No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 96 (เล่ม 51)

ก็พากันสรรเสริญพระสิริวัฑฒเถระ เพราะความที่ท่านเป็นผู้อันชาวโลก
เคารพนับถือ โดยความที่ท่านเป็นผู้มีปัจจัยลาภ. พระเถระคิดว่า ธรรมดาผู้ที่
ควรตำหนิ กลับมีผู้กล่าวสรรเสริญ และผู้ที่ควรสรรเสริญกลับถูกกล่าวตำหนิ
นี้พึงเป็นโทษของความเป็นปุถุชน ดังนี้ เมื่อจะตำหนิความเป็นปุถุชน จึง
ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ถ้าตนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถึงชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ
ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ถึงชนเหล่าอื่นจะติเตียน ชน
เหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเร ความว่า คนอื่นจากตน ชื่อว่า คนอื่น
ก็คนพาลทั้งหลายที่นอกจากบัณฑิต ท่านประสงค์เอาว่า เป็นคนอื่นในคาถานี้
อธิบายว่า แม้จะสรรเสริญก็เหมือนตำหนิไม่เป็นประมาณ เพราะคนเหล่านั้น
กล่าวโดยไม่รู้ คือ โดยไม่ตรึกตรอง. บทว่า นํ แปลว่า ซึ่งบุคคลนั้น.
บทว่า ปสํสนฺติ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง คนเหล่าอื่น
ชมเชยบุคคลผู้ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงนั่นแหละ โดยยกย่องคุณที่ไม่มีจริงไม่
เป็นจริง ว่า ภิกษุชื่อโน้น เป็นผู้ได้ฌาน หรือว่าเป็นพระอริยะ เพราะความไม่รู้
หรือเพราะความเป็นผู้มีตัณหาวิบัติ. ก็ จ ศัพท์ที่มีอยู่ในคาถานี้นั้น มีการ
น้อมเข้ามาในตนเป็นอรรถ. ด้วย จ ศัพท์นั้น ท่านแสดงความนี้ว่า ก็คน
เหล่าอื่นย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ก็แลการสรรเสริญนั้น เป็นเพียงการสรรเสริญ
ของคนเหล่านั้น แต่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสรรเสริญ ในบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น
นั้น.

96
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 97 (เล่ม 51)

บทว่า อตฺตา เจ อสมาหิโต ความว่า บุคคลเหล่าอื่นย่อมสรรเสริญ
บุคคลใด ถ้าบุคคลนั้นคือตนนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น คือไม่ประกอบไปด้วยมรรคสมาธิ
ผลสมาธิ หรือเพียงอุปจารสมาธิและอัปปมาสมาธิเท่านั้น อธิบายว่า ถ้าตน
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน คือมีจิตหมุนไปผิด เพราะความที่กิเลสทั้งหลาย อันเป็น
ปฎิปักษ์ต่อความตั้งใจมั่น อันตนยังละไม่ได้ ก็พระเถระแสดงความไม่มีคุณ
คือ สมาธินิมิต ด้วยบทว่า อสมาหิโต นี้.
บทว่า โมฆํ แสดงถึงภาวะของนปุงสกลิงค์ ดุจในประโยคมีอาทิว่า
วิสมํ จนฺทิมสุริยา ปริวตฺตนฺติ พระจันทร์และพระอาทิตย์ ย่อมหมุนไป
ไม่เสมอกัน.
บทว่า ปเร ปสํสนฺติ ความว่า คนเหล่าใดย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น
คือคนที่มีจิตไม่ตั้งมั่น คนเหล่านั้นย่อมสรรเสริญเป็นโมฆะ คือเปล่า ได้แก่
หามูลมิได้. เพราะเหตุไร ? เพราะคนมีจิตไม่ตั้งมั่น อธิบายว่า เพราะเหตุ
ที่จิตของบุคคลนั้นไม่ตั้งมั่น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองดังต่อไปนี้ บทว่า ครหนฺติ ความว่า
ย่อมติเตียน คือนินทา ได้แก่ กล่าวโทษพระอริยเจ้า และบุคคลผู้ได้ฌาน
เพราะความไม่รู้ของตน หรือเพราะความมุ่งร้าย โดยการชี้แจงถึงความเป็นผู้
ไม่ประพฤติปฏิบัติ หรือโดยมุ่งทำลายคุณ โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุชื่อโน้น ไม่
หมั่นประกอบความเพียร โดยที่สุดแม้เพียงชั่วเวลารีดนมโค มากไปด้วยการ
ปรนเปรอร่างกาย ยินดีในการนอนหลับ ยินดีในการพูดสิ่งที่ไร้ประโยชน์
ยินดีด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ดังนี้. คำที่เหลือพึงทราบโดยปริยาย ที่
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคาถาที่ ๑. เมื่อพระเถระประกาศความที่ตนเป็นผู้หมด

