No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 176 (เล่ม 51)

ตราบใด ตราบนั้น ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรี
เพื่อจะหลับโดยแท้ คือไม่ใช่เวลาจะมามัวนอนหลับ.
อีกประการหนึ่งแล ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนา
แล้ว เพื่อจะประกอบความเพียร โดยอรรถได้แก่ ขึ้นชื่อว่าราตรีเช่นนี้เป็น
เวลาที่มีเสียงสงัดเงียบเป็นพิเศษ เพราะเป็นเวลาที่พวกมนุษย์เหล่ามฤคและ
ปักษีทั้งหลาย ย่างเข้าสู่ความหลับ จึงเป็นเวลาอันวิญญูชน ผู้รู้แจ้ง ปรารถนา
เพื่อเอาใจใส่ดูแลข้อปฏิบัติในตน คือเพื่อจะขวนขวายบำเพ็ญความเพียรของผู้มี
ธรรมเป็นเครื่องตื่นอยู่นั่นเอง.
พระโสณเถระฟังพระโอวาทนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจสลดแล้ว เริ่มตั้ง
หิริโอตตัปปะ อธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์ (องค์คุณของภิกษุผู้ถือการอยู่ใน
ที่แจ้งเป็นวัตร) กระทำกรรมในวิปัสสนา กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า หตฺถิกฺขนฺ-
ธาวปติตํ ดังนี้ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวปติตํ ได้แก่ ตกคว่ำหน้า คือ มีเท้า
ขึ้นเบื้องบน มีหน้าลงเบื้องล่าง ตกไปแล้ว.
บทว่า กุญฺชโร เจ อนุกฺกเม ความว่า ถ้าช้างพึงเหยียบเรา.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าในเวลาที่เราขึ้นคอช้างเข้าสู่สงคราม ตกจาก
คอช้าง ได้ถูกช้างนั้นเหยียบตายในสงคราม ความตายนั้นของเราประเสริฐกว่า
พ่ายจากกิเลสทั้งหลายในบัดนี้แล้วเป็นอยู่ จะประเสริฐอะไร คือ ความเป็น
อยู่นั้นไม่ประเสริฐเลย เมื่อพระเถระกล่าวคาถานี้อยู่นั่นแล ขวนขวายวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้น เราเที่ยวอยู่
ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี
ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะหาด

176
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 177 (เล่ม 51)

มาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นเขตแห่งบุญ
ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ ๓๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ
ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวทบทวนคาถาทั้งสองนั่นแล
คือ (คาถาที่ ๑) อันพระศาสดาตรัสแล้ว (และคาถาที่ ๒) อันตนกล่าวแล้ว
โดยนัยมีอาทิว่า หตฺถิกฺขนธาวปติตํ ดังนี้. ด้วยการกล่าวซ้ำคาถานั้นเป็นอัน
พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลนี้แล้วทีเดียว.
จบอรรถกถาโสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
๘. นิสภเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนิสภเถระ
[๒๙๕] ได้ยินว่า พระนิสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
วิญญูชน ละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์
ใจแล้ว ออกบวชด้วยศรัทธา แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์
ได้.
เราไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ และเรามีสติ
มีสัมปชัญญะ รอเวลาอันควรเท่านั้น.

177
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 178 (เล่ม 51)

อรรถกถานิสภเถรคาถา
คาถาของท่านพระนิสภเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจ กามคุเณ หิตฺวา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธะจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง
เห็นพระศาสดาเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะขวิด.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปแต่ในสุคติภพอย่างเดียว เกิดใน
เรือนแห่งตระกูลในโกลิยชนบท ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า นิสภะ
เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในสงคราม ของเจ้าศากยะ และเจ้าโกลิยะ
ทั้งหลาย แล้วได้ศรัทธาจิต บวชแล้ว บรรลุพระอรหัตในวันนั้นเอง. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้ถวายผลมะขวิด แด่พระสัมพุทธเจ้า ผู้มี
พระฉวีวรรณปานดังทองคำ สมควรรับเครื่องบูชา
กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของตน
ยังกาลเวลาให้ล่วงไป ด้วยการอยู่อย่างประมาท เมื่อจะโอวาทภิกษุเหล่านั้น
ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ความว่า

178
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 179 (เล่ม 51)

