No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 216 (เล่ม 51)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นทนฺติ โมรา สุสิขา สุเปขุณา
สนีลคีวา สุมุขา สุคชฺชิโน ความว่า นกยูงทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า มี
หงอนงาม เพราะประกอบไปด้วยหงอน ซึ่งตั้งอยู่บนหัวงดงาม ชื่อว่า มีปีก
งดงาม เพราะประกอบไปด้วยขนหางอันเจริญ มีสีต่าง ๆ กันมิใช่น้อย งดงาม
น่าดู ชื่อว่า มีสร้อยคอเขียวงาม เพราะประกอบไปด้วยคอมีสีเขียวงาม คล้าย
กับมีสีลายพร้อย. ชื่อว่ามีปากงาม เพราะมีปากงดงาม ชื่อว่ามีเสียงไพเราะ
เพราะมีเสียงร้องเสนาะจับใจ. นกยูงทั้งหลาย มีหงอน ร้องไพเราะ
เหมือนเสียงดนตรี เปล่งศัพท์สำเนียง ร้องเสียงรื่นรมย์ใจ.
บทว่า สุสทฺทลา จาปิ มหามหี อยํ ความว่า ก็ผืนแผ่นดินใหญ่นี้
มีหญ้าแพรกดารดาษ มีติณชาติเขียวชอุ่ม.
บทว่า สุพฺยาปิตมฺพู ความว่า มีน้ำเอิบอาบทั่วไป คือมีชลาลัย
ไหลแผ่ไป เพราะมีน้ำเหนือไหลหลาก แผ่ซ่านไปในที่นั้น ๆ โดยมีฝนตก
ทำให้เกิดน้ำใหม่. ปาฐะว่า สุสุกฺกตมฺพุ ดังนี้ก็มี โดยมีอธิบายว่า มีชลาลัย
ใสสะอาดบริสุทธิ์.
บทว่า สุวลาหกํ นกํ ความว่า ก็นภากาศนี้ ชื่อว่ามีวลาหกงดงาม
เพราะมีวลาหกคือเมฆ งดงามตั้งอยู่คล้ายกับมีกลีบอุบลเขียว แผ่กระจายเต็ม
ไปโดยรอบ.
บทว่า สุกลฺลรูโป สุมนสฺส ฌายตํ ความว่า บัดนี้ ท่านก็มีความ
เหมาะสม คือมีสภาพที่ควรแก่การงาน เพราะได้ฤดูเป็นที่สบาย จงเพ่งฌาน
ที่พระโยคาวจรผู้ชื่อว่ามีใจดี เพราะมีจิตงอกงาม โดยไม่ถูกนิวรณ์ทั้งหลาย
เบียดเบียน เพ่งอยู่ด้วยสามารถ แห่งอารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน.
บทว่า สุนิกฺกโม ฯ เป ฯ อจฺจุตํ ปทํ ความว่า ก็ท่านเพ่งฌาน
อยู่อย่างนี้ เป็นความดี คือเป็นผู้มีความพยายามดี ในพระศาสนาของพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ดีแล้ว จงกระทบคือจงกระทำให้แจ้ง ด้วยสัมมาปฏิบัติ

216
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 217 (เล่ม 51)

โดยกระทำให้ประจักษ์ด้วยตนเอง ซึ่งพระนิพพาน ชื่อว่า บริสุทธิ์ด้วยดี เพราะ
ความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ดีแล้ว ชื่อว่า สว่างไสว เพราะไม่เข้าไปถึงความโคจร
ของความเศร้าหมองแม้ทั้งปวง ชื่อว่า ละเอียด เพราะความเป็นอารมณ์ของ
ญาณอันละเอียด ชื่อว่าเห็นได้โดยยาก เพราะความที่ธรรมลึกซึ้งอย่างยิ่ง ชื่อว่า
สูงสุด เพราะความเป็นของประณีต และเพราะความเป็นของประเสริฐ ชื่อว่า
เป็นอัจจุตบท คือเป็นธรรมที่ไม่จุติแปรผัน เพราะความเป็นสภาพที่เที่ยง.
ก็พระเถระเมื่อกล่าวสอนตนอยู่อย่างนี้แล เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะ
ได้ฤดูเป็นที่สบาย ขวนขวายวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตผล. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระศาสดา ผู้เป็นนายกของโลก ทรง
รุ่งเรืองดังดอกกรรณิการ์ โชติช่วงเหมือนพระจันทร์
วันเพ็ญ และดังดวงประทีป เรามีจิตเลื่อมใส มีใจ
โสมนัส ได้ถือเอาผลกล้วยไปถวายแด่พระศาสดา
ถวายบังคมแล้วกลับไป ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ถวายผลไม่ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นเราไม่
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เกิดปีติ
และโสมนัส กล่าวซ้ำคาถาเหล่านั้นแหละ โดยนัยมีอาทิว่า นทนฺติ โมรา
ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น คาถาทั้งสองนั้นแล จึงได้เป็นคาถาพยากรณ์พระอรหัตผล
ของพระเถระ.
จบอรรถกถาจูฬกเถรคาถา

