No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 138 (เล่ม 50)

ภิกษุพึงตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พึงละสังโยชน์
เบื้องสูง ๕ พึงเจริญอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นให้ยิ่ง
ขึ้นไป ภิกษุผู้ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการ
ได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจ ฉินฺเท ความว่า ภิกษุพึงตัด
คือพึงละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อันจะยังสัตว์ให้อุบัติและบังเกิดในอบาย ด้วย
ศาสตราคือด้วยมรรคทั้ง ๓ เบื้องต่ำ ดุจบุรุษตัดเชือกที่ผูกไว้ที่เท้าออกไปฉะนั้น.
บทว่า ปญฺจ ชเห ความว่า พึงละหรือพึงตัดสังโยชน์เบื้องสูง ๕
อันเป็นเหตุให้เข้าถึงเทวโลกชั้นสูง ด้วยพระอรหัตมรรค ดุจบุรุษตัดเชือกที่
ผูกไว้ที่คอฉะนั้น.
บทว่า ปญฺจ จุตฺตริ ภาวเย ความว่า พึงเจริญอินทรีย์ ๕ มี
ศรัทธาเป็นต้น เพื่อละสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องสูง เหล่านั้นแหละให้
ยิ่งขึ้นไป คือให้สูงกว่าการได้บรรลุพระอนาคามิมรรค ได้แก่พึงเจริญด้วย
สามารถแห่งการได้บรรลุมรรคอันสูงสุด.
บทว่า ปญฺจสงฺคาติโก ความว่า ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ คือผู้ก้าวล่วง
ธรรมเป็นเครื่องข้อง ๕ ประการได้แล้ว ด้วยการก้าวล่วง คือละ เครื่องข้อง
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะและทิฏฐิ ๕ อย่างได้.
บทว่า ภิกขุ โอติณฺโณ วุจฺจติ ความว่า ท่านเรียกว่า ภิกษุ
เพราะทำลายกิเลสได้โดยประการทั้งปวง และเพราะข้ามโอฆะคือกาม โอฆะ
คือภพ โอฆะคือทิฏฐิ และโอฆะคืออวิชชา แล้วตั้งอยู่ในพระนิพพานอันเป็น
ฝั่งของกิเลสเหล่านั้น.
จบอรรถกถากุณฑธานเถรคาถา

138
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 139 (เล่ม 50)

๖. เพลัฏฐสีสเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ
[๑๕๓] ได้ยินว่า พระเพลัฏฐสีสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
โคอาชาไนยตัวสามารถเทียมไถแล้ว ย่อมลากไถ
ไปโดยไม่ลำบาก ฉันใด เมื่อเราได้ความสุข อันไม่
เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลาย ย่อมผ่านนั้นเราไป
โดยยาก ฉันนั้น.
อรรถกถาเพลัฏฐสีสเถรคาถา
คาถาของพระเพลัฏฐสีสเถระ เริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโญ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดในเรือนมีตระกูล เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรมแล้วเกิด
ศรัทธา บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม ไม่อาจจะยังคุณวิเศษให้เกิดได้ เพราะ
ไม่มีอุปนิสสยสมบัติ. ก็ท่านเข้าไปสั่งสมกุศลเป็นอันมาก อันเป็นอุปนิสัยแห่ง
พระนิพพาน ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงพระนามว่า เวสสภู ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส
แล้ว ได้ถวายผลมะงั่ว.

139
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 140 (เล่ม 50)