วิญญูชน ละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์
ใจแล้ว ออกบวชด้วยศรัทธา แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์
ได้ ดังนี้.
คาถาที่ ๑ นั้น มีอธิบายดังนี้ วิญญูชนละ คือ เลิกละได้แก่สละกามคุณ
คือ กามโกฏฐาสทั้ง ๕ มีรูปเป็นต้น อันชื่อว่าน่ารัก เพราะมีสภาพที่ยั่วยวน
ชวนให้พาลชนรักใคร่ ชื่อว่าน่ารื่นรมย์ใจ เพราะมีสภาพเป็นที่เจริญใจ ออก
คือหลุดพ้นจากเรือน คือ จากเครื่องผูกพันคือเรือน เข้าสู่บรรพชาเพศ จำเดิม
แต่บวชแล้ว ก็เพียรพยายาม พึงเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะได้.
พระเถระกล่าวสอนภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลายอย่าคิดว่า คนผู้นี้ดีแต่สอนคนอื่นเท่านั้น ส่วนตนเองไม่กระทำ ดังนี้
แล้ว เมื่อจะประกาศความที่ตนเป็นผู้ปฏิบัติแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงพยากรณ์
พระอรหัตผล ด้วยคาถาที่สอง ความว่า
เราไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ แต่เรามีสติ
มีสัมปชัญญะ รอเวลาอันควรอยู่ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาภินนฺทามิ มรณํ ความว่า เราไม่
มุ่งหมายความตาย.
ก็บทว่า นาภินนฺทามิ ชีวิตํ นี้ เป็นคำบอกเหตุของบทว่า
" นาภินนฺทามิ มรณํ " นั้น เพราะเรายังไม่อยากมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น จึงไม่
นิยมยินดีความตาย. อธิบายว่า บุคคลใดก่อ คือเข้าไปสั่งสมการปรุงแต่ง
กิเลส (อันเป็นเหตุ) แห่งชาติชรา และมรณะสืบต่อไป บุคคลนั้นเมื่อยินดี
การเกิดในภพใหม่ ชื่อว่าย่อมยินดีแม้ซึ่งความตายของตน เพราะเป็นผลให้
เกิดในภพติดต่อกันไป เพราะยังละเหตุไม่ได้ ส่วนพระขีณาสพ ละอาจยคามิ-
ธรรม (ธรรมอันเป็นเหตุให้ถึงการก่อภพก่อชาติ) ตั้งอยู่ในอปจยคามิธรรม

179
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 180 (เล่ม 51)

(ธรรมอันเป็นเหตุให้หมดภพหมดชาติ) เป็นผู้กำหนดรู้วัตถุ ชื่อว่าย่อมไม่
ยินดีแม้ซึ่งความตาย เพราะความที่แห่งเหตุนั้นแล อันตนละได้แล้วด้วยดี.
ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า นาภินนฺทามิ มรณํ นาภินน์ทามิ ชีวิตํ
เรายังไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่.
ถามว่า ถ้าพระขีณาสพ มีความจำนงมุ่งหมายพระนิพพานอยู่อย่างนี้
ก็การดำรง (ชีวิตของท่าน) จนกว่าจะปรินิพพาน จะเป็นอย่างไร ?
พระเถระจึงกล่าว (เฉลย) ว่า และเรามีสติสัมปชัญญะ รอเวลาอัน
ควรเท่านั้น (โดยมีอธิบายว่า) เมื่อเราบรรลุกิเลสปรินิพพานแล้ว เราชื่อว่า
มีสติ มีสัมปชัญญะ เพราะถึงความไพบูลย์ด้วยสติและปัญญา รอเวลาขันธ-
ปรินิพพานอย่างเดียว เราชะเง้อคอยเวลาแห่งขันธปรินิพพานนั้นอยู่ แต่เรา
ไม่มีความยินดีในความตาย หรือในชีวิตความเป็นอยู่ เพราะทั้งความตายและ
ชีวิตนั้น เราเพิกถอนขึ้น ด้วยอรหัตมรรคแล้วแล.
จบอรรถกถานิสภเถรคาถา

180
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 181 (เล่ม 51)

๙. อุสภเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุสเถระ
[๒๙๖] ได้ยินว่า พระอุสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราฝันว่า ได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบน
คอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูก
มหาชนพากันมารุมมุงดูอยู่ จึงลงจากคอช้าง กลับ
ลืมตาตื่นขึ้นแล้ว ครั้งนั้นได้ความสลดใจว่า ความฝัน
นี้เราไม่มีสติสัมปชัญญะ นอนหลับฝันเห็นแล้ว
ครั้งนั้น เราเป็นผู้กระด้างมัวเมา เพราะชาติสกุล ได้
ความสังเวชแล้ว จึงบรรลุความสิ้นอาสวะ.
อรรถกถาอุสภเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุสภเถระ เริ่มต้นว่า อมฺพปลฺลวสงฺกาสํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดา
เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลสะคร้อ.