97
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 98 (เล่ม 51)

กิเลส และความที่พระสิริวัฑฒเถระยังมีกิเลส ด้วยคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว
พระสิริวัฑฒเถระฟังคำเป็นคาถานั้นแล้ว เกิดความสลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา
ยังประโยชน์ตนให้บริบูรณ์แล้วต่อกาลไม่นานนัก และบุคคลผู้ติเตียนทั้งหลาย
ก็ยังพระเถระให้อดโทษแล้ว.
จบอรรถกถาสิริมาเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ ๒
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี
ในวรรคนี้ รวมพระเถระได้ ๑๐ รูป คือ
๑. พระมหาจุนทเถระ ๒. พระโชติทาสเถระ ๓. พระเหรัญญกานิ
เถระ ๔. พระโสมมิตตเถระ ๕. พระสัพพมิตตเถระ ๖. พระมหากาฬเถระ
๗. พระติสสเถระ ๘. พระกิมพิลเถระ ๙. พระนันทเถระ ๑๑. พระสิริมา-
เถระ และอรรถกถา.

98
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 99 (เล่ม 51)

เถรคาถา ทุกนิบาต วรรคที่ ๓
๑. อุตตรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุตตรเถระ
[๒๗๘] ได้ยินว่า พระอุตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ขันธ์ทั้งหลาย เรากำหนดรู้แล้ว ตัณหาเราถอน
ขึ้นแล้ว โพชฌงค์เราเจริญแล้ว ความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเราบรรลุแล้ว ครั้นเรากำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย
แล้ว ถอนข่ายคือตัณหาได้แล้ว ยังโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน.
วรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถาอุตตรเถรคาถา
คาถาของท่านพระอุตตรเถระเริ่มต้นว่า ขนฺธา มยา ปริญฺญาตา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า

99
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 100 (เล่ม 51)

สิทธัตถะ ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัตรกัปนี้ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว ได้เป็นผู้มีความ
เลื่อมใสในพระศาสดา ประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว เรียกบรรดาผู้เป็นญาติของ
ตนมาประชุมกัน รวบรวมบูชาสักการะเป็นอันมาก กระทำการบูชาพระ
ธาตุแล้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลพราหมณ์ เมืองสาเกต ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อุตตระ
เจริญวัยแล้ว ไปสู่พระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจบางประการเห็นยมกปาฎิหาริย์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำแล้ว ที่โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ (ต้นมะม่วง)
เลื่อมใสแล้ว เป็นผู้เจริญศรัทธายิ่งขึ้น ด้วยเทศนากาฬการามสูตร บวชแล้ว
ไปสู่พระนครราชคฤห์กับพระศาสดา อยู่ที่พระนครราชคฤห์นั่นแหละ เริ่มตั้ง
วิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่
ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อพระโลกนาถผู้นำของโลก ทรงพระนามว่า
สิทธัตถะ ปรินิพพานแล้ว เราได้นำพวกญาติของเรา
มาทำการบูชาพระธาตุ. ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้บูชาพระธาตุใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่
ในพระนครสาวัตถี ก็ออกจากกรุงราชคฤห์ไปพระนครสาวัตถี เพื่อจะทำพุทธ-
อุปัฏฐาก อันภิกษุทั้งหลายถามว่า ดูก่อนอาวุโส กิจแห่งบรรพชิตอันท่านให้
ถึงที่สุดแล้วหรือ ? เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
ความว่า

100
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 101 (เล่ม 51)

