No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 126 (เล่ม 51)

ไม่สะดุ้ง ประหนึ่งไกรสรสีหราช ฉะนั้น เขาทั้งหลาย
ไม่มีความสะดุ้ง หมดความละโมบ มีปัญญา มีความ
ประพฤติสงบ เที่ยวเสาะแสวงหาโมกขธรรม ได้พากัน
เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด (ก่อนจะถึงที่-
หมาย) เหลือระยะทางอีกหนึ่งโยชน์ครึ่ง เราเกิดเจ็บ
ป่วยขึ้น เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแล้ว
ตาย ณ ที่นั้น ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงเอากระจก จากช่างกลับนั้น มาส่องดูดูร่างกาย
ร่างกายของเรามิได้ปรากฏเป็นของเปล่า ความมืดคือ
อวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้
หายหมดสิ้นไป กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาด
แล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกเส เม โอลิขิสฺลนฺติ กปฺปโก
อุปสงฺกมิ ความว่า ในเวลาที่เราเป็นคฤหัสถ์ ในเวลาโกนหนวด ช่าง
กัลบก คือช่างทำผม คิดว่า จักตัด จะแต่งผมของเรา จึงเข้ามาหาเรา โดย
เตรียมจะตัดผมเป็นต้น. บทว่า ตโต ได้แก่ จากช่างกัลบกนั้น. บทว่า

126
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 127 (เล่ม 51)

สรีรํ ปจฺจเวกฺขิสฺส ความว่า พิจารณาร่างกายที่ชราครอบงำแล้ว ด้วยตน
เองว่า ร่างกายของเราถูกชราครอบงำแล้วหนอ ดังนี้ ด้วยมุข คือการดูนิมิต
บนใบหน้า ที่มีผมหงอกและหนังเหี่ยวย่นเป็นต้น ในกระจก ได้ทั่วทั้งร่าง.
ก็เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ร่างกายของเราก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่า
คือร่างกายของเราได้ปรากฏ คือเห็นชัดว่าเป็นของว่างเปล่า จากสภาพต่าง ๆ
มีสภาพที่เที่ยง ยั่งยืนและเป็นสุข เป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะความมืด
คืออวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้หายหมดสิ้นไป อธิบายว่า
คนทั้งหลาย ที่อยู่ในอำนาจของความมืด ในกายของตน ด้วยความมืดกล่าว
คือ อโยนิโสมนสิการใด เมื่อไม่เห็นสภาพมีสภาพที่ไม่งามเป็นต้น แม้มีอยู่
ย่อมถือเอาอาการว่าเป็นของงามเป็นอันไม่มีอยู่ ความมืดคืออวิชชา ในกาย
อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน คือเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำความมืดนั้น ได้
หายหมดสิ้นไป ด้วยแสงสว่างแห่งญาณ กล่าวคือ โยนิโสมนสิการ ต่อจาก
นั้น กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราก็ตัดได้ขาด คือกิเลสทั้งหลายอันได้นามว่า
โจฬา เพราะเป็นดุจพวกโจร โดยการเข้าไปตัดภัณฑะคือกุศล หรือเป็นดุจ
ผ้าขี้ริ้ว เพราะความเป็นท่อนผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้งแล้วในกองขยะเป็นต้น โดย
เป็นเศษผ้าที่ติดลูกไฟ (หรือ) โดยเป็นผ้าที่คนดีไม่ต้องการ เพราะความเป็น
ของอันอิสรชน คือคนเจริญรังเกียจ อันเราตัดขาดแล้ว ก็เพราะความที่
กิเลสเพียงดังผ้าขี้ริ้วเหล่านั้น เป็นของอันเราเพิกถอนได้แล้ว ด้วยมรรคอัน
เลิศ นั่นแล บัดนี้ภพใหม่จึงมิได้มี ได้แก่การจะไปเกิดในภพใหม่ ไม่มีอีก
ต่อไป.
จบอรรถกถาวีตโสกเถรคาถา

127
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 128 (เล่ม 51)