217
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 218 (เล่ม 51)

๗. อนูปมเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอนูปมเถระ
[๓๐๔] ได้ยินว่า พระอนูปมเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
จิตถึงความเพลิดเพลิน เพราะธรรมใด ธรรมใด
ยกขึ้นสู่หลาว และจิตเป็นดังหลาว เป็นดังท่อนไม้
ขอท่านจงเว้นธรรมนั้น ๆ ให้เด็ดขาด ดูก่อนจิต เรา
กล่าวธรรมนั้นว่าเป็นธรรมมีโทษ เรากล่าวธรรมนั้น
ว่าเป็นเครื่องประทุษร้ายจิต พระศาสดาที่บุคคลหาได้
โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว ท่านอย่ามาชักชวนเราในทาง
ฉิบหายเลย.
อรรถกถาอนูปมเถรคาถา
คาถาของท่านพระอนูปมเถระ เริ่มต้นว่า นนฺทมานาคตํ จิตฺตํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพ
นั้น เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะ
แล้ว วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า ปทุมะ เที่ยวบิณฑบาตไปใน
ถนน มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกปรู.

218
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 219 (เล่ม 51)

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลอันมั่งคั่ง แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อนูปโม
เพราะสมบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ ละกามทั้งหลาย บวชแล้ว เพราะความเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย กระทำกรรมในวิปัสสนา อยู่ในป่า จิตของท่านแล่นไป
ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น ในภายนอก กรรมฐานก็หมุนเปลี่ยน
แปลงไป. พระเถระเมื่อจะข่มจิตอันวิ่งไปอยู่ กล่าวเตือนตน ด้วยคาถา ๒
คาถาเหล่านี้ ความว่า
จิตถึงความเพลิดเพลินเพราะธรรมใด ธรรมใด
ยกขึ้นสู่หลาว และจิตเป็นดังหลาว เป็นดังท่อนไม้
ขอท่านจงเว้นธรรมนั้น ๆ ให้เด็ดขาด ดูก่อนจิต
เรากล่าวธรรมนั้น ว่าเป็นธรรมที่มีโทษ เรากล่าวธรรม
นั้นว่า เป็นเครื่องประทุษร้ายจิต พระศาสดาที่บุคคล
หาได้โดยยาก ท่านก็ได้แล้ว ท่านอย่ามาชักชวนเรา
ในทางฉิบหายเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทมานาคตํ จิตฺตํ ความว่า จิต
มาสู่ความเพลิดเพลิน ได้แก่ จิตที่ยินดีเพลิดเพลินภพนั้น ๆ แห่งตัณหาอัน
เป็นตัวเหตุแห่งความยินดีเพลิดเพลินในภพนั้น ๆ มาถึงความยินดี ความ
เพลิดเพลิน จากภพนั้นไปสู่ภพนี้.
บทว่า สูลมาโรปมานกํ ความว่า จิตอันกรรมกิเลสทั้งหลาย ยก
ขึ้นสู่ภพนั้น ๆ อันชื่อว่าหลาว เพราะเป็นเช่นกับหลาว โดยฐานะเป็นที่เกิด
แห่งทุกข์ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.
บทว่า เตน เตเนว วชสิ เยน สูลํ กลิงฺครํ ความว่า
ภพกล่าวคือหลาว แสะกามคุณกล่าวคือท่อนไม้ อันได้นามว่า เขียงสำหรับ

219
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 220 (เล่ม 51)

