No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 106 (เล่ม 51)

เราเป็นผู้ประกอบด้วยบุญกรรม เข้าถึงสวรรค์ชั้นดุสิต
ซากศพของเราตกไป ส่วนเรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลก
นางเทพอัปสร ๘๔,๐๐๐ นาง ล้วนประดับประดาสวย-
งาม ต่างก็บำรุงเราทุกเช้าเย็น นี้เป็นผลแห่งการถวาย
เหง้าบัว ครั้งนั้น เรามาสู่กำเนิดมนุษย์ เป็นผู้ถึงความสุข
ความบกพร่องในโภคทรัพย์ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผล
แห่งการถวายเหง้าบัว เราอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐกว่าทวยเทพ ผู้คงที่ พระองค์นั้นทรงอนุ-
เคราะห์แล้ว จึงเป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวง บัดนี้ภพใหม่
ไม่มีอีก ในกัปที่แสนแต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายเหง้าบัว
ใดในกาลนั้น ด้วยการถวายเหง้าบัวนั้น เราไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้าบัว. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อภัททชิกุมารนั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว พระศาสดาตรัสเรียก
ภัททิยเศรษฐีมาว่า บุตรของท่าน ประดับตกแต่งแล้ว ฟังธรรมอยู่ ตั้งอยู่ใน
พระอรหัตแล้ว ด้วยเหตุนั้น การบวชของภัททชิกุมารนั้น ในบัดนี้เท่านั้น
สมควรแล้ว ถ้าไม่บวช จักต้องปรินิพพาน ดังนี้. ท่านเศรษฐี กราบทูลว่า
เมื่อบุตรของข้าพระองค์ยังเล็กอยู่เช่นนี้ ยังไม่ควรปรินิพพาน ขอพระองค์จง
ทรงยังเขาให้บวชเถิด พระศาสดาทรงยังภัททชิกุมารให้บรรพชาแล้วให้อุปสมบท
เสด็จประทับอยู่ในภัททิยนครนั้นตลอด ๗ วัน แล้วเสด็จถึงโกฏิคาม ก็บ้าน
(โกฏิคาม) นั้นอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ชาวบ้านโกฏิคาม บำเพ็ญมหาทานถวาย
ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.

106
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 107 (เล่ม 51)

พระภัททชิเถระ พอเมื่อพระศาสดาทรงปรารภเพื่อจะทรงกระทำอนุ-
โมทนา ก็ออกไปนอกบ้าน คิดว่า เราจักออกจากสมาบัติ ในเวลาที่พระศาสดา
เสด็จมาใกล้ทางที่ฝั่งน้ำคงคา แล้วนั่งเข้าสมาบัติ. แม้เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย
มาถึงก็ยังไม่ออกจากสมาบัติ ในเวลาที่พระศาสดาเสด็จมาแล้วนั่นแหละจึงออก
ภิกษุผู้เป็นปุถุชนทั้งหลาย พากันกล่าวยกโทษว่า พระภัททชินี้ บวชได้ไม่นาน
เมื่อพระมหาเถระทั้งหลายมาถึง กลับเป็นผู้กระด้างเพราะมานะ ไม่ยอมออกจาก
สมาบัติ พวกชาวโกฏิคาม ผูกเรือขนานจำนวนมากเพื่อพระศาสดาและภิกษุสงฆ์
พระศาสดาทรงพระดำริว่า เอาเถิด เราจักประกาศอานุภาพของพระภัททชิเถระ
ดังนี้แล้ว ประทับยืนบนเรือขนาน ตรัสถามว่า ภัททชิอยู่ไหน ? พระภัทท-
ชิเถระ ขานรับว่า ข้าพระองค์ภัททชิอยู่นี่พระพุทธเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระ
ศาสดา ประนมมือยืนอยู่แล้ว พระศาสดาตรัสว่า มาเถิดภัททชิ ท่านจงขึ้น
เรือลำเดียวกันกับเรา พระภัททชิเถระ เหาะขึ้นแล้วไปยืนอยู่ในเรือลำที่พระ-
ศาสดาประทับ ในเวลาที่เรือไปถึงกลางแม่น้ำคงคา พระศาสดาตรัสว่า
ภัททชิ รัตนปราสาทที่เธอเคยอยู่ในเวลาที่เธอเป็นพระราชามีนามว่า มหาปนาทะ
อยู่ตรงไหน ? พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า
ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย.
ในขณะนั้น พระเถระ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปด้วยกำลังฤทธิ์
ยกยอดปราสาทขึ้นด้วยหัวแม่เท้าแล้วชะลอปราสาท สูง ๒๕ โยชน์ เหาะขึ้น
บนอากาศ และเมื่อเหาะขึ้นได้ ๕๐ โยชน์ ก็ยกปราสาทขึ้นพ้นจากน้ำ ลำดับนั้น
ญาติทั้งหลายในภพก่อนของท่าน เกิดเป็นปลาเป็นเต่าและเป็นกบ ด้วยความ
โลภอันเนื่องอยู่ในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกขึ้นก็หล่นตกลงไปในน้ำ
พระศาสดาเห็นสัตว์เหล่านั้นตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ ญาติทั้งหลายของเธอ
จะลำบาก. พระเถระจึงปล่อยปราสาท ตามคำของพระศาสดา ปราสาทกลับ

