No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 196 (เล่ม 51)

พิเศษอย่างนี้ คุณของพระธรรมน่าอัศจรรย์ สมบัติแห่งพระศาสดาของเรา
ทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ก็ความปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ ย่อมเป็นอันพระเถระ
ประกาศแล้ว ด้วยการประกาศสมบัติของพระธรรมนั่นเอง.
พระเถระแสดงการทำให้แจ้งซึ่งพระธรรม อันตนแสดงแล้ว ด้วย
สามารถแห่งคุณสมบัติทั่วไปอย่างนี้ บัดนี้มุ่งจะให้น้อมเข้าไปในตนจึงกล่าวคาถา
มีอาทิว่า อสงฺเขยฺเยสุ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสงฺเขยฺเยสุ ได้แก่ในมหากัปทั้งหลาย
ที่ล่วงพ้นคลองแห่งการนับ.
บทว่า สกฺกายา ได้แก่อุปาทานขันธ์ ๕. อธิบายว่า อุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านั้น โดยปรมัตถ์ ท่านเรียกว่า สักกายะ เพราะเป็นที่ประชุมแห่งธรรม
ของท่านผู้รู้.
บทว่า อหุ ความว่า บัณฑิตผู้ยังไม่ไปปราศ (จากสักกายทิฏฐิ)
เพราะยังไม่ประสบอุบายเป็นเครื่องยังสักกายทิฏฐิให้กลับ ได้มีแล้ว.
บทว่า เตสมยํ ปจฺฉิมโก จริโมยํ สมุสฺสโย ความว่า เพราะ
เหตุพระกุมารกัสสปนี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นแล
ร่างกายนี้จึงนับว่าเป็นร่างกายอันมีในที่สุด ฉะนั้น สงสารอันประกอบด้วยชาติ
และมรณะ อันบัณฑิตหมายรู้กันว่า เป็นลำดับแห่งขันธ์เป็นต้น เป็นสงสาร
ที่มีในที่สุด บัดนี้ คือ ต่อไป ภพใหม่จึงชื่อว่าไม่มี เพราะไม่มีภพต่อไปอีก.
อธิบายว่า ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย.
จบอรรถกถากุมารกัสสปเถรคาถา

196
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 197 (เล่ม 51)

๒. ธรรมปาลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระธรรมปาลเถระ
[๒๙๙] ได้ยินว่า พระธรรมปาลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุหนุ่มรูปใดแล เพียรพยายามอยู่ในพระพุทธ-
ศาสนา ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอกนี้ พากันหลับแล้ว
ภิกษุหนุ่มนั้นตื่นอยู่ ชีวิตของเธอไม่ไร้ประโยชน์
เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ระลึกถึงคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความ
เลื่อมใส และการเห็นธรรมเนือง ๆ เถิด.
อรรถกถาธรรมปาลเถรคาถา
คาถาของท่านพระธรรมปาลเถระ เริ่มต้นว่า โย หเว ทหโร ภิกฺขุ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว เข้าไปสู่ป่าลึก
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลไม้
ปิลักขะ (ผลดีปลี).

197
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 198 (เล่ม 51)

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อ
พระศาสดาในพุทธุปบาทกาลนี้ เสด็จปรินิพพานแล้ว บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
แคว้นอวันตี ได้นามว่า ธรรมปาละ เจริญวัยแล้ว ไปสู่เมืองตักกศิลา เรียน
ศิลปศาสตร์แล้ว เมื่อเวลากลับพบพระเถระรูปหนึ่งในวิหารแห่งหนึ่ง ฟังธรรม
ในสำนักของพระเถระแล้ว ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนาได้เป็นผู้มี
อภิญญา ๖. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี
มียศใหญ่ ในระหว่างป่า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส
ได้ถวายผลปิลักขะ (ผลดีปลี) ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุข
อันเกิดแต่สมาบัติ วันหนึ่ง เห็นสามเณร ๒ รูปในวิหารนั้น ขึ้นเก็บดอกไม้
อยู่บนยอดไม้ เมื่อกิ่งที่ยืนงอกออกไปหักแล้วก็ตกลงมา จึงยื่นมือออกไปรับ
ด้วยอานุภาพแห่งฤทธิ์ ให้สามเณรทั้งสอง ยืนอยู่บนพื้นดินได้โดยปลอดภัย
เมื่อจะแสดงธรรมแก่สามเณรเหล่านั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถานี้ ความว่า
ภิกษุหนุ่มรูปใดแลเพียรพยายามอยู่ในพระพุทธ-
ศาสนา ก็เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอกนี้พากันหลับแล้ว
ภิกษุหนุ่มนั้นตื่นอยู่ ชีวิตของเธอไม่ไร้ประโยชน์เพราะ