สำเร็จโทษ มีอยู่ในฐานะใด ๆ ท่านจะดำเนินไป คือเข้าถึงฐานะนั้น ๆ แหละ
ด้วยบาปจิตนั้น ๆ ทีเดียว ได้แก่ ไม่กำหนดความฉิบหายของตน.
บทว่า ตาหํ จิตฺตกลึ พฺรูมิ ความว่า เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าว
ธรรมนั้นว่า เป็นโทษของจิต คือเป็นกาลกรรณีของจิต เพราะเป็นความ
ประมาท คือเราจะกล่าว คือจะบอกซ้ำถึงธรรมนั้น ว่าเป็นเครื่องประทุษร้าย
จิต คือบ่อนทำลายจิต เพราะนำมาซึ่งความฉิบหาย แก่สันดานอันมีอุปการะ
มากแก่ตน กล่าวคือจิต. บางอาจารย์กล่าวว่า จิตฺตทุพฺภคา บ้าง หมาย
ความว่า สภาพจิตที่ไม่มีบุญวาสนา (หรือ) จิตที่มีบุญน้อย. ถ้าจะมีผู้ถามว่า
จะบอกว่าอย่างไร ? ตอบว่า จะบอกว่า พระศาสดาที่บุคคลหาได้โดยยาก
ท่านก็ได้แล้ว คือ โลกว่างจากพระพุทธเจ้า มาเป็นเวลาหลายกัปนับไม่ถ้วน
แม้เมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว สมบัติคือความเป็นมนุษย์ และการได้
เฉพาะซึ่งศรัทธาเป็นต้น ก็ยังเป็นของที่หาได้ยากโดยแท้ และเมื่อได้สมบัติ
เหล่านั้นแล้ว แม้พระศาสดาก็ยังหาไม่ได้อยู่นั่นเอง พระศาสดาผู้ที่บุคคลหา
ได้อย่างนี้ ท่านได้แล้วในบัดนี้ เมื่อเราได้พระศาสดานั้นแล้ว ท่านอย่ามา
ชวนเราในอกุศล อันมีแต่โทษหาประโยชน์มิได้ในปัจจุบัน และนำความฉิบ
หาย นำความเดือดร้อนมาให้ ในเวลาต่อไป. พระเถระเมื่อกล่าวสอนจิตของ
ตนอยู่อย่างนี้ นั่นแล เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้านามว่า ปทุมะ อยู่
ที่ภูเขาจิตตกูฏ เราได้เห็นพระสยัมภูพุทธเจ้า นั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้า ขณะนั้น เราเห็นต้นปรูมีดอกบาน จึง
เลือกเก็บแล้ว เอามาบูชาพระชินสัมพุทธเจ้า นามว่า

220
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 221 (เล่ม 51)

ปทุมะ ในกัปที่ ๓๗ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ทำกรรมใด
ไว้ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
จบอรรถกถาอนูปมเถรคาถา
๔. วัชชิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัชชิตเถระ
[๓๐๕] ได้ยินว่า พระวัชชิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ไม่เห็นอริยสัจ
จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาอยู่ในคติทั้งหลาย ตลอด
กาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว กำจัดสงสาร
ได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่
มิได้มี.

221
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 222 (เล่ม 51)

อรรถกถาวัชชิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัชชิตเถระ เริ่มต้นว่า สํสรํ ทีฆมทฺธานํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในปัจจันตคามแห่ง
หนึ่ง ในกัปที่ ๖๕ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นพรานป่าท่องเที่ยว
ไป วันหนึ่ง ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า อุปสันตะ ผู้อยู่ในถ้ำแห่ง
ภูเขา เขาเห็นความสงบระงับของท่าน แล้วมีใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วย
ดอกจำปา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลที่มั่งคั่ง แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ จำเดิมแต่วันที่เขาเกิด
พอถึงมือมาตุคาม ก็ร้องไห้ ได้ยินว่า เขาจุติจากพรหมโลก มาในมนุษย-
โลกนี้ เพราะเหตุที่เขาทนการถูกต้องของมาตุคามไม่ได้ ฉะนั้น จึงได้นามว่า
วัชชิตะ เพราะเว้นจากการถูกต้องของมาตุคาม เขาเจริญวัยแล้ว เห็นยมก-
ปาฏิหาริย์ของพระศาสดา แล้วได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา
ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ในวันนั้นเอง. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
พระสัมพุทธเจ้า ผู้สงบระงับ อาศัยอยู่ใน
ระหว่างภูเขา เราถือเอาดอกจำปาดอกหนึ่ง เข้าไป
หาท่านผู้สูงสุดกว่านระ มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส
ประคองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้

222
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 223 (เล่ม 51)