107
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 108 (เล่ม 51)

ตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเทียว. พระศาสดาเสด็จถึงฝั่ง อันภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทนี้ พระภัททชิเถระเคยอยู่เมื่อไร พระเจ้าข้า
จึงตรัสมหาปนาทชาดก แล้วยังมหาชนให้ดื่มน้ำอมฤต คือ พระธรรม. ก็พระ-
เถระครั้นแสดงปราสาททอง อันตนเคยอยู่อาศัยแล้ว พรรณนาด้วยคาถาทั้ง ๒
พยากรณ์พระอรหัตผลว่า
พระเจ้าปนาทะ มีปราสาททอง กว้างโยชน์กึ่ง
สูง ๒๕ โยชน์ มีชั้นพันชั้น ร้อยพื้น สร้างสลอนไป
ด้วยธง แวดล้อมไปด้วยแก้วมณีสีเขียวเหลือง ใน
ปราสาทนั้น มีคนธรรพ์ ประมาณหกพัน แบ่งเป็น
๗ พวก พากันฟ้อนรำอยู่ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปนาโท นาม โส ราชา ความว่า
พระเถระแสดงตนเหมือนคนอื่น เพราะความเป็นผู้มีอัตภาพอันตรธานแล้วว่า
ในอดีตกาลได้มีพระราชาทรงพระนามว่า ปนาทะ อธิบายว่าพระราชาพระ-
องค์นั้นแหละ ปรากฏพระนามว่า พระเจ้ามหาปนาทะ เพราะมีราชานุภาพมาก
และเพราะเป็นผู้ประกอบไปด้วยกิตติศัพท์ อันเกรียงไกรโดยนัยมีอาทิว่า
จำเดิมแต่เสวยราชย์ ทรงมีสมบัติคือพระอุตสาหะทุกเมื่อ ดังนี้.
บทว่า ยสฺส ยูโป สุวณฺณิโย ความว่า ปราสาทสำเร็จด้วยทองนี้
ของพระราชาใด.
บทว่า ตีริยํ โสฬสุพฺเพโธ ความว่า กว้างประมาณชั่วลูกศรตก
๑๖ ครั้ง ก็ปราสาทนั้นกว้างประมาณกึ่งโยชน์.

108
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 109 (เล่ม 51)

