No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 116 (เล่ม 51)

อธิบายว่า โพชฌงค์ ๗ ของพระอริยบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ใน
สติปัฏฐานทั้งหลาย ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาแน่นอน มรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐ ก็เหมือนกัน.
สมจริงดังที่พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร กล่าวไว้ว่า ในบรรดา
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อันประกอบด้วยโกฏฐาส ๗ เมื่อโกฏฐาส
หนึ่ง ถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา ขึ้นชื่อว่าโกฏฐาสนอกนี้ จะไม่ถึงความ
บริบูรณ์ด้วยภาวนาไม่มี เพราะพระบาลีมีอาทิว่า พระอริยบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น
ดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔ ยังโพชฌงค์ ๗ ให้เจริญแล้ว ตามความเป็นจริง
ดังนี้. บทว่า ภาวยํ ความว่า มีการเจริญเป็นเหตุ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโสภิตเถรคาถา
๔. วัลลิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัลลิยเถระ
[๒๘๐] ได้ยินว่า พระวัลลิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
สิ่งใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่นพึงทำ กิจใดอัน
บุคคลผู้ปรารถนาจะตรัสรู้พึงทำ เราจักทำกิจนั้น ๆ
ไม่ให้ผิดพลาดตามคำพร่ำสอน ขอท่านจงดูความเพียร
ความบากบั่นของเรา อนึ่ง ขอท่านจงบอกหนทางอัน
หยั่งลงสู่อมตมหานิพพานให้เรา เราจักรู้ด้วยปัญญา
เหมือนกระแสแห่งแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร ฉะนั้น.

116
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 117 (เล่ม 51)

อรรถกถาวัลลิยเถรคาถา
คาถาของท่านพระวัลลิยเถระ เริ่มต้นว่า ยํ กิจฺจํ ทฬฺหวิริเยน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จ
ในวิชาและศิลปศาสตร์ ละสมบัติ ๘๐ โกฎิ บวชเป็นดาบส ให้เขาสร้าง
อาศรมไว้ที่ริมฝั่งน้ำแห่งหนึ่ง ที่ชัฏป่าใกล้เชิงเขา แล้วอยู่ เห็นพระศาสดา
ผู้เสด็จเข้าไป เพื่อจะทรงอนุเคราะห์ตน มีใจเลื่อมใส ลาดหนังเสือ (เป็น
อาสนะ) ถวาย บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งบนหนังเสือนั้น ด้วย
ดอกไม้และจันทน์ ถวายผลมะม่วง แล้วถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประกาศสมบัติอันจะพึงได้ เพราะถวายอาสนะที่
ประทับนั่ง ทรงกระทำอนุโมทนาแก่ดาบสแล้วเสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ ในพระนครไพศาลี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า กัณหมิตร
เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวที่พระศาสดาเสด็จไปพระนครไพศาลี
ได้มีจิตศรัทธาบวชในสำนักของพระมหากัจจานเถระ ท่านเป็นผู้มีปัญญาอ่อน
และย่อหย่อนในความเพียร อาศัยเพื่อนสพรหมจารี ผู้มีความรู้อยู่ตลอดกาลนาน.
ภิกษุทั้งหลาย ก็เรียกท่านตามลักษณนิสัยว่า วัลลิยะ นั้นเทียว
เพราะเหตุที่ท่านไม่อาศัยภิกษุผู้เป็นบัณฑิตบางรูป ก็ไม่สามารถจะเจริญ
งอกงามได้ เหมือนเถาวัลย์ ถ้าไม่อาศัยบรรดาพฤกษชาติ มีต้นไม้เป็นต้น

117
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 118 (เล่ม 51)