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย สร้างสมบุญแล้ว
ก็เข้าถึงสุคติ จากสุคติ วนไปเวียนมา บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พระนคร
สาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะได้ตรัสรู้
อภิสัมโพธิญาณ บวชเป็นดาบสในสำนักของอุรุเวลกัสลปดาบส ในเวลาที่ทรง
แสดงอาทิตตปริยายสูตร บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย ชฎิล พันหนึ่ง. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกผู้
โชติช่วง เหมือนต้นกรรณิการ์ รุ่งเรืองดังพระจันทร์
ในวันเพ็ญ และเหมือนต้นไม้ประจำทวีป ที่รุ่งโรจน์
เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะงั่วถวายแด่พระศาสดา ผู้
เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นวีรบุรุษ ด้วยมือทั้งสองของ
ตน ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใด
ในกาลนั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว
ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
พระเถระนี้ ผู้บรรลุพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เป็นอุปัชฌาย์ ของท่าน
พระธรรมภัณฑาคาริก วันหนึ่งออกจากผลสมาบัติแล้ว พิจารณาถึงพระอรหัต
อันสงบ ประณีต เป็นนิรามิสสุข และบุรพกรรมของตน ด้วยอำนาจกำลังแห่ง
ปีติ จึงได้กล่าวคาถาว่า
โคอาชาไนย ตัวเจริญ เทียมไถแล้วย่อมลากไถ
ไปได้โดยไม่ลำบาก ฉันใด เมื่อเราได้ความสุขอันไม่

140
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 141 (เล่ม 50)

เจือด้วยอามิส คืนและวันทั้งหลายย่อมผ่านพ้นเราไป
ได้โดยยาก ฉันนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ เป็นนิบาต ลงในอรรถที่ยัง
อุปมาให้ถึงพร้อม. บทว่า ภทฺโท ได้แก่ โคอาชาไนย ตัวงาม ที่สมบูรณ์
ด้วยเรี่ยวแรง กำลัง ความสามารถ เชาว์ และความเพียรเป็นต้น.
บทว่า อาชญฺโญ ความว่า ชื่อว่า ชาติอาชาไนย เพราะรู้เหตุ
และสิ่งที่มิใช่เหตุ. สัตว์อาชาไนยนั้น มี ๓ ประเภทคือ โคผู้อาชาไนย ๑
ม้าผู้อาชาไนย ๑ ช้างผู้อาชาไนย ๑. ใน ๓ ประเภทนั้น โคผู้อาชาไนย
ท่านประสงค์เอาแล้วในคาถานี้. ก็โคผู้อาชาไนยนั้นแหละ ประกอบแล้วในกิจ
ของผู้ชำนาญการไถ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมลากไถไปได้โดยไม่ยาก
เพราะยังไถพร้อมทั้งผาลให้หมุนไป อธิบายว่า ไถนาให้ ไถหมุนไปข้างโน้น
ด้วย ข้างนี้ด้วย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นังคลาวัตตะ เพราะอรรถว่า เป็นที่
ยังไถให้หมุนไป ได้แก่ หมุนไปตามรอยไถในนา. แต่ในคาถานี้ ท่านกล่าว
เป็นทีฆะว่า วตฺตนี เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา.
บทว่า สิขี ความว่า ชื่อว่า สิขา เพราะคล้ายกับหงอน โดยกำหนดเอา
ในที่สุด ได้แก่ สิงคะ (เขา) ชื่อว่า สิงคะ เพราะมีเขานั้น (เป็นสัญญลักษณ์)
ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ยอดท่านประสงค์เอาว่า สิขา ในคาถานี้.
บทว่า สิขี นี้ ระบุถึงส่วนที่เป็นประธาน แม้ทั้งสองฝ่าย. บทว่า อปฺปก-
สิเรน ความว่า โดยลำบากน้อย. บทว่า รตฺตินฺทิวา ได้แก่ ทั้งในกลางคืน
และกลางวัน. ประกอบความว่า ย่อมผ่านคืนและวันนี้ไป โดยไม่ยากอย่างนี้.
ท่านอธิบายความไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนโคผู้อาชาไนย ที่เขาเทียมไถแล้ว
ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ในรอยไถ ที่มีรากหญ้าเป็นฟ่อน ๆ เป็นต้น เดิน
เปลี่ยนรอยไถไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง จนแสดงถึงการปรับเข้าในแนวไถได้

141
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 142 (เล่ม 50)

