สร้างกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอด
เวลาหนึ่งพุทธันดร ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เสด็จอุบัติ
ขึ้นนั่นเอง ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของเศรษฐี ในเมืองโกสัมพี.

242
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 243 (เล่ม 51)

ท่านที่พี่เลี้ยงกำลังอาบน้ำให้ที่แม่น้ำมหายมุนา เพื่อความไม่มีโรค
ถูกปลาฮุบไปจากมือของพี่เลี้ยง เมื่อปลาตกถึงมือของพรานเบ็ด ภรรยาของ
เศรษฐีเมืองพาราณสีรับซื้อเอาไป แม้ถูกผ่าท้อง (เอาออกมา) ก็ยังมีชีวิตอยู่
นั่นเอง เพราะกำลังบุญ นางจึงรับเอาเป็นลูกเลี้ยงไว้ ได้นามว่า พากุละ
(คนสองตระกูล) เพราะเมื่อมารดาบิดาผู้ให้กำเนิด ได้ทราบประวัตินั้นแล้ว
ทวงถามบ่อย ๆ ว่า เด็กคนนี้เป็นลูกของเรา ขอจงให้ลูกแก่พวกเรา พระราชา
ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้ตั้งอยู่ โดยความเป็นทายาทของ ๒ ตระกูลว่า เด็ก
คนนี้เป็นเหตุทั่วไป สำหรับตระกูลแม้ทั้ง ๒ ตระกูล เจริญวัยแล้ว จึงได้เสวย
สมบัติมากมาย มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ได้สดับพระธรรมเทศนาในสำนักของพระ-
ศาสดาแล้ว กลับได้ความเชื่อ บวชแล้ว เป็นปุถุชนชั่ว ๗ วัน เท่านั้น รุ่งอรุณ
วันที่ ๘ ก็ได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า
ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ มีภูเขาชื่อ โสภิตะ
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย ได้สร้างอาศรมไว้
อย่างดี ที่ภูเขานั้นมณฑปก็มีมาก ต้นยางทรายก็ออก
ดอกบานสะพรั่ง บนเขานั้นมะขวิดก็มีมาก เทียนดำ
เทียนขาวก็ออกดอกบานสะพรั่ง คนทิสอ, พุทรา
มะขามป้อมก็ชุกชุม สวนหย่อมก็มีหลาย น้ำเต้าก็มาก
บัวขาวออกดอกบานสะพรั่ง มะหวด, มะตูม, กล้วย
มะงั่วก็มีมาก สะท้อน อัญชัน และประยงค์ในที่นั้น
ก็ชุม โกสุม ต้นสน สะเดา ต้นไทร ต้นกระสังก็มาก
อาศรมของข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าพร้อมทั้งศิษย์

243
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 244 (เล่ม 51)

ได้อยู่ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นสยัมภู
ทรงเป็นผู้นำสัตวโลก พระนามว่า อโนมทัสสี เมื่อ
ทรงแสวงหาที่หลีกเร้น ได้เสด็จมาถึงอาศรมของ
ข้าพเจ้า เมื่อพระมหาวีระเสด็จเข้าถึงแล้ว อาพาธ
เกิดแต่ลม ได้เกิดขึ้นชั่วขณะแก่พระองค์ผู้พระนามว่า
อโนมทัสสี มีพระยศมาก ทรงเป็นนาถะของโลก
ก็ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่นครั้นได้เห็นความเคลื่อนไหว
แล้ว ก็กำหนดได้ว่า ความจริง พยาธิได้เกิดขั้นแก่
พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายโดยไม่สงสัย ข้าพเจ้าได้
รีบมายังอาศรม ประสงค์จะปรุงยา ในสำนักศิษย์
ของข้าพเจ้า ครั้งนั้นจึงได้นิมนต์ศิษย์ทั้งหลาย ศิษย์
ทุกคนเชื่อฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า มีคารวะประชุม
ร่วมกัน เพราะมีความเคารพในพระศาสดาของเรา
ข้าพเจ้าจึงรีบขึ้นภูเขา บันเทิงใจกับยาทุกขนาน
ข้าพเจ้าผสมยากับน้ำดื่มแล้ว (ถวาย) ได้เป็นทาสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุด เมื่อพระมหาวีร-
สรรเพชญ์ผู้เป็นโลกนารถเสวยแล้ว โรคลมของพระ-
ศรีสุคตมหาฤๅษี ก็สงบลงโดยเร็ว พระอโนมทัสสี
สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทอดพระเนตร
เห็นความกระวนกระวายที่สงบลงแล้ว จึงได้ประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดถวาย
เภสัชแก่เราตถาคต และให้พยาธิของเราสงบไป เรา
ตถาคตจักสรรเสริญผู้นั้น เมื่อเราตถาคตกล่าวอยู่ ขอ

244
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 245 (เล่ม 51)

เธอทั้งหลายจงฟังเถิด เขาจักรื่นเริงบนเทวโลก สิ้น
เวลาแสนกัป ผู้นี้จักบันเทิงใจทุกเมื่อบนเทวโลกนั้น
เพราะเสียงบรรเลง เสียงประโคม เขามาสู่มนุษยโลก
แล้ว ถูกบุญเก่าตักเตือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิถึงพันชาติ ในกัปที่ ๕๕ จักได้เป็นกษัตริย์
นามว่า อโนมะ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่
เพรียบพร้อมด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีพลพยุหโยธามากมาย
ทรงชนะดินแดนชมพูทวีป เสวยไอศุริยสมบัติ แม้
เทวดาชั้นดาวดึงส์ก็กระเทือน เป็นเทวดาหรือเป็น
มนุษย์ ก็จักมีอาพาธน้อย เว้นความยึดมั่นถือมั่นแล้ว
จักข้ามพยาธิในโลกได้ตลอดกัป นับไม่ถ้วน แต่กัปนี้ไป
เขาจักได้เป็นโอรสผู้เป็นธรรมทายาท ที่เนรมิตขึ้น
โดยธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสมภพใน
ตระกูลโอกกากราช เป็นศาสดาในโลก พระนามว่า
โคดม โดยพระโคตร จักดับกิเลสเป็นผู้หาอาสวะมิได้
เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งมวล ครั้นเผากิเลสแล้ว จัก
ข้ามกระแสตัณหาไป เป็นสาวกของพระศาสดา มี
นามว่า พากุละ พระสมณโคดม ผู้สูงสุดแห่งศากยวงศ์
ทรงทราบประวัติทั้งหมดนี้แล้ว จักประทับนั่งในหมู่
พระสงฆ์ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ พระสยัมภู
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี นายกโลก เมื่อ
ทรงตรวจดูที่วิเวก ได้เสด็จเข้ามายังอาศรมของ

245