198
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 199 (เล่ม 51)

ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ระลึกถึงคำสอนของพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา ศีล ความ
เลื่อมใส และการเห็นธรรมเนือง ๆ เถิด ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เป็นคำแสดงความไม่แน่นอน.
บทว่า หเว เป็นนิบาต ลงในอรรถว่ามั่นคง.
บทว่า ทหโร แปลว่า หนุ่ม. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ย่อมขอ.
บทว่า ยุญฺชติ ความว่า ย่อมพากเพียรพยายาม.
บทว่า ชาคโร ได้แก่ ประกอบไปด้วยธรรมของภิกษุผู้ตื่น.
บทว่า สุตฺเตสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอนหลับอยู่. ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า ภิกษุใดยังหนุ่มอยู่ คืออายุยังน้อย ไม่คิดว่า เราจักบำเพ็ญ-
สมณธรรมอย่างนั้น ในภายหลัง เพียรพยายามปฏิบัติ ด้วยความไม่ประมาท
กระทำความเพียร ในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ในศาสนาของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย เมื่อสัตว์ทั้งหลายนอกนี้หลับแล้ว คือหลับด้วยความหลับคืออวิชชา
ได้แก่ ประมาทแล้ว ภิกษุนั้นตื่นอยู่ ด้วยการประกอบธรรมของผู้ตื่นอยู่
มีศรัทธาเป็นต้น ชีวิตของเธอไม่ไร้ประโยชน์คือไม่เป็นหมัน เพราะบริบูรณ์
ด้วยประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านนั้นแล ก็เพราะเหตุที่ชีวิตนี้ เป็นอย่างนี้
ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา คือภิกษุผู้ประกอบด้วยปัญญามีโอชาอันเกิดแต่ธรรม
ระลึกถึงคำสอน คือพระโอวาท ได้แก่พระอนุสาสนีของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
มองเห็นศีรษะของตนว่า อันไฟติดทั่วแล้ว พึงประกอบตาม ซึ่งศรัทธา และ
ความเชื่อ เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม อันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า กรรม
มีอยู่ ผลแห่งกรรมมีอยู่ ดังนี้ ซึ่งจตุปาริสุทธิศีลอันเข้าไปอาศัยซึ่งศรัทธานั้น

199
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 200 (เล่ม 51)

เพราะความที่แห่งศีลเข้าไปผูกพันกับศรัทธา และซึ่งความเลื่อมใสในพระรัตน-
ตรัย อันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดังนี้
และซึ่งการเห็นจตุราริยสัจจธรรม ด้วยสามารถแห่งการกำหนดรู้ด้วยมรรค
ปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญาเป็นต้น อธิบายว่า พึงกระทำความ
ขวนขวาย คือความเพียรในธรรมมีศรัทธาเป็นต้นนั้น.
จบอรรถกถาธรรมปาลเถรคาถา
๓. พรหมาลิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระพรหมาลิเถระ
[๓๐๐] ได้ยินว่า พระพรหมาลิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอัน
นายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักใคร่
ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่
อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้า
อันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็พากันรัก
ใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่.