ราบเสมอ ฉันใด แม้วันและคืนทั้งหลาย ย่อมละคือผ่านเราไปได้โดยยาก
ฉันนั้น. ท่านกล่าวถึงเหตุในข้อนั้นไว้ว่า สุเข ลทฺเธ นิรามิเส เมื่อเรา
ได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส ดังนี้. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ความสุขคือ
ผลสมาบัติ อันไม่เจือด้วยอามิสคือกาม อามิสคือโลก และอามิสคือวัฏฏะ อัน
สงบระงับ ประณีต เราได้แล้ว. ก็บทนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ลงในอรรถแห่ง
ปฐมาวิภัตติ. เหมือนอย่างในประโยคว่า วนปคุมฺเพ (พุ่มไม้) และในประโยค
ว่า เตน วต เร วตฺตพฺเพ (เรื่องที่จะพึงกล่าวอื่นยังมีอยู่อีก) ดังนี้ อีก
อย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า เมื่อเราได้ความสุขอันไม่เจือด้วยอามิส ดังนี้ ก็โดย
พิจารณาว่า จำเดิมแต่นั้น วันและคืน ก็ผ่านไปโดยยาก ดังนี้. อธิบายว่า
เมื่อสุขที่ปราศจากอามิสอันเราได้แล้ว มีอยู่ จำเดิมแต่เวลาที่เราได้ นิรามิสสุข
นั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาเพลัฏฐสีสเถรคาถา
๗. ทาสกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระทาสเถระ
[๑๕๔] ได้ยินว่า พระทาสกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ง่วงเหงา และกินมาก มัก
นอนหลับ กลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาเป็นคนเขลา
ย่อมเข้าห้องบ่อย ๆ เหมือนสุกรใหญ่ ที่เขาปรนปรือ
ด้วยเหยื่อฉะนั้น.

142
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 143 (เล่ม 50)

อรรถกถาทาสกเถรคาถา
คาถาของท่านพระทาสกเถระเริ่มต้นว่า มิทฺธี ยทา. เรื่องราวของท่าน
เป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อพระตถาคตเจ้ายังไม่ได้เสด็จ
อุบัติขึ้น ท่านได้ถวายผลมะม่วง อันน่าพึงใจแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า
อชิตะ ผู้ลงจากเขาคันธมาทน์มาสู่คลองแห่งมนุษย์ แล้วเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน
แห่งใดแห่งหนึ่ง ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย แล้วบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ
ได้กระทำบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมาก.
ท่านขวนขวายกุศลกรรมอย่างนี้ ละจากสุคติเข้าถึงสุคติ เกิดในเรือน
มีตระกูล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านอันอนาถบิณฑิก
เศรษฐี แต่งตั้งไว้ในหน้าที่ปฏิบัติพระวิหาร ก็ปฏิบัติพระวิหารโดยเคารพ
ได้มีศรัทธา โดยได้เห็นพระพุทธเจ้า และโดยการฟังพระสัทธรรมเนือง ๆ
บวชแล้ว. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระทาสกเถระนี้เกิดในเรือนมี
ตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ เจริญวัยแล้ว
บำรุงพระเถระผู้เป็นพระขีณาสพรูปใดรูปหนึ่ง มีความประสงค์จะให้ท่านช่วย
ทำกิจบางอย่าง จึงสั่งบังคับท่าน ด้วยกรรมนั้น เขาเกิดในท้องของหญิงทาสี
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี ในกาลแห่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เจริญวัยแล้ว อันท่านเศรษฐีแต่งตั้งไว้ในตำแหน่ง
ผู้ปฏิบัติพระวิหาร ได้เป็นผู้มีศรัทธาแล้ว โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ท่าน-
มหาเศรษฐีสดับ ศีลาจารวัตร และอัธยาศัยของเขาแล้ว กระทำให้เขาเป็นไท

143
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 144 (เล่ม 50)

