No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 186 (เล่ม 51)

อยู่ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ใน
ที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่ ดู-
ก่อนกัปปฏะ เธอนั่งโงกง่วงอยู่ในท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้
ไม่รู้จักประมาณเลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมิติ กปฺปโฏ กปฺปโฏกุโร ความว่า
ภิกษุชื่อว่า กัปปฏกุระ มีวิตกที่ผิด ๆ เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจะนุ่งห่มผ้า
เปื้อนเก่า ๆ ของเรานี้ จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคืออมตธรรม
ของเรา มีอยู่เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ คือเมื่อหม้ออมตะของเรา กำลังหลั่งน้ำคือ
พระธรรมอยู่ในที่นั้น ๆ ได้แก่ เมื่อเรายังน้ำอมฤต คือพระธรรมให้ตกลงด้วย
การประกาศไปโดยคำมีอาทิว่า เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม ให้สัตวโลก
ได้บรรลุอมตธรรม เมื่อสัตวโลกมืดมนมหันธการ เราจะบรรเลงกลองชัยเภรี
คืออมตะ ทางที่เราทำไว้ เพื่อสั่งสมฌานทั้งโลกีย์และโลกุตระ คือทางที่เราแผ้ว
ถาง ได้แก่มรรคภาวนาที่จัดแจงไว้เพื่อเป็นแนวทาง นี้เป็นคำสอนของเรา แม้
ถึงอย่างนั้น พระกัปปฏกุระ ก็เป็นเพียงกากของพระธรรม คือเป็นผู้มีจิตกระสัน
มีใจเหินห่างจากศาสนธรรมของเรา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น
เตือนเธอแล้ว เมื่อจะแสดงการอยู่อย่างผู้ประมาทของเธอแม้อีกครั้งหนึ่ง
เหมือนจับโจรได้พร้อมของกลาง จึงตรัสพระคาถาว่า มา โข ตฺวํ กปฺปฏ
ปจาเลสิ ดูก่อนกัปปฎะ เธออย่ามัวมานั่งโงกง่วงอยู่เลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา โข ตฺวํ กปฺปฏ ปจาเลสิ
ความว่า ดูก่อนกัปปฏกุระ เธออย่ามัวนั่งโงกง่วงอยู่เลย คืออย่านั่งสัปหงก
ได้แก่ อย่าเข้าถึงความหลับด้วยคิดว่า เราจักฟังธรรม.

186
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 187 (เล่ม 51)

บทว่า มา ตฺวํ อุปกณฺณมฺหิ ตาเฬสฺสนฺติ ความว่า เราอย่า
ต้องทุบท่านผู้หลับอยู่ ด้วยมือคือเทศนา ในที่ใกล้หู คือใกล้ ๆ หู อธิบายว่า
ต่อแต่นี้ไป ท่านจงปฏิบัติ โดยไม่ต้องให้เราสั่งสอน เพื่อการละกิเลสอีก.
บทว่า น หิ ตฺวํ กปฺปฏ มตฺตมญฺญาสิ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงเตือนว่า ดูก่อนกัปปฎะ เธอมัวโงกง่วงสัปหงกอยู่ในท่าม
กลางสงฆ์ ย่อมไม่สำคัญประมาณ คือความพอดี คือไม่รู้แม้เหตุเพียงเท่านี้ว่า
ขณะเช่นนี้ หาได้ยากอย่างยิ่ง ขณะนั้นอย่าล่วงเลยเราไปเสียเลย ดังนี้ และ
เธอจงดูความผิดของเธอ.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข่ม แล้วทรงเตือนกัปปฏกุรภิกษุ คาด-
คั้นด้วยพระคาถา ๒ คาถา อย่างนี้แล้ว กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความสลดใจ
เหมือนถูกศรแทงจดกระดูก และเหมือนช้างตัวดุ (ที่หลงผิด) เดินตรงทาง
ฉะนั้น เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งอยู่ ณ ที่ฝั่ง
แม่น้ำวินตานที เราได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจาก
กิเลสธุลี เป็นเอกอัครบุคคล มีพระทัยตั้งมั่นดี ครั้ง-
นั้น เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส บูชาพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐสุด ด้วยดอกเกตก์ ซึ่งมีกลิ่นหอมเหมือน
น้ำผึ้ง ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอก
ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผล
แห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

187
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 188 (เล่ม 51)

ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวยืนยันพระคาถาทั้งสองที่พระ
ศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละว่า เป็นขอสับแห่งการบรรลุพระอรหัตผลของตน.
ด้วยพระคาถาทั้งสองนั้น ได้นับเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระกัปปฏ-
กุรเถระ นั้นด้วยอีกเหมือนกัน.
จบอรรถกถากัปปฏกุรเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๔
แห่งอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระมิคสิรเถระ ๒. พระสิวกเถระ ๓. พระอุปวาณเถระ
๔. พระอิสิทินนเถระ ๕. พระสัมพุลกัจจานเถระ ๖ พระขิตกเถระ
๗. พระโสณปฏิริยบุตรเถระ ๘. พระนิสภเถระ ๙. พระอุสภเถระ ๑๐.
พระกัปปฏกุรเถระ และอรรถกถา.