200
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 201 (เล่ม 51)

อรรถกถาพรหมาลิเถรคาถา
คาถาของท่านพระพรหมาลิเถระ เริ่มต้นว่า กสฺสินฺทฺริยานิ สมลงฺ-
คตานิ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี
บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส
ถวายบังคมแล้วได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง. พระศาสดาทรงกระทำ
อนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลพราหมณ์ แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ไดมีนามว่า พรหมาลี
บรรลุนิติภาวะแล้ว อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ เกิดความสลดใจในสงสาร
บวชในพระพุทธศาสนา โดยอาศัยกัลยาณมิตรเช่นนั้น เรียนกรรมฐานที่
เหมาะสม อยู่ในป่า เจริญวิปัสสนาแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นาน
นัก เพราะความที่ตนเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
เราได้ถวายผลมะม่วงกะล่อนทอง แด่พระสัม-
พุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณเหมือนดังทองคำ ผู้สมควร
รับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่
๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วย

201
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 202 (เล่ม 51)

การถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำ
สอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยความสุข
อันเกิดแต่มรรค และด้วยความสุขอันเกิดแต่ผล วันหนึ่ง เมื่อจะกำหนดการ
ประกอบความเพียร อันพระเถระผู้กำหนดความเพียรกล่าวไว้ เจาะจงเฉพาะ
ภิกษุทั้งหลาย (ผู้อยู่) ในราวป่านั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
อินทรีย์ของใครถึงความสงบแล้ว เหมือนม้าอัน
นายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลาย ย่อมรักใคร่
ต่อผู้นั้น ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้คงที่
อินทรีย์ทั้งหลายของเราก็ถึงความสงบแล้ว เหมือนม้า
อันนายสารถีฝึกดีแล้ว แม้เทวดาทั้งหลายก็พากัน
รักใคร่ต่อเรา ผู้มีมานะอันละแล้ว ไม่มีอาสวะเป็น
ผู้คงที่ ดังนี้.
คาถาทั้งสองนั้น มีอธิบายว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายอยู่กันในราวป่านี้
อินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ ของใคร คือ ของภิกษุผู้เป็นเถระ หรือนวกะ
หรือมัชฌิมะ ถึงความสงบ คือความเป็นอินทรีย์ที่ฝึกแล้ว ได้แก่ ความเป็น
อินทรีย์ที่หมดพยศ เหมือนม้าอัสดรที่ถูกนายสารถีผู้ฉลาดฝึกแล้ว ฉะนั้น.
แม้เทวดาก็กระหยิ่ม แม้มนุษย์ทั้งหลายก็ปรารถนาดี โดยการแสดงสัมมาปฏิบัติ
เป็นต้น ต่อใคร ผู้ชื่อว่ามีมานะอันละได้แล้ว เพราะละมานะมีอย่าง ๙ ได้
แล้วตั้งอยู่ ผู้ชื่อว่าไม่มีอาสวะ เพราะไม่มีอาสวะแม้ทั้ง ๔ อย่าง ผู้ชื่อว่าคงที่
ด้วยการปฏิบัติลักษณะของผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น.

202
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 203 (เล่ม 51)

ก็โดยกึ่งหนึ่งของบาทแรกในคาถานั้น พระเถระถามถึงการบรรลุ
พระอนาคามิมรรค อธิบายว่า อินทรีย์ทั้งหลายแม้ของพระอนาคามี ย่อมชื่อว่า
ถึงความสงบ คือหมดพยศ เพราะละกามราคะและพยาบาทได้แล้ว. การได้
เฉพาะซึ่งพระอรหัตมรรคย่อมมี ด้วยบาทคาถานอกนี้ เพราะว่า พระอรหันต์
ท่านเรียกว่า เป็นผู้ละมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ และเป็นผู้คงที่.
ครั้งนั้น ท่านพระพรหมาลิเถระ กล่าวย้ำคาถามีอาทิว่า กสฺสินฺทฺริ-
ยานิ ซึ่งพระเถระผู้กำหนดความเพียรกล่าวไว้แล้ว เมื่อจะวิสัชนาความแห่ง
คาถานั้น ด้วยสามารถแห่งการน้อมเข้ามาในตน จึงพยากรณ์พระอรหัตผล
ด้วยคาถาที่ ๒ มีอาทิว่า มยฺหินฺทฺริยานิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์มีจักษุ
เป็นต้นของเรา. บทที่เหลือมีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาพรหมาลิเถรคาถา
๔. โมฆราชเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโมฆราชเถระ
[๓๐๑] ได้ยินว่า พระโมฆราชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนโมฆราชภิกษุ ผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง
แต่มีจิตผ่องใส เธอเป็นผู้มีใจตั้งมั่นเป็นนิตย์ จักทำ
อย่างไร ตลอดราตรีแห่งเวลาอันหนาวเย็นเช่นนี้ ?
ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ประเทศมคธ ล้วนแต่
สมบูรณ์ด้วยข้าวกล้า ข้าพระองค์พึงคลุมกายด้วยฟาง
แล้วนอนให้เป็นสุข เหมือนคนเหล่าอื่นที่มีการเป็นอยู่
เป็นสุข ฉะนั้น.