๖. ปุณณมาสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปุณณมาสเถระ
[๒๘๓] ได้ยินว่า พระปุณณมาสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราละนิวรณ์ ๕ เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ
แล้วถือเอาแว่นธรรม คือญาณทัสสนะของตน ส่องดู
ร่างกายนี้ทั่วทั้งหมด ทั้งภายในภายนอกร่างกาย ของ
เรานี้ ปรากฏเป็นของว่างเปล่า ทั้งภายในและภายนอก.
อรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา
คาถาของพระปุณณมาสเถระ เริ่มต้นว่า ปญฺจ นีวรเณ หิตฺวา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง เมื่อ
พระศาสดา ประทับอยู่ในป่า คล้องบังสุกุลจีวรไว้ที่กิ่งไม้ แล้วเสด็จเข้าไปสู่
พระคันธกุฎี เขาถือธนู เข้าไปสู่ชัฏป่า เห็นผ้าบังสุกุลจีวรของพระศาสดา
แล้วมีใจเลื่อมใส วางธนูแล้วระลึกถึงพระพุทธคุณไหว้ผ้าบังสุกุล.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บังเกิดในตระกูลกุฎุมพี ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ได้ยินว่า

128
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 129 (เล่ม 51)

ในวันที่เขาเกิด ภาชนะทุกอย่างในเรือนนั้น ได้เต็มบริบูรณ์ไปด้วยถั่วเขียว
อันสำเร็จไปด้วยทองและรัตนะทั้งหลาย เขาเจริญวัยแล้ว มีครอบครัว เมื่อ
บุตรคนที่หนึ่งเกิดแล้ว สละฆราวาสวิสัย บวชอยู่ในอาวาสใกล้บ้าน เพียร
พยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สยัมภู ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศ
พระนามว่า ติสสะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระพิชิตมาร
ทรงวางบังสุกุลจีวรไว้แล้ว เสด็จเข้าสู่พระวิหาร เรา
สะพายธนูที่มีสายและกระบอกน้ำ ถือดาบเข้าป่าใหญ่
ครั้งนั้น เราได้เห็นบังสุกุลจีวร ซึ่งแขวนอยู่บนยอดไม้
ในป่านั้น จึงวางธนูลง ณ ที่นั้นเอง ประนมกรอัญชลี
เหนือเศียรเกล้า เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส และ
มีปีติเป็นอันมาก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
แล้วได้ไหว้บังสุกุลจีวร ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้ไหว้บังสุกุลจีวรใด ด้วยการไหว้บังสุกุลจีวรนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการไหว้ (บังสุกุล
จีวร). เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระ เป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เข้าไปสู่พระนครสาวัตถี
ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว อยู่ในป่าช้า ก็เมื่อท่านไปได้ไม่นานนัก บุตร
ของท่านก็ได้ทำกาละ มารดาของทารกสดับข่าวว่า พระเถระมาแล้ว มีความ
ประสงค์จะยังพระเถระให้สึกด้วยคิดว่า พระราชาอย่าริบสมบัติของเราผู้หาบุตร
มิได้นี้ไปเลย ไปสู่สำนักของพระเถระด้วยบริวารเป็นอันมาก ทำการปฏิสันถาร

129
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 130 (เล่ม 51)

แล้ว เริ่มจะประเล้าประโลม. พระเถระยืนอยู่ในอากาศ เพื่อจะให้นางรู้ความ
ที่ตนเป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่นาง ด้วยมุขคือการประกาศ
ข้อปฏิบัติ ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
เราละนิวรณ์ ๕ เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ
แล้วถือเอาแว่นธรรม คือญาณทัสสนะของตน ส่องดู
ร่างกายนี้ทั่วทั้งหมด ทั้งภายใน ภายนอก ร่างกาย
ของเรานี้ ปรากฏเป็นของว่างเปล่าทั้งภายในและภาย-
นอก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจ นิวรเณ หิตฺวา ความว่า ละ
คือ กำจัด นิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะเป็นต้น ด้วยการบรรลุฌาน.
บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา ความว่า เพื่อบรรลุพระนิพพาน
อันเป็นแดนเกษมจากโยคะทั้งหลาย ๔ มีกามโยคะเป็นต้น คือ อันโยคะเหล่านั้น
ไม่เข้าไปประทุษร้ายแล้ว.
บทว่า ธมฺมาทาสํ ได้แก่ แว่นอันเป็นองค์ธรรม. อธิบายว่า
กระจก ย่อมส่องให้เห็นคุณและโทษในรูปกายของผู้มองดูอยู่ฉันใด แว่นธรรม
กล่าวคือวิปัสสนาก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นญาณทัสสนะ เพราะเป็นเหตุให้รู้ความ
แตกต่างแห่งสามัญญลักษณะของธรรมทั้งหลาย ย่อมส่องให้เห็นคุณในกาย
ที่ชื่อว่าโดยแตกต่างกัน เพราะแจกแจงสังกิเลสธรรมอย่างแจ่มแจ้ง และยัง
การละสังกิเลสธรรมนั้นให้สำเร็จ สำหรับท่านที่พิจารณาเห็นอยู่ ด้วยเหตุนั้น
พระเถระจึงกล่าวว่า
ธมฺมาทาสํ คเหตฺวาน ญาณทสฺสนมตฺตโน
ปจฺจเวกฺขึ อิมํ กายํ สพฺพํ สนฺตรพาหิรํ