188
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 189 (เล่ม 51)

เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๕
๑. กุมารกัสสปเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุมารกัสสปเถระ
[๒๙๘] ได้ยินว่า พระกุมารกัสสปเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระคุณสมบัติของพระศาสดาของเราทั้งหลาย ซึ่งเป็น
ที่อยู่อาศัยประพฤติพรหมจรรย์ ของพระสาวกผู้จักทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ พระสาวกเหล่าใด เป็นผู้ยังไม่
ปราศจากขันธ์ ๕ ในอสังไขยกัป พระกุมารกัสสปะ
นี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น ร่างกายนี้มี
ในที่สุด สงสารคือ การเกิด การตาย มีในที่สุด
บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

189
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 190 (เล่ม 51)

วรรควรรณนาที่ ๕
อรรถกถากุมารกัสสปเถรคาถา
คาถาของท่านพระกุมารกัสสปเถระ เริ่มต้นว่า อโห พุทฺธา อโห
ธมฺมา. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน
กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ถึงความเป็นผู้รู้
แล้ว แต่ในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวว่า เกิดในเรือนแห่งตระกูล.
เขาไปสู่สำนักของพระศาสดา แล้วฟังธรรมอยู่เห็นพระศาสดา ทรง
ตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่า บรรดาภิกษุผู้กล่าวธรรมอัน
วิจิตร หวังตำแหน่งนั้น แม้ด้วยตนเองตั้งประณิธานไว้ กระทำบุญสมควรแก่
ประณิธานที่ตั้งไว้ บำเพ็ญสมณธรรม ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ
นามว่า กัสสปะ ท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่ง
ธิดาของเศรษฐี ณ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้.
ได้ยินมาว่า ธิดาของท่านเศรษฐีนั้น เป็นหญิงมีความประสงค์จะ
บวชแต่ในเวลาที่ยังเป็นกุมารีอยู่ทีเดียว ขออนุญาตมารดาบิดา ไม่ได้รับอนุญาต
ให้บรรพชา แม้ไปสู่ตระกูลผัว ก็ไม่รู้ว่าตนตั้งครรภ์ ทำสามีให้โปรดปราน
จนสามีอนุญาต จึงบวช (ในสำนัก) นางภิกษุณีทั้งหลาย (ต่อมา) ภิกษุณี
ทั้งหลายเห็นนางมีครรภ์ จึงถามพระเทวทัต. พระเทวทัต ตัดสินว่าไม่เป็น
สมณะ. จึงพากัน ไปทูลถามพระทศพลอีก พระศาสดาทรงมอบให้พระอุบาลี
เถระ (จัดการ).

190
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 191 (เล่ม 51)

พระเถระให้เรียกตระกูลทั้งหลาย ที่อยู่ในพระนครสาวัตถี และ
อุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา มาแล้ววินิจฉัยในบริษัทพร้อมด้วยพระราชา ตัดสินว่า
นางภิกษุณีตั้งครรภ์มาก่อนบวช บรรพชา บริสุทธิ์. พระศาสดาทรงประทาน
สาธุการพระเถระว่า อธิกรณ์ อันพระอุบาลีเถระวินิจฉัยถูกต้องดีแล้ว.
นางภิกษุณีนั้น คลอดบุตรมีรูปเหมือนทองคำ พระราชาพระนามว่า
ปเสนทิโกศล ทรงเลี้ยงดูบุตรของนาง และตั้งชื่อกุมารนั้นว่า กัสสปะ
ในเวลาต่อมา ทรงจัดแจงตกแต่งประดับประดากุมารแล้ว นำไปสู่สำนักของ
พระศาสดา ให้บรรพชาแล้ว เพราะเหตุที่เขาบวชแต่ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอทั้งหลายจงเรียกกัสสปะมา จงให้ผลไม้
หรือของควรเคี้ยวนี้แก่กัสสปะ ดังนี้ เมื่อเขาทูลถามว่า กัสสปะไหน ? ก็
ตรัสว่า กุมารกัสสปะ. ท่านมีนามปรากฏว่า กุมารกัสสปะ นั่นแหละแม้ใน
เวลาที่มีอายุมาก เพราะมีนามที่ถือเอาตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอย่าง
นี้ และเพราะเหตุที่ เป็นพระราชบุตรบุญธรรมที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง.
จำเดิมแต่เวลาที่บวชแล้ว ท่านทำกรรมในวิปัสสนา และเล่าเรียน
พระพุทธวจนะ ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม ผู้เคยบำเพ็ญสมณธรรมบนยอดเขา
ร่วมกับพระกุมารกัสสปะ เป็นพระอนาคามี บังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส
ทรงพระดำริว่า เราจักกระทำอุบาย เพื่อการบรรลุมรรคผล โดยแสดงมุข
แห่งวิปัสสนา ดังนี้แล้ว จัดแจงแต่งปัญหา ๑๕ ข้อ แล้วไปบอกแก่ท่าน
ผู้อยู่ในป่าอันธวันว่า ท่านจงทูลถามปัญหาเหล่านี้กะพระศาสดา พระเถระทูล
ถามปัญหาเหล่านั้น กะพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรง
พยากรณ์ปัญหาแก่พระเถระ. พระเถระเรียนปัญหาเหล่านั้น โดยทำนองที่พระ
ศาสดาตรัสบอกแล้ว นั่นแล ยังวิปัสสนาให้ถือเอาซึ่งห้อง บรรลุพระอรหัต
แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

