บุรุษทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้สงบระงับแล้ว ชื่อว่า
สัปบุรุษ ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้น.
ด้วยบทว่า สปฺปุริสา นี้ พระเถระแสดงถึงความถึงพร้อม ด้วยจักร
ทั้งสองข้อแรกของตน. อธิบายว่า เว้นจากจักรคือการอยู่ในปฏิรูปเทศแล้ว
(จักร คือ) การเข้าไปคบหาสัปบุรุษย่อมเกิดมีไม่ได้.
บทว่า สุตา ธมฺมา ความว่า ธรรมอันปฏิสังยุตด้วยสัจจะ และ
ปฏิจจสมุปบาท อันข้าพเจ้าเข้าไปทรงไว้แล้ว ด้วยการแล่นไปตามโสตทวาร.
พระเถระเมื่อจะแสดงความเป็นพหูสูตของตน ย่อมแสดงสมบัติคือจักร ๒ ข้อ
หลัง ด้วยบทว่า สุตา ธมฺมา นี้.
บทว่า อภิณฺหโส ความว่า โดยมาก คือไม่ใช่เป็นครั้งเป็นคราว.
ก็บทนี้ บัณฑิตพึงประกอบเข้าแม้ในบทว่า อุปาสิตา สปฺปุริสา ด้วย.
บทว่า สุตฺวาน ปฏิปชฺชิสฺสํ อญฺชสํ อมโตคธํ ความว่า เราฟัง
ธรรมเหล่านั้นแล้ว กำหนดรูปธรรม และอรูปธรรม ตามที่ตรัสไว้ในเทศนา
นั้น โดยลักษณะของตนเป็นต้น เจริญวิปัสสนาโดยลำดับ ดำเนินไปคือ
บรรลุถึงหนทาง คืออริยอัฏฐังคิกมรรค อันหยั่งลงสู่อมตะ คือเป็นที่ตั้งแห่ง
พระนิพพาน ได้แก่ยังพระนิพพานให้ถึงพร้อม.
บทว่า ภวราคหตสฺส เม สโต ความว่า เมื่อเรามีสติสมบูรณ์แล้ว
กำจัด คือ เข้าไปทำลาย ความยินดีในภพคือตัณหา ในสงสารอันมีเบื้องต้น
และที่สุด อันบุคคลตามเข้าไปกำหนดรู้ไม่ได้ อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ มีความ
กำหนัดในภพ อันมรรคอันเลิศกำจัดแล้ว.
บทว่า ภวราโค ปุน เม น วิชฺชติ ความว่า เพราะเหตุนั้นแล
ความกำหนัดในภพ ย่อมไม่มีแก่เราอีกในบัดนี้.