บางชนิด ก็ไม่สามารถจะเจริญเติบโคได้ฉะนั้น. แต่ในเวลาต่อมา ท่านเข้าไป
หาพระเวณุทัตตเถระ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ เมื่อจะถามพระเถระถึงลำดับแห่งข้อปฏิบัติ เพราะมีญาณแก่กล้า จึงได้
กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
สิ่งใดอันบุคคลผู้มีความเพียรมั่นพึงทำ กิจใดอัน
บุคคลปรารถนาจะตรัสรู้พึงทำ เราจักทำกิจนั้น ๆ
ไม่ให้ผิดพลาด ตามคำพร่ำสอนของท่าน จงดูความ
เพียรความบากบั่นของเรา อนึ่ง ขอท่านจงบอกหนทาง
อันหยั่งลงสู่อมตมหานิพพานให้เรา เราจักรู้ด้วย
ปัญญา เหมือนกระแสแห่งแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาคร
ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ กิจฺจํ ทฬฺหวิริเยน ความว่า สิ่งใด
อันบุคคลผู้มีความเพียรมั่น คือมีความขยันขันแข็งพึงทำ ได้แก่ กิจใดอันบุคคล
พึงทำ คือพึงปฏิบัติด้วยความเพียรมั่น หรือด้วยการเอาใจใส่ธุระของบุรุษ.
บทว่า ยํ กิจฺจํ โพทฺธุมิจฺฉตา ความว่า กิจใดอันบุคคลผู้ปรารถนา
เพื่อจะรู้คือตรัสรู้ คือใคร่จะแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือพระนิพพานนั่นแหละ
พึงกระทำ.
บทว่า กริสฺสํ นาวรชฺฌิสฺสํ ความว่า บัดนี้ เราจักทำกิจนั้น ๆ
ไม่ให้ผิดพลาด คือ จักปฏิบัติตามคำสั่งสอน.
บทว่า ปสฺส วิริยํ ปรกฺกมํ ความว่า พระเถระแสดงความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำของตน ด้วยคำว่า ท่านจงดูความพยายามชอบ อันได้นามว่า " วิริยะ "
เพราะกระทำถูกต้องตามวิธี ในธรรมตามที่ปฏิบัติอยู่ และได้นามว่า ปรักกมะ
เพราะก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่แต่เพียงเชื่อเท่านั้น.

118
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 119 (เล่ม 51)

พระเถระเรียกพระเวณุทัตตเถระ ผู้ให้กรรมฐาน ผู้เป็นกัลยาณมิตร
ว่า ตวํ (ท่าน).
บทว่า มคฺคมกฺขาหิ ความว่า ท่านจงบอกอริยมรรค. อธิบายว่า
จงบอกกรรมฐานคือสัจจะ ๔ อันยังโลกุตรมรรคให้ถึงพร้อม.
บทว่า อญฺชสํ ได้แก่ ทางตรง โดยเป็นทางสายกลาง เพราะไม่
จดทางอันเป็นส่วนสุด ๒ อย่าง.
บทว่า โมเนน ได้แก่ ญาณ คือ มรรคปัญญา.
บทว่า โมนิสฺสํ ความว่า จักรู้ คือ จักแทงตลอด ได้แก่จักบรรลุ
พระนิพพาน.
บทว่า คงฺคาโสโตว สาครํ ความว่า กระแสแห่งแม่น้ำคงคา
ไม่เบื่อหน่ายไหลลงสู่สาครคือสมุทร โดยส่วนเดียว ฉันใด พระวัลลิยเถระก็
ฉันนั้น ขอกรรมฐานกะพระเถระว่า ข้าพเจ้าประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐาน
จักบรรลุถึงพระนิพพาน ด้วยมรรคญาณ เพราะฉะนั้น ท่านจงบอกกรรมฐาน
นั้น แก่ข้าพเจ้า.
พระเวณุทัตตเถระ ฟังคำขอนั้น แล้ว ได้ให้กรรมฐานแก่ท่านพระ-
วัลลิยเถระ. แม้ท่านพระวัลลิยเถระ หมั่นประกอบเนือง ๆ ซึ่งกรรมฐาน
ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์ใจ และ
ละทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฎิแล้ว บวชเป็นบรรพชิต
ครั้น บวชแล้ว ได้เว้นการทำความชั่วด้วยกาย ละความ
ประพฤติชั่วด้วยวาจา อยู่แทบฝั่งแม่น้ำ พระพุทธเจ้า

119
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 120 (เล่ม 51)

ผู้ประเสริฐสุด ได้เสด็จมาหาเราผู้อยู่คนเดียว เราไม่
รู้จักว่าเป็นพระพุทธเจ้า เราได้ทำปฏิสันถาร ครั้นทำ
ปฏิสันถารแล้ว จึงได้ทูลถามถึงพระนามและพระ-
โคตรว่า ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าว
สักกปุรินททะ ท่านเป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร
หรือเป็นท้าวมหาพรหมมาในที่นี้ ย่อมสว่างไสวไป
ทั่วทิศ เหมือนพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้
นิรทุกข์ จักรมีกำพันหนึ่งปรากฏที่เท้าของท่าน ท่าน
เป็นใคร เป็นบุตรของใคร เราจักรู้จักท่านอย่างไร
ขอท่านจงบอกชื่อและโคตร บรรเทาความสงสัยของ
เราเถิด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เราไม่ใช่เทวดา
ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ และความ
เป็นพรหมก็หามีแก่เราไม่ เราสูงสุดกว่าพรหมเหล่านั้น
ล่วงวิสัยของพรหมเหล่านั้น เราได้ทำลายเครื่องผูกพัน
คือกามได้แล้ว เผากิเลสเสียหมดสิ้น บรรลุสัมโพธิ-
ญาณอันอุดมแล้ว. เราได้สดับพระดำ รัสของพระองค์
แล้ว จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี ถ้าพระองค์
เป็นพระสัพพัญญู พุทธเจ้า ขอเชิญพระองค์ประทับ
นั่งเถิด ข้าพระองค์จะขอบูชาพระองค์ ขอพระองค์
จงทำที่สุดทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด.
เราได้ลาดหนังเสือถวายพระศาสดาแล้ว พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือหนังเสือนั้น ดังสีหราช
นั่งอยู่ที่ซอกภูเขาฉะนั้น เราขึ้นภูเขาเก็บเอาผลมะม่วง