(พ้นจากทาส) แล้วบอกว่า ขอท่านจงบวชตามสบาย ภิกษุทั้งหลายให้เขา
บรรพชาแล้ว. จำเดิมแต่บวชแล้ว เขากลับเป็นผู้เกียจคร้าน เป็นผู้ที่มีความ-
เพียรเสื่อม ไม่กระทำวัตรปฏิบัติใด ๆ ที่ไหนจะบำเพ็ญสมณธรรมเล่า มุ่งแต่
บริโภคจนเต็มที่ มักมากไปด้วยการนอนอย่างเดียว. แม้ในเวลาฟังธรรม
ก็เข้าไปสู่มุมแห่งหนึ่ง นั่งท้ายบริษัท หลับกรนครอก ๆ ตลอดเวลา. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูบุรพนิสัยของท่านแล้ว เพื่อจะให้ท่านเกิดความ
สังเวช จึงได้ตรัสพระคาถาว่า
เมื่อใด บุคคลเป็นผู้ง่วงเหงา และกินมาก มัก
นอนหลับ กลิ้งเกลือกไปมา เมื่อนั้น เขาเป็นคนเขลา
ย่อมเข้าห้อมบ่อย ๆ เหมือนสุกรใหญ่ ที่เขาปรนปรือ
ด้วยเหยื่อ ฉะนั้น ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺธี ความว่า เป็นผู้อันถีนะและมิทธะ
ครอบงำแล้ว. อธิบายว่า มิทธะครอบงำผู้ใด แม้ถีนะก็ย่อมครอบงำผู้นั้นด้วย
เหมือนกัน. บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด.
บทว่า มหคฺฆโส ความว่า บริโภคมาก เหมือนพราหมณ์อาหรหัตถะ
พราหมณ์อลังสาฎกะ พราหมณ์ตัตถวัฏฏกะ พราหมณ์กากมาสกะ พราหมณ์
ภุตตวมิตกะคนใดคนหนึ่ง. บทว่า นิทฺทายิตา แปลว่า ผู้มักหลับ. บทว่า
สมฺปริวตฺตสายี ความว่า นอนกลิ้งไปกลิ้งมา. ท่านแสดงว่า ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งความสุขในการนอน ความสุขในผัสสะ และความสุขในความง่วงเหงา-
หาวนอน แม้ด้วยบททั้งสอง. บทว่า นิวาปปุฏฺโฐ ความว่า อันเขาเลี้ยง
คือ บำรุงเลี้ยง ด้วยสูกรภัต มีรำข้าวเป็นต้น. อธิบายว่า สุกรในเรือนที่เขาเลี้ยง
แต่เวลายังเล็ก ๆ เวลามีร่างกายอ้วนพีไม่ได้ออกไปนอกคอก ย่อมนอนกลิ้ง
ไปมา ในที่ต่าง ๆ มีเตียงข้างล่างเป็นต้น ทีเดียว.

144
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 145 (เล่ม 50)

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ในเวลาใด บุรุษย่อมเป็นผู้ง่วงเหงาหาวนอน
และกินมาก ไม่สามารถจะผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นได้ มักนอนหลับ
กลิ้งเกลือกไปมา เหมือนสุกรใหญ่ที่เขาปรนปรือด้วยเหยื่อ ในเวลานั้น บุรุษนั้น
ย่อมไม่อาจมนสิการไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะไม่ได้
มนสิการไตรลักษณ์เหล่านั้น เขาจึงเป็นผู้มีปัญญาน้อย ย่อมเข้าห้องบ่อย ๆ
หรือไม่พ้นจากที่อยู่ คือ ห้องไปได้. พระทาสกเถระ ฟังพระคาถานั้นแล้ว
เกิดความสลดใจ เริ่มตั้งวิปัสสนา แล้วได้กระทำให้แจ้งพระอรหัต ต่อกาล
ไม่นานเลย. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
อชิตะ ผู้สมบูรณ์ด้วยจรณะ และเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ
ประทับอยู่ในป่าหิมพานต์ เราได้ถวายผลมะม่วง ใน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีฉวีวรรณเหมือนทองคำ ผู้-
สมควรรับเครื่องบูชา กำลังเสด็จดำเนินอยู่ในถนน
ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาล
นั้น ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายได้แล้ว
ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้กล่าวยืนยันพระคาถานั้น
แหละว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนเราด้วยพระคาถานี้ พระคาถานี้เป็นดังขอ
สับสำหรับเรา. นี้เป็นการพยากรณ์พระอรหัตผล โดยปริวัตตาหารนัย ของ
พระเถระนั้น.
จบอรรถกถาทาสกเถรคาถา

145
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 146 (เล่ม 50)

