No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 226 (เล่ม 51)

พระพุทธคุณในสำนักของพระเถระ มีใจเลื่อมใส ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ ณ ที่ไหน ฟังความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
กลับได้อนิจจสัญญาว่า แม้ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมากอย่างนี้
ยังต้องดำเนินไปสู่อำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยง โอ สังขารทั้งหลายไม่
ยั่งยืนหนอ. พระเถระให้เขาเกิดอุตสาหะ ในการบูชาโพธิพฤกษ์. เขาไปสู่ที่ใกล้
โพธิพฤกษ์ ตามกาลอันเหมาะสม เจริญวิปัสสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณ
กราบไหว้ต้นโพธิ์.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลที่มั่งคั่ง ในแคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า สันธิตะ
เจริญวัยแล้ว ฟังธรรมกถาอันปฏิสังยุตด้วยอนิจจตา เกิดความสลดใจบวชแล้ว
เริ่มตั้งวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก เพราะญาณถึงความ
แก่กล้าแล้ว.
ท่านเมื่อระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณของตน ระลึกถึงการกราบไหว้
โพธิพฤกษ์ และการได้เฉพาะซึ่งอนิจจสัญญา มีพุทธานุสติเป็นอารมณ์ เมื่อ
จะประกาศการบรรลุคุณพิเศษของตน ด้วยการเข้าไปอาศัยเหตุ ๒ ประการนั้น
ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
เราเป็นผู้มีสติ ได้อนิจสัญญาอันสหรคต ด้วย
พุทธานุสติหนึ่ง อยู่ที่โคนอัสสัตถพฤกษ์ อันสว่างไสว
ไปด้วยแสงแห่งไฟ แก้วมณี และผ้ามีสีเขียวงาม ความ
สิ้นอาสวะเราได้บรรลุแล้วเร็วพลัน เพราะสัญญาที่เรา
ได้แล้วในครั้งนั้น ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสตฺเถ ได้แก่ ในที่เป็นที่ประดิษฐาน
ไม้อัสสัตถะ. ไม้อัสสัตถะอันเป็นไม้ที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเรา

226
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 227 (เล่ม 51)

ทั้งหลาย ในบัดนี้ ตั้งอยู่ในที่ใด ในที่ซึ่งมีไม้อัสสัตถพฤกษ์ตั้งอยู่นั้น ครั้งนั้น
มีไม้บุณฑริก อันเป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
สิขี ตั้งอยู่แล้ว เพราะเหตุนั้น ไม้โพธิพฤกษ์นั้น ท่านจึงเรียกว่า อัสสัตถะ
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งไม้อัสสัตถะ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อสฺสตฺโถ ได้แก่
ไม้อัสสัตถะ ที่ยังความเบาใจให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า พระเถระกล่าวว่า อสฺสตฺเถ เพราะเหตุที่ท่านนั่ง ณ โคนต้นอัสสัตถะ
แล้วเจริญพุทธานุสติในครั้งนั้น.
บทว่า หริโตภาเส ความว่า สว่างไสวอยู่ด้วยสีแห่งแก้วผลึกอัน
เขียวสด.
บทว่า สํวรุฬฺหมฺหิ ความว่า งอกงามดีแล้ว คือประดิษฐานอยู่แล้ว
ด้วยดี.
บทว่า ปาทเก ได้แก่ ต้นไม้.
บทว่า เอกํ พุทฺธคตํ สญฺญํ อภิลตฺถํ สญฺญํ ปฏิสฺสโต
ความว่า เราชื่อว่าเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า เพราะมีพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ได้
แล้วซึ่งสัญญา อันสหรคตด้วยพุทธานุสติอันเป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า
อิติปิ โส ภควา ดังนี้ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ชื่อว่า หนึ่ง เพราะความ
เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นหนเดียว.
ก็พุทธานุสติสำเร็จแล้ว ด้วยสัญญามีประมาณเท่าใด สัญญานั้นอัน
เราได้แล้ว ในครั้งนั้น เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เอกตึเส อิโต
กปฺเป ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ คือ ในกัปที่ ๓๑ โดยการจัดอันดับ นับ
แต่ภัทรกัปนี้ถอยหลังไป.