บทว่า อุจฺจมาหุ สหสฺสธา ความว่า เบื้องบน คือ ส่วนสูงของ
ปราสาทนั้น พันชั้น คือ ประมาณพันช่วงลูกศร ก็ปราสาทนั้นสูงประมาณ
๒๕ โยชน์ ก็ในคาถานี้ อาจารย์บางพวกกล่าวอธิบายว่า เพื่อความสะดวกใน
การประพันธ์คาถาท่านจึงทีฆะอหุเป็นอาหุ ได้รูปเป็นอาหุ.
บทว่า สหสฺสกณฺโฑ ได้แก่ มีชั้นพันชั้น.
บทว่า สตเคณฺฑุ ความว่า มีพื้น (หอคอย) หลายร้อย.
บทว่า ธชาลุ ความว่า สมบูรณ์ด้วยธงที่ติดที่ปลายไม้และธงปฎาก
เป็นต้น ที่เขาปักไว้ที่เนินเขาเป็นต้นนั้น ๆ.
บทว่า หริตามโย ความว่า สำเร็จด้วยทองคำธรรมชาติ. แต่
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คล้ายแก้วมณีสีเขียวสดธรรมชาติ.
บทว่า คนฺธพฺพา ได้แก่ นางฟ้อน.
บทว่า ฉ สหสฺสานิ สตฺตธา ความว่า คนธรรพ์ประมาณ
๖,๐๐๐ แบ่งเป็น ๗ กลุ่ม พากันฟ้อนรำ เพื่อสร้างความอภิรมย์แก่พระราชา
ในที่ทั้ง ๗ แห่ง.
คนธรรพ์เหล่านั้น แม้ร่ายรำอยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจทำพระราชาให้รื่นเริง
ได้ ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงส่งเหล่านางเทพอัปสร ผู้ชำนาญในการ
ร่ายรำ ไปให้แสดงมหรสพ ในครั้งนั้น พระราชาจึงทรงพระสำราญ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาภัททชิเถรคาถา

109
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 110 (เล่ม 51)

๓. โสภิตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโสภิตเถระ
[๒๘๐] ได้ยินว่า พระโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้มีสติ มีปัญญา ปรารภความเพียรเป็น
กำลัง ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว เรา
เจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ระลึกชาติ
ก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว.
อรรถกถาโสภิตเถรคาถา
คาถาของท่านพระโสภิตเถระ เริ่มต้นว่า สติมา ปญฺญวา. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนคร
หงสาวดี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้ง
ภิกษุรูปหนึ่ง ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้บุพเพนิวาส-
ญาณ กระทำความปรารถนามุ่งตำแหน่งนั้น แม้ด้วยตนเอง ท่องเที่ยวไปใน
สุคติภพเท่านั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จ ในภาควิชาการและ

110
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 111 (เล่ม 51)

ศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ทั้งหลาย มีใจน้อมไปในเนกขัมมะ ละฆราวาสวิสัย
แล้วบวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรมไว้ที่ชัฏแห่งป่า ใกล้ภูเขาหิมวันต์ ยัง
อัตภาพให้เป็นไป ด้วยมูลผลาผลในป่า สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระ
พุทธเจ้า เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ที่ภัททวดีนคร ด้วยการพักอยู่ร่วมกันเพียง
ราตรีเดียวเท่านั้น ก็เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา
๖ คาถา มีอาทิว่า ตุวํ สตฺถา จ เกตุ จ พระองค์เป็นศาสดา เป็น
จอมเกตุ ดังนี้ และพระศาสดาก็ทรงประกาศยกย่องพระดาบส. ด้วยบุญกรรม
นั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์
พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. คนทั้งหลายได้ตั้งชื่อเขาว่า โสภิตะ.
โดยสมัยต่อมา เขาฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา
บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ และได้เป็นผู้มีวสีอันปฏิบัติ
แล้ว (มีความชำนาญพิเศษ) ในบุพเพนิวาสญาณ. สมดังคาถาประพันธ์ที่
ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราสร้างอาศรมอย่างสวยงามไว้ ณ ทิศทักษิณ
แห่งภูเขาหิมวันต์ ครั้งนั้น เราแสวงหาประโยชน์อัน
สูงสุด จึงอยู่ในป่าใหญ่ เรายินดีด้วยลาภและความ
เสื่อมลาภ คือด้วยเหง้ามันและผลไม้ ไม่เบียดเบียน
ใคร ๆ เที่ยวไป เราอยู่คนเดียว ครั้งนั้น พระสัม
พุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน
โลก พระองค์กำลังรื้อขนมหาชน ประกาศสัจจะอยู่
เรานี้ได้สดับข่าวพระสัมพุทธเจ้า ถึงใคร ๆ ที่จะบอก
กล่าวให้เรารู้ก็ไม่มี เมื่อล่วงไปได้ ๘ ปี เราจึงได้
สดับข่าวพระนายกของโลก เรานำเอาไฟและฟืนออก

111
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 112 (เล่ม 51)