ขันธ์ทั้งหลายเรากำหนดรู้แล้ว ตัณหาเราถอน
ขึ้นแล้ว โพชฌงค์เราเจริญแล้ว ความสิ้นไปแห่ง
อาสวะเราบรรลุแล้ว ครั้นเรากำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย
แล้ว ถอนข่าย คือตัณหาได้แล้ว ยังโพชฌงค์ให้เจริญ
แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธา ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕. บทว่า
ปริญฺญาตา ความว่า กำหนดรู้ คือยังทุกขสัจให้เจริญแล้วว่า นี้ทุกข์ ทุกข์
ยิ่งไปกว่านี้ไม่มี ดังนี้. ด้วยบทว่า ปริญฺญาตา นั้น ท่านกล่าวหมายถึงการ
ตรัสรู้ โดยการกำหนดรู้ทุกขอริยสัจ.
บทว่า ตณฺหา ความว่า กิเลสชาติ ชื่อว่าตัณหา เพราะอรรถว่า
สะดุ้ง คือหวั่นไหว. บทว่า สุสมูหตา แปลว่า อันเราเพิกถอนขึ้นแล้ว
พระเถระกล่าวถึงการตรัสรู้ ด้วยการละสมุทัยสัจด้วยบทว่า สุสมูหตา นั้น.
บทว่า ภาวิตา มม โพชฺฌงฺคา ความว่า ธรรม ๗ ประการชื่อว่า
โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคี มีสติเป็นต้น กล่าวคือธรรมเป็น
เครื่องตรัสรู้ หรือเพราะเป็นองค์แห่งพระอริยบุคคล ผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรม
สามัคคีนั้น คือที่ท่านกล่าวว่าธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้. ธรรมทั้งหลายอันนับ
เนื่องแล้วในมรรคกล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิและ
อุเบกขา อันเราเจริญแล้ว คือให้เกิดแล้ว ได้แก่ เพิ่มพูนแล้ว. ก็ในคาถานี้
พึงทราบว่า ธรรมในองค์มรรคทั้งปวงก็ดี โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดก็ดี พึง
ทราบว่า ท่านถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์ว่าโพชฌังคะ เพราะเป็นประเภทธรรมที่
ไปร่วมกับโพชฌงค์นั้น. พระเถระแสดงความถึงพร้อมเฉพาะซึ่งภาวนา แห่ง
มรรคสัจด้วยบทว่า ภาวิตา มม โพชฺฌงฺคา นี้เหมือนกัน.

101
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 102 (เล่ม 51)

บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า อสังขตธรรม อันได้
นามว่า อาสวักขยะ เพราะเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น
อันเราถึงแล้ว คือบรรลุแล้ว. พระเถระกล่าวความถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งการ
ทำให้แจ้งนิโรธสัจ ด้วยบทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย นี้. พระเถระ
แสดงสมบัติคือ สอุปาทิเสสนิพพานของตน ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ก็บัดนี้ พระเถระ เมื่อจะแสดงสมบัติคืออนุปาทิเสสนิพพาน จึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ด้วยคำมีอาทิว่า โสหํ ดังนี้.
คาถาที่ ๒ นั้น มีอธิบายดังนี้ เรานั้น รู้แล้ว คือ กำหนดรู้ขันธ์
ทั้งหลาย โดยนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้ และเมื่อกำหนดรู้อย่างนั้นแล้ว จึงถอน
คือยกขึ้นซึ่งตัณหาอันได้นามว่า ชาลินี เพราะมีข่ายกล่าวคือความเกิดบ่อย ๆ
มีอาการร้อยรัดเหล่าสัตว์ไว้ ในอัตภาพของตนและอัตภาพของคนอื่น ใน
อายตนะภายในและอายตนะภายนอก อันต่างโดยประเภทมีอดีตเป็นต้น จาก
จิตสันดานของเรา เมื่อยกข่ายคือตัณหานั้นขึ้นได้อย่างนั้น ก็ยังโพชฌงค์มี
ประเภทดังกล่าวแล้วให้เจริญ คือยังโพชฌงค์เหล่านั้นให้ถึงความบริบูรณ์ด้วย
ภาวนา ต่อแต่นั้นไป จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะตั้งอยู่แล้ว บัดนี้ เราจักนิพพาน
คือจักดับรอบ ด้วยการดับแห่งจิตดวงสุดท้าย เหมือนเปลวไฟหมดเชื้อดับไป
ฉะนั้น.
จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา

102
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 103 (เล่ม 51)

๒. ภัททชิเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภัททชิเถระ
[๒๗๙] ได้ยินว่า พระภัตทชิเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
พระเจ้าปนาทะมีปราสาททอง กว้างโยชน์กึ่ง
สูง ๒๕ โยชน์ มีชั้นพันชั้น ร้อยพื้น สล้างสลอน
ไปด้วยธง แวดล้อมไปด้วยแก้วมณี สีเขียวเหลือง
ในปราสาทนั้น มีคนธรรพ์ ประมาณ ๖,๐๐๐ แบ่ง
เป็น ๗ พวก พากันฟ้อนรำอยู่.
อรรถกถาภัททชิเถรคาถา
คาถาของท่านพระภัททชิเถระ เริ่มต้นว่า ปนาโท นาม โส ราชา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกาลของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว เรียนจบศิลปวิทยา
ของพราหมณ์ทั้งหลาย ละกามทั้งหลายแล้ว บวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรม
อยู่ที่ชัฎป่า วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาเสด็จไปโดยอากาศ เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ยืน
ประคองอัญชลีอยู่. พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของดาบสแล้ว เสด็จลงจาก
อากาศ. ดาบสน้อมเอาน้ำผึ้ง เหง้าบัว เนยใส และน้ำนม เข้าไปถวายแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ดาบส จึง
ทรงรับไว้ตรัสอนุโมทนา แล้วเสด็จหลีกไป.