๘. สิงคาลปิตาเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของสิงคาลปิตาเถระ
[๑๕๕] ได้ยินว่า พระสิงคาลปิตาเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุ ผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้
ด้วยความสำคัญว่า กระดูกอย่างเดียวเป็นอารมณ์ จัก
ได้เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า เขาจะละ
กามราคะได้โดยเร็วพลัน.
อรรถกถาสิงคาลปิตาเถรคาถา
คาถาของท่านพระสิงคาลปิตาเถระ เริ่มต้นว่า อหุ พุทฺธสฺส
ทายาโท. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ ๙๔ นับถอยหลังแต่ภัทรกัปนี้ ท่านเห็นพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้า นามว่า สตรังสี เที่ยวบิณฑบาตอยู่ มีใจเลื่อมใส ไหว้แล้ว ได้ถวาย
ผลตาลที่อยู่ในมือของตน ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในเทวโลก กระทำบุญ
แล้วท่องเที่ยวอยู่ในสุคติภพนั่นแหละไป ๆ มา ๆ เกิดในกำเนิดมนุษย์ ในกาล-
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ได้เป็นผู้มีความเชื่อมั่น
ในพระศาสนา บวชแล้ว เจริญอัฏฐิกสัญญา ท่านกลับไปเกิดในเรือนมี
ตระกูล พระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้อีก เจริญวัยแล้ว แต่งงานได้
บุตรคนหนึ่ง ให้นามบุตรว่า สิงคาละ ด้วยเหตุนั้น คนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า

146
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ – หน้าที่ 147 (เล่ม 50)

สิงคาลกปิตา (พ่อของสิงคาลมาณพ) ในเวลาต่อมา เขาสละความผูกพัน
ในเรือน แล้วบวชในพระศาสนา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูอัธยาศัย
ของท่าน ได้ทรงประทานอัฏฐิกสัญญากัมมัฏฐานแล้ว ท่านรับกัมมัฏฐาน
นั้นแล้ว อาศัยอยู่ในป่าเภสกฬาวัน ณ สุสุมารคิริชนบท แคว้นภัคคะ. ลำดับนั้น
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในป่านั้น เพื่อจะยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ท่าน เมื่อประกาศ
ความนี้ว่า ท่านจักกระทำผลแห่งภาวนา (อรหัตผล) ให้อยู่ในเงื้อมมือต่อกาล-
ไม่นานเลย ดังนี้ โดยอ้างถึงพระอรหัตผล จึงกล่าวคาถาว่า
ภิกษุผู้อยู่ในป่าเภสกฬาวัน พิจารณาแผ่นดินนี้
ด้วยความสำคัญว่า กระดูกทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ จักได้
เป็นทายาทของพระพุทธเจ้า เราเข้าใจว่า เขาจะละ
กามราคะได้โดยพลันที่เดียว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ เท่ากับ โหติ แปลว่า ย่อมเป็น.
ก็บทนี้เป็นคำกล่าวถึงอดีตกาล แต่ใช้ในอรรถแห่งปัจจุบันกาล. บทว่า พุทฺธสฺส
ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.
บทว่า ทายาโท ความว่า เป็นธรรมทายาท คือ เป็นผู้ถือเอา คือ
รับไว้ ซึ่งทายาท คือ โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ด้วยการปฏิบัติชอบของตน.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อหุ เท่ากับอโหสิ แปลว่าได้เป็นแล้ว. อธิบาย
ว่า ภิกษุบางรูป จักเป็นผู้นับเนื่องในความเป็นทายาทของพระพุทธเจ้า ผู้มี
พระนามอย่างนี้ ในบัดนี้ทีเดียว. ด้วยเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า เราเข้าใจว่า
เธอจะละกามราคะได้โดยพลันทีเดียว ดังนี้.
บทว่า เภสกฬาวเน ความว่า ในป่า อันได้นามว่า เภสกฬาวัน
เพราะเหตุที่ยักษ์ชื่อว่า เภสกะ ได้แล้วคือยึดครองไว้ หรือเพราะมากไปด้วย
สัตว์ร้าย มีช้างรุ่นเป็นต้น อันน่าสะพึงกลัว. เทวดาเมื่อจะบอกเหตุในความ

147