เป็นมุนีอันอุดม ผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ ในกัปที่ ๖๕ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยดอกไม้
ได้ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ระลึกบุพเพนิวาสญาณ ของตนได้
ได้กล่าวคาถาสองคาถา ด้วยธรรมสังเวช ความว่า
เมื่อเรายังเป็นปุถุชน มืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจ
จึงได้ท่องเที่ยววนเวียนไปมาอยู่ ในคติทั้งหลาย ตลอด
กาลนาน บัดนี้ เราเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว กำจัด
สงสารได้แล้ว คติทั้งปวงเราก็ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพ
ใหม่ ไม่มี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํสรํ แปลว่า ท่องเที่ยวไปอยู่ ได้แก่
วิ่งไป ๆ มา ๆ ในภพนั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งการยึดถือไว้ และการปล่อย
วาง.
บทว่า ทีฆมทฺธานํ ความว่า ท่องเที่ยวไปในสงสาร อันมีเบื้อง-
ต้นและที่สุดไม่ปรากฏ ตลอดกาลนาน คือตลอดกาลหาประมาณมิได้. บทว่า
คตีสุ ความว่า ในสุคติและทุคติทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งกรรมทั้งหลาย
ที่คนทำดี ทำชั่ว บทว่า ปริตสฺสํ ความว่า เมื่อหมุนไปรอบ ๆ ดุจเครื่อง
สูบน้ำ ชื่อว่า วนเวียนไป ๆ มา ๆ ด้วยสามารถแห่งการจุติและอุปบัติ.
ก็พระเถระกล่าวเหตุแห่งการท่องเที่ยววนเวียนนั้นว่า เมื่อเรายังเป็นปุถุชน
มืดมนอยู่ ไม่เห็นอริยสัจทั้งหลาย ดังนี้.

223
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 224 (เล่ม 51)

ประกอบความว่า บุคคลเมื่อไม่เห็นอริยสัจทั้งหลาย มีทุกขสัจ
เป็นต้น ด้วยญาณจักษุ เพราะยังไม่ได้แทงตลอด ชื่อว่า เป็นคนบอด
เพราะความมืดมน คืออวิชชานั่นเอง ชื่อว่า เป็นปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย
อันให้เกิดความหนา (กิเลส) เป็นต้น จักวนเวียนไปในคติทั้งหลาย เพราะ
ความที่ตนยังเป็นปุถุชน. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดซึ่งอริยสัจ ๔ ทั้งเรา
และเธอทั้งหลาย จึงวิ่งไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว อย่างนี้ตลอดกาลนาน ดังนี้.
เมื่อเรานั้น ยังเป็นปุถุชน อยู่ในกาลก่อน โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
บัดนี้ ไม่ประมาทแล้ว โดยนัยอันพระศาสดาทรงประทานแล้ว ยังสมถภาวนา
และวิปัสสนาภาวนา ให้ถึงที่สุดแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติคือความไม่ประมาท ตั้ง
อยู่แล้ว.
บทว่า สํสารา วนฬีกตา ความว่า กรรมกิเลสทั้งหลายอันได้
นามว่า สงสาร เพราะเป็นที่ท่องเที่ยวไปของสัตว์ทั้งหลาย อันเรากระทำให้
หมดราก เพราะตัดขาดได้แล้วด้วยมรรคอันเลิศ ดังไม้อ้อที่มีรากปราศไปแล้ว.
บทว่า สพฺพา คตี สมุจฺฉินฺนา ความว่า คติทั้งหลายแม้ทั้งปวง
มีนรกเป็นต้น ชื่อว่า อันเราตัดขาดแล้ว คือ กำจัดแล้ว โดยชอบทีเดียว
เพราะกรรมวัฏ และกิเลสวัฎทั้งหลาย เราตัดได้ขาดแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุ
นั้นแล บัดนี้จึงไม่มีภพใหม่อีกต่อไป. ก็และคาถาทั้งสองนี้แหละ ได้เป็น
คาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ดังพรรณนามานี้แล.
จบอรรถกถาวัชชิตเถรคาถา

224
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 225 (เล่ม 51)

๙. สันธิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสันธิตเถระ
[๓๐๖] ได้ยินว่า พระสันธิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้มีสติ ได้อนิจจสัญญาอันสหรคตด้วย
พุทธานุสติหนึ่ง อยู่ที่โคนอัสสัตถพฤกษ์อันสว่างไสว
ด้วยแสงแห่งไฟ แก้วมณี และผ้ามีสีเขียวงาม ความสิ้น
อาสวะเราได้บรรลุแล้วเร็วพลัน เพราะสัญญาที่เราได้
แล้วในครั้งนั้น ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้.
จบวรรคที่ ๕
จบทุกนิบาต
อรรถกถาสันธิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระสันธิตเถระ เริ่มต้นว่า อสฺสตฺเถ หริโตภาเส.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ทั้งหลาย เข้าไปสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ได้เกิดเป็นนายโคบาลผู้หนึ่ง
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี. เมื่อพระศาสดาเสด็จ
ปรินิพพานแล้ว เขาเข้าไปหาพระเถระรูปหนึ่ง ฟังธรรมอันปฏิสังยุตด้วย

225