191
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 192 (เล่ม 51)

ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้นายก ทรงเกื้อกูลแก่สัตวโลกทั้งปวง เป็นนักปราชญ์
มีพระนามว่า ปทุมุตตระได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น
เราเป็นพราหมณ์มีชื่อเสียงโด่งดัง รู้จบไตรเพท เที่ยว
ไปในที่พักสำราญกลางวัน ได้พบพระพุทธเจ้าผู้เป็น
นายกของโลก กำลังทรงประกาศสัจจะ ๔ ทรงยัง
มนุษย์พร้อมด้วยทวยเทพให้ตรัสรู้ กำลังทรงสรรเสริญ
พระสาวกของพระองค์ ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตรอยู่
ในหมู่มหาชน ครั้งนั้น เราชอบใจ จึงได้นิมนต์พระ-
ตถาคตแล้ว ประดับประดามณฑปให้สว่างไสว ด้วย
รัตนะนานาชนิด ด้วยผ้าอันย้อมด้วยสีต่าง ๆ นิมนต์
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ให้เสวยและฉันใน
มณฑปนั้น เรานิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก
ให้เสวยและฉันโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ถึง ๗ วัน แล้ว
เอาดอกไม้ที่สวยงามต่าง ๆ ชนิด บูชาแล้วหมอบลง
แทบบาทมูลปรารภฐานันดรนั้น ครั้งนั้น พระมุนีผู้
ประเสริฐ มีความเอ็นดู เป็นที่อาศัยอยู่แห่งกรุณา
ได้ตรัสว่า จงดูพราหมณ์นี้ ผู้มีปากและตาเหมือน
ดอกปทุม มากด้วยความปรีดาปราโมทย์ มีกายและใจ
สูงเพราะโสมนัส นำความร่าเริงมา จักษุกว้างใหญ่
มีความอาลัยในศาสนาของเรา เขาปรารถนาฐานันดร
นั้น คือ การกล่าวธรรมกถาอันวิจิตร ในกัปที่แสน
แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดามีนามว่าโคดม ซึ่งสมภพใน

192
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 193 (เล่ม 51)

วงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นี้
จักเป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้นจักเป็น
โอรสอันธรรมเนรมิต จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา
มีนามว่า กุมารกัสสปะ เพราะอำนาจดอกไม้ และผ้า
อันวิจิตรกับรัตนะ เขาจักถึงความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้กล่าวธรรมกถาอันวิจิตร เพราะกรรมที่
ทำไว้ดีแล้ว และเพราะการตั้งเจตน์จำนงไว้ เราละ
ร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เราท่องเที่ยว
ไปในภพน้อยภพใหญ่ เหมือนตัวละครหมุนเวียนอยู่
กลางเวทีเต้นรำฉะนั้น เราเป็นบุตรของเนื้อชื่อว่าสาขะ
หยั่งลงในครรภ์แห่งแม่เนื้อ ครั้งนั้นเราอยู่ในท้อง
มารดาของเรา ถึงเวรที่จะต้องถูกฆ่า มารดาของเรา
ถูกเนื้อสาขะทอดทิ้ง จึงยึดเอาเนื้อนิโครธเป็นที่พึ่ง
มารดาของเราอันพระยาเนื้อนิโครธ ช่วยให้พ้นจาก
ความตาย สละเนื้อสาขะแล้ว ตักเตือนเราผู้เป็นบุตร
ของตัวในครั้งนั้นอย่างนี้ว่า ควรคบหาแต่เนื้อนิโครธ
เท่านั้น ไม่ควรเข้าไปคบหาเนื้อสาขะ ตายในสำนัก
เนื้อนิโครธประเสริฐกว่า มีชีวิตอยู่ในสำนักเนื้อสาขะ
จะประเสริฐอะไร ?
เรามารดาของเรา และเนื้อนอกนี้ อันเนื้อ
นิโครธตัวเป็นนายฝูงพร่ำสอน อาศัยโอวาทของเนื้อ-
นิโครธนั้น จึงได้ไปยังที่อยู่อาศัย คือ สวรรค์ชั้นดุสิต
อันรื่นรมย์ ประหนึ่งว่า ไปยังเรือนของตัวที่ทิ้งจากไป
ฉะนั้น.

