No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 166 (เล่ม 51)

แก้วมณี และแก้วกุณฑลอันตนสั่งสมไว้แล้ว มีความเสน่หาอย่างท้วมท้น ใน
บุตรธิดา และในภรรยาทั้งหลาย อธิบายว่า คนที่พูดอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง
เราเห็นแล้ว.
บทว่า ยโต ความว่า เพราะเหตุที่อุบาสกเหล่านั้น ยังมีความ
กำหนัดยินดี ในแก้วมณีและแก้วกุณฑลทั้งหลาย มีความห่วงใย ในบุตร
และภรรยาทั้งหลาย ฉะนั้น อุบาสกเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าไม่รู้จริงซึ่งธรรมในพระ
พุทธศาสนานี้ ตามความเป็นจริง อย่างแน่แท้ คือโดยส่วนเดียว. อธิบายว่า
ก็อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นแล้วอย่างนี้ แม้ถึงจะได้กล่าวว่า กามทั้งหลาย เป็น
ของไม่เที่ยง ก็ (เพราะ) เป็นปกติวิสัยของสัตว์ (เพราะ) กามทั้งหลายมีความ
งดงามเป็นสภาพ.
บทว่า ราคญฺจ เตสํ น พลตฺถิ เฉตฺตุํ ความว่า เพราะเหตุ
ที่กำลังแห่งญาณ เพื่อจะตัด คือเพื่อจะเข้าไปถอนขึ้นซึ่งราคะเช่นนั้น ของ
อุบาสกเหล่านั้นไม่มี ฉะนั้น คือด้วยเหตุนั้น อุบาสกเหล่านั้น จึงติด คือ
เนื่องอยู่แล้วด้วยอำนาจแห่งตัณหา ได้แก่ ติดแน่น ไม่สามารถจะสละลูกเมีย
และทรัพย์สมบัติได้ เพราะเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวคาถา ๒ คาถา นี้ทั้งหมด
หมายถึง (อิสิทินนะ) อุบาสกนั้นแล (แต่) เอาคนอื่นมาอ้าง.
อุบาสกฟังคำเป็นคาถามนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ บวชแล้วบรรลุพระ
อรหัต ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราเป็นผู้มีใจโสมนัส จับพัดวีชนี พัดไม้โพธิ-
อันอุดม ที่ไม้โพธิของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
วิปัสสี ซึ่งเป็นไม้สูงสุด ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้พัดไม้โพธิอันอุดม ด้วยการพัดไม้โพธินั้น เรา

166
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 167 (เล่ม 51)

ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการพัดไม้โพธิ. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ก็ได้
กล่าวคาถาเหล่านี้แหละ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอิสินนเถรคาถา
๕. สัมพุลกัจจานเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสัมพุลกัจจานเถระ*
[๒๙๒] ได้ยินว่า พระสัมพุลกัจจานเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่าง
นี้ว่า
ฝนก็ตก ฟ้าก็ร้องครืน ๆ เราอยู่ในถ้ำอันน่า
กลัวแต่คนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว
หรือขนลุกขนพอง มิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอัน
น่ากลัวแต่ผู้เดียว ไม่มีความกลัว หรือสะดุ้งหวาดเสียว
นี้ เป็นของธรรมดาของเรา.
* อรรถกถาเป็น สัมพุลกัจจายนเถระ

167
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 168 (เล่ม 51)