227
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 228 (เล่ม 51)

บทว่า ยํ สญฺญํ ได้แก่ ได้สัญญาอันสหรคตด้วยพุทธานุสติใด หรือ
ได้อนิจจสัญญา ในสังขารทั้งหลายทั้งปวง ในครั้งนั้น ด้วยการตามระลึกถึง
พระพุทธคุณนั้น เพราะเห็นความเป็นของไม่เที่ยงของพระพุทธเจ้าทั้งหลายใด.
บทว่า ตสฺสา อญฺญาย วาหสา ความว่า กระทำสัญญานั้นให้
เป็นอุปนิสัย เพราะความเป็นเหตุแห่งสัญญาตามที่กล่าวแล้วนั้น.
บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า ความสิ้นคือความดับ
แห่งอาสวะทั้งหลาย อันเราบรรลุแล้วในบัดนี้. แม้คาถาอปทานของพระเถระนี้
ก็คือ ๒ คาถานี้แหละ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เรามีสติเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้สัญญาอันสหรคต
ในพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง ที่ไม้อัสสัตถพฤกษ์ อันมี
รัศมีเขียวสดงดงามดี ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เรา
ได้สัญญาใดในกาลนั้น เพราะการได้สัญญานั้นเป็น
เหตุนำมา เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะ ในกัปที่ ๑๓
แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์
พระนามว่า " ธัมมิกะ " สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗
ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
จบอรรถกถาสันธิตเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๕
แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
จบอรรถกถาทุกนิบาต

228
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 229 (เล่ม 51)

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ ๙ รูป คือ
๑. พระกุมารกัสสปเถระ ๒. พระธรรมปาลเถระ ๓. พระพรหมาลิ
เถระ ๔. พระโมฆราชเถระ ๕. พระวิสาขปัญจาลีบุตรเถระ ๖. พระจูฬก
เถระ ๗. พระอนูปมเถระ ๘. พระวัชชิตเถระ ๙. พระสันธิตเถระ และ
อรรถกถา.
ในทุกนิบาตนี้ รวมคาถาได้ ๙๘ คาถา และรวมพระเถระผู้ฉลาด
ในนัย ผู้ภาษิตคาถาไว้ได้ ๔๙ รูป.

229
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 230 (เล่ม 51)

ติกนิบาต
เถรคาถา ติกนิบาต วรรคที่ ๑
๑.อังคณิกภารทวาชเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอังคณิกภารทวาชเถระ
[๓๐๗] ได้ยินว่า พระอังคณิกภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าตามหาความบริสุทธิ์อยู่ โดยอุบายไม่
แยบคาย จึงได้บูชาไฟอยู่ในป่า เมื่อไม่รู้จักทางแห่ง
ความบริสุทธิ์ จึงได้บำเพ็ญอมรตบะ ความสุขนั้น
ข้าพเจ้าได้มาโดยง่ายดาย ท่านจงดูความที่พระธรรม
เป็นธรรมที่ดีเถิด วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำ-
สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว เมื่อก่อน
ข้าพเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์ของพระพรหม แต่เดี๋ยวนี้แล
ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ มีวิชชา ๓ ล้างบาปแล้ว เป็นผู้
มีความสวัสดี และจบพระเวทแล้ว.

230
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 231 (เล่ม 51)

ติกนิบาตวรรณนา
อรรถกถาอังคณิกภารทวาชคาถา
ในติกนิบาต คาถาของท่านพระอังคณิกภารทวาชเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
สุทฺธิมเนฺวสํ ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้ท่านพระอังคณิกภารทวาชเถระนี้ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้แล้วใน
พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญที่เป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ ในภพนั้น ๆ
ในกัปที่ ๓๑ นับถอยหลัง แต่กัปนี้ไป ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ผู้มีสกุล ใน
กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี รู้เดียงสาแล้ว
อยู่มาวันหนึ่ง ได้เห็นพระศาสดาเสด็จบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ประคองอัญชลี
ไหว้ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์.
ด้วยบุญกรรมอันนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของพราหมณ์ ผู้มีสมบัติสมบูรณ์
ในพระนครอุกกัฏฐะ เจริญวัยแล้ว ได้นามว่า อังคณิกภารทวาชะ เรียน
สำเร็จวิชาและศิลปะทั้งหลาย บวชเป็นปริพาชก เพราะมีอัธยาศัยในเนกขัมมะ
ประพฤติอมรตบะ (ตบะเพื่อไม่ตาย) ท่องเที่ยวไปมาในที่นั้น ๆ ได้เห็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังเสด็จจาริกชนบท มีใจเลื่อมใส สดับพระ-
ธรรมเทศนาในสำนักของพระศาสดา แล้วละการถือผิดนั้น บวชในพระศาสนา
บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานเลยก็ได้เป็นพระขีณาสพ ผู้มีอภิญญา ๖.
ด้วยเหตุนั้น ในคัมภีร์อปทานท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า