203
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 204 (เล่ม 51)

อรรถกถาโมฆราชเถรคาถา
คาถาของท่านพระโมฆราชเถระ เริ่มต้นว่า ฉวิปาปก จิตฺตภทฺทก.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา
อยู่ เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ บรรดา
ภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมองทั้งหลาย มุ่งหมายตำแหน่งนั้นอยู่ ตั้งประณิธานบำเพ็ญ
บุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ถึงความสำ เร็จในวิชา และศิลปะของพราหมณ์
ทั้งหลาย ยังมาณพผู้เป็นพราหมณ์ ให้ศึกษาวิชาและศิลปศาสตร์ วันหนึ่ง
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว
เสด็จไปอยู่ มีใจเลื่อมใสแล้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ประนมกร
อัญชลีไว้เหนือเศียร แล้วชมเชยพระศาสดาด้วยคาถา ๖ คาถา มีอาทิว่า ยาวตา
รูปิโน สตฺตา ดังนี้ แล้วน้อมน้ำผึ้งเข้าไปถวายจนเต็มภาชนะ. พระศาสดา
ทรงรับประเคนน้ำผึ้งแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
อมาตย์ของพระราชา พระนามว่า กัฏฐวาหนะ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นผู้อันพระราชาทรงส่งไปพร้อมกับบุรุษหนึ่งพัน
เพื่อทูลอาราธนาพระศาสดา ไปสู่สำนักของพระศาสดาแล้ว ฟังธรรมได้มี
ศรัทธาบวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ๒๐,๐๐๐ ปี จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว

204
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 205 (เล่ม 51)

เกิดหมุนเวียนอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ได้นามว่า โมฆราชะ เรียนศิลปวิทยาอยู่ในสำนักของพราหมณ์
พาวรี เกิดความสลดใจ บวชเป็นดาบส มีดาบสหนึ่งพันเป็นบริวาร ถูกส่ง
ไปยังสำนักของพระศาสดา พร้อมกับดาบสทั้งหลาย มีอชิตดาบสเป็นต้น เป็น
คนที่ ๑๕ ของดาบสเหล่านั้น ทูลถามปัญหาแล้ว ในเวลาจบการวิสัชนาปัญหา
บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สยัมภู พระนามว่า
อัตถทัสสี ไม่ทรงแพ้อะไร ๆ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จดำเนินไปในถนน เราแวดล้อมด้วยพวกศิษย์
ทั้งหลาย ออกจากเรือนไป ครั้นแล้วได้พบพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกที่ถนนนั้น เราได้
ประนมอัญชลีบนเศียรเกล้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า
ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ชมเชยพระองค์ผู้เป็น
นายกของโลก สัตว์มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญา
ก็ดี ประมาณเท่าใด สัตว์เหล่านั้นย่อมเข้าไปภายใน
พระญาณของพระองค์ทั้งหมด เปรียบเหมือนสัตว์
ในน้ำเหล่าใดเหล่าหนึ่ง สัตว์เหล่านั้นย่อมติดอยู่ภาย
ในข่ายของคนที่เอาข่ายตาเล็ก ๆ เหวี่ยงลงในน้ำ
ฉะนั้น อนึ่ง สัตว์เหล่าใด คือ สัตว์มีรูป และไม่มีรูป
มีเจตนา (ความตั้งใจ) สัตว์เหล่านั้นย่อมเข้าไปภายใน
พระญาณของพระองค์ทั้งหมด พระองค์ทรงถอนโลก
อันอากูล ด้วยความมืดมนนี้ขึ้นได้แล้ว สัตว์เหล่านั้น
ได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว ย่อมข้ามกระแสความ

205