103
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 104 (เล่ม 51)

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในภพดุสิต ดำรงอยู่ในดุสิตพิภพนั้นจน
ตลอดอายุ แต่นั้นก็ท่องเที่ยววนไปเวียนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น (เกิด)
เป็นเศรษฐี มีทรัพย์มาก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
วิปัสสี ยังภิกษุสงฆ์ ๖๘.๐๐๐ ให้ฉันภัตตาหาร แล้วให้ครองไตรจีวร.
เขาบำเพ็ญกุศลเป็นอันมากอย่างนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่
ในเทวโลกนั้นจนตลอดอายุ จุติจากเทวโลกนั้นแล้วบังเกิดในมนุษย์ เมื่อโลก
ว่างจากพระพุทธเจ้า ก็บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ประมาณ ๕๐๐ ด้วยปัจจัย
๔ จุติจากมนุษยโลกแล้ว บังเกิดในราชตระกูล สืบราชสมบัติมาโดยลำดับ
บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า (ของพระองค์) ผู้บรรลุปัจเจกโพธิญาณดำรงอยู่แล้ว
เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เก็บพระธาตุมาก่อพระเจดีย์บูชา เขา
กระทำบุญนั้น ๆ ไว้ในภพนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว เกิดเป็นบุตรคนเดียวของ
ภัตทิยเศรษฐี ผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ในภัตทิยนคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้
มีนามว่า ภัททชิ ได้ยินมาว่า อิสริยสมบัติ โภคสมบัติ และบริวารสมบัติ
เป็นต้นของท่าน ได้มีเหมือนของพระโพธิสัตว์ในภพสุดท้าย.
ในครั้งนั้น พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถี เสด็จไป
ภัททิยนคร พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เพื่อจะทรงสงเคราะห์ภัททชิกุมาร
ทรงคอยความแก่กล้าแห่งญาณ ของภัททชิกุมาร จึงประทับอยู่ ณ ชาติยาวัน.
แม้ภัททชิกุมาร นั่งอยู่บนปราสาทชั้นบน เปิดสีหบัญชรมองดู เห็นมหาชน
เดินทางไปฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงถามว่า มหาชนกลุ่ม
นี้ไปที่ไหน ? ทราบเหตุนั้นแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา ด้วยบริวารเป็น
อันมาก แม้เอง ฟังธรรมอยู่ ทั้ง ๆ ที่ประดับประดาไปด้วยอาภรณ์ทั้งปวง
ยังกิเลสทั้งมวลให้สิ้นไป บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า

104
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ – หน้าที่ 105 (เล่ม 51)

ครั้งนั้น เราลงสู่สระโบกขรณี ที่ช้างนานาชนิด
เสพแล้ว ถอนเหง้าบัวในสระน้ำ เพราะเหตุจะกิน
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุ-
มุตตระ ผู้ตื่นแล้ว ทรงผ้ากัมพลสีแดง สลัดผ้าบังสุกุล
เหาะไปในอากาศ เวลานั้น เราได้ยินเสียงจึงแหงน
ขึ้นไปดู ได้เห็นพระผู้นำโลก เรายืนอยู่ในสระโบก-
ขรณีนั่นแหละ ได้ทูลอ้อนวอนพระผู้นำโลกว่า น้ำผึ้ง
กำลังไหลออกจากเกษรบัว น้ำนมและเนยใส กำลัง
ไหลจากเหง้าบัว ขอพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาจักษุ โปรด
ทรงรับเพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด ลำดับนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ศาสดา ทรงประกอบด้วยพระ-
กรุณา มียศใหญ่ มีพระปัญญาจักษุ เสด็จลงจากอากาศ
มารับภิกษาของเรา เพื่อความอนุเคราะห์ ครั้นแล้ว
ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่เราว่า ดูก่อนท่านผู้มีบุญใหญ่
ท่านจงเป็นผู้มีความสุขเถิด คติจงสำเร็จแก่ท่านด้วยการ
ให้เหง้าบัวเป็นทานนี้ ท่านจงได้สุขอันไพบูลย์เถิด
ครั้นพระสัมพุทธชินเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ตรัส
ฉะนี้แล้ว ได้ทรงรับภิกษา แล้วเสด็จไปในอากาศ
ลำดับนั้น เราเก็บเหง้าบัวจากสระนั้น กลับมายังอาศรม
วางเหง้าบัวไว้บนต้นไม้ ระลึกถึงทานของเรา ครั้งนั้น
ลมพายุใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว พัดเป่าให้สั่นสะเทือน อากาศ
ดังลั่นในเมื่อฟ้าผ่า ลำดับนั้น อสนีบาตได้ตกลงมาบน
ศีรษะของเรา ในกาลนั้น เราก็นั่งตายอยู่ ณ ที่นั้นเอง

105