ไปแล้ว กวาดอาศรม ถือเอาหาบสิ่งของออกจากป่าไป
ครั้งนั้น เราพักอยู่ในบ้าน และนิคมแห่งละคืน เข้าไป
ใกล้พระนครจันทวดี โดยลำดับ สมัยนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ผู้นำของโลกพระนามว่า สุเมธะ กำลังรื้อขน
เป็นอันมาก ทรงแสดงอมตบท เราได้ผ่านหมู่ชนไป
ถวายบังคมพระชินเจ้า ผู้เสด็จมาดี ทำหนังสัตว์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วสรรเสริญพระผู้นำของโลกว่า
พระองค์เป็นพระศาสดา เป็นจอมเกตุ เป็นธงชัยและ
เป็นสายัญของหมู่สัตว์ เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่พึ่ง
และเป็นที่เกาะของหมู่สัตว์ เป็นผู้สูงสุดกว่าประชา.
พระองค์เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ในทัสสนะ ทรง
ช่วยประชุมชนให้ข้ามพ้นไปได้ ข้าแต่พระมุนี ผู้อื่น
ที่จะช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นไปได้ ยิ่งกว่าพระองค์ไม่มีใน
โลก สาครแสนลึกที่สุด ก็พึงอาจที่จะประมาณได้
ด้วยปลายหญ้าคา ข้าแต่พระสัพพัญญู ส่วนพระญาณ
ของพระองค์ ใคร ๆ ไม่อาจประมาณได้เลย แผ่นดิน
ก็อาจที่จะวางในตราชั่งแล้วกำหนดได้ ข้าแต่พระองค์
ผู้มีจักษุ แต่สิ่งที่เสมอกับพระปัญญาของพระองค์ไม่
มีเลย อากาศก็อาจจะวัดได้ด้วยเชือกและนิ้วมือ ข้า
แต่พระสัพพัญญู ส่วนศีลของพระองค์ใคร ๆ ไม่อาจ
จะประมาณได้เลย น้ำในมหาสมุทร อากาศและพื้น
ภูมิภาค ๓ อย่างนี้ ประมาณเอาได้ ข้าแต่พระองค์
ผู้มีจักษุ พระองค์ย่อมเป็นผู้อันใคร ๆ จะประมาณ

112
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 113 (เล่ม 51)

เอาไม่ได้ เรากล่าวสรรเสริญพระสัพพัญญู ผู้มีพระ
ยศใหญ่ ด้วยคาถา ๖ คาถาแล้ว ประนมกรอัญชลี
ยืนนิ่งอยู่ในเวลานั้น พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาเสมอ
ด้วยแผ่นดินเป็นเมธีชั้นดี เขาขนานพระนามว่าสุเมธะ
ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ตรัสพระ-
คาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดมีใจเลื่อมใส ได้กล่าวสรรเสริญ
ญาณของเรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง
เรากล่าว ผู้นี้จะรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๓๗ กัป จักเป็น
จอมเทวดาเสวยราชสมบัติอยู่ในเทวโลก ๑,๐๐๐ ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเกิน ๑๐๐ ครั้ง และจักได้
เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้
เขาเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็นผู้ตั้งมั่นในบุญกรรม
จักเป็นผู้มีความดำริแห่งใจไม่บกพร่อง มีปัญญากล้า
ในสามหมื่นกัป พระศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ
ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้น
ในโลก ผู้นี้จักไม่มีความกังวล ออกบวชเป็นบรรพชิต
จักบรรลุพระอรหัต แต่อายุ ๗ ขวบ ในระหว่างที่เรา
ระลึกถึงตน และได้บรรลุศาสนธรรม เจตนาที่ไม่น่า
รื่นรมย์ใจ เราไม่รู้จักเลย เราท่องเที่ยวไปเสวยสมบัติ
ในภพน้อยภพใหญ่ ความบกพร่องในโภคทรัพย์ ไม่มี
แก่เราเลย นี้เป็นผลในการสรรเสริญพระญาณ ไฟ ๓

113
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 114 (เล่ม 51)