231
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 232 (เล่ม 51)

ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่า สุมนะ มีจิตเลื่อมใสแล้ว ขอ
วันทาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงพระนามว่า
เวสสภู ผู้ประเสริฐ องอาจ กล้าหาญ ทรงมีชัยชนะ
ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้
ในกาลครั้งนั้น เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้คือผลแห่งการวันทา ในกัปที่ ๒๔ ข้าพเจ้า
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ นามว่าวิกตานันทะ สมบูรณ์
ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพลังมาก. กิเลสทั้งหลาย
ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.
อนึ่ง ข้าพเจ้าได้เป็นพระขีณาสพผู้มีอภิญญา๖ พักผ่อนอยู่ด้วยวิมุตติ-
สุข เพื่ออนุเคราะห์ญาติทั้งหลาย จึงได้ไปยังชาติภูมิของตน ให้ญาติจำนวน
มากประดิษฐานอยู่ในสรณะ และศีลทั้งหลาย แล้วกลับจากชาติภูมินั้นมาอยู่
ในป่า ไม่ไกลจากนิคมชื่อว่า กุณฑิยะ ในแคว้นกุรุ ได้ไปยังอุคคาราม
ด้วยกรณียกิจบางอย่างเท่านั้น และได้พบพวกพราหมณ์ผู้เคยเห็นกันมาจาก
อุตตราปถนิคม ถูกพราหมณ์เหล่านั้น ถามว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ
ท่านเห็นประโยชน์อะไร จึงได้ละทิ้งลัทธิพราหมณ์ไปถือลัทธินี้ ? เมื่อจะชี้แจง
แก่พราหมณ์เหล่านั้นว่า ไม่มีความบริสุทธิ์ภายนอกจากพุทธศาสนานี้ ดังนี้
จึงได้กล่าวคาถาแรกไว้ว่า
ข้าพเจ้าตามหาความบริสุทธิ์อยู่ โดยอุบายไม่
แยบคาย จึงได้บูชาไฟอยู่ในป่า เมื่อไม่รู้จักทางแห่ง
ความบริสุทธิ์ จึงได้บำเพ็ญอมรตบะ.

232
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 233 (เล่ม 51)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิ ความว่า โดยไม่แยบคาย คือ
ไม่ใช่โดยอุบาย. บทว่า สุทธึ ได้แก่ สังสารสุทธิ คือการแล่นออกไปจากภพ.
บทว่า อเนฺวสํ ความว่า เมื่อเสาะหาอยู่ คือแสวงหาอยู่. บทว่า อคฺคึ
ปริจรึ วเน ความว่า ข้าพเจ้าสร้างเรือนไฟแล้วสรรเสริญการบูชาไปพลาง
บำเรอพระอัคนิเทพไปพลาง คือบูชาตามวิธีที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์พระเวท
ณ สถานที่ ๆ อยู่ในป่าคือโรงบูชาไฟ โดยอธิบายว่า นี้เป็นทางแห่งความ
บริสุทธิ์.
ข้อว่า สุทฺธิมคฺคํ อชานนฺโต อกาสึ อมรํ ตปํ (ข้าพเจ้าเมื่อ
ไม่รู้จักทางแห่งความบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญอมรตบะ) ความว่า ข้าพเจ้าเมื่อไม่
รู้จักทางแห่งความบริสุทธิ์คือพระนิพพาน จึงได้บำเพ็ญคือได้ประพฤติ ได้แก่
ได้ปฏิบัติอัตตกิลมถานุโยค มีการทรมานตนด้วยตบะ ๕ อย่างเป็นต้นต้น เหมือน
การบูชาไฟ ด้วยเข้าใจว่าเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์.
พระเถระครั้นแสดงความไม่มีแห่งความบริสุทธิ์ในภายนอกแล้ว บัดนี้
เมื่อจะแสดงว่า ก็ความบริสุทธิ์ ข้าพเจ้าบรรลุได้ในศาสนานี้เท่านั้น เพราะ
ความบริสุทธิ์ คนไม่ขยันแล้วจะบรรลุไม่ได้ ด้วยการบูชาไฟเป็นต้น ตามวิธี
ที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์พระเวท เหมือนไปสู่อาศรมจากอาศรม จึงได้กล่าว
คาถาที่ ๒ ไว้ว่า
ความสุขนั้น ข้าพเจ้าได้มาโดยง่ายดาย ท่านจง
ดูความที่พระธรรมเป็นธรรมที่ดีเถิด วิชชา ๓ ข้าพเจ้า
ได้บรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติ
แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ เป็นต้น ความว่า ข้าพเจ้าตามแสวงหา
อยู่ซึ่งความบริสุทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพานใด เมื่อไปสู่ทางแห่งพระ-