193
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 194 (เล่ม 51)

เมื่อพระศาสนาของพระกัสสปวีรเจ้า กำลัง
ถึงความสิ้นสูญอันตรธาน เราได้ขึ้นภูเขาอันล้วนด้วย
หิน บำเพ็ญเพียรตามคำสอนของพระพิชิตมาร ก็บัดนี้
เราเกิดในตระกูลเศรษฐี ในพระนครราชคฤห์ มารดา
ของเรามีครรภ์ ออกบวชเป็นภิกษุณี พวกภิกษุณีรู้ว่า
มารดาของเรามีครรภ์ จึงนำไปหาพระเทวทัต พระ-
เทวทัตกล่าวว่า จงนาศนะภิกษุณีผู้ลามกนี้เสีย ถึงใน
บัดนี้ มารดาบังเกิดเกล้าของเรา เป็นผู้อันพระพิชิต
มารจอมมุนี ทรงอนุเคราะห์ไว้ จึงได้ถึงความสุขใน
สำนักของภิกษุณี พระเจ้าแผ่นดินพระนามว่า โกศล
ได้ทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเลี้ยงดูเราไว้ ด้วยเครื่อง
บริหารแห่งกุมาร และตัวเรามีชื่อว่า กัสสปะ เพราะ
อาศัยพระมหากัสสปเถระ เราจึงถูกเรียกว่า กุมาร-
กัสสปะ เพราะได้สดับพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธ-
เจ้าทรงแสดงถึงกายเช่นเดียวกับจอมปลวก จิตของเรา
จึงพ้นจากอาสวกิเลส ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน โดย
ประการทั้งปวง เราได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ก็เพราะ
ทรมานพระเจ้าปายาสิ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว อันพระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ
โดยความเป็นผู้กล่าวธรรมอันวิจิตร พิจารณาข้อปฏิบัติของตนแล้ว เมื่อจะ
พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยมุขคือประกาศคุณของพระรัตนตรัย ได้กล่าวคาถา
๒ คาถา ความว่า

194
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 195 (เล่ม 51)

น่าอัศจรรย์หนอ พระพุทธเจ้า พระธรรมและ
พระคุณสมบัติ ของพระศาสดาของเราทั้งหลาย ซึ่งเป็น
ที่อยู่อาศัยประพฤติพรหมจรรย์ของพระสาวก ผู้จักทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ พระสาวกเหล่าใด เป็นผู้ยังไม่
ปราศจากขันธ์ ๕ ในอสงไขยกัป พระกุมารกัสสปะ
นี้เป็นรูปสุดท้าย แห่งพระสาวกเหล่านั้น ร่างกายนี้มี
ในที่สุด สงสาร คือ การเกิด การตายมีในที่สุด บัดนี้
ภพใหม่ไม่มี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงความ
อัศจรรย์.
บทว่า พุทฺธา ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า เป็นพหูพจน์โดยเป็น
คำแสดงความเคารพ ความก็ว่า โอ ! พระสัมพุทธเจ้ามีพระคุณน่าอัศจรรย์.
บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙ กับพระปริยัติธรรม.
บทว่า อโห โน สตฺถุ สมฺปทา ความว่า น่าอัศจรรย์สมบัติของ
พระทศพล ผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย.
บทว่า ยตฺถ ความว่า ด้วยสามารถแห่งการประพฤติพรหมจรรย์
ในพระศาสดาใด.
บทว่า เอตาทิสํ ธมฺมํ สาวโก สจฺฉิกาหิติ ความว่า แม้ขึ้นชื่อว่า
พระสาวก จักกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมเช่นนี้ คือ เห็นปานนี้ ได้แก่ ธรรมที่นำ
มาซึ่งความสิ้นไปแห่งกิเลสโดยไม่เหลือ อันเป็นบริวารแห่งฌานและอภิญญา
อันบริสุทธิ์พิเศษด้วยดี สงบ ประณีต ยอดเยี่ยม เพราะเหตุนั้น พระเถระ
จึงประกาศให้ทราบถึงการน้อมใจไปในคุณของพระรัตนตรัยว่า โอ พระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย มีคุณน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุแห่งการตรัสรู้คุณ

195