กอง เราดับสนิทแล้ว เราถอนภพทั้งปวงขึ้นหมดแล้ว
เราเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกอย่างแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีก
ในกัปที่สามหมื่น เราได้สรรเสริญพระญาณใดด้วยการ
สรรเสริญนั้น เราไม่รู้จะจักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
สรรเสริญพระญาณ. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณ
ของตนโดยลำดับ ได้เห็นจนถึงอจิตตกปฏิสนธิ ในอสัญญภพ แต่นั้นก็ไม่
เห็นจิตตประวัติ ตลอด ๕๐๐ กัป เห็นเฉพาะในชาติสุดท้ายเท่านั้น เมื่อ
ตรวจดูอยู่ว่า นี้อะไร 9 จึงเข้าใจว่า จักเป็นอสัญญภพ ด้วยสามารถแห่งนัย
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาผู้มีอายุยืน
ชื่อว่า อสัญญสัตว์มีอยู่ พระโสภิตะ จุติจากอสัญญภพนั้นแล้ว มาบังเกิดใน
ภพนี้ เธอย่อมรู้ภพนั่น โสภิตะ ย่อมระลึกได้ พระศาสดาทรงเห็นความเป็น
ผู้ฉลาดในการระลึกชาติ ของพระเถระผู้ระลึกชาติอยู่ ด้วยสามารถแห่งนัย
อย่างนี้ จึงทรงตั้งพระเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ของภิกษุผู้ระลึก
บุพเพนิวาสญาณ ก็ต่อแต่นั้นมา ท่านพระโสภิตะนี้พิจารณาบุพเพนิวาสานุสติ-
ญาณ ของตนพร้อมด้วยคุณพิเศษ และข้อปฏิบัติอันเป็นปัจจัยแห่งบุพเพนิ-
วาสานุสติญาณนั้น แล้วเกิดความโสมนัส เมื่อเปล่งอุทานอันแสดงถึงเหตุทั้ง
สองนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
เราเป็นภิกษุผู้มีสติ มีปัญญา ปรารภความเพียร
เป็นกำลัง ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว
เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ระลึกชาติ
ก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว ดังนี้.

114
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 115 (เล่ม 51)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สติมา ความว่า ชื่อว่าผู้มีสติเพราะ
ความบริบูรณ์ด้วยสติปัฏฐานภาวนา และเพราะถึงความไพบูลย์แห่งสติ อันถึง
พร้อมแล้วด้วยกาลเป็นที่ประชุมขึ้นเอง.
บทว่า ปญฺญวา ความว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญา เพราะความบริบูรณ์
ด้วยอภิญญา ๖ และเพราะถึงความบริบูรณ์ด้วยปัญญา. ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
ทำลายกิเลสได้แล้ว. ภิกษุชื่อว่า มีความเพียร คือพลธรรมอันปรารภแล้ว
เพราะมีพละ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น และความเพียรอันประกอบด้วยสัมมัปปธาน
๔ อย่าง สำเร็จบริบูรณ์ดีแล้ว. อธิบายว่า แม้ถึงสติเป็นต้นจะเป็นพลธรรม
ในคาถานี้ ท่านก็ถือเอาศรัทธาเป็นต้น ด้วยพลศัพท์ เหมือนในประโยคว่า
โคพลิพทฺธา ปุญฺญญาณสมฺภารา โคพลิพัทธ์ เป็นองค์แห่งบุญและ
ปัญญา.
บทว่า ปญฺจ กปฺปสตานาหํ เอกรตฺตึ อนุสฺสรึ ความว่า
ระลึกชาติก่อนได้ ๕๐๐ กัป ดุจคืนเดียว ก็วิริยศัพท์ในคาถานี้ แสดงถึงการ
ลบออก ตัดออก พระเถระแสดงความที่ตนเป็นผู้ชำนาญญาณ ในบุพเพนิ-
วาสญาณ ด้วยวิริยศัพท์นี้.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ อันเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้มีสติเป็นต้น
ของตน และเป็นเหตุให้สำเร็จบุพเพนิวาสญาณอันยอดเยี่ยมนั้น พระเถระจึง
กล่าวคาถาที่ ๒ ด้วยคำมีอาทิว่า จตฺตาโร ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ บทว่า จตฺตาโร
สติปฏฺฐาเน ได้แก่ สติปัฏฐาน กล่าวคือสติ อันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ
มี ๔ อย่างโดยความต่างแห่งอารมณ์ของตน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น. บทว่า
สตฺต ได้แก่ โพชฌงค์ ๗. บทว่า อฏฺฐ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘.

115