233
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 234 (เล่ม 51)

นิพพานนั้น จึงได้บำเรอไฟ จึงได้ประพฤติอมรตบะ ความสุขคือพระนิพพาน
นั้น ข้าพเจ้าได้มาแล้วคือถึงแล้ว ได้แก่บรรลุแล้วอย่างง่ายดาย คือด้วยสมถะ
วิปัสสนา ที่เป็นปฏิปทาง่าย ๆ ไม่อาศัยอัตตกิลมถานุโยค.
บทว่า ปสฺส ธมฺมสุธมฺมตํ ความว่า พระเถระเอ่ยถึงพระธรรม
หรือเอ่ยถึงตนเองว่า ท่านจงดูเถิด คือจงรู้เถิด ซึ่งศาสนธรรมของพระศาสดา
ว่าเป็นธรรมดี คือ ซึ่งสภาพของนิยยานิกธรรมที่ไม่ผิดพลาด ดังนี้ แต่เมื่อ
จะแสดงถึงธรรมนั้น ว่าได้มาแล้ว จึงได้กล่าวไว้ว่า
วิชชา ๓ ข้าพเจ้าได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าปฏิบัติแล้ว.
คำนั้นมีอรรถาธิบายดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเอง. พระเถระเมื่อจะ
แสดงว่า ตั้งแต่นี้ไปข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะว่าได้บรรลุความ
บริสุทธิ์ ด้วยประการอย่างนี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ไว้ว่า
เมื่อก่อนข้าพเจ้า เป็นเผ่าพันธุ์ของพระพรหม
แต่เดี๋ยวนี้แล ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์ มีวิชชา ๓ ล้าง
บาปแล้ว เป็นผู้มีความสวัสดีและจบพระเวทแล้ว.
คาถานั้นมีเนื้อความว่า เมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้าได้ชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์ของ
พระพรหม ตามสมัญญาของพวกพราหมณ์ เพราะเป็นพราหมณ์เพียงแต่โดย
กำเนิด. แต่บัดนี้แล ข้าพเจ้าเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะได้บรรลุพระ
อรหัตแล้ว. ก่อนแต่นี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓ เพียงแต่ชื่อ เพราะ
เรียนวิชชา ๓ เมื่อพระเวท ๓ คัมภีร์ ที่ทำการสั่งสมภพ แต่บัดนี้ ข้าพ-
เจ้ามีวิชชา ๓ โดยปรมัตถ์ เพราะได้บรรลุวิชชา ๓ ด้วยสามารถแห่งวิชชา
ที่ทำความสิ้นภพ.

234
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 235 (เล่ม 51)

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้ล้างบาปแล้ว เพียงแต่ชื่อ เพราะ
สำเร็จด้วยพรตของผู้อาบน้ำแล้ว ที่ยึดถือไว้ด้วยความชอบใจในภพ แต่บัดนี้
ได้ชื่อว่าเป็นผู้ล้างบาปแล้ว โดยปรมัตถ์ เพราะมลทินคือกิเลสถูกล้างสะอาด
แล้ว ด้วยผลอันเกิดแต่อัษฏางคิกมรรค.
เมื่อก่อนนี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้มีความสวัสดี โดยเหตุเพียงการร้อง-
เรียกกัน เพราะการเรียนมนต์ที่มีความชอบใจในภพ ยังไม่หลุดพ้นไป แต่บัดนี้
ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสวัสดีโดยปรมัตถ์ เพราะการเรียนธรรมที่มีความชอบใจ
ในภพ อันหลุดพ้นไปแล้ว.
ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้จบพระเวท ด้วยเหตุเพียงจบพระเวท
ที่ยังสลัดบาปธรรมออกไปไม่ได้ แต่บัดนี้ ได้กลายเป็นผู้จบพระเวทโดยปรมัตถ์
เพราะไปถึงคือลุถึง ได้แก่รู้ฝั่งแห่งห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร ด้วยมรรคญาณ
กล่าวคือพระเวท และฝั่งแห่งพระเวท คือสัจจะ ๔.
พราหมณ์ทั้งหลายครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้พากันประกาศความเลื่อม
ใสในพระพุทธศาสนา อย่างโอฬาร.
จบอรรถกถาอังคณิกภารทวาชเถรคาถา

235