120
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 121 (เล่ม 51)

ดอกรังอันสวยงาม และแก่นจันทน์อันมีค่ามาก เรา
ถือประคองของทั้งหมด เข้าไปเฝ้าพระผู้นำของโลก
ถวายผลไม้แด่พระพุทธเจ้า แล้วเอาดอกรังบูชา ก็เรา
มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส มีปีติอันไพบูลย์ ได้เอา
แก่นจันทน์ลูบไล้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาผู้นำของ
โลก พระนามว่า สุเมธะ ประทับนั่งบนหนังเสือ เมื่อ
จะยังเราให้ร่าเร้ง ได้ทรงพยากรณ์กรรมของเราใน
ครั้งนั้นว่า ด้วยการถวายผลไม้กับของหอม และ
ดอกไม้ทั้งสองอย่างนี้ ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
๒,๕๐๐ กัป เขาจักเป็นผู้มีความดำริทางใจไม่บกพร่อง
ยังอำนาจให้เป็นไป ในกัปที่ ๒,๖๐๐ จักไปสู่ความ
เป็นมนุษย์ จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรง
มหิทธิฤทธิ์ มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต วิสสุกรรม
เทพบุตร นิรมิตพระนคร อันมีนามว่า เวภาระ จัก
ให้พระนครนั้นสำเร็จด้วยทองล้วน ๆ ประดับประดา
ด้วยรัตนะนานาชนิด เขาจักท่องเที่ยวไปยังกำเนิด
ทั้งหลาย โดยอุบายนี้เทียว เขาจักเป็นผู้ถึงความสุข
ในทุกภพ คือในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เมื่อถึง
ภพสุดท้าย เขาจักเป็นบุตรพราหมณ์ จักออกบวช
เป็นบรรพชิต จักเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ไม่มีอาสวะ
ปรินิพพาน พระสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ
ผู้นำของโลก ครั้นตรัสดังนี้ เมื่อเรากำลังเพ่งดูอยู่
ได้เสด็จเหาะไปในอากาศ ด้วยกรรมที่ทำไว้ดีแล้วนั้น

121
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 122 (เล่ม 51)

และด้วยความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้
เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจากดุสิตแล้ว ไปเกิดใน
ครรภ์ของมารดา ในครรภ์ที่เราอยู่ ไม่มีความบกพร่อง
ด้วยโภคทรัพย์แก่เราเลย เมื่อเรายังอยู่ในครรภ์ของ
มารดา ข้าว น้ำ โภชนาหารเกิดตามความปรารถนา
แก่มารดาของเราตามใจชอบ เราออกบวชเป็นบรรพชิต
แต่อายุ ๕ ขวบ เมื่อปลงผมเสร็จเราก็ได้บรรลุพระ-
อรหัต เราค้นหาบุรพกรรมอยู่ ก็มิได้เห็นโดยกัปที่
ใกล้ ๆ (แต่) เราระลึกถึงกรรมของเราได้ถึง ๓๐,๐๐๐
กัป ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระองค์
ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าพระองค์อาศัยคำสอนของ
พระองค์ จึงได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว ในกัปที่
๓๐,๐๐๐ เราบูชาพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ด้วยการ
บูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระพุทธเจ้า. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ก็ได้กล่าวคาถาเหล่านี้แหละ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาวัลลิยเถรคาถา*
* ในอปทานเรียกชื่อว่า จันทนมาลิยเถรคาถา

122
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 123 (เล่ม 51)