130
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 131 (เล่ม 51)

ถือเอาแว่นธรรม คือ ญาณทัสสนะของตน
ส่องดูร่างกายนี้ทั่วทั้งหมด ทั้งภายในภายนอก.
คือ ถือเอาแว่นธรรม แล้วพิจารณาโดยเฉพาะว่า ไม่เที่ยงบ้าง
เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง เห็นร่างกา คือ อัตภาพของเรานี้ อันเป็น
ที่ประชุมแห่งธรรม ชื่อว่าทั้งภายในภายนอก เพราะความเป็นอายตนะที่เป็นไป
ในภายในและภายนอก ทั้งหมดคือไม่มีส่วนเหลือ ด้วยญาณจักษุ ก็เราผู้เห็น
อยู่อย่างนี้ ทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ ร่างกายคืออัตภาพ กล่าวคือขันธ-
ปัญจกะ ที่เว้นสาระมีความเที่ยงเป็นต้น จึงชื่อว่าเป็นของว่างเปล่า เราได้เห็น
แล้วตามความเป็นจริงด้วยญาณจักษุ.
แท้จริง ขันธปัญจกะแม้ทั้งสิ้น ท่านเรียกว่ากาย ดังในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ เป็นที่มาประชุมของคนเขลา ผู้อันอวิชชาครอบงำ
แล้ว ประกอบแล้วด้วยตัณหาอย่างนี้.
ก็พระเถระเมื่อจะแสดงความที่ตนเป็นผู้มีกิจอันกระทำสำเร็จแล้วว่า
ขันธปัญจกะใดแลอันเราพึงเห็นในกายนี้ ขันธปัญจกะนั้นอันเราเห็นแล้ว ไม่มี
ส่วนใดๆ ของขันธปัญจกะนั้นที่เราจะต้องเห็นอีก ดังนี้ พยากรณ์พระอรหัตผล
แล้ว ด้วยบทว่า อทิสฺสถ นี้.
พระเถระแสดงธรรมแก่หญิงผู้เป็นภรรยาเก่าด้วยคาถาเหล่านี้ อย่างนี้-
แล้ว ยังนางให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์และศีลทั้งหลายแล้วส่งไป.
จบอรรถกถาปุณณมาสเถรคาถา

131
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 132 (เล่ม 51)

๗. นันทกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนันทกเถระ
[๒๘๔] ได้ยินว่า พระนันทกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
โคอาชาไนยที่ดี ถึงพลาดแล้วก็ตั้งตัวได้ ได้
ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ย่นย่อ นำภาระต่อไปได้
ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอา-
ชาไนยผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นสาวกของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่อุระแห่งพระพุทธเจ้า.
อรรถาถกานันทกเถรคาถา
คาถาของท่านพระนันทกเถระ เริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโญ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในปัจจันตประเทศ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นนายพรานป่า
เที่ยวไป วันหนึ่ง เห็นที่สำหรับจงกรมของพระศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส เกลี่ย-
ทราย (ให้เสมอ).
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
บังเกิดในตระกูลแห่งคฤหบดี ในจัมปานคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ คนทั้งหลาย

132
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 133 (เล่ม 51)