181
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 182 (เล่ม 51)

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ กรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า
อุสภะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในสมาคมพระญาติของพระศาสดา
ได้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว.
จำเดิมแต่เวลาที่บวชแล้ว พระอุสภะไม่บำเพ็ญสมณธรรม ยินดีใน
การคลุกคลีด้วยหมู่ในกลางวัน ชอบนอนหลับตลอดทั้งคืน ยังเวลาให้ล่วงไป.
วันหนึ่ง ท่านปล่อยสติ ขาดสัมปชัญญะนอนหลับ ฝันเห็นตนเอง ปลงผมและ
หนวดแล้ว ห่มจีวรสีใบมะม่วงอ่อน นั่งบนคอช้าง เข้าไปสู่พระนครเพื่อ
บิณฑบาต เพื่อมนุษย์ทั้งหลายมาชุมนุมกันในที่นั้นนั่นแล จึงลงจากคอช้าง
ด้วยความละอาย ตื่นขึ้น เกิดความสลดใจว่า เราปล่อยสติไม่มีสัมปชัญญะ
นอนหลับฝันเห็นเป็นเช่นนี้ไป ดังนี้ แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต
ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในกาลนั้น เราได้ถวายผลสะคร้อ แด่พระ-
นราสภผู้ประเสริฐกว่าทวยเทพ งามเหมือนต้นรกฟ้า
ขาว กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน ในกัปที่ ๓๑ แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ
ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ลำดับนั้น พระเกระทำความฝันตามที่ตนเห็นแล้วนั่นแล ให้เป็นข้อ
พยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุถึงความฝันนั้นนั่นแล เพราะความที่ตนได้
บรรลุพระอรหัตผลแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
เราฝันว่า ได้ห่มจีวรสีอ่อนเฉวียงบ่า นั่งบน
คอช้าง เข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้าน พอเข้าไปก็ถูก

182
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 183 (เล่ม 51)

มหาชนพากันมารุมมุงดูอยู่ จึงลงจากคอช้าง กลับ
ลืมตาตื่นขึ้นแล้ว ครั้งนั้น เราได้ความสลดใจว่า ความ
ฝันนี้ เราไม่มีสติสัมปชัญญะ นอนหลับฝันเห็นแล้ว
ครั้งนั้น เราเป็นผู้กระด้าง ด้วยความมัวเมา เพราะ
ชาติสกุล ได้ความสังเวชแล้ว ได้บรรลุความสิ้นอาสวะ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพปลฺลวสงฺกาสํ อํเส กตฺวาน
จีวรํ ความว่า เอาจีวรมีสีดังแก้วประพาฬ มีอาการดังใบมะม่วงอ่อนคล้องคอ
โดยทำเป็นเฉวียงบ่า.
บทว่า คามํ ความว่า นั่งบนคอช้าง เข้าไปสู่ราชธานีของตน เพื่อ
บิณฑบาต พอเข้าไปแล้วเท่านั้น ก็ถูกมหาชน (ห้อมล้อม) แลดู จึงลงจาก
คอช้าง ยืนอยู่ ตื่นขึ้นแล้ว พอตื่นแล้วเท่านั้น ก็ได้ความสลดใจในครั้งนั้นว่า
ความฝันนั้นเกิดแล้ว เพราะเราปล่อยสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับ
ดังนี้.
ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า พระอุสภเถระยังเป็นพระราชาอยู่นั่นแล
เห็นความฝันเช่นนี้ ในเวลากลางคืน เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงขึ้นสู่คอช้าง
เสด็จเที่ยวไปในถนนของพระนคร ทรงระลึกถึงความฝันนั้น จึงเสด็จลงจาก
คอช้าง ได้ความสลดพระทัย ทรงผนวชในสำนักของพระศาสดา บรรลุพระ-
อรหัตแล้ว เมื่อเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว.
บทว่า ทิตฺโต ประกอบความว่า ในเวลาที่ได้เสวยราชย์นั้น เรา
เป็นผู้กระด้าง ด้วยความมัวเมา เพราะชาติและความมัวเมาเพราะโภคะเป็นต้น
ได้ความสลดใจแล้ว.
จบอรรถกถาอุสภเถรคาถา

183
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 184 (เล่ม 51)

๑๐. กัปปฏกุรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกัปปฏกุรเถระ
[๒๙๖] ได้ยินว่า พระกัปปฏกุรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความวิตกผิด ๆ ว่า เราจัก
นุ่งห่มผ่าผืนนี้แล้ว จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำ
ใสคืออมตธรรมของเรา มีอยู่ เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ
เราเอาบาตรตักน้ำคืออมตธรรม ใส่ในหม้ออมตะ
เพื่อสั่งสมฌานทั้งหลาย ดูก่อนกัปปฏะ ท่านอย่ามา
นั่งโงกง่วงอยู่ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เมื่อเราแสดง
ธรรมอยู่ ในที่ใกล้หูของท่านเช่นนี้ ท่านอย่ามัวนั่ง
โงกง่วงอยู่ ดูก่อนกัปปฏะ ท่านนั่งโงกง่วงอยู่ ใน
ท่ามกลางสงฆ์เช่นนี้ ไม่รู้จักประมาณเลย.
จบวรรคที่ ๔
อรรถกถากัปปฏกุรเถรคาถา
คาถาของพระกัปปฏกุรเถระ เริ่มต้นว่า อยมิติ กปฺปโฏ. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระ

184
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 185 (เล่ม 51)

ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระผู้
มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อว่า วินตา
มีใจเลื่อมใส ทำการบูชาด้วยดอกเกตก์ (ดอกการะเกด หรือดอกลำเจียก).
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มา
เกิดในตระกูลที่ยากจน กรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ จนตราบเท่าเจริญวัย
ก็ไม่รู้จักอุบาย. (หากิน) อย่างอื่น นุ่งห่มเศษผ้าเปื้อน ๆ ถือขัน เที่ยวแสวง
หาข้าวสุกในที่นั้น ๆ ด้วยเหตุนั้น จึงปรากฏนามว่า กัปปฏกุระ. เขาเจริญ
วัยแล้วขายหญ้า เลี้ยงชีวิต วันหนึ่งไปสู่ป่าเพื่อเกี่ยวหญ้า เห็นพระเถระผู้เป็น
พระขีณาสพรูปหนึ่งในป่านั้น เข้าไปหาพระเถระไหว้แล้ว นั่งอยู่แล้ว. พระ
เถระแสดงธรรมแก่เขา.
เขาฟังธรรมแล้ว ได้มีศรัทธาคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการ
ขายหญ้านี้เลี้ยงชีวิต ดังนี้แล้ว จึงบวช ทิ้งท่อนผ้าเปื้อน ๆ ที่ตนนุ่งแล้ว
ไว้ในที่แห่งหนึ่ง. ก็ในเวลาที่พระเถระนั้นเกิดความกระสัน ในเวลานั้น เมื่อ
ท่านมองดูท่อนผ้าเปื้อนฝุ่นนั้น ความกระสันก็หายไป ได้ความสลดใจแล้ว.
ท่านทำอยู่อย่างนี้ สึกแล้วถึง ๗ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเหตุนั้น ของ
ท่านแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่มาวันหนึ่ง พระกัปปฏกุรภิกษุ นั่งอยู่ท้ายบริษัท
ในโรงประชุมฟังธรรมหลับอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเตือนท่าน ได้
ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
กัปปฏกุรภิกษุ เกิดความวิตกผิดว่า เราจะห่มผ้า
ผืนนี้แล้ว จักเลี้ยงชีพตามมีตามเกิด เมื่อน้ำใสคือ
อมตธรรมของเรา มีอยู่ เต็มเปี่ยมในหม้ออมตะ เรา
เอาบาตรตักน้ำคืออมตธรรม ใส่หม้ออมตะ เพื่อสั่งสม
ฌานทั้งหลาย ดูก่อนกัปปฏะ เธออย่ามานั่งโงกง่วง

185