๕. วีตโสกเถรคาถา
ว่าด้วยคำ ถาของพระวีตโสกเถระ
[๒๘๒] ได้ยินว่า พระวีตโสกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผม
ของเรา เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดู
ร่างกาย ร่างกายของเรานี้ได้ปรากฏเป็นของว่างเปล่า
ความมืดคืออวิชชา ในกายอันเป็นต้นเหตุแห่งความ
มืดมน ได้หายหมดสิ้นไป กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เรา
ตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.
อรรถกถาวีตโสกเถรคาถา
คาถาของท่านพระวีตโสกเถระ เริ่มต้นว่า เกเส เม โอลิขิสฺสนฺติ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญมากมายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ถึงความสำเร็จในวิชา
และศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ แล้วละกามทั้งหลาย บวชเป็นฤๅษี อันหมู่ฤๅษี
เป็นอันมากแวดล้อมแล้ว อยู่ในป่า สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า
ร่าเริงยินดีแล้ว ดำริว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาโอกาสเฝ้า

123
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 124 (เล่ม 51)

ได้ยาก อุปมาเหมือนดอกมะเดื่อ เราควรเข้าเฝ้าในบัดนี้แหละ ดังนี้แล้ว
แล้วเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับบริษัทหมู่ใหญ่ เมื่อเหลือทางอีกหนึ่ง
โยชน์ครึ่งจะถึงก็ล้มป่วยถึงความตาย โดยสัญญา อันส่งไปแล้วในพระพุทธเจ้า
บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เกิดเป็นน้องชายคนเล็กของพระเจ้าธรรมาโศกราช ในที่สุดแห่งปีพุทธศักราช
๒๑๘ ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านได้มีพระนามว่า วีตโสกะ.
วีตโสกราชกุมาร เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปศาสตร์
ที่พึงศึกษาร่วมกับขัตติยกุมารทั้งหลายแล้ว (ศึกษาจนแตกฉานเชี่ยวชาญ)
แกล่วกล้าในสุตตันตปิฎกและในพระอภิธรรมปิฎก ทั้ง ๆ ที่เป็นคฤหัสถ์ โดย
อาศัยพระคิริทัตตเถระ วันหนึ่งรับกระจกจากมือของช่างกัลบก ในเวลาปลง
พระมัสสุ มองดูพระวรกาย เห็นอวัยวะที่มีหนังเหี่ยวและผมหงอกเป็นต้น
บังเกิดความสลดพระทัย ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา แล้วยกขึ้นสู่ภาวนา เป็น
พระโสดาบัน บนอาสนะนั้นเอง บวชในสำนักของพระคิริทัตตเถระ แล้ว
บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
เราเป็นคนเล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท
ชำ นาญในคัมภีร์ทำ นายมหาปุริสลักษณะ คัมภีร์อิติ
หาสะพร้อมด้วยคัมภีร์นิคัณฑุศาสตร์และคัมภีร์เกตุภ-
ศาสตร์ ครั้งนั้นพวกศิษย์มาหาเราปานดังกระแสน้ำ
เราไม่เกียจคร้าน บอกมนต์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลาง
วันและกลางคืน ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้า ทรง
พระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์

124
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 125 (เล่ม 51)

ทรงกำจัดความมืดมิดให้พินาศแล้ว ยังแสงสว่างคือ
พระญาณให้เป็นไป ครั้งนั้น ศิษย์ของเราคนหนึ่ง ได้
บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของเรา พวกเขาได้ฟังความนั้น
จึงได้บอกเรา เราคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้เป็น
นายกของโลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ชนย่อมอนุวัตรตาม
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราไม่มีลาภ พระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย มีจักษุ ทรงยศใหญ่
ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด
เป็นผู้นำของโลก เราถือหนังเสือผ้าเปลือกไม้กรอง
และคนโทน้ำของเราแล้ว ออกจากอาศรม เชิญชวน
พวกศิษย์ว่า ความเป็นผู้นำโลกหาได้ยาก เหมือนกับ
ดอกมะเดื่อ กระต่ายในดวงจันทร์ หรือเหมือนกับน้ำ
นมกา ฉะนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก
แม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก และเมื่อความเป็นผู้นำ
โลก และความเป็นมนุษย์ทั้งสองอย่างมีอยู่ การได้
ฟังธรรมก็หาได้ยาก พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
พวกเราจักได้ดวงตาอันเป็นของพวกเรา มาเถิดท่าน
ทั้งหลาย เราจักไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า ด้วยกัน
ทุกคน ศิษย์ทุกคนแบกคนโทน้ำ นุ่งหนังเสือทั้งเล็บ
พวกเขาเต็มไปด้วยภาระ คือ ชฎา พากันออกไปจากป่า
ใหญ่ในครั้งนั้น พวกเขามองดูประมาณชั่วแอก แสวง
หาประโยชน์อันสูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง เป็นผู้

125