ตั้งชื่อเขาว่า นันทกะ. ส่วนพี่ชายของเขาชื่อว่า ภรตะ ประวิติตอนต้นของเขา
จักแจ่มแจ้งในเรื่องต่อไป แม้เขาทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังข่าวว่าท่าน-
พระโสณโกฬิวิสะบวชแล้ว พูดกันว่า แม้ขึ้นชื่อว่า พระโสณะเป็นสุขุมาลชาติ
เห็นปานนั้น ก็ยังบวช เราทั้งสองจะมัวลังเลอยู่ใย ? ดังนี้ บวชแล้ว บรรดา
พระเถระสองพี่น้องนั้น พระภรตเถระ เจริญวิปัสสนาแล้วได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖
ต่อกาลไม่นานนัก.
ส่วนพระนันทกเถระ ไม่อาจจะยังวิปัสสนาให้ก้าวสูงขึ้นได้ก่อนเพราะ
เหตุที่กิเลสทั้งหลายมีกำลัง ได้แก่กระทำกรรมในวิปัสสนาอย่างเดียว ลำดับนั้น
พระภรตเถระ รู้อาสยกิเลสของพระนันทกเถระผู้น้องชายประสงค์จะเป็นที่พึ่ง
พำนัก จึงให้พระนันทกเถระเป็นปัจฉาสมณะ (พระติดตาม) ออกจากวิหารแล้ว
นั่งที่ใกล้ทาง บอกวิปัสสนากถาแล้ว.
ก็โดยสมัยนั้น เมื่อพวกกองเกวียนเดินทางไป วัวที่เขาเทียมเกวียน
ตัวหนึ่ง ไม่สามารถจะยกเกวียนขึ้นในที่ ๆ เป็นหล่มได้ล้มลง. ลำดับนั้น
นายกองเกวียนจึงปลดมันออกจากเกวียน แล้วให้หญ้าและน้ำดื่ม ให้พักเหนื่อย
แล้วเทียมที่แอกอีก ลำดับนั้น โคพักหายเหนื่อยแล้ว พอมีกำลัง ก็ยกเกวียน
นั้นขึ้นจากที่หล่มให้ตั้งอยู่ในทางได้.
ลำดับนั้น พระภรตเถระ จึงแสดงโคนั้นเป็นตัวอย่างแก่พระนันทกะว่า
ดูก่อนอาวุโสนันทกะ เธอเห็นการกระทำของโคนี้หรือไม่ เมื่อพระนันทกะ
ตอบว่า เห็นขอรับ จึงกล่าวว่า เธอจงใคร่ครวญความข้อนี้ให้จงดี พระนันทก-
เถระ กระทำโคนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ว่า โคนี้พักเหนื่อยแล้ว ย่อมยกของ
หนักออกจากที่ซึ่งเป็นหล่มได้ ฉันใด แม้เราก็พึงยกตนออกจากหล่มคือสงสาร
ฉันนั้น ดังนี้แล้ว การทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า

133
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 134 (เล่ม 51)

เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ เราเที่ยวหาเนื้อสมัน
อยู่ในอรัญราวป่า ได้พบที่จงกรม เรามีจิตเลื่อมใส
มีใจโสมนัส กอบเอาทรายใส่พกมาโรยลง ในที่จงกรม
ของพระสุคตเจ้าผู้มีสิริ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้โรยทราย (ในที่จงกรม) ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งทราย. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ในสำนักของพระภรตเถระผู้เป็นพี่ชายของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
โคอาชาไนยที่ดี ถึงพลาดแล้วก็ตั้งตัวได้ ได้
ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ย่นย่อ นำภาระต่อไปได้
ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น
อาชาไนย ผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นสาวกของพระ-
สัมมาสัมพุพธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่อุระแห่งพระพุทธ-
เจ้า ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย ลทฺธาน สํเวคํ อทีโน วหเต
ธุรํ ความว่า ได้ความสลดใจว่า การไม่นำภาระอันมาถึง (เฉพาะ) นี้ไปนั้น
เป็นสิ่งไม่เหมาะสำหรับเราผู้มีกำลังและความเพียรโดยชาติเลย ดังนี้แล้ว เป็นผู้
ไม่ย่นย่อ คือ มีใจไม่ท้อถอย ได้แก่ มีจิตไม่ห่อเหี่ยว. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า
อลีโน (ก็มี). ความก็อันนั้นแหละ คือ นำไป ได้แก่ เข็นไปซึ่งธุระคือภาระ
ของตนโดยยิ่ง คือ ยิ่งกว่าประมาณได้บ่อย ๆ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวไว้ใน
อรรถกถาแห่งรมณียวิหาริเถรคาถา หนหลังแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถานันทกเถรคาถา

134
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 135 (เล่ม 51)

๘. ภรตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภรตเถระ
[๒๘๕] ได้ยินว่า พระภรตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
มาเถิดนันทกะ เราจงพากันไปยังสำนักของพระ
อุปัชฌายะเถิด เราจักบันลือสีหนาท เฉพาะพระพักตร์
ของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ผู้เป็นมุนี มีความเอ็นดูเรา ทรงให้บรรพชาเพื่อ
ประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น เราก็ได้บรรลุแล้ว
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุแล้ว.
อรรถกถาภรตเถรคาถา
คาถาของท่านพระภรตเถระ เริ่มต้นว่า เอหิ นนฺทก คจฺฉาม.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินมาว่า พระเถระนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้
มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง
ถือเอาคู่แห่งรองเท้า น่าพึงใจและน่าดู มีสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สวมใส่สบาย
เดินทางไป เห็นพระศาสดากำลังทรงจงกรมอยู่ มีใจเลื่อมใส น้อมเอารองเท้า
เข้าไปถวาย กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงสวมรองเท้า อันจะ

135