อรรถกถาสัมพุลกัจจายนเถรคาถา
คาถาของพระสัมพุลกัจจายนเถระ เริ่มต้นว่า เทโว จ. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในที่สุดแห่งกัป
ที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
นามว่า สตรังสี ออกจากนิโรธแล้วเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใสแล้ว ได้
ถวายผลตาล.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิด
ในตระกูลคฤหบดี แคว้นมคธ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า สัมพุละ
เพราะความที่ท่านเป็นกัจจายนโคตร จึงมีนามปรากฏว่า สัมพุลกัจจายนะ.
เขาเจริญวัยแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้มีศรัทธา
จิต บวชแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาชื่อว่า เภรวะ ครั้นวันหนึ่ง
เมฆที่เกิดขึ้นในสมัยใช่กาลกลุ่มใหญ่ หนาตั้งร้อยชั้นพันชั้น ร้อง คำราม
ยังสายฟ้าให้แลบแปลบปลาบ ร้องครืน ๆ ตั้งขึ้น ตั้งท่าจะตก. สัตว์
ทั้งหลาย มีหมี หมาไน ควายป่า และช้างเป็นต้น ฟังเสียงนั้นแล้ว สะดุ้ง
ตกใจกลัว รองลั่น อย่างหวาดกลัว.
ส่วนพระเถระ ไม่มีความอาลัยในร่างกายและชีวิต ปราศจากความ
ขนพองสยองเกล้า ไม่สนใจเสียงนั้น มุ่งกระทำกรรมในวิปัสสนาอย่างเดียว
เท่านั้น เพราะความเป็นผู้มีวิปัสสนาอันปรารภแล้ว เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว
เพราะความร้อนในฤดูร้อนผ่านไป และเพราะได้ฤดูเป็นที่สบาย ขวนขวาย
วิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยอภิญญา ๖ ในขณะนั้นเอง. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า

168
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 169 (เล่ม 51)

พระผู้มีพระภาคะ ผู้สยัมภู นามว่า สตรังสี
ไม่พ่ายแพ้อะไร ๆ ใคร่ต่อความวิเวก ตรัสรู้ด้วยตนเอง
ออกบิณฑบาต เราถือผลไม้อยู่ได้เห็นแล้ว จึงได้เข้า
ไปเฝ้าพระนราสภ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้
ถวายผลตาล ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวาย
ผลไม้ใด ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลตาลนั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลตาล. เรา
เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระ บรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน เกิด
ความโสมนัส เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยสามารถแห่งอุทาน ได้กล่าว
คาถา ๒ คาถา ความว่า
ฝนก็ตก ฟ้าก็ร้องครืน ๆ เราอยู่ในถ้ำอันน่า
กลัวแต่คนเดียว ความกลัว ความสะดุ้ง หวาดเสียว
หรือขนลุกขนพอง มิได้มีเลย การที่เราอยู่ในถ้ำอัน
น่ากลัว แต่ผู้เดียว ไม่มีความหวาดกลัว หรือสะดุ้ง
หวาดเสียว นี้ เป็นธรรมดาของเรา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทโว จ วสฺสติ เทโว จ คฬค-
ฬายติ ความว่า ฝนคือเมฆ ก็ตก ฟ้าก็ร้องเสียงดังครืน ๆ ก็บทว่า
คฬคฬา นี้ กระทำเสียง ตามเสียงฟ้าร้องคำราม. บทว่า เอกโก จาหํ
เภรเว พิเล วิหรามิ ความว่า ก็เราตัวคนเดียว ไม่มีเพื่อน อยู่ในถ้ำ
แห่งภูเขา อันมีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า เมื่อเรานั้นเป็นอย่างนี้ ความกลัว

169
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 170 (เล่ม 51)

ความหวาดเสียว ความขนลุกขนพอง ย่อมไม่มีแก่เราผู้มีสติ ได้แก่ ความ
กลัวที่หมายรู้กันว่า ความสะดุ้งแห่งจิตก็ดี ความหวาดเสียวแห่งร่างกาย อัน
มีความกลัวนั้นเป็นนิมิตก็ดี ความเป็นผู้มีขนพองสยองเกล้าก็ดี ย่อมไม่มี
(แก่เรา). เพราะเหตุไร ? เพราะ พระเถระกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ว่า ธมฺมตา
มเมสา (นี้เป็นธรรมดาของเรา).
แท้จริง พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลว่า อันภัยเป็นต้น พึงมี
แก่บุคคลผู้ไม่ได้กำหนดรู้วัตถุ เพราะยังละฉันทราคะในวัตถุนั้นไม่ได้ แต่
ภัยในวัตถุนั้น เรากำหนดรู้แล้วโดยประการทั้งปวง ทั้งฉันทราคะในวัตถุนั้น
เราก็ตัดขาดแล้ว เพราะฉะนั้น ภัยเป็นต้นจึงไม่มี นี้เป็นธรรมดาของเรา คือ
ข้อนี้ เป็นสภาพแห่งธรรมของเรา.
จบอรรถกถาสัมพุลกัจจยนเถรคาถา
๖. ขิตกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ
[๒๙๓] ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา ไม่กำ-
หนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่
ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ใด
อบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้น แต่ที่ไหน จิต
ของเราตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา จิตของเราไม่
กำหนัดแล้ว ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เรา
อบรมจิตได้แล้วอย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงเราแต่ที่ไหน ๆ.

170
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 171 (เล่ม 51)

อรรถกถาขิตกเถรคาถา
คาถาของท่านพระขิตกเถระ เริ่มต้นว่า กสฺส เสลูปมํ จิตฺตํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ เป็นคนเฝ้าสวน ดำเนินชีวิตอยู่ในพันธุมดี
นคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี วันหนึ่งเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปทางอากาศ มีใจโสมนัส ได้เป็นผู้มีความประสงค์
จะถวายขนุนสำมะลอ พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา ประทับยืนอยู่ใน
อากาศนั่นแหละ รับประเคนแล้ว. เขาถวายขนุนสำมะลอนั้นแล้ว เสวยปีติ
โสมนัสอย่างโอฬาร.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ แคว้นโกศล ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า ขิตกะ
บรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา
บวชแล้ว เรียนกรรมฐานแล้วอยู่ในป่า เพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตแล้ว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น เราเป็นคนเฝ้าสวนอยู่ในพระนครพัน-
ธุมดี ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี เสด็จ
เหาะไปในอากาศ เราได้หยิบเอาผลขนุนสำมะลอ
ถวายแด่พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด พระพุทธเจ้าผู้มี
พระยศใหญ่ ให้เกิดความปลื้มใจแก่เรา นำความสุข
มาให้ในปัจจุบัน ประทับอยู่ในอากาศนั่นเอง ได้ทรง

171
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 172 (เล่ม 51)

รับประเคน เราถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้าด้วยใจอัน-
เลื่อมใสแล้ว ได้ประสบปีติอันไพบูลย์ เป็นสุขยอด-
เยี่ยมในครั้งนั้น รัตนะเกิดขึ้นแก่เราผู้เกิดในที่นั้น ๆ
ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาล
นั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การถวายผลไม้ ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์แล้ว เราเป็น
ผู้ฉลาดในสมาธิ ถึงแล้วซึ่งฝั่งแห่งอภิญญา นี้เป็น
ผลแห่งการถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่
ผลและความสุขในพระนิพพาน ท่านกำหนดความเพียรไปสู่ราวป่านั้น เพื่อจะ
สงเคราะห์ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในราวป่านั้น จึงกล่าวคาถา ๑ คาถา ความว่า
จิตของใครตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ไม่กำ-
หนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัด-
เคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ใดอบรม
จิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้นได้แต่ที่ไหน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสฺส เสลูปมํ จิตฺตํ  ิตํ นานุกมฺปติ
ความว่า เมื่อเธอทั้งหลายอยู่ในราวป่านี้ จิตของภิกษุไร ชื่อว่าตั้งมั่น เพราะ
ได้บรรลุผลอันเลิศ และเพราะถึงความเป็นผู้มีวสี โดยไม่มีความหวั่นไหว
ทุกอย่าง อุปมาดังภูเขาหินล้วนเป็นแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นสะเทือน
ด้วยโลกธรรมแม้ทั้งปวง.

172
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 173 (เล่ม 51)

บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาการอันไม่หวั่นไหวของจิตนั้น พร้อมกับเหตุ
พระเถระจึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิรตฺตํ ไม่กำหนัดแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหลานั้น บทว่า วิรตฺตํ รชนีเยสุ ความว่า ไม่กำหนัด
แล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด คือในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓
อันเป็นเหตุแห่งความบังเกิดขึ้นของความกำหนัด ด้วยอริยมรรค กล่าวคือ
วิราคธรรม (ความคลายกำหนัด ) อธิบายว่า มีความกำหนัดในธรรมอันเป็น
ไปในภูมิ ๓ นั้น อันเธอถอนขึ้นแล้ว โดยประการทั้งปวง.
บทว่า กุปฺปนีเย ความว่า ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขึ้งเคียด
ได้แก่ ในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต แม้ทั้งปวง.
บทว่า น กุปฺปติ ความว่า ไม่ประทุษร้าย คือไม่ถึงอาการที่แปลก.
บทว่า ยสฺเสวํ ภาวิตํ จิตฺตํ ความว่า จิตคือใจอันพระอริยบุคคลใด
อบรมแล้ว อย่างนี้ คือโดยนัยดังกล่าวแล้ว ได้แก่ โดยความเป็นผู้คงที่.
บทว่า กุโต ตํ ทุกฺขเมสฺสติ ความว่า ทุกข์จักเข้าถึงบุคคลนั้น
แต่ที่ไหน คือแต่สัตว์ หรือสังขารเล่า ? อธิบายว่า ทุกข์ย่อมไม่มีแก่บุคคล
เช่นนั้น.
พระขิตกเถระ เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่มีเพียงผู้ถามขึ้น โดยไม่กำหนด
แน่นอนอย่างนี้ ทำให้น้อมเข้าไปในตน พยากรณ์พระอรหัตผลด้วยคาถาที่สอง
มีอาทิว่า มม เสลูปมํ จิตฺตํ จิตของเราตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ดังภูเขา ดังนี้.
บทนั้นมีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวอธิบายไว้แล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาขิตกเถรคาถา

173
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 174 (เล่ม 51)

๗. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ
[๒๙๔] ได้ยินว่า พระโสณโปฏิริยบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่
เป็นราตรี เพื่อจะหลับโดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็น
ราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้วเพื่อประกอบความเพียร.
ครั้นพระเถระได้ฟังดังนั้น ก็สลดใจ ยังหิริโอตตัปปะให้เข้าไปตั้งไว้
แล้วอธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์ กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาที่ ๒
นี้ว่า
ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกลงจากคอช้าง เราตาย
เสียในสงครามประเสริฐกว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะประ-
เสริฐอะไร.
อรรถกถาโสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา
คาถาของท่านพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ เริ่มต้นว่า น ตาว สุปิตุํ
โหติ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เป็นพรานป่า เลี้ยงชีพ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-

174
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 175 (เล่ม 51)

นามว่า สิขี วันหนึ่ง เห็นพระศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะหาด
แด่พระศาสดา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
เป็นบุตรของนายบ้าน ชื่อว่า โปฎิริยะ ในเมืองกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้มีนามว่า โสณะ. เขาเจริญวัยแล้ว ได้เป็นเสนาบดี ของพระราชา พระ-
นามว่า ภัตทิยะ สากิยะ.
ครั้นต่อมา เมื่อพระเจ้าภัททิยะ ทรงผนวชแล้วโดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในหนหลัง เสนาบดี ก็บวชตาม ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่า แม้พระราชาก็ยังทรง
ออกผนวช การอยู่ครองเรือนของเราจะมีประโยชน์อะไร ? ก็ครั้นบวชแล้ว
เป็นผู้มีการนอนหลับเป็นที่มายินดี ไม่หมั่นประกอบภาวนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประทับอยู่ ในอนุปิยอัมพวันวิหาร ทรงแผ่โอภาสของพระองค์ไป ยังสติ
ให้เกิดแก่พระโสณโปฏิริยเถระ ด้วยพระโอภาสนั้น เมื่อจะทรงโอวาทพระเถระ
ด้วยพระคาถานี้ ได้ตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
ราตรีอันประดับด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่
เป็นราตรีเพื่อจะหลับโดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็น
ราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้ว เพื่อประกอบความเพียร.
ถ้าช้างพึงเหยียบเรา ผู้ตกลงจากคอช้าง เราตาย
เสียในสงคราม ประเสริฐกว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะ
ประเสริฐอะไร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตาว สุปิตุํ โหติ รตฺติ นกฺขตฺ-
มาลินี. ความว่า เมื่อภิกษุผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ได้ขณะที่ ๙ อันเว้นจาก
ขณะที่ไม่ใช่กาล ๘ อย่าง ตั้งอยู่แล้ว ยังทำพระอรหัตให้อยู่ในเงื้